Approaches

แนวทางการปลูกผักอินทรีย์ บ้านเมืองอาง สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล [Thailand]

-

approaches_4308 - Thailand

Completeness: 97%

1. General information

1.2 Contact details of resource persons and institutions involved in the assessment and documentation of the Approach

Key resource person(s)

co-compiler:

วัฒนประพัฒน์ นางสาวกมลาภา

1760 ต่อ 5114 / 0836553915

kamalapa_w@hotmail.com

กรมพัฒนาที่ดิน

เลขที่ 2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ

Thailand

land user:

พจนบัณฑิต นายวัชรินทร์

085-7238510

-

98 หมู่ 9…ตำบล บ้านหลวง

Thailand

เจ้าหน้าที่ส่งเสริม:

คีรีภูวดล นายบุญตรี

081-1639230

สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์

175 หมู่ที่1 ต.วังหามแห

Thailand

1.3 Conditions regarding the use of data documented through WOCAT

When were the data compiled (in the field)?

13/09/2018

The compiler and key resource person(s) accept the conditions regarding the use of data documented through WOCAT:

Ja

2. Description of the SLM Approach

2.1 Short description of the Approach

การปลูกผักอินทรีย์ เป็นการบูรณาการของหลายหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือในการอบรมให้ความรู้ ทำวิจัยและสาธิต และสนับสนุนปัจจัยการผลิต กลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็งและมุ่งมั่น การปรับเปลี่ยนการทำเกษตรหมุนเวียนมาเป็นเกษตรอินทรีย์ ที่สร้างรายได้ตลอดปี ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การทำเกษตรอินทรีย์อย่างเคร่งครัด

2.2 Detailed description of the Approach

Detailed description of the Approach:

กิจกรรมการปลูกผักอินทรีย์ บ้านเมืองอาง ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน พื้นที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ วิถีชีวิตในอดีตของชาวปกาเกอะญอคือมีการทำไร่หมุนเวียน เปลี่ยนระบบการผลิตจากการพึ่งพาตนเองไปสู่การผลิตแบบเชิงเดี่ยว ทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงไปเรื่อยๆ ชาวบ้านมีรายได้ดีแต่กลับมีหนี้สิน ผู้นำในพื้นที่ช่วยคิดและแก้ไขปัญหาด้วยการปรับเปลี่ยนระบบผลิตเพื่อการค้าเป็นการผลิตแบบพอเพียง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) คือ ระบบการจัดการด้านการเกษตรแบบองค์รวม ที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศน์, วงจรชีวภาพ และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติ หลีกเลี่ยงวัตถุดิบที่ได้จากการสังเคราะห์ และไม่ใช้พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม(Genetic Modification) หรือ พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์ โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์ และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน หลักการที่สำคัญที่นำมาใช้มี ดังนี้ 1) พัฒนาระบบการผลิตไปสู่แนวทางเกษตรผสมผสานที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์ 2) พัฒนาระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองในเรื่องของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารภายในฟาร์ม 3) ฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติโดยใช้ทรัพยากรในฟาร์มมาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4) รักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์ในฟาร์มและความยั่งยืนของระบบนิเวศน์โดยรวม 5) ป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม 6) สนับสนุนระบบการผลิตและกระบวนการจัดการทุกขั้นตอนที่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม 7) ยึดหลักการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปที่เป็นวิธีการธรรมชาติ ประหยัดพลังงาน และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. เกษตรกรรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์ รับสมัครสมาชิก โดยสมาชิกต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบของกลุ่ม ต้องเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ กรณีละเมิดจะมีบทลงโทษ การจัดตั้งกลุ่มเพื่อหาเงินสนับสนุนในลงทุนทำเกษตรอินทรีย์ให้กับสมาชิก และเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่สามารถต่อรองราคาหรือหาตลาดได้ง่าย
2. สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์และศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ จัดอบรมความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ทุกปี ปีละอย่างน้อย 1 ครั้ง และพากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักอินทรีย์ ไปเรียนรู้ดูงานในสถานที่ที่ประสบความสำเร็จ
3. การคัดเลือกพื้นที่ และปลูกสร้างโรงเรือน โดยผู้นำและเกษตรกรในพื้นที่คัดเลือก จัดสรร เน้นการปลูกเพื่อพอเพียงไม่เน้นการค้า จึงมีระเบียบกติกาว่า สมาชิกแต่ละคนมีโรงเรือนได้ไม่เกิน 3 โรงเรือน โดยเฉลี่ยสมาชิกจึงมีรายละ 2 โรงเรือน ขนาดของโรงเรือน กว้าง 6 เมตร ยาว 30 เมตร สูงประมาณ 3-5 เมตร (180 ตารางเมตรต่อโรงเรือน)
4. วางแผนการผลิตผักอินทรีย์ สมาชิกประชุมหารือกับเจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ วางแผนการผลิตผักอินทรีย์ตามกำหนดการที่ตลาดรับซื้อต้องการและกำหนดบทลงโทษกรณีสมาชิกไม่ปฏิบัติตามแผน
5. การจัดหาปัจจัยการผลิต มีทั้งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานและเกษตรกรซื้อเอง แต่ทุกปัจจัยที่จะนำมาใช้ผลิตต้องเป็นอินทรีย์และมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และเกษตรกรต้องเก็บหลักฐานทุกชิ้นเพื่อให้หน่วยงานที่มาตรวจรับรองมาตรฐาน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงต้นทาง
6. ปลูกพืชอินทรีย์ เกษตรกรต้องปฏิบัติตามปฏิทินการปลูกพืชที่ร่วมกันทำอย่างเคร่งครัด และจดบันทึกกิจกรรมทุกขั้นตอน
7. การดูแลรักษาแปลงผลิตพืชอินทรีย์ เกษตรกรสมาชิกกลุ่มฯ มีหน้าที่จดบันทึกและควบคุมดูแลกำกับเรื่องห้ามใช้สารเคมีของสมาชิกกลุ่มฯ หากมีการละเมิดจะถูกลงโทษ และตัดจากการเป็นสมาชิก เจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์และกรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ติดตามให้คำแนะนำการใช้สารชีวภัณฑ์ สารไล่แมลง ตัวห้ำตัวเบียนฯลฯ ในการควบคุมกำจัดกรณีมีโรคและแมลงในแปลง กรมวิชาการและมกท.ทำหน้าที่ ติดตาม ตรวจสอบกระบวนการผลิตต้องสะอาดได้มาตรฐาน
8. การเก็บเกี่ยว เกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวตามแผนการเก็บเกี่ยวที่กำหนดไว้ การเก็บเกี่ยวต้องคำนึงถึงการรักษาคุณภาพผลผลิต หน่วยงานกรมวิชาการและ มกท.ทำหน้าที่ตรวจรับรอง โดยวิเคราะห์หาสารตกค้างในผลผลิต
9. การคัดและบรรจุ เป็นขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยว เกษตรกรต้องทำความสะอาดผลผลิตด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ปนเปื้อน คัดผลผลิตที่ไม่ได้คุณภาพออก จัดแบ่งขนาดให้มีความสม่ำเสมอ บรรจุในตระกร้าพลาสติกที่ที่มีกระดาษกรุทั้งตะกร้านำส่งโรงคัดบรรจุของสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ต่อไป หน่วยงานกรมวิชาการและ มกท.ติดตามตรวจสอบเรื่องของความสะอาดในขั้นตอนการคัดแยก บรรจุผลผลิต ไม่ปนเปื้อนสารเคมีทุกขั้นตอน และรับรองระบบงานการผลิตที่ได้มาตรฐาน
10. มีความร่วมมือของกลุ่มเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โครงการหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) , ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ , เทศบาลตำบลบ้านหลวง, อำเภอจอมทอง กรมพัฒนาที่ดิน ฯลฯ จัดงานประชุมถ่ายทอดองค์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อเผยแพร่สู่เกษตรกรหมู่บ้านอื่น นอกจากนี้มีรายการทีวีถ่ายทำรายการเพื่อถ่ายทอดความสำเร็จ
บทสรุปของผู้ใช้ประโยชน์การผลิตผักอินทรีย์ของบ้านเมืองอาง มีข้อสรุปว่า เกษตรกรเห็นถึงประโยชน์และความยั่งยืนที่จะเกิดขึ้นในการทำอาชีพเกษตรกรรมในอนาคต เกษตรกรมีความพอใจอย่างมากและมีความคิดที่จะทำต่อเนื่องในระยะยาว เนื่องจากเห็นประโยชน์และความสำเร็จทำให้เกษตรกรผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเป็นสินค้าได้มาตรฐานรองรับ สร้างความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้หลักล้านบาทแก่ชุมชน ปี 2560 ส่งผลผลิตปริมาณ 490,739 กิโลกรัม สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรบ้านเมืองอางมูลค่า 10,907,758 บาท

