Environmental Friendly Pig Farm /Zero Waste Pig Farm [Thailand]
- Creation:
- Update:
- Compilador/a: Kukiat SOITONG
- Editor: –
- Reviewers: William Critchley, Rima Mekdaschi Studer
หมูหลุมอินทรีย์ตามวิถึชุมชน
technologies_4252 - Thailand
View sections
Expand all Collapse all1. Informação geral
1.2 Detalhes do contato das pessoas capacitadas e instituições envolvidas na avaliação e documentação da tecnologia.
Pessoa(s)-chave
land user:
สิงห์โตศรี นายสุพจน์
กลุ่มหมูหลุมอินทรีย์ ตามวิถีชุมชนตำบลดอนแร่
Thailand
1.3 Condições em relação ao uso da informação documentada através de WOCAT
The compiler and key resource person(s) accept the conditions regarding the use of data documented through WOCAT:
Sim
1.4 Declaração de sustentabilidade da tecnologia descrita
A tecnologia descrita aqui é problemática em relação a degradação da terra de forma que não pode ser declarada uma tecnologia sustentável de gestão de terra?
Não
Comentários:
-
1.5 Reference to Questionnaire(s) on SLM Approaches (documented using WOCAT)

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงหมูหลุม (Zero Waste Pig Farm Technology Transfer Center) [Thailand]
ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงหมูหลุม เป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดความรู้เรื่องการเลี้ยงหมูหลุม จากเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จไปยังเกษตรกรและผู้สนใจ รวมทั้งมีการสร้างเครือข่ายผู้เลี้ยงหมูหลุมให้เป็นเวทีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้และแก้ไขปัญหาร่วมกัน
- Compilador/a: Kukiat SOITONG
2. Descrição da tecnologia de gestão sustentável da terra
2.1 Descrição curta da tecnologia
Definição da tecnologia:
หมูหลุม เป็นการจัดการในการเลี้ยงสุกร ด้วยวิธีการจัดการคอกและการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานกับการทำงานของจุลินทรีย์ที่ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์หมูที่ปลอดภัย และสามารถกักเก็บของเสียจากคอกเป็นปุ๋ยอินทรีย์ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนไม่เกิดมลภาวะต่อชุมชน
2.2 Descrição detalhada da tecnologia
Descrição:
(1) เทคโนโลยีนำไปใช้ที่ไหน(สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ )
โดยทั่วไปการเลี้ยงสุกร ในชุมชน มักจะก่อให้เกิดมลภาวะอันเนื่องมาจาก ของเสียจากการเลี้ยงสุกรได้แก่ มูลสุกร น้ำเสียจากการเลี้ยงและกลิ่น ทำให้เกิดมลภาวะและความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์จากที่ดินของชุมชน การจัดการเลี้ยงหมู แบบ หมูหลุม เป็นเทคโนโลยีทางเลือกในการลดปัญหาอันเนื่องมาจากการเลี้ยงหมูแบบเดิม ที่ส่งผลกระทบชีวิตความเป็นอยู่ สภาวะสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่นำไปสู่ความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์จากที่ดินของชุมชน
(2) อะไรคือลักษณะหรือองค์ประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยี
การเลี้ยงหมูหลุม มีลักษณะการจัดการเฉพาะประกอบด้วย2 ส่วน คือ การจัดการเลี้ยงหมูหลุมและการจัดการของเสียจากการเลี้ยงหมู
ก.การจัดการเลี้ยงหมูหลุม มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือการจัดการโรงเรือนและวิธีการเลี้ยง
