Approaches

กลุ่มเกษตรอินทรีย์ปัถวีโมเดล [Thailand]

ปัถวีโมเดล

approaches_4268 - Thailand

Completeness: 97%

1. General information

1.2 Contact details of resource persons and institutions involved in the assessment and documentation of the Approach

Key resource person(s)

co-compiler:
ผู้รวบรวม:

ไผผักแว่น นางสาวปาริชาติ

0-3721-0781 / 08-5920-8429

parichat19@hotmail.com

สถานีพัฒนาที่ดินปราจีนบุรี

135/1หมู่. 5 ตำบลเนินหอม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี 25230

Thailand

สนับสนุนปจัจัยการผลิต โปสเตอร์ แผ่นพับ ประชาสัมพันธ์กลุ่มผ่าน วีทีทัศน์ ออกอากาศมางช่อง 9 สื่อโซเชี่ยส (Line) และยกเป็นกลุ่มต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อเผยแพร่ผ่านเวทีการฝึกอบรมหมอดินอาสา เกษตรกร และผู้สนใจ:

เจริญทวีชัย นางสาวจรรจิรา

0-3943-3713-4 / 08-1845-3611

jangi@windowslive.com

สถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรี

ม. 8 ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี 22160

Thailand

land user:

สมพันธุ์ นายทรงวุฒิ

08-98298252 / -

- / -

เกษตรกร

42/12 หมู่ 1 ตำบลคลองพูล อำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี

Thailand

land user:

รักษา นางสมพร

08-494-50626 / -

- / -

เกษตรกร

5/9 หมู่ 2 ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี

land user:

วิเชียน้อย นายวีนัส

08-1868-1911 / -

- / -

เกษตรกร

ที่อยู่องค์กร 7 หมู่ 12 ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

1.3 Conditions regarding the use of data documented through WOCAT

When were the data compiled (in the field)?

23/11/2018

The compiler and key resource person(s) accept the conditions regarding the use of data documented through WOCAT:

Ja

2. Description of the SLM Approach

2.1 Short description of the Approach

กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล เป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างเครือข่ายการผลิตผัก ผลไม้ และการแปรรูปสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพื่อจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ

2.2 Detailed description of the Approach

Detailed description of the Approach:

(1) อะไรคือลักษณะที่สำคัญหรือคุณลักษณะที่เห็นเด่นชัดของแนวทาง
กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล เป็นการรวมตัวกันของเกษตรกรผู้ผลิตผักและผลไม้ ที่ต้องการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยกลุ่มฯมีบทบาทหน้าที่ จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้คำปรึกษา จัดหาปัจจัยการผลิตและการตลาด แก้ไขปัญหาร่วมกัน

2) อะไรคือเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของแนวทาง
กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล มีวัตถุประสงค์เพื่อรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักและผลไม้ เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การจัดการตลาด รวมทั้งเผยแพร่ความรู้การผลิตพืชผักและผลไม้ที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไปสู่สาธารณะ

(3) วิธีการใดที่ถูกเอามาใช้
กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล มีวิธีการดำเนินงานประกอบด้วย
1. รวมกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักและผลไม้
2. จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
3. การจัดการตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ
4. เผยแพร่ความรู้การผลิตพืชผักและผลไม้ที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไปสู่สาธารณะ
5. การจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
6. Technology Transfer อบรม ดูงาน แปลงสาธิต นิทรรศการ สื่อสิ่งพิมพ์ เฟสบุ๊ค
7. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
8. การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
r (4) ขั้นตอนของการเอาไปปฏิบัติใช้มีอันไหนบ้าง
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1 นายรัฐไท พงษ์ศักดิ์ เป็นผู้ริเริ่มทำสวนไม้ผลอินทรีย์ในหมู่บ้านปัถวี ที่ประสบผลสำเร็จ มีเกษตรกรและผู้สนใจมาศึกษาดูงาน ทำให้เกิดความต้องการทำเกษตรอินทรีย์
2. เกษตรกรผู้สนใจ รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มเรียกว่า “กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล ” เพื่อเป็นศูนย์กลางของเกษตรกรที่ผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเดียวกัน
3. กลุ่มฯ จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ จัดหาปัจจัยผลิต ร่วมกันวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการตลาด โดยจัดให้มีการประชุมเป็นประจำทุกวันที่ 20 ของเดือน
4. กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล ได้นำมาตรฐานการบริหารจัดการกลุ่มตามข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ในรูปแบบ PGS (Participatory Guarantee System) ภายใต้การให้คำแนะนำจากภาครัฐ


5. กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล ดำเนินกิจกรรมมุ่งเน้น 3 ด้าน คือ ด้านการผลิต ด้านการตลาด และด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
6. กลุ่มฯ ได้จัดให้มีกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการด้านการตลาด ได้แก่ การเผยแพร่การทำเกษตรอินทรีย์ของกลุ่ม การจำหน่ายผลผลิต การเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาเที่ยวชม ดูงาน อบรมการทำเกษตรอินทรีย์ การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานของกลุ่ม
7. กลุ่มฯ ได้จัดให้มีกิจกรรมเพื่อสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้แก่ การเปิดสวนให้เที่ยวฟรีกินฟรี และจำหน่ายผลผลิต
8. Technology Transfer เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อสนับสนุนงานของภาครัฐ
9. กล่มได้รับการ เสริมสร้างความเข้มแข็งโดยการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน เช่น ได้รับการสนับสนุน เครื่องจักรแปรรูปผลิตภัณฑ์ผลไม้อินทรีย์ จากบริษัทเอกชน ได้รับสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากภาครัฐ

(5) ผู้มีส่วนได้เสียมีผู้ใดที่เกี่ยวข้องและบทบาทของบุคคลเหล่านั้นมีอะไรบ้าง
ในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ปัถวีโมเดล มีผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่
- เกษตรกรเป็นประธานกลุ่ม โดยมีบทบาท บริหารกลุ่ม ส่งเสริมผลักดันกลุ่ม เสียสละเวลา สถานที่ เงินเพื่อขับเคลื่อนกลุ่ม ถ่ายทอดองค์ความรู้ เป็นหน้าตาของกลุ่ม
- เกษตรกรสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์ปัถวีโมเดล แลกเปลี่ยนรู้ การจัดการด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ การล้าง คัดแยกเกรดไม้ผล การตลาด ซื้อ-ขาย ถ่ายทอดองค์ความรู้ ออกงานแสดงนิทรรศการและขายสินค้า ผ่านสื่ออนไลน์
- ผู้สนใจอื่นๆ ได้แก่ เกษตรกรทั่วไป หมอดิน นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว ผู้บริโภค
- ผู้แทนตลาด ได้แก่ TOP market, เลม่อนฟาร์ม ญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป รับซื้อผลผลิต
- เจ้าหน้าที่ภาครัฐ สถาบันการศึกษา อบต. อบจ. สื่อมวลชน เอกชน มีบทบาทให้การสนับสนุน งบประมาณ การเผยแพร่ การจัดเวทีเรียนรู้ ดูงาน สนับสนุนเครื่องจักร

(6) สิ่งที่ผู้ใช้ที่ดินชอบหรือไม่ชอบเกี่ยวกับแนวทาง
ประเด็นที่เกษตรกรชอบในกระบวนของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ฯ ได้แก่
- มีแหล่งเรียนรู้ ดูงาน เพื่อศึกษาหาข้อมูลไปแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ
- เป็นการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์
- เปิดโอกาสให้เกษตรกรผู้สนใจเข้าร่วมกลุ่ม แต่ต้องทำตามมาตรฐานของกลุ่ม
- ทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพในกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล เนื่องจากมีการประชุมทุกเดือน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิต ช่วยแก้ปัญหาของกลุ่ม ช่วยกันขับเคลื่อนและหาตลาด
- ทำให้เกิดมี่สังสรรค์ recreation ทำให้เกิดความสุขในการที่ได้มีโอกาสพบปะ และแลกเปลี่ยน ซึ่งกันและกัน
-เกิดความเชื่อมั่นในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย

ประเด็นที่ เกษตรกรไม่ชอบ ได้แก่
-จำนวนสมาชิกกลุ่มฯ หากมีจำนวนมากเกินไปจะทำให้มีการบริหารจัดการที่ยุ่งยาก

