- (-)

กลุ่มเกษตรอินทรีย์ปัถวีโมเดล (ไทย)

ปัถวีโมเดล

คำอธิบาย

กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล เป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างเครือข่ายการผลิตผัก ผลไม้ และการแปรรูปสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพื่อจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ

(1) อะไรคือลักษณะที่สำคัญหรือคุณลักษณะที่เห็นเด่นชัดของแนวทาง
กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล เป็นการรวมตัวกันของเกษตรกรผู้ผลิตผักและผลไม้ ที่ต้องการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยกลุ่มฯมีบทบาทหน้าที่ จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้คำปรึกษา จัดหาปัจจัยการผลิตและการตลาด แก้ไขปัญหาร่วมกัน

2) อะไรคือเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของแนวทาง
กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล มีวัตถุประสงค์เพื่อรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักและผลไม้ เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การจัดการตลาด รวมทั้งเผยแพร่ความรู้การผลิตพืชผักและผลไม้ที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไปสู่สาธารณะ

(3) วิธีการใดที่ถูกเอามาใช้
กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล มีวิธีการดำเนินงานประกอบด้วย
1. รวมกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักและผลไม้
2. จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
3. การจัดการตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ
4. เผยแพร่ความรู้การผลิตพืชผักและผลไม้ที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไปสู่สาธารณะ
5. การจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
6. Technology Transfer อบรม ดูงาน แปลงสาธิต นิทรรศการ สื่อสิ่งพิมพ์ เฟสบุ๊ค
7. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
8. การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
r (4) ขั้นตอนของการเอาไปปฏิบัติใช้มีอันไหนบ้าง
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1 นายรัฐไท พงษ์ศักดิ์ เป็นผู้ริเริ่มทำสวนไม้ผลอินทรีย์ในหมู่บ้านปัถวี ที่ประสบผลสำเร็จ มีเกษตรกรและผู้สนใจมาศึกษาดูงาน ทำให้เกิดความต้องการทำเกษตรอินทรีย์
2. เกษตรกรผู้สนใจ รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มเรียกว่า “กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล ” เพื่อเป็นศูนย์กลางของเกษตรกรที่ผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเดียวกัน
3. กลุ่มฯ จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ จัดหาปัจจัยผลิต ร่วมกันวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการตลาด โดยจัดให้มีการประชุมเป็นประจำทุกวันที่ 20 ของเดือน
4. กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล ได้นำมาตรฐานการบริหารจัดการกลุ่มตามข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ในรูปแบบ PGS (Participatory Guarantee System) ภายใต้การให้คำแนะนำจากภาครัฐ

5. กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล ดำเนินกิจกรรมมุ่งเน้น 3 ด้าน คือ ด้านการผลิต ด้านการตลาด และด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
6. กลุ่มฯ ได้จัดให้มีกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการด้านการตลาด ได้แก่ การเผยแพร่การทำเกษตรอินทรีย์ของกลุ่ม การจำหน่ายผลผลิต การเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาเที่ยวชม ดูงาน อบรมการทำเกษตรอินทรีย์ การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานของกลุ่ม
7. กลุ่มฯ ได้จัดให้มีกิจกรรมเพื่อสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้แก่ การเปิดสวนให้เที่ยวฟรีกินฟรี และจำหน่ายผลผลิต
8. Technology Transfer เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อสนับสนุนงานของภาครัฐ
9. กล่มได้รับการ เสริมสร้างความเข้มแข็งโดยการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน เช่น ได้รับการสนับสนุน เครื่องจักรแปรรูปผลิตภัณฑ์ผลไม้อินทรีย์ จากบริษัทเอกชน ได้รับสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากภาครัฐ

(5) ผู้มีส่วนได้เสียมีผู้ใดที่เกี่ยวข้องและบทบาทของบุคคลเหล่านั้นมีอะไรบ้าง
ในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ปัถวีโมเดล มีผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่
- เกษตรกรเป็นประธานกลุ่ม โดยมีบทบาท บริหารกลุ่ม ส่งเสริมผลักดันกลุ่ม เสียสละเวลา สถานที่ เงินเพื่อขับเคลื่อนกลุ่ม ถ่ายทอดองค์ความรู้ เป็นหน้าตาของกลุ่ม
- เกษตรกรสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์ปัถวีโมเดล แลกเปลี่ยนรู้ การจัดการด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ การล้าง คัดแยกเกรดไม้ผล การตลาด ซื้อ-ขาย ถ่ายทอดองค์ความรู้ ออกงานแสดงนิทรรศการและขายสินค้า ผ่านสื่ออนไลน์
- ผู้สนใจอื่นๆ ได้แก่ เกษตรกรทั่วไป หมอดิน นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว ผู้บริโภค
- ผู้แทนตลาด ได้แก่ TOP market, เลม่อนฟาร์ม ญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป รับซื้อผลผลิต
- เจ้าหน้าที่ภาครัฐ สถาบันการศึกษา อบต. อบจ. สื่อมวลชน เอกชน มีบทบาทให้การสนับสนุน งบประมาณ การเผยแพร่ การจัดเวทีเรียนรู้ ดูงาน สนับสนุนเครื่องจักร