การจัดการโรงเรือน สร้างโรงเรือนบนพื้นที่ดอนที่ไม่มีน้ำท่วมขัง ใช้วัสดุที่หาได้ตามท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ หญ้าคา เป็นต้น สร้างเป็นลักษณะเพิงหมาแหงนหรือหน้าจั่วโดยให้โรงเรือนมีการระบายอากาศที่ดี การทำคอกหมูหลุม ในการเลี้ยงหมูหลุม ให้ทำคอกบนพื้นดิน ไม่เทพื้นซีเมนต์ แต่จะขุดหลุมลึกประมาณ 60-70 เซนติเมตร แล้วรองก้นหลุมด้วยแกลบ ขี้เลื่อย หรือขุยมะพร้าว
วิธีการเลี้ยงหมูหลุม ประกอบด้วย. การจัดการเรื่อง อาหารได้แก่ อาหารข้นและอาหารหมัก วัตถุดิบต้องคัดเลือกว่ามาจากกระบวนการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมี และมีการใช้สมุนไพรผงร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพ ผสมน้ำ ให้สัตว์กินเพื่อส่งเสริมสุขภาพสัตว์ เป็นการป้องกันและรักษาโรค
พันธุ์สุกรที่นำมาเลี้ยงในลักษณะหมูหลุม ได้แก่สายพันธุ์ที่นิยมนำมาเลี้ยงจะเป็นลูกผสมสามสายพันธ์ คือ ดูร็อคเจอร์ซี่ + แลนด์เลซ + ลาร์จไวท์ โดยให้อยู่ในช่วงหย่านม ( ประมาณ 1 เดือน )
ข.การจัดการของเสียจากการเลี้ยงหมู ให้ใช้แกลบรองก้นหลุม แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นละประมาณ 30 เซนติเมตร ระหว่างชั้น ใส่ดินแล้ว หว่านเกลือ แล้วรดน้ำหมักชีวภาพให้ชุ่ม จากนั้นทุกสัปดาห์ให้รดน้ำหมักชีวภาพเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายสิ่งปฏิกูลต่างๆ หลังจากเลี้ยงหมู ในแต่ละรอบของการเลี้ยง จะได้ปุ๋ยหมักมูลหมูหลุมพร้อมใช้
(3)อะไรคือจุดประสงค์หรือหน้าที่ของเทคโนโลยี
1.เพื่อให้การเลี้ยงหมูไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2.เพื่อให้ได้ปุ๋ยหมักมูลหมูหลุมที่มีคุณภาพ เพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์
3. เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์จากสุกรที่ปลอดภัยจากสารพิษไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
(4)กิจกรรมที่สำคัญหรือปัจจัยการผลิตที่จำเป็นในการจัดตั้งหรือบำรุงรักษาสภาพเทคโนโลยี
ขั้นตอนการเลี้ยงหมูหลุม
1.สร้างโรงเรือน บนพื้นที่ดอนที่ไม่มีน้ำท่วมขัง ให้โรงเรือนมีการระบายอากาศที่ดี
2.สร้างคอกหมูหลุม ขนาดคอกกว้าง 4 x 4 เมตร สามารถเลี้ยงได้คอกละ8 ตัว
3. การเตรียมคอก
4.พันธุ์สุกร สายพันธ์ที่นิยมนำมาเลี้ยงจะเป็นลูกผสมสามสายพันธ์
5. อาหารหมูหลุม วัตถุดิบ ต้องคัดเลือกว่ามาจากกระบวนการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมี
6. การป้องกันและรักษาโรค ใช้การฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพที่พื้นคอกและตัวหมูทุก 7 วันใช้น้ำหมักชีวภาพผสมน้ำให้หมูกิน เมื่อมีอาการป่วยก็รักษาตามอาการโดยการใช้ยาสมุนไพร
7. การดูแลรักษา
(5)ประโยชน์ที่ได้รับหรือผลกระทบของเทคโนโลยีคืออะไรบ้าง
1)มีวัสดุและวัตถุดิบในพื้นที่ทำให้ช่วยลดต้นทุนการผลิต
2)ได้ปุ๋ยที่เป็นประโยชน์สามารถนำไปเป็นธาตุอาหารให้กับพืชได้
3)ได้ผลิตภัณฑ์เนื้อหมูที่ปลอดภัย
4)ไม่เป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และไม่มีกลิ่นรบกวนชุมชน
5)เป็นอาชีพที่สามารถดำรงชีพได้อย่างยั่งยืน
(6)อะไรบ้างที่ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินชอบหรือไม่ชอบเกี่ยวกับเทคโนโลยี
อะไรบ้างที่ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินชอบ
1.สามารถเลี้ยงในชุมชนได้ เนื่องจากไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นจากมูลสุกรและ แมลงวัน
2.ได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพ ใข้ปรับปรุง บำรุงดิน ที่ปลูกพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ และจำหน่ายเป็นรายได้เสริม
3.ประหยัดแรงงานเนื่องจากไม่ต้องใช้แรงงานในการเก็บกวาดมูล สุกร ทำความสะอาด คอกและล้างตัวสุกรรวมทั้งยังทำให้ประหยัดน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงด้วย