2.3 Photos of the Approach

General remarks regarding photos:

-

2.4 Videos of the Approach

Comments, short description:

วิสาหกิจชุมชนเกษตรเพื่อสุขภาพบ้านปัถวี อ.มะขาม จ.จันทบุรี

Date:

03/06/2018

Location:

-

Name of videographer:

ทีมกสิกรรมเครือข่ายธรรมชาติภูเก็ต

Comments, short description:

ชุมชนบ้านปัถวี ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์

Date:

26/05/2015

Location:

-

Name of videographer:

NBT New

Comments, short description:

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรเพื่อสุขภาพบ้านปัถวี ต.ปัถวี อ.มะขาม จ.จันทบุรี ยึดหลักการผลิตผลไม้อินทรีย์ที่ได้คุณภาพ และต่อยอดให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริโภค ด้วยการเปิดให้นักท่องเที่ยวเลือกชิมผลไม้ ลดรายจ่าย สร้างรายได้ โดยไม่ต้องเสียค่าขนส่งไปขาย หรือถูกกดราคา

Date:

06/06/2015

Location:

-

Name of videographer:

สำนักข่าวไทย TNAMCOT

2.5 Country/ region/ locations where the Approach has been applied

Country:

Thailand

Region/ State/ Province:

จันทบุรี

Further specification of location:

5 หมู่ 2..ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี

Comments:

-

2.6 Dates of initiation and termination of the Approach

Indicate year of initiation:

2016

Comments:

-

2.7 Type of Approach

  • recent local initiative/ innovative

2.8 Main aims/ objectives of the Approach

กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล มีวัตถุประสงค์เพื่อรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักและผลไม้ เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การจัดการตลาด รวมทั้งเผยแพร่ความรู้การผลิตพืชผักและผลไม้ที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไปสู่สาธารณะ

2.9 Conditions enabling or hindering implementation of the Technology/ Technologies applied under the Approach

social/ cultural/ religious norms and values
  • enabling

เพราะค่านิยมของสังคมไทย คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน จึงมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยไม่มีการปิดบังข้อมูล

availability/ access to financial resources and services
  • enabling

กลุ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน กู้ง่ายในนามกลุ่ม แต่กลุ่มไม่กู้ เพราะไม่อยากเป็นหนี้ แต่ประธานกลุ่มกู้เพื่อเอาเงินมาสร้างโรงงานคัดแยก เป็นความเสียสละของผู้นำ

institutional setting
  • enabling

หน่วยงานภาครัฐ ให้ความรู้ คำแนะนำการทำเกษตรอินทรีย์ สนับสนุนปัจจัยการผลิต ตรวจรับรองแปลง ป้าย โปสเตอร์ แผ่นพับ สื่อสิ่งพิมพ์ VDO เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ จัดตั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน (ปัถวี โมเดล)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. และ อบจ.) ช่วยการติดต่อประสานกับผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาช่วยอบรมหรือให้ความรู้แก่กลุ่ม
สถาบันการศึกษา พานักเรียน / นักศึกษา มาอบรม ดูงาน และลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เข้าใจกระบวนการผลิต ควบคู่การท่องเที่ยวชุมชน
เอกชน สนับสนุนเครื่องจัก

  • hindering

สนับสนุนไม่ต่อเนื่อง สนับสนุนผิดกลุ่มเป้าหมาย

collaboration/ coordination of actors
  • enabling

ปัจจุบันติดต่อประสานงานง่ายมากกว่าขึ้นกว่าอดีต เพราะมีช่องทางการสื่อสารหลายอย่าง โทรศัพท์ ไลน์ เฟสบุ๊ค

legal framework (land tenure, land and water use rights)
  • hindering

แปลงเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรที่ไม่มีโฉนด ไม่สามารถขอใบรับรองมาตรฐานได้ ในบางมาตรฐาน

policies
  • enabling

ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ ทำให้มีหน่วยงานรัฐมาสนับสนุน