2.3 Photos of the Approach

2.4 Videos of the Approach

Comments, short description:

-

Location:

-

Name of videographer:

-

2.5 Country/ region/ locations where the Approach has been applied

Country:

Thailand

Region/ State/ Province:

เชียงใหม่

Further specification of location:

แปลงผักอินทรีย์แบบโรงเรือน บ้านป่าก่อ หมู่บ้านเมืองอาง ตำบล บ้านหลวง อำเภอจอมทอง

Comments:

สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์เป็นหน่วยงานหลักที่เข้ามาส่งเสริมอาชีพการผลิตผักอินทรีย์ โดยสนับสนุนองค์ความรู้และติดตามให้คำแนะนำ วางแผนการผลิต การเก็บเกี่ยว ตลอดจนหาตลาดรับซื้อให้แก่ชุมชน จนทำให้เกษตรกรสามารถพัฒนากระบวนการผลิตผักอินทรีย์จนผ่านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ IFOAM และ AVA (มาตรฐานเกษตรของสิงคโปร์)

2.6 Dates of initiation and termination of the Approach

Indicate year of initiation:

2002

If precise year is not known, indicate approximate date when the Approach was initiated:

10-50 years ago

Comments:

เป็นแนวทางที่เกษตรกรเห็นความสำคัญและจะทำต่อเนื่อง เนื่องจากสร้างรายได้และช่วยรักษาระบบนิเวศน์ ไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารที่มีความปลอดภัยแก่มนุษย์และสัตว์

2.7 Type of Approach

  • project/ programme based

2.8 Main aims/ objectives of the Approach

แนวทางการปลูกผักอินทรีย์ บ้านเมืองอาง สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลมีวัตถุประสงค์ คือ
1) เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้เกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีรายได้พอเลี้ยงชีพมีรายได้ที่มั่นคง ยกระดับคุณภาพชีวิต
2) สร้างความมั่นคงทางอาหาร ประเทศไทยมีแหล่งผลิตอาหารที่มีความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค โดยการพัฒนาระบบการผลิตด้านการเกษตร ไปสู่การผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย มีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รองรับ
3) รักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นระบบที่มีการจัดการด้านการเกษตรแบบองค์รวมที่เกื้อหนุนระบบนิเวศน์ รักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์ในฟาร์มและความยั่งยืนของระบบนิเวศน์โดยรวม ป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

2.9 Conditions enabling or hindering implementation of the Technology/ Technologies applied under the Approach

availability/ access to financial resources and services
  • enabling

โครงการหลวงสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผักให้แก่เกษตรกรก่อน และหักเงินค่าเมล็ดพันธุ์ภายหลังจากการขายผลผลิต