อะไรบ้างที่ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินหรือไม่ชอบ
1.กระบวนการและการเลี้ยงหมูหลุมใช้เวลามากกว่าปกติ
2.ผลิตภัณฑ์จากหมูหลุมยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
3.ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานการเลี้ยงหมูหลุม จากภาครัฐ
4.การเลี้ยงหมูหลุม ต้องมีพื้นที่ปลูกพืชอาหารเพื่อเป็นวัตถุดิบอาหารให้หมูที่ปลอดภัย
2.3 Fotos da tecnologia
2.4 Vídeos da tecnologia
Comments, short description:
-
Location:
-
Name of videographer:
-
2.5 País/região/locais onde a tecnologia foi aplicada e que estão cobertos nesta avaliação
Country:
Thailand
Region/ State/ Province:
ราชบุรี
Further specification of location:
พื้นที่ตำบลดอนแร่ อ.เมือง จ.ราชบุรี
Comentários:
นายสุพจน์ สิงห์โตศรี 95/1 ม.9 ต.ดอนแร่ อ.เมือง จ.ราชบุรี
Map
×2.6 Data da implementação
Indique o ano de implementação:
1969
Caso o ano exato seja desconhecido, indique a data aproximada:
- more than 50 years ago (traditional)
2.7 Introdução da tecnologia
Especifique como a tecnologia foi introduzida:
- Como parte do sistema tradicional (>50 anos)
- การศึกษาดูงาน
Comentários (tipos de projeto, etc.):
-
3. Classificação da tecnologia de gestão sustentável da terra
3.1 Principal/principais finalidade(s) da tecnologia
- Melhora a produção
- Reduz, previne, recupera a degradação do solo
- Criar impacto econômico benéfico
- Cria impacto social benéfico
3.2 Tipo(s) atualizado(s) de uso da terra onde a tecnologia foi aplicada

Floresta/bosques
- Plantação de árvores, reflorestamento
Tree plantation, afforestation: Specify origin and composition of species:
- Variedades mistas
Comentários:
-
3.3 Has land use changed due to the implementation of the Technology?
Comentários:
-
3.4 Water supply
Outros (p. ex. pós-inundação):
- ใช้ในปศุสัตว์,สระน้ำ
Comentários:
-
3.5 Grupo de gestão sustentável da terra ao qual pertence a tecnologia
- Gestão integrada de fertilidade do solo
- Gestão de resíduos/gestão de águas residuais
3.6 Medidas de gestão sustentável da terra contendo a tecnologia

Medidas de gestão
- M6: Gestão de resíduos (reciclagem, reuso ou redução)

Outras medidas
Especifique:
-
Comentários:
การเลี้ยงหมูในคอกที่ทำให้ไม่มีของเสีย/ทำลายสิ่งแวดล้อม
3.7 Principais tipos de degradação da terra abordados pela tecnologia

Degradação da água
- Hp: declínio da qualidade de água de superfície
Comentários:
ถ้าทำปศุสัตว์แบบปกติจะทำให้เกิดมลภาวะต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
3.8 Redução, prevenção ou recuperação da degradação do solo
Especifique o objetivo da tecnologia em relação a degradação da terra:
- Reduzir a degradação do solo
Comentários:
นำปุ๋ยมูลหมูหลุมมาปรับปรุงบำรุงดิน
4. Especificações técnicas, implementação de atividades, entradas e custos
4.1 Desenho técnico da tecnologia
Especificações técnicas (relacionada ao desenho técnico):
1.โรงเรือนหมูหลุม
สร้างโรงเรือนบนพื้นที่ดอนที่ไม่มีน้ำท่วมขัง ไม่เทพื้นซีเมนต์ ใช้วัสดุที่หาได้ตามท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ หญ้าคา เป็นต้น สร้างเป็นลักษณะเพิงหมาแหงนหรือหน้าจั่ว โดยให้โรงเรือนมีการระบายอากาศที่ดี