  • hindering

ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐไม่รู้จักพื้นที่ ไม่รู้จักกลุ่ม มีการส่งเสริมผิดกลุ่ม ผิดวัตถุประสงค์ของโครงการ ทำให้สมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์ไม่ได้การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐบางหน่วยงาน

land governance (decision-making, implementation and enforcement)
  • enabling

ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชให้เหมาะสมกับศักยภาพของดิน

  • hindering
knowledge about SLM, access to technical support
  • enabling

มีการจัดตั้งกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน ทำให้ง่ายต่อการเข้าถึงหน่วยงานให้การสนับสนุน
ศวพ. 6 ให้คำแนะนำการทำเกษตรอินทรีย์ ตรวจสารปนเปื้อนของน้ำ สนับสนุนปัจจัยการผลิต ตรวจรับรองแปลงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
กรมพัฒนาที่ดิน สนับสนุนปัจจัยการผลิต โปสเตอร์ ป้าย ช่วยประชาสัมพันธ์กลุ่มผ่านการถ่ายทำ วีทีทัศน์ออกอากาศทาง ทีวี
สำนักงานพัฒนาชุมชน จัดตั้งเป็นแหล่งเที่ยวเที่ยวชุมชน (ปัถวีโมเดล) ป้าย สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

markets (to purchase inputs, sell products) and prices
  • enabling

หาตลาดเอง และมีตลาดวิ่งเข้าหา เงื่อนไขคือ กลุ่มจะเป็นผู้ตั้งราคาจำหน่ายเอง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

  • hindering

ตลาดต่างประเทศที่อยู่ไกล เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี ระยะเป็นอุปสรรคในการขนส่งผลผลิต กลุ่มต้องดูแลจัดการดีเพื่อไม่ให้ผลไม้อินทรีย์เสียหายก่อนถึงมือผู้ประกอบการ (ผลไม้คงความสด สะอาด โดยไม่ใช้สารเคมี)

workload, availability of manpower
  • hindering

แรงงานในพื้นที่มีน้อย ค่าแรงงานสูงมาก โดยเฉพาะค่าแรงงานคุณภาพยิ่งสูง เพื่อเก็บผลิต จัดการผลผลิตอย่างดีไม่ให้เสียหาย และกลุ่ม/เกษตรกรต้องดูแลควบคุมแรงงานอย่างดี เพื่อให้ทำตามแบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

3. Participation and roles of stakeholders involved

3.1 Stakeholders involved in the Approach and their roles

  • local land users/ local communities

เกษตรกร

ผู้ปลูกไม้ผล ประสบปัญหาเดียวกัน เช่น ปุ๋ย โรคแมลงศัตรูพืช การจัดการระบบน้ำ การตลาด จึงสนใจเข้ามาศึกษาดูงาน และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการแก้ไขปัญหา

  • community-based organizations

กลุ่มมีการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน

และจัดตั้งเป็นแหล่งเที่ยวชุมชน (ปัถวีโมเดล)

  • SLM specialists/ agricultural advisers

ศวพ. 6

ให้คำแนะนำการทำเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานอ้างอิงตาม มกษ. 9000 เล่ม 1-2552 เกษตรอินทรีย์ บริการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของน้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะ สนับสนุนปัจจัยการผลิต และตรวจรับรองแปลง เพื่อออกใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ Organic Thailand
ต่อมามีการตั้งกฎ กติกา และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ปัถวีโมเดล เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัด และตรวจสอบได้

  • teachers/ school children/ students

สถาบันการศึกษา พานักเรียน / นักศึกษา

สถาบันการศึกษา พานักเรียน / นักศึกษา มาอบรม ดูงาน และลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เข้าใจกระบวนการผลิต ควบคู่การท่องเที่ยวชุมชน

  • private sector

บริษัทเอกชน

สนับสนุนเครื่องจักร เพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ไม้ผลที่แก่ ขายไม่ได้ราคา เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต…รับซื้อผลผลิตของกลุ่ม

  • local government

อบจ.และ อบต.