(6) สิ่งที่ผู้ใช้ที่ดินชอบหรือไม่ชอบเกี่ยวกับแนวทาง
ประเด็นที่เกษตรกรชอบในกระบวนของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ฯ ได้แก่
- มีแหล่งเรียนรู้ ดูงาน เพื่อศึกษาหาข้อมูลไปแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ
- เป็นการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์
- เปิดโอกาสให้เกษตรกรผู้สนใจเข้าร่วมกลุ่ม แต่ต้องทำตามมาตรฐานของกลุ่ม
- ทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพในกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล เนื่องจากมีการประชุมทุกเดือน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิต ช่วยแก้ปัญหาของกลุ่ม ช่วยกันขับเคลื่อนและหาตลาด
- ทำให้เกิดมี่สังสรรค์ recreation ทำให้เกิดความสุขในการที่ได้มีโอกาสพบปะ และแลกเปลี่ยน ซึ่งกันและกัน
-เกิดความเชื่อมั่นในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย

ประเด็นที่ เกษตรกรไม่ชอบ ได้แก่
-จำนวนสมาชิกกลุ่มฯ หากมีจำนวนมากเกินไปจะทำให้มีการบริหารจัดการที่ยุ่งยาก

สถานที่

สถานที่: 5 หมู่ 2..ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี, จันทบุรี, ไทย

ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของสถานที่ที่ถูกเลือ
  • 102.24629, 12.70255

วันที่ริเริ่ม: 2016

ปีที่สิ้นสุด: n.a.

ประเภทของแนวทาง
อบรมการทำเกษตรอินทรีย์ในไม้ผล (สถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรี)
ออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (-)