2. การเตรียมคอก
การเลี้ยงแบบนี้จะเป็นพื้นอ่อนและโรงเรือนจะต้องสัมพันธ์กับจำนวนหมู โดยใช้มีขนาดคอกกว้าง 4 x 4 เมตร สามารถเลี้ยงได้คอกละ8 ตัว ส่วนแม่หมูจะใช้คอกเล็กกว่าหมูขุน จะใช้คอกขนาด 2x3 เมตร เริ่มด้วยการขุดพื้นคอกลึกลงไป 60 เซนติเมตร (หรือก่ออิฐขึ้นมาก็ได้) ในการมุงหลังคานั้นควรให้ตีนชายคากว้างกันไม่ให้น้ำฝนสาดเข้ามาในคอก และเมื่อตีฝาคอกแล้วต้องใช้อิฐบล็อกหรือไม้ไผ่กั้นรอบๆ คอกลึกลงไปจากพื้นดินประมาณ 40-50 เซนติเมตร เพื่อกันไม่ใช่หมูขุดนอกคอกได้ (การกั้นฝาคอกควรติดตั้งประตูปิด-เปิดได้ไว้ เพื่อความสะดวกในการนำหมูเข้า-ออก)
3.การเตรียมวัสดุพื้นคอก
ปูพื้นคอกโดยใช้แกลบหนา 60 เซ็นติเมตร แล้วใช้แกลือเม็ด ครึ่งลิตรโรยหน้าแล้วใช้น้ำหมักชีวภาพ ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดให้ทั่ว ช่วงนี้วัสดุพื้นคอกจะยังร้อนจากการทำงานของจุลินทรีย์ ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงนำหมูเข้าอยู่ได้ และควรราดน้ำหมักชีวภาพลงบนพื้นคอกเพิ่มเติมทุกๆ 5 – 7 วัน ครั้งละ 10ลิตร ภายหลังจากเริ่มเลี้ยงหมูแล้วเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายสิ่งปฏิกูลต่างๆ
แกลบจะทำหน้าที่ดูดซับความชื้นของเสียต่างๆ ลดการเกิดแก๊สจากการสะสมของเสีย พื้นแกลบนุ่มเดินสบายเท้าทำให้ไม่มีปัญหาเล็บเท้าฉีกขาด หมูชอบขุดคุ้ยดินที่เย็นสบาย นอกจากนั้นไม่ต้องใช้แรงงานและน้ำจำนวนมากในการทำความสะอาดโรงเรือน แกลบที่ใช้รองพื้นเมื่อหมูอายุครบกำหนด ยังได้ขายเป็นปุ๋ยคอกอีกด้วย สภาพแวดล้อมโดยรอบแห้งสะอาด ไม่มีสิ่งปฏิกูลให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค
4.พันธุ์สุกร
พันธุ์สุกรที่นำมาเลี้ยงในลักษณะหมูหลุม ได้แก่สายพันธุ์ที่นิยมนำมาเลี้ยงจะเป็นลูกผสมสามสายพันธ์ คือ ดูร็อคเจอร์ซี่ + แลนด์เลซ + ลาร์จไวท์ โดยให้อยู่ในช่วงหย่านม ( ประมาณ 1 เดือน )
5.อาหารหมูหลุม อาหารข้นและอาหารหมัก ผสมในอัตราส่วน อาหารข้น 50% และอาหารหมัก 50% เพื่อลดต้นทุนค่าอาหาร นอกจากนี้ยังมีการเสริมหญ้าสดให้กินทุกวันด้วย โดยให้กินประมาณครึ่งกิโลกรัม ต่อตัว สำหรับอาหารหมัก จะใช้พืชจากธรรมชาติมาหมัก คือ หยวกกล้วย 100 กิโลกรัม น้ำตาลทรายแดง 4 กิโลกรัม เกลือ 1 กิโลกรัม หมักทิ้งไว้ประมาณ 4-5 วัน วัตถุดิบที่นำมาผสมเป็นอาหาร ต้องคัดเลือกว่ามาจากกระบวนการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมี
การผลิตอาหารหมักชีวภาพในการเลี้ยงหมูหลุม น้ำหมักชีวภาพเป็นเทคโนโลยีชีวภาพท้องถิ่นที่ชาวบ้านสามารถทำเองได้โดยการนำเอาพืชผักผลไม้ซากสัตว์ไปหมัก โดยจุลินทรีย์ที่มีในบรรยากาศและกากน้ำตาลเป็นอาหารของจุลินทรีย์หรือการใช้หัวเชื้อที่คัดเลือก การใช้สารสกัดจากสมุนไพร และสารสกัดจากพืช โดยกระบวนการการหมักบ่มด้วยจุลินทรีย์ที่มีลักษณะจำเพาะ ด้วยระยะเวลาและวิธีการหมักบ่มที่เหมาะสมจะได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์กับสัตว์การใช้สมุนไพรผงและการใช้น้ำหมักชีวภาพ ผสมน้ำ ให้สัตว์กิน เป็นการส่งเสริมสุขภาพให้กับสัตว์ สามารถป้องกันและรักษาโรค นอกจากนี้ยังมีการใช้สมุนไพร ในการฆ่าเชื้อและต้านทานเชื้อก่อโรค
6.การให้อาหารและน้ำ
1.หมูเล็ก น้ำหนัก 15-30 กก.ใช้ อาหารข้น:อาหารหมัก=2:1
2.หมูรุ่น น้ำหนัก 30-60 กก.ใช้ อาหารข้น:อาหารหมัก=1:1
3.หมูใหญ่ น้ำหนัก 60-ส่งตลาดใช้ อาหารข้น:อาหารหมัก=1:2
4.แม่พันธุ์ พ่อพันธุ์ ใช้ อาหารข้น:อาหารหมัก=1:2
ส่วนการให้น้ำ ให้ตามปกติ และควรมีถ้วยรองน้ำเพื่อไม่ให้แฉอะแฉะ
7. การให้ยาและการป้องกันโรค
1. ในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับหมู ใช้น้ำหมักชีวภาพผสมน้ำให้หมูกิน แต่หากอาหารหรือน้ำไม่สะอาดพอ หมูอาจมีอาการท้องเสีย หรือขี้เหลวได้ (ซึ่งปกติไม่ค่อยเกิดบ่อยนัก) ต้องรักษาโดยนำใบฝรั่งสด ใบฟ้าทะลายโจรสด และเถาบอระเพ็ดเอาให้หมูกิน
2. ใช้ตาข่าย สำหรับกันยุงในเวลากลางคืน แต่หากเป็นพื้นที่ที่มีตัวริ้นชุกชุม ควรนำเอาตะไคร้หอมมาทุบแช่น้ำ แล้วฉีดพ่นให้หมูในช่วงหัวค่ำ
8. การดูแลหมูหลุม
1. ฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพที่พื้นคอกและตัวหมูทุก 7 วัน
2 .ทำความสะอาดบริเวณโรงเรือนทุกๆเดือน เติมขี้เถ้าแกลบ 1-2 กระสอบเดือนละครั้งต่อคอก
3. ตรวจสอบน้ำดื่มหมู เปลี่ยนที่เหลือสาดเข้าไปในคอกให้หญ้าสด,ผักสด ปริมาณ 1 ใน 3 ของอาหาร
Autor:
-
4.2 Informação geral em relação ao cálculo de entradas e custos
Especifique como custos e entradas foram calculados:
- por área de tecnologia
Indique o tamanho e a unidade de área:
27ไร่
If using a local area unit, indicate conversion factor to one hectare (e.g. 1 ha = 2.47 acres): 1 ha =:
-
If relevant, indicate exchange rate from USD to local currency (e.g. 1 USD = 79.9 Brazilian Real): 1 USD =:
32,0
Indique a média salarial da mão-de-obra contratada por dia:
300บาทต่อวัน
4.3 Atividades de implantação
Atividade | Timing (season) | |
---|---|---|
1. | การจัดการเลี้ยงหมูหลุม | 2 ครั้งต่อปี |
2. | การจัดการมูลจากหมูหลุม | 2 ครั้งต่อปี |
4.4 Custos e entradas necessárias para a implantação
Especifique a entrada | Unidade | Quantidade | Custos por unidade | Custos totais por entrada | % dos custos arcados pelos usuários da terra | |
---|---|---|---|---|---|---|
Mão-de-obra | 1.การจัดการเลี้ยงหมูหลุม | แรง | 210,0 | 300,0 | 63000,0 | 100,0 |
Mão-de-obra | 2.การจัดการอาหารหมูหลุม | แรง | 60,0 | 300,0 | 18000,0 | 100,0 |
Mão-de-obra | 3.การจัดการมูลหมูหลุม | แรง | 300,0 | 300,0 | 90000,0 | 100,0 |
Mão-de-obra | 4.การสร้างโรงเรือน | แรง | 120,0 | 300,0 | 36000,0 | 100,0 |
Material de construção | 1.ค่าวัสดุการสร้างโรงเรือน | โรง | 1,0 | 84000,0 | 84000,0 | 100,0 |
Outros | 1.ค่าอาหารการเลี้ยงหมูหลุม | ตัว | 90,0 | 3800,0 | 342000,0 | 100,0 |
Outros | 2.ค่าพันธุ์ลูกสุกร | ตัว | 90,0 | 1500,0 | 135000,0 | 100,0 |
Custos totais para a implantação da tecnologia | 768000,0 | |||||
Total costs for establishment of the Technology in USD | 24000,0 |
Se o usuário da terra arca com menos que 100% dos custos, indique quem cobre os custos remanescentes:
-
Comentários:
-
4.5 Atividades recorrentes/manutenção
Atividade | Calendarização/frequência | |
---|---|---|
1. | 1. การจัดการเลี้ยงหมูหลุม | 2 ครั้งต่อปี |
2. | 2. การจัดการอาหารหมูหลุม | 2 ครั้งต่อปี |
3. | 3. การจัดการมูลหมูหลุม | 2 ครั้งต่อปี |
Comentários:
-
4.6 Custos e entradas necessárias pata a manutenção/atividades recorrentes (por ano)
Especifique a entrada | Unidade | Quantidade | Custos por unidade | Custos totais por entrada | % dos custos arcados pelos usuários da terra | |
---|---|---|---|---|---|---|
Mão-de-obra | การจัดการเลี้ยงหมูหลุม | แรง | 210,0 | 300,0 | 63000,0 | 100,0 |
Mão-de-obra | การจัดกาอาหารรหมูหลุม | แรง | 60,0 | 300,0 | 18000,0 | 100,0 |
Mão-de-obra | การจัดการมูลหมูหลุม | แรง | 300,0 | 300,0 | 90000,0 | 100,0 |
Custos totais para a manutenção da tecnologia | 171000,0 | |||||