ติดต่อประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เข้ามาอบรม แนะนำให้ความรู้แก่สมาชิกกลุ่ม เพื่อการจัดการผลผลิต การคัดแยกเกรด บรรจุภัณฑ์ เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานอินทรีย์ เพื่อจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า และส่งออกต่างประเทศ

สื่อมวลชน

ช่วยประชาสัมพันธ์,ผู้ประกอบการ,นักท่องเที่ยว

If several stakeholders were involved, indicate lead agency:

-

3.2 Involvement of local land users/ local communities in the different phases of the Approach
Involvement of local land users/ local communities Specify who was involved and describe activities
initiation/ motivation self-mobilization เกษตรกรเจ้าของพื้นที่ดำเนินการ เพราะมีปัญหาด้านสุขภาพ จากการใช้สารเคมี ติดต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน
planning interactive เกษตรกรเจ้าของพื้นที่และเกษตรกรสมาชิก + ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ไปอบรม ดูงาน ลงมือปฏิบัติ เพื่อนำมาปรับใช้ในพื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์
implementation interactive เกษตรกรเจ้าของพื้นที่และเกษตรกรสมาชิก +เจ้าหน้าที่รัฐภายในพื้นที่ + เข้าร่วมกลุ่ม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ตลาดและหาตลาดร่วมกัน เปิดสวนให้เที่ยวฟรีกินฟรี การถ่ายองค์ความรู้ การออกร้านจำหน่ายสินค้า
monitoring/ evaluation interactive เกษตรกรเจ้าของพื้นที่ดำเนินการ + สมาชิกกลุ่ม + เจ้าหน้าที่รัฐภายในพื้นที่ + นักท่องเที่ยว (ผู้บริโภค) + ผู้ประกอบการ มีการสุ่มตรวจของกลุ่ม และ มีสุ่มเก็บตัวอย่างผลผลิตไปตรวจสอบการปนเปื้อนของสารเคมี จากเจ้าหน้าที่รัฐ นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการ
-

3.3 Flow chart (if available)

Description:

-

Author:

-

3.4 Decision-making on the selection of SLM Technology/ Technologies

Specify who decided on the selection of the Technology/ Technologies to be implemented:
  • all relevant actors, as part of a participatory approach
Explain:

-

Specify on what basis decisions were made:
  • personal experience and opinions (undocumented)

4. Technical support, capacity building, and knowledge management

4.1 Capacity building/ training

Was training provided to land users/ other stakeholders?

Ja

Specify who was trained:
  • land users
If relevant, specify gender, age, status, ethnicity, etc.

-

Form of training:
  • farmer-to-farmer
  • demonstration areas
  • public meetings
Subjects covered:

อบรมหัวข้อที่ 1 การผลิตอาหารปลอดภัย ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค
อบรมหัวข้อที่ 2 การทำเกษตรอินทรีย์

Comments:

-

4.2 Advisory service

Do land users have access to an advisory service?

Ja

Specify whether advisory service is provided:
  • on land users' fields
  • at permanent centres
Describe/ comments:

เกษตรกร นักท่องเที่ยว นักเรียน/ นักศึกษา ผู้ประกอบการ ที่สนใจ สามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ ขอคำแนะนำ ลงมือทำ และควบคู่กับการท่องเที่ยว จากเกษตรกรเจ้าของเทคโนโลยีได้ ที่ปัถวีโมเดล (แหล่งท่องเที่ยวชุมชน) ที่สำคัญได้ของติดไม้ติดมือกลับบ้าน (มีพืชผัก ผลไม้ และผลิตแปรรูปจากผลไม้อินทรีย์จำหน่าย) ติดต่อสอบถามนายรัฐไท พงษ์ศักดิ์ โทร. 063-2262251 หรือ Facebook รัฐไทศูนย์เรียนรู้ชุมชนปัถวี
Line : รัฐไทorganic group

4.3 Institution strengthening (organizational development)

Have institutions been established or strengthened through the Approach?
  • no

4.4 Monitoring and evaluation

Is monitoring and evaluation part of the Approach?

Ja

Comments:

คิดเห็น กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล เปิดสวนให้เที่ยวฟรีชิมฟรี นักท่องเที่ยว (ผู้บริโภค) /ผู้ประกอบการ สามารถแอบเอาผลผลิตไม่ตรวจการปนเปื้อนของสารเคมีได้ตลอด หลังจากได้ทราบผลวิเคราะห์ก็จะส่งผลมาให้เกษตรกรเจ้าของสวนได้ดู.... ตลาดที่กลุ่มส่งสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้มีทั้งห้างสรรพสินค้า (เดอะมอลล์) TOP) และส่งออกไปญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป ซึ่งประเทศเหล่านี้จะมีการสุ่มตรวจทุกครั้ง...
สมาชิกที่เข้าร่วมกลุ่มจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มอย่างเคร่งครัด มีการสุ่มตรวจแปลงสมาชิก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของผลผลิตอินทรีย์ จนอาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกลุ่ม

If yes, is this documentation intended to be used for monitoring and evaluation?