institutional setting
  • enabling

มีการจัดตั้งกลุ่มผลิตผักอินทรีย์ กลุ่มผู้ใช้น้ำ กลุ่มผลิตปุ๋ยหมัก

collaboration/ coordination of actors
  • enabling

ทำให้เกิดการช่วยเหลือกันของคนในชุมชนเมื่อต้องการแรงงานในการปฏิบัติงาน

legal framework (land tenure, land and water use rights)
  • hindering

ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน

policies
  • enabling

สอดคล้องกับนโยบายสร้างครัวไทยสู่ครัวโลก และเกษตรอินทรีย์

knowledge about SLM, access to technical support
  • enabling

มีการบูรณาการของหลายหน่วยงานที่เข้ามาให้ความรู้และติดตามอย่างต่อเนื่องในการปฏิบัติให้ถูกต้อง

markets (to purchase inputs, sell products) and prices
  • enabling

มีตลาดที่ต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐาน และสามารถรับซื้อผลผลิตอย่างต่อเนื่องและให้ราคาสูง

3. Participation and roles of stakeholders involved

3.1 Stakeholders involved in the Approach and their roles

  • local land users/ local communities

เกษตรกรเผ่าปกาเก่อญอ

เป็นผู้ใช้ที่ดิน ดูแลรักษา

  • community-based organizations

สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ กรมส่งเสริมการเกษตร

ส่งเสริมอาชีพให้คำแนะนำความรู้ทางวิชาการสนับสนุนปัจจัยผลิต การคัดบรรจุ

  • local government

เทศบาลตำบลบ้านหลวงอำเภอ และจังหวัด

ร่วมจัดงานถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อส่งเสริมและขยายผลสู่หย่อมบ้านอื่น ๆ

3.2 Involvement of local land users/ local communities in the different phases of the Approach
Involvement of local land users/ local communities Specify who was involved and describe activities
initiation/ motivation self-mobilization เกิดปัญหาการทำเกษตรบนพื้นที่สูง ผลผลิตน้อย รายได้ไม่เพียงพอ ผู้นำชุมชนได้ทำหนังสือถวายฎีกาถึงหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อขอให้สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์เข้ามาส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
planning interactive 2545 สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์เริ่มดำเนินการทดสอบและสาธิตการผลิตพืชอินทรีย์ 2554 ไปอบรมดูงานที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการผลิตและการปลูกพืชภายใต้โรงเรือนไม้ไผ่กางมุ้ง
implementation interactive เกษตรกรดำเนินการตั้งกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์ กลุ่มผู้ใช้น้ำ ปี2548-2552 ผลิตผักอินทรีย์ภายใต้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์รับรองมาตรฐานโดยกรมวิชาการเกษตร 2548 ตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ จัดสรรการใช้น้ำทำเกษตรภายในชุมชนให้เพียงพอ 2553 ผลิตผักอินทรีย์แบบโรงเรือนกางมุ้ง และยกระดับการผลิตภายใต้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ IFOAM
monitoring/ evaluation interactive ตั้งกฎระเบียบตามเกณฑ์มาตรฐานเกษตรอินทรีย์IFOAM และมีการตรวจสอบและลงโทษโดยสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์
ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ none สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) , ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ , เทศบาลตำบลบ้านหลวง , อำเภอจอมทองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมจัดงานถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อขยายกิจกรรมไปสู่หย่อมบ้านอื่นๆ ปัจจุบันปี 2560 บ้านเมืองอางผลิตพืชอินทรีย์ที่มีคุณภาพได้รับการรับรองมาตรฐานจาก 3 หน่วยงาน คือ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ประเทศไทย (มกท.) และหน่วยงานรับรองมาตรฐานเกษตรของประเทศสิงคโปร์

3.3 Flow chart (if available)

Description:

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. เกษตรกรรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์ รับสมัครสมาชิก โดยสมาชิกต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบของกลุ่มโดยจะต้องยืนยันการเป็นเกษตรกรอินทรีย์ทุกปี ต้องเข้าร่วมประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 6 ครั้งต่อปี ต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องไม่ปลูกพืช 2 ระบบคือ อินทรีย์และ GAP ในเวลาเดียวกัน ยกเว้นการปลูกข้าว ต้องเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ กรณีละเมิดจะมีบทลงโทษ การจัดตั้งกลุ่มเพื่อหาเงินสนับสนุนในลงทุนทำเกษตรอินทรีย์ให้กับสมาชิก และเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่สามารถต่อรองราคาหรือหาตลาดได้ง่าย
2. สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์และศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ จัดอบรมความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ทุกปี ปีละอย่างน้อย 1 ครั้ง และพากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักอินทรีย์ ไปเรียนรู้ดูงานในสถานที่ที่ประสบความสำเร็จ
3. การคัดเลือกพื้นที่ และปลูกสร้างโรงเรือน โดยผู้นำและเกษตรกรในพื้นที่คัดเลือก จัดสรร เน้นการปลูกเพื่อพอเพียงไม่เน้นการค้า จึงมีระเบียบกติกาว่า สมาชิกแต่ละคนมีโรงเรือนได้ไม่เกิน 3 โรงเรือน โดยเฉลี่ยสมาชิกจึงมีรายละ 2 โรงเรือน ดังนั้นเงินลงทุนสร้างโรงเรือน 2 โรงเรือนแรกมีเงินกองทุนสนับสนุนช่วยเหลือให้ 60% ของค่าโรงเรือน และลงทุนเองอีก 40% ถ้าใครจะทำโรงเรือนที่ 3 ต้องลงทุนเองทั้งหมด ขนาดของโรงเรือน กว้าง 6 เมตร ยาว 30 เมตร สูงประมาณ 3-5 เมตร (180 ตารางเมตรต่อโรงเรือน)
4. วางแผนการผลิตผักอินทรีย์ สมาชิกประชุมหารือกับเจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ วางแผนการผลิตผักอินทรีย์ตามกำหนดการที่ตลาดรับซื้อต้องการ โดยกำหนดชนิดผักที่ปลูก วันเพาะกล้า วันปลูก จนถึงวันตัดผลผลิต ทำเป็นปฏิทินการดำเนินการของเกษตรกรเป็นรายบุคคล กรณีสมาชิกไม่ปฏิบัติตามแผน จะหักค่าผลผลิต 50% เข้ากลุ่ม
5. การจัดหาปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ผัก ตัวห้ำตัวเบียน ได้รับการสนับสนุนจากโครงการหลวง, การกระจายน้ำสู่แปลงในระบบท่อ ทางลำเลียง โดโลไมท์ ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ได้รับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาที่ดินทั้งความรู้และงบประมาณ, ขี้วัว กาวเหนียวดักแมลง และสารชีวภัณฑ์ เกษตรกรซื้อเองจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และต้องเก็บหลักฐานทุกชิ้นเพื่อให้หน่วยงานมาตรวจสอบย้อนกลับได้
6. ปลูกพืชอินทรีย์ เกษตรกรต้องปฏิบัติตามปฏิทินการปลูกพืชที่ร่วมกันทำตามข้อ 4 และจดบันทึกกิจกรรมทุกขั้นตอน
7. การดูแลรักษาแปลงผลิตพืชอินทรีย์ เกษตรกรสมาชิกกลุ่มฯ มีหน้าที่จดบันทึกและควบคุมดูแลกำกับเรื่องห้ามใช้สารเคมีของสมาชิกกลุ่มฯ หากมีการละเมิดจะถูกลงโทษ และตัดจากการเป็นสมาชิก เจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์และกรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ติดตามให้คำแนะนำการใช้สารชีวภัณฑ์ สารไล่แมลง ตัวห้ำตัวเบียนฯลฯ ในการควบคุมกรณีมีโรคและแมลงในแปลง กรมวิชาการและมกท.ทำหน้าที่ ติดตาม ตรวจสอบกระบวนการผลิตต้องสะอาดได้มาตรฐาน
8. การเก็บเกี่ยว เกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวตามแผนการเก็บเกี่ยวที่กำหนดไว้ การเก็บเกี่ยวให้ใช้มีดคมตัด เพื่อรักษาผักให้ได้คุณภาพ ป้องกันการฉีกขาด หน่วยงานกรมวิชาการและ มกท.วิเคราะห์สารตกค้างในผลผลิต
9. การคัดและบรรจุ เป็นขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยว เกษตรกรต้องล้างผักให้สะอาดด้วยน้ำที่ไม่ปนเปื้อน ผึ่งให้แห้ง คัดผักที่ไม่ได้คุณภาพออก จัดแบ่งขนาดให้มีความสม่ำเสมอ บรรจุในตระกร้าพลาสติกที่ที่มีกระดาษกรุทั้งตะกร้านำส่งโรงคัดบรรจุของสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ต่อไป หน่วยงานกรมวิชาการและ มกท.ติดตามตรวจสอบเรื่องของความสะอาดในขั้นตอนการคัดแยก บรรจุผลผลิต ไม่ปนเปื้อนสารเคมีทุกขั้นตอน และรับรองระบบงานการผลิตที่ได้มาตรฐาน
10. มีความร่วมมือของกลุ่มเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โครงการหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) , ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ , เทศบาลตำบลบ้านหลวง, อำเภอจอมทอง กรมพัฒนาที่ดิน ฯลฯ จัดงานประชุมถ่ายทอดองค์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อเผยแพร่สู่เกษตรกรหมู่บ้านอื่น นอกจากนี้มีรายการทีวีถ่ายทำรายการเพื่อถ่ายทอดความสำเร็จ