Total costs for maintenance of the Technology in USD | 5343,75 |
Se o usuário da terra arca com menos que 100% dos custos, indique quem cobre os custos remanescentes:
-
Comentários:
-
4.7 Fatores mais importantes que afetam os custos
Descreva os fatores mais determinantes que afetam os custos:
ค่าแรง
5. Ambiente naturale e humano
5.1 Clima
Precipitação pluviométrica anual
- <250 mm
- 251-500 mm
- 501-750 mm
- 751-1.000 mm
- 1.001-1.500 mm
- 1.501-2.000 mm
- 2.001-3.000 mm
- 3.001-4.000 mm
- > 4.000 mm
Especifique a média pluviométrica anual em mm (se conhecida):
1210,00
Especificações/comentários sobre a pluviosidade:
อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมทีพัดเวียนประจําฤดูกาล 2 ชนิด คือพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาวเรียกว่าลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อิทธิพลของลมนี้ทําให้ บริเวณจังหวัดราชบุรีมีอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง กับมรสุมอีกชนิดหนึงคือมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึง พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ในฤดูฝน ทําให้อากาศชุ่มชืนและมีฝนตกทัวไป
Indique o nome da estação meteorológica de referência considerada:
-
Zona agroclimática
- úmido
-
5.2 Topografia
Encostas em média:
- Plano (0-2%)
- Suave ondulado (3-5%)
- Ondulado (6-10%)
- Moderadamente ondulado (11-15%)
- Forte ondulado (16-30%)
- Montanhoso (31-60%)
- Escarpado (>60%)
Formas de relevo:
- Planalto/planície
- Cumes
- Encosta de serra
- Encosta de morro
- Sopés
- Fundos de vale
Zona de altitude:
- 0-100 m acima do nível do mar
- 101-500 m acima do nível do mar
- 501-1.000 m acima do nível do mar
- 1.001-1.500 m acima do nível do mar
- 1.501-2.000 m acima do nível do mar
- 2.001-2.500 m acima do nível do mar
- 2.501-3.000 m acima do nível do mar
- 3.001-4.000 m acima do nível do mar
- > 4.000 m acima do nível do mar
Indique se a tecnologia é aplicada especificamente em:
- Posições côncavas
Comentários e outras especificações sobre a topografia:
ราชบุรีเป็นจังหวัดทีมีเทือกเขาใหญ่น้อยเป็ นอันมาก โดยเฉพาะทางด้านตะวันตก ของจังหวัดมีเทือกเขาตะนาวศรี เป็ นแนวยาวกันเขตแดนไทยกับพม่า ทางตอนกลางของจังหวัดมีทีราบลุ่ม แม่นํ าแม่กลอง ซึงเหมาะแก่การเพาะปลูก และทางด้านตะวันออกเฉียงใต้เป็ นทีราบตํา ซึงได้รับอิทธิพลจาก การหนุนเนืองของนําทะเล
5.3 Solos
Profundidade do solo em média:
- Muito raso (0-20 cm)
- Raso (21-50 cm)
- Moderadamente profundo (51-80 cm)
- Profundo (81-120 cm)
- Muito profundo (>120 cm)
Textura do solo (solo superficial):
- Médio (limoso, siltoso)
Textura do solo (>20 cm abaixo da superfície):
- Médio (limoso, siltoso)
Matéria orgânica do solo superficial:
- Médio (1-3%)
Caso disponível anexe a descrição completa do solo ou especifique as informações disponíveis, p. ex. tipo de solo, PH/acidez do solo, nitrogênio, capacidade de troca catiônica, salinidade, etc:
-
5.4 Disponibilidade e qualidade de água
Lençol freático:
> 50 m
Disponibilidade de água de superfície:
Bom
Qualidade da água (não tratada):
apenas para uso agrícola (irrigação)
A salinidade da água é um problema?
Não
Ocorre inundação da área?