Ja

Comments:

-

4.5 Research

Was research part of the Approach?

Nee

5. Financing and external material support

5.1 Annual budget for the SLM component of the Approach

If precise annual budget is not known, indicate range:
  • 10,000-100,000
Comments (e.g. main sources of funding/ major donors):

กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดจันทบุรี เอกชน

5.2 Financial/ material support provided to land users

Did land users receive financial/ material support for implementing the Technology/ Technologies?

Ja

If yes, specify type(s) of support, conditions, and provider(s):

กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดจันทบุรี เอกชน สนับสนุนปัจจัยการผลิตสำหรับการทำแปลงสาธิต ป้าย โปสเตอร์ แผ่นพับ สื่อสิ่งพิมพ์ VDO เครื่องจักรแปรรูปผลิตภัณฑ์

5.3 Subsidies for specific inputs (including labour)

  • equipment
Specify which inputs were subsidised To which extent Specify subsidies
partly financed 140,000
partly financed 12,000
If labour by land users was a substantial input, was it:
  • rewarded with other material support
Comments:

-

5.4 Credit

Was credit provided under the Approach for SLM activities?

Nee

5.5 Other incentives or instruments

Were other incentives or instruments used to promote implementation of SLM Technologies?

Ja

If yes, specify:

1. การจำหน่ายพืชผัก ไม้ผล ผลิตภัณฑ์แปรรูปไม้ผลอินทรีย์ แก่นักท่องเที่ยว ลูกค้าทั่วไปที่สั่งไม้ผลทางออนไลน์ ห้างสรรพสินค้า และตลาดต่างประเทศ
2. ค่าตอบแทนการทำหน้าที่วิทยากร เผยแพร่ความรู้จากภาครัฐ
3. ทำให้เกิดชื่อเสียงแพร่หลาย เป็นที่รู้จัก ทำให้ยิ่งขายผลิตของกลุ่มได้มากขึ้น
4. การได้รับรางวัลจากผลงานที่ทำ

6. Impact analysis and concluding statements

6.1 Impacts of the Approach

Did the Approach empower local land users, improve stakeholder participation?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการเข้าร่วมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล มีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้น ตั้งราคาผลผลิตได้เอง มีความมั่นคงในอาชีพ

Did the Approach enable evidence-based decision-making?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล มีตลาดรองรับ กำหนดราคาจำหน่ายเอง ทำให้มีการลงทุนเพื่อสร้างโรงคัดแยกผลผลิต บรรจุภัณฑ์ ให้เป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เพื่อจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า และส่งออก

Did the Approach help land users to implement and maintain SLM Technologies?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

เกิดแรงบันดาลใจ อยากทำเกษตรอินทรีย์ เพราะขายได้ราคาสูง เพราะกระแสผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เลือกกินผลผลิตอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น

Did the Approach improve coordination and cost-effective implementation of SLM?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

กลุ่มจะมีการประชุมทุกวันที่ 20 ของเดือน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการผลิต และมีการเผยแพร่องค์รู้ที่ใหม่ๆ ผ่านเฟสบุ๊คของกลุ่ม ช่วยตรวจสอบ/รักษามาตรฐานผลผลิตของกลุ่ม ช่วยกันวิเคราะห์ ตลาด และประชาสัมพันธ์กลุ่ม

Did the Approach mobilize/ improve access to financial resources for SLM implementation?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน ง่ายต่อการขอกู้เงิน แต่กลุ่มไม่กู้ เพราะไม่อยากเป็นหนี้ อยากทำตามกำลัง แต่ประธานกลุ่มเป็้นคนกู้เงิน เพื่อเอาเงินมาสร้างโรงคัดแยกผลผลิต บรรจุ ก่อนจำหน่าย เป็นความเสียสละของประธาน