Author:

กมลาภา วัฒนประพัฒน์

3.4 Decision-making on the selection of SLM Technology/ Technologies

Specify who decided on the selection of the Technology/ Technologies to be implemented:
  • all relevant actors, as part of a participatory approach
Specify on what basis decisions were made:
  • evaluation of well-documented SLM knowledge (evidence-based decision-making)

4. Technical support, capacity building, and knowledge management

4.1 Capacity building/ training

Was training provided to land users/ other stakeholders?

Ja

Specify who was trained:
  • land users
  • ประชาชนผู้สนใจ
If relevant, specify gender, age, status, ethnicity, etc.

-

Form of training:
  • farmer-to-farmer
  • demonstration areas
  • public meetings
  • courses
Form of training:
  • ถ่ายทำรายการออกอากาศ…
Subjects covered:

วิถีผัก...อินทรีย์ ที่บ้านเมืองอาง

Comments:

-

4.2 Advisory service

Do land users have access to an advisory service?

Ja

Specify whether advisory service is provided:
  • on land users' fields
  • at permanent centres

4.3 Institution strengthening (organizational development)

Have institutions been established or strengthened through the Approach?
  • yes, greatly
Specify the level(s) at which institutions have been strengthened or established:
  • local
Describe institution, roles and responsibilities, members, etc.

จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน เป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง สร้างรายได้ ให้ความรู้และศึกษาดูงานด้านการปลูกผักอินทรีย์ที่ประสบผลสำเร็จของบ้านเมืองอาง

Specify type of support:
  • financial
  • capacity building/ training
  • equipment
Give further details:

-

4.4 Monitoring and evaluation

Is monitoring and evaluation part of the Approach?

Ja

Comments:

ติดตามและประเมินผล โดย สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ กรมวิชาการ มกท.

If yes, is this documentation intended to be used for monitoring and evaluation?

Ja

Comments:

-

4.5 Research

Was research part of the Approach?

Ja

Specify topics:
  • economics / marketing
  • ecology
  • technology
Give further details and indicate who did the research:

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

5. Financing and external material support

5.1 Annual budget for the SLM component of the Approach

If precise annual budget is not known, indicate range:
  • 2,000-10,000
Comments (e.g. main sources of funding/ major donors):

เงินงบประมาณโครงการหลวง กรมส่งเสริมการเกษตร งบองค์การเทศบาลตำบล

5.2 Financial/ material support provided to land users

Did land users receive financial/ material support for implementing the Technology/ Technologies?