แนวทางการดำเนินการและบรรยากาศการพัฒนาที่เอื้ออํานวย

เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักของแนวทาง
กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล มีวัตถุประสงค์เพื่อรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักและผลไม้ เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การจัดการตลาด รวมทั้งเผยแพร่ความรู้การผลิตพืชผักและผลไม้ที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไปสู่สาธารณะ
เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อการนำเอาเทคโนโลยีภายใต้แนวทางนี้ไปปฏิบัติใช้
  • บรรทัดฐานและค่านิยมทางสังคม วัฒนธรรม ศาสนา: เพราะค่านิยมของสังคมไทย คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน จึงมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยไม่มีการปิดบังข้อมูล
  • การมีไว้ให้หรือการเข้าถึงแหล่งการเงินและบริการ: กลุ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน กู้ง่ายในนามกลุ่ม แต่กลุ่มไม่กู้ เพราะไม่อยากเป็นหนี้ แต่ประธานกลุ่มกู้เพื่อเอาเงินมาสร้างโรงงานคัดแยก เป็นความเสียสละของผู้นำ
  • การจัดตั้งระดับองค์กร: หน่วยงานภาครัฐ ให้ความรู้ คำแนะนำการทำเกษตรอินทรีย์ สนับสนุนปัจจัยการผลิต ตรวจรับรองแปลง ป้าย โปสเตอร์ แผ่นพับ สื่อสิ่งพิมพ์ VDO เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ จัดตั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน (ปัถวี โมเดล) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. และ อบจ.) ช่วยการติดต่อประสานกับผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาช่วยอบรมหรือให้ความรู้แก่กลุ่ม สถาบันการศึกษา พานักเรียน / นักศึกษา มาอบรม ดูงาน และลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เข้าใจกระบวนการผลิต ควบคู่การท่องเที่ยวชุมชน เอกชน สนับสนุนเครื่องจัก
  • การร่วมมือหรือการทำงานประสานกันของผู้ลงมือปฏิบัติ: ปัจจุบันติดต่อประสานงานง่ายมากกว่าขึ้นกว่าอดีต เพราะมีช่องทางการสื่อสารหลายอย่าง โทรศัพท์ ไลน์ เฟสบุ๊ค
  • นโยบาย: ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ ทำให้มีหน่วยงานรัฐมาสนับสนุน
  • การกำกับดูแลที่ดิน (การตัดสินใจ การนำเอาไปปฏิบัติใช้ และการบังคับใช้): ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชให้เหมาะสมกับศักยภาพของดิน
  • ความรู้เกี่ยวกับ SLM การเข้าถึงการสนับสนุนด้านเทคนิค: มีการจัดตั้งกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน ทำให้ง่ายต่อการเข้าถึงหน่วยงานให้การสนับสนุน ศวพ. 6 ให้คำแนะนำการทำเกษตรอินทรีย์ ตรวจสารปนเปื้อนของน้ำ สนับสนุนปัจจัยการผลิต ตรวจรับรองแปลงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ กรมพัฒนาที่ดิน สนับสนุนปัจจัยการผลิต โปสเตอร์ ป้าย ช่วยประชาสัมพันธ์กลุ่มผ่านการถ่ายทำ วีทีทัศน์ออกอากาศทาง ทีวี สำนักงานพัฒนาชุมชน จัดตั้งเป็นแหล่งเที่ยวเที่ยวชุมชน (ปัถวีโมเดล) ป้าย สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
  • ตลาด (จัดซื้อปัจจัยนำเข้า ขายผลิตภัณฑ์) และราคา: หาตลาดเอง และมีตลาดวิ่งเข้าหา เงื่อนไขคือ กลุ่มจะเป็นผู้ตั้งราคาจำหน่ายเอง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง
เงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคต่อการนำเอาเทคโนโลยีภายใต้แนวทางนี้ไปปฏิบัติใช้
  • การจัดตั้งระดับองค์กร: สนับสนุนไม่ต่อเนื่อง สนับสนุนผิดกลุ่มเป้าหมาย
  • กรอบแนวทางในการดำเนินการด้านกฎหมาย (การถือครองที่ดิน สิทธิในการใช้ที่ดินและน้ำ): แปลงเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรที่ไม่มีโฉนด ไม่สามารถขอใบรับรองมาตรฐานได้ ในบางมาตรฐาน
  • นโยบาย: ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐไม่รู้จักพื้นที่ ไม่รู้จักกลุ่ม มีการส่งเสริมผิดกลุ่ม ผิดวัตถุประสงค์ของโครงการ ทำให้สมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์ไม่ได้การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐบางหน่วยงาน
  • ตลาด (จัดซื้อปัจจัยนำเข้า ขายผลิตภัณฑ์) และราคา: ตลาดต่างประเทศที่อยู่ไกล เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี ระยะเป็นอุปสรรคในการขนส่งผลผลิต กลุ่มต้องดูแลจัดการดีเพื่อไม่ให้ผลไม้อินทรีย์เสียหายก่อนถึงมือผู้ประกอบการ (ผลไม้คงความสด สะอาด โดยไม่ใช้สารเคมี)
  • ปริมาณงานที่ทำได้ กำลังคนที่มีให้: แรงงานในพื้นที่มีน้อย ค่าแรงงานสูงมาก โดยเฉพาะค่าแรงงานคุณภาพยิ่งสูง เพื่อเก็บผลิต จัดการผลผลิตอย่างดีไม่ให้เสียหาย และกลุ่ม/เกษตรกรต้องดูแลควบคุมแรงงานอย่างดี เพื่อให้ทำตามแบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

การมีส่วนร่วมและบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องในแนวทางนี้และบทบาท
ผู้มีส่วนได้เสียหรือองค์กรที่นำไปปฏิบัติใช้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแนวทางนี้อย่างไร ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อธิบายบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผู้ใช้ที่ดินระดับท้องถิ่นหรือชุมชนระดับท้องถิ่น เกษตรกร ผู้ปลูกไม้ผล ประสบปัญหาเดียวกัน เช่น ปุ๋ย โรคแมลงศัตรูพืช การจัดการระบบน้ำ การตลาด จึงสนใจเข้ามาศึกษาดูงาน และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการแก้ไขปัญหา
องค์กรที่ขึ้นอยู่กับชุมชน กลุ่มมีการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน และจัดตั้งเป็นแหล่งเที่ยวชุมชน (ปัถวีโมเดล)
ผู้เชี่ยวชาญ SLM หรือที่ปรึกษาการเกษตร ศวพ. 6 ให้คำแนะนำการทำเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานอ้างอิงตาม มกษ. 9000 เล่ม 1-2552 เกษตรอินทรีย์ บริการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของน้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะ สนับสนุนปัจจัยการผลิต และตรวจรับรองแปลง เพื่อออกใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ Organic Thailand ต่อมามีการตั้งกฎ กติกา และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ปัถวีโมเดล เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัด และตรวจสอบได้
ครู เด็กนักเรียน หรือนักศึกษา สถาบันการศึกษา พานักเรียน / นักศึกษา สถาบันการศึกษา พานักเรียน / นักศึกษา มาอบรม ดูงาน และลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เข้าใจกระบวนการผลิต ควบคู่การท่องเที่ยวชุมชน
ภาคเอกชน บริษัทเอกชน สนับสนุนเครื