Did the Approach improve knowledge and capacities of land users to implement SLM?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรผู้ใช้เทคโนโลยีเอสแอลเอ็ม /สมาชิกในกลุ่ม มีการคิดริเริ่ม ทดลองวิธีใหม่เพื่อกำจัดโรคแมลงศัตรพืช และเผยแพร่แลกเปลี่ยนกันภายในกลุ่ม

Did the Approach improve knowledge and capacities of other stakeholders?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

มีการแลกเปลี่ยนความรู้ และตรวจแปลงเพื่อนในกลุ่มทำให้มีการพัฒนาความรู้ตลอดเวลา

Did the Approach build/ strengthen institutions, collaboration between stakeholders?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

เป็นกลุ่มที่เข้มแข็ง จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน มีการประชุมทุกเดือน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมแก้ปัญหาด้วยกัน วิเคราะห์ตลาด และมีหน่วยงานรัฐสนับสนุนให้ตั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน (ปัถวีโมเดล) สนับสนุนการผลิตอาหารปลอดภัยระดับจังหวัด ทำให้กลุ่มมีความเข็มแข็งเพิ่มขึ้น

Did the Approach encourage young people/ the next generation of land users to engage in SLM?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

มีการเผยแพร่ เทคโนโลยีผ่านช่องทางสื่อต่างๆ เช่น TV Youtube เพจ เฟสบุ๊ค Line การออกงาน/ออกร้านนอกสถานที่ เปิดให้มาศึกษาดูงาน ลงมือทำ ควบคู่กับการท่องเที่ยว ได้ทั้งความรู้ ความเพลิดเพลินไม่เบื่อ ดีกว่าเรียนรู้เฉพาะในห้องเรียน และได้ของฝากกลับบ้าน

Did the Approach lead to improved food security/ improved nutrition?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

เป็นเทคโนโลยีช่วยฟื้นฟูและปรับปรุงดินให้ดินดีขึ้น ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม ปลอดภัยทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค เป็นการจัดการทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน

Did the Approach improve access to markets?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

ผลผลิตอินทรีย์ เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น เพราะกระแสนิยมของผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ตลาดมีมากมายขึ้น กำหนดราคาผลผลิตเอง

มีการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น เพราะการทำเกษตรอินทรีย์ เป็นเกษตรประณีตทุกขั้นตอนกระบวนการผลิต เก็บเกี่ยว คัดแยก ล้าง บรรจุภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ดังนั้นต้องใช้แรงงานมาก และเป็นแรงงานประณีต ทำให้ค่าแรงงานสูง

6.2 Main motivation of land users to implement SLM

  • increased profit(ability), improved cost-benefit-ratio

ราคาผลผลิตสูง ได้รับผลตอบแทนมากขึ้น

  • reduced land degradation

-

  • affiliation to movement/ project/ group/ networks

มีรวมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน

  • environmental consciousness

-

  • enhanced SLM knowledge and skills

มีการคิดริเริ่ม ทดลองวิธีการใหม่เพื่อแก้ปัญหากระบวนการผลิต และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มทุกเดือน ผ่านการประชุมกลุ่ม

6.3 Sustainability of Approach activities

Can the land users sustain what has been implemented through the Approach (without external support)?
  • yes
If yes, describe how:

เกษตรกรผู้ใช้ที่ดินสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องรอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ

6.4 Strengths/ advantages of the Approach

Strengths/ advantages/ opportunities in the land user’s view
1. มีแหล่งเรียนรู้ ดูงาน เพื่อศึกษาหาข้อมูลไปแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ
2. ทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพ เพราะกลุ่มช่วยกันขับเคลื่อน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นประจำทุกเดือน แบ่งปันปัจจัยการผลิต ตรวจติดตามแปลงของสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ปัถวีโมเดล วิเคราะห์และหาตลาด ร่วมกัน
3. ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ มีราคาสูง และกลุ่มกำหนดราคาเอง เป็นแรงจูงใจในการทำเกษตรอินทรียืน
4. เพิ่มช่องทางให้ผู้บริโภคเข้าถึง พืชผัก ผลไม้อินทรีย์ โดยการขายผ่านออนไลน์ เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน (ปัถวีโมเดล) เที่ยวฟรี กินฟรี
5. สร้างความเชื่อมั่นให้กับคนที่สนใจจะทำเกษตรอินทรีย์
6. ทำให้เกิดมี่สังสรรค์ recreation ทำให้เกิดความสุขในการที่ได้มีโอกาสพบและแลกเปลี่ยน ซึ่งกันและกัน
7.ทำให้เกิดช่องทาง และโอกาสในการเรียนรู้มากขึ้น
8. สุขภาพดีขึ้น
Strengths/ advantages/ opportunities in the compiler’s or other key resource person’s view
1) กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดลเข้มแข็ง เพราะผู้นำกลุ่ม/ ประธาน เป็นผู้เสียสละเวลา สถานที่ เงิน พัฒนาองค์ความรู้ไม่หยุด เพื่อแก้ปัญหากระบวนการผลิต และเป็นหน้าตา/ภาพลักษณ์ของกลุ่ม ทำให้ผู้บริโภค ผู้ประกอบการมั่นใจคุณภาพผลผลิต เพิ่มช่องทางหรือขยายตลาด

6.5 Weaknesses/ disadvantages of the Approach and ways of overcoming them

Weaknesses/ disadvantages/ risks in the land user’s view How can they be overcome?
การบริหารจัดการคนหมู่มาก ยาก มีหลากหลายแนวคิด/ วีธีการ เพื่อแก้ปัญหาโรคแมงศัตรูพืช การเร่งดอก เพิ่มผลผลิต แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และภูมิอากาศของจังหวัดจันทบุรี
สมาชิกกลุ่ม ไม่ว่าง ทำให้ขาดการประชุมประจำเดือน มีการถ่าย VDO ระหว่างประชุมกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกที่ขาดประชุมรับทราบข้อมูล ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ทุนบริหารกลุ่มมีน้อย กลุ่มจะค่อยๆ เดิน ตามกำลัง ไม่กู้หนี้มาดำเนินงาน เพิ่มเงินของกลุ่ม โดยการหักเงินจากสมาชิก ที่ขายผลผลิต ปีไหน ขายได้ราคา จะหักเข้ากลุ่มมาก แต่กลุ่มต้องยอมรับ เพื่อเอาไว้บริหารกลุ่ม หรือชดเชยให้กลุ่ม เพราะเกิดจากมีการส่งคืนผลไม้อินทรีย์จากตลาดต่างประเทศ กลุ่มจะจ่ายเงินให้เพื่อชดเชยค่าเสียหาย ไม่เก็บจากสมาชิก ถ้าปีไหน ราคาผลผลิตต่ำ กลุ่มจะไม่หักเงินเข้ากลุ่ม กรณีไม่มีเงินกลุ่มชดเชยค่าเสียหายที่ตลาดส่งคืนไม้ผล ประธานกลุ่มจะออกเงินชดเชยให้ ไม่เรียกเก็บจากสมาชิก
เกิดความขัดแย้งจากกฎ กติกาของกลุ่ม มากคนมากความคิด ร่วมพูดคุย มีการติดตาม ตรวจแปลงของสมาชิก ที่ต้องสงสัย อาจทำผิดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของกลุ่ม แปลงที่ผ่านการรับรอง ผลผลิตจะอยู่ในระดับเกรด A ขายได้ราคาสูง เป็นการสร้างแรงจูงใจ
ขาดความรู้ และข้อปฏิบัติ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ภาครัฐควรสนับสนุน
Weaknesses/ disadvantages/ risks in the compiler’s or other key resource person’s view How can they be overcome?
- -
- -
- -

7. References and links

7.1 Methods/ sources of information

  • field visits, field surveys

-

  • interviews with land users

5

  • interviews with SLM specialists/ experts

1

7.2 References to available publications

Title, author, year, ISBN:

Organic Farming System in the Context of Sufficiency Economy: Case Study of Organic Farmers in Mae Rim Watershed, Chiang Mai Province / Tawan Hangsoongnern, Pongsak Angkasith, Avorn Opatpatanakit and Ruth Sirisunyluck / 30 ฉบับที่ 1 มกราคม 2557 / ISSN 0857-0841

Available from where? Costs?

http://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=121&CID=911

7.3 Links to relevant information which is available online

Title/ description:

-

URL:

-

Links and modules

Expand all Collapse all

Modules