Não
Comentários e outras especificações sobre a qualidade e a quantidade da água:
-
5.5 Biodiversidade
Diversidade de espécies:
- Médio
Diversidade de habitat:
- Médio
Comentários e outras especificações sobre biodiversidade:
-
5.6 Características dos usuários da terra que utilizam a tecnologia
Sedentário ou nômade:
- Sedentário
Orientação de mercado do sistema de produção:
- Comercial/mercado
Rendimento não agrícola:
- Menos de 10% de toda renda
Nível relativo de riqueza:
- Rico
Indivíduos ou grupos:
- Indivíduo/unidade familiar
- Grupos/comunidade
Nível de mecanização:
- Trabalho manual
- Mecanizado/motorizado
Gênero:
- Homens
Idade dos usuários da terra:
- meia-idade
Indique outras características relevantes dos usuários da terra:
-
5.7 Average area of land used by land users applying the Technology
- < 0,5 ha
- 0,5-1 ha
- 1-2 ha
- 2-5 ha
- 5-15 ha
- 15-50 ha
- 50-100 ha
- 100-500 ha
- 500-1.000 ha
- 1.000-10.000 ha
- > 10.000 ha
É considerado pequena, média ou grande escala (referente ao contexto local)?
- Média escala
Comentários:
-
5.8 Propriedade de terra, direitos de uso da terra e de uso da água
Propriedade da terra:
- Indivíduo, intitulado
Direitos do uso da terra:
- Indivíduo
Direitos do uso da água:
- Indivíduo
Especifique:
-
Comentários:
-
5.9 Acesso a serviços e infraestrutura
Saúde:
- Pobre
- Moderado
- Bom
Educação:
- Pobre
- Moderado
- Bom
Assistência técnica:
- Pobre
- Moderado
- Bom
Emprego (p. ex. não agrícola):
- Pobre
- Moderado
- Bom
Mercados:
- Pobre
- Moderado
- Bom
Energia:
- Pobre
- Moderado
- Bom
Vias e transporte:
- Pobre
- Moderado
- Bom
Água potável e saneamento:
- Pobre
- Moderado
- Bom
Serviços finais:
- Pobre
- Moderado
- Bom
Comentários:
-
6. Impactos e declarações finais
6.1 Impactos no local mostrados pela tecnologia
Impactos socioeconômicos
Produção
Qualidade da safra
Comentários/especificar:
ดีขึ้นเนื่องจกกมีการใช่ปุ๋ยหมักจากมูลหมูหลุมที่มีคุณภาพ
Produção animal
Quantidade posterior à gestão sustentável da terra:
10%
Comentários/especificar:
ลดการตายของประชากรหมูหลุม
Risco de falha de produção
Comentários/especificar:
มีตลาดหลากหลาย
Diversidade de produtos
Comentários/especificar:
มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
Gestão de terra
Comentários/especificar:
แบ่งพื้นที่จัดการได้เหมาะสม
Disponibilidade e qualidade de água
Disponibilidade de água para criação de animais
Qualidade da água para criação de animais
Renda e custos
Rendimento agrícola
Diversidade de fontes de rendimento
Carga de trabalho
Comentários/especificar:
เอาใจใส่ในการผลิตมากขึ้น
Impactos socioculturais
Segurança alimentar/auto-suficiência
Comentários/especificar:
สามารผลิตได้อย่างยั่งยืน
Estado de saúde
Comentários/especificar:
สุขภาพแข็งแรง
Direitos do uso da terra/à água
Comentários/especificar:
มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มที่
Atenuação de conflitos
Comentários/especificar:
ทำให้ไม่มีกลิ่นเหม็นรบกวน
Impactos ecológicos
Solo
Ciclo e recarga de nutrientes
Comentários/especificar:
มีการนำมูลสุกรไปใช้ในพื้นที่
Salinidade
Comentários/especificar:
ปรับปรุงดินด้วยมูลหมูหลุม
Acidez
Comentários/especificar:
มีการใช้มูลหมูหลุมปรับปรุงดิน
Outros impactos ecológicos
ลดกลิ่นเหม็นในชุมชน
Comentários/especificar:
ลดกลิ่นจากการเลี้ยงหมูหลุม
ไม่มีของเสียจากการเลี้ยงสัตว์
6.2 Impactos externos mostrados pela tecnologia
Specify assessment of off-site impacts (measurements):
-
6.3 Exposição e sensibilidade da tecnologia às mudanças climáticas graduais e extremos/desastres relacionados ao clima (conforme o ponto de vista dos usuários da terra)
Mudança climática gradual
Mudança climática gradual
Estação do ano | increase or decrease | Como a tecnologia lida com isso? | |
---|---|---|---|
Temperatura anual | increase | não bem | |
Temperatura sazonal | increase | não bem |
Extremos (desastres) relacionados ao clima
Desastres biológicos
Como a tecnologia lida com isso? | |
---|---|
Doenças epidêmicas | não bem em absoluto |
Comentários:
ระบุสัตว์ตายมากขึ้น
6.4 Análise do custo-benefício
Como os benefícios se comparam aos custos de implantação (do ponto de vista dos usuários da terra)?