Ja

If yes, specify type(s) of support, conditions, and provider(s):

ได้รับเป็นวัสดุปัจจัยการผลิต เช่น โดโลไมท์ สารเร่งพด.1 พด.2 ทางลำเลียง ฝาย แมลงตัวห้ำตัวเบียน ปุ๋ยหมัก

5.3 Subsidies for specific inputs (including labour)

  • agricultural
Specify which inputs were subsidised To which extent Specify subsidies
None partly financed โดโลไมท์ หัวเชื้อจุลินทรีย์ทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ
  • infrastructure
Specify which inputs were subsidised To which extent Specify subsidies
None partly financed ทางลำเลียงในไร่นา ฝาย

5.4 Credit

Was credit provided under the Approach for SLM activities?

Ja

Specify conditions (interest rate, payback, etc.):

ปลอดดอกเบี้ย

Specify credit providers:

สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวง กลุ่มผู้ผลิตพืชอินทรีย์ สนับสนุนปัจจัยการผลิต

Specify credit receivers:

เกษตรกรผู้เป็นสมาชิก

5.5 Other incentives or instruments

Were other incentives or instruments used to promote implementation of SLM Technologies?

Ja

If yes, specify:

เห็นประโยชน์ของการรักษาระบบนิเวศน์ การรักษาป่าต้นน้ำ ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความปลอดภัย สร้างรายได้ตลอดปี

6. Impact analysis and concluding statements

6.1 Impacts of the Approach

Did the Approach help land users to implement and maintain SLM Technologies?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

เกษตรกรตั้งกลุ่มฯ เพื่อช่วยเหลือสมาชิก ในเรื่องความรู้และปัจจัยการผลิต

Did the Approach improve coordination and cost-effective implementation of SLM?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ สอดส่องดูแลหาบทลงโทษผู้กระทำผิดกฎระเบียบ

Did the Approach improve knowledge and capacities of land users to implement SLM?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

มีการอบรมให้ความรู้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

Did the Approach improve knowledge and capacities of other stakeholders?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

มีการถ่ายทอดความรู้เพื่อหาแนวร่วมการทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มทุกปี

Did the Approach improve gender equality and empower women and girls?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

ไม่กีดกันสามารถทำได้ทุกคน

Did the Approach encourage young people/ the next generation of land users to engage in SLM?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

ถ่ายทอดให้เยาวชน บุตรหลาน มาช่วยงาน

Did the Approach improve issues of land tenure/ user rights that hindered implementation of SLM Technologies?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

ใช้พื้นที่น้อย มีการควบคุมจำกัดจำนวนโรงเรือน และคืนพื้นที่เกษตรเป็นป่าไปแล้ว 1700ไร่

Did the Approach lead to improved food security/ improved nutrition?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

การผลิตมีความปลอดภัยไม่ใช้สารเคมีมีมาตรฐานรองรับ

Did the Approach improve access to markets?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

-

Did the Approach lead to more sustainable use/ sources of energy?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

-

Did the Approach lead to employment, income opportunities?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

ผลผลิตมีคุณภาพและตลาดต้องการมาก จึงขายได้ราคาสูง

6.2 Main motivation of land users to implement SLM

  • increased production

ปริมาณและคุณภาพผลผลิตดีขึ้นปลูกผักได้11 รอบต่อปี

  • reduced land degradation

การปลูกอยู่ในโรงเรือน ลดการชะล้างของหน้า ดิน มีการใช้อินทรียวัตถุลงดินตลอด เพิ่ม/รักษาสิ่งมีชีวิตในดิน

  • affiliation to movement/ project/ group/ networks

สมาชิกกลุ่มผลิตพืชอินทรีย์มี จำนวนเพิ่มขึ้นเนื่องจากเห็นว่าการ ปลูกพืชอินทรีย์สร้างรายได้เพิ่มขึ้น

6.3 Sustainability of Approach activities

Can the land users sustain what has been implemented through the Approach (without external support)?
  • uncertain
If no or uncertain, specify and comment:

ผู้ใช้ที่ดินยังต้องพึ่งพาการชี้นำแนวทางจากหน่วยงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการวางแผนการผลิต การหาตลาดรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน และยังไม่มี แบรนด์เป็นของตนเอง แต่อย่างไรก็ดี ผู้ใช้ที่ดินมีความพึงพอใจมากในการปลูกผักอินทรีย์ในโรงเรือน