Retornos a curto prazo:
positivo
Retornos a longo prazo:
muito positivo
Como os benefícios se comparam aos custos recorrentes/de manutenção(do ponto de vista dos usuários da terra)?
Retornos a curto prazo:
positivo
Retornos a longo prazo:
muito positivo
Comentários:
-
6.5 Adoção da tecnologia
- 1-10%
Se disponível, determine a quantidade (número de unidades familiares e/ou área abordada):
จำนวนสมาชิกในกลุ่ม 15 ครัวเรือน
Of all those who have adopted the Technology, how many did so spontaneously, i.e. without receiving any material incentives/ payments?
- 0-10%
Comentários:
-
6.6 Adaptação
A tecnologia foi recentemente modificada para adaptar-se as condições variáveis?
Sim
Caso afirmativo, indique as condições variáveis as quais ela foi adaptada:
- Mercados dinâmicos
Especifique a adaptação da tecnologia (desenho, material/espécie, etc):
-คัดเลือกพันธุ์หมูหลุมให้เหมาะสม
-ลดหรือกำจัดกลิ่นเหม็นในการเลี้ยงหมูหลุม
6.7 Pontos fortes/vantagens/oportunidades da tecnologia
Strengths/ advantages/ opportunities in the land user’s view |
---|
1)มีวัสดุแลวัตถุดิบในพื้นที่ทำให้ช่วยลดต้นทุนการผลิต |
2)ได้ปุ๋ยที่เป็นประโยชน์สามารถนำไปเป็นธาตุอาหารให้กับพืชได้ |
3)ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย |
4)ไม่เป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่นรบกวนชุมชน |
5)สามารถเลี้ยงหมูหลุมในพื้นที่ชุมชนได้ |
6)เป็นอาชีพที่สามารถดำรงชีพได้อย่างยั่งยืน |
Strengths/ advantages/ opportunities in the compiler’s or other key resource person’s view |
---|
1)มีพื้นที่ที่เหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยี |
2)ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินมีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดี |
3)มีการปรับให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในชุมชน |
4)เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับในสังคมและชุมชน |
6.8 Pontos fracos, desvantagens/riscos da tecnologia e formas de superá-los
Weaknesses/ disadvantages/ risks in the land user’s view | How can they be overcome? |
---|---|
1.กระบวนการและการเลี้ยงหมูหลุมใช้เวลามากกว่าปกติ | 1ควรวิจัยหาเทคนิคและวิธีการตลอดจนเทคโนโลยีเข้ามาช่วย |
2) ผลิตภัณฑ์จากหมูหลุมยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย | 2เสนอให้ทั้งภาครัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น |
3)ยังไม่มีการกำนดมาตรฐานการเลี้ยงหมูหลุม จากภาครัฐ | 3.ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณากำหนดให้มีมาตรฐาน การเลี้ยงหมูหลุมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ |
4)การเลี้ยงหมูหลุม ต้องมีพื้นที่ปลูกพืชอาหารเพื่อเป็นวัตถุดิบอาหารให้หมูที่ปลอดภัย | 4ให้พิจารณาดำเนินการแบบกล่มและ/หรือชุมชนมีส่วนร่วม |
Weaknesses/ disadvantages/ risks in the compiler’s or other key resource person’s view | How can they be overcome? |
---|---|
- |
7. Referências e links
7.1 Métodos/fontes de informação
7.2 Referências às publicações disponíveis
Title, author, year, ISBN:
-
Available from where? Costs?
-
7.3 Links to relevant online information
Title/ description:
-
URL:
-
7.4 General comments
-
Links and modules
Expand all Collapse allLinks

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงหมูหลุม (Zero Waste Pig Farm Technology Transfer Center) [Thailand]
ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงหมูหลุม เป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดความรู้เรื่องการเลี้ยงหมูหลุม จากเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จไปยังเกษตรกรและผู้สนใจ รวมทั้งมีการสร้างเครือข่ายผู้เลี้ยงหมูหลุมให้เป็นเวทีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้และแก้ไขปัญหาร่วมกัน
- Compilador/a: Kukiat SOITONG
Modules
No modules