6.4 Strengths/ advantages of the Approach

Strengths/ advantages/ opportunities in the land user’s view
1) ช่วยรักษาระบบนิเวศน์ และสภาพแวดล้อม ไม่บุกรุกพื้นที่ป่าใช้ที่ดิน และทำให้ชุมชนมีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่ปลอดภัย
2) เกษตรกรมีอาชีพที่มั่นคง รายได้และฐานะดีขึ้น
3) ผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย และส่งต่อความปลอดภัยมาถึงผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
Strengths/ advantages/ opportunities in the compiler’s or other key resource person’s view
1) สอดรับกับนโยบาย ”เกษตรอินทรีย์และครัวไทยสู่ครัวโลก” ของรัฐบาล แนวทางนี้สนับสนุนให้เกษตรกรสามารถผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย และส่งต่อความปลอดภัยมาถึงผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
2) ลดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ปลูกพืชไร่หมุนเวียน เพื่อหาเลี้ยงชีพ
3) ช่วยเสริมสร้างความตระหนักรู้เรื่องทรัพยากรดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ ให้แก่เกษตรกรชาวเขา สามารถใช้ทรัพยากรที่ดินและทรัพยากรน้ำได้อย่างคุ้มค่า มีการอนุรักษ์บำรุงรักษาที่ถูกวิธีเช่น ปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ ไม่ใช้สารเคมี รักษาให้เกิดสมดุลตามธรรมชาติ

6.5 Weaknesses/ disadvantages of the Approach and ways of overcoming them

Weaknesses/ disadvantages/ risks in the land user’s view How can they be overcome?
1) เกษตรกรยังอ่อนแอเรื่องของการตลาด พัฒนาองค์ความรู้เรื่องการทำตลาดออนไลน์
Weaknesses/ disadvantages/ risks in the compiler’s or other key resource person’s view How can they be overcome?
1) ระบบกรรมสิทธิ์ที่ดินของเกษตรกรชาวเขา เนื่องจากพื้นที่ทำกินอยู่ในเขตป่าสงวน จึงส่งผลทำให้การจัดสรรพื้นที่ดังกล่าวเกิดข้อจำกัด รัฐควรปรับปรุง แก้ไข ปัญหาเกี่ยวกับแนวนโยบายและมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองและควบคุมการทำเกษตรกรรมบนพื้นที่สูง

7. References and links

7.1 Methods/ sources of information

  • field visits, field surveys

3 คน

  • interviews with land users

1 คน

  • compilation from reports and other existing documentation

1 คน

7.2 References to available publications

Title, author, year, ISBN:

-

Available from where? Costs?

-

7.3 Links to relevant information which is available online

Title/ description:

เมืองอางโมเดล Archives - เข้มข้น กับคนข่าวเกษตรตัวจริง – ข่าวเกษตรทำกิน 29 มกราคม 2561

URL:

https://kasettumkin.com/tag/เมืองอางโมเดล

Title/ description:

The North องศาเหนือ – เมืองอางปลูกผักให้เป็นป่า 25 มิถุนายน 2560

URL:

http://program.thaipbs.or.th/thenorth/episodes/46187

Title/ description:

เรียนรู้รักษ์ป่ากับอาสาเที่ยว...ที่หมู่บ้าน ปกาเกอะญอ "บ้านเมืองอาง" เชียงใหม่9 มีนาคม 2561

URL:

https://m.mgronline.com/travel/detail/9610000022292

Title/ description:

ผักอินทรีย์เมืองอาง ปล่อยไก่..กำจัดศัตรูพืช 5 มิถุนายน 2558

URL:

https://www.thairath.co.th/content/502999

Title/ description:

วิถีผักอินทรีย์ที่บ้านเมืองอ่าง | ผู้นำด้านนวัตกรรม-เกษตรชีวภาพ 1 กุมภาพันธ์ 2560

URL:

https://www.svgroup.co.th/ผักอินทรีย์เมืองอ่าง/

Links and modules

Expand all Collapse all

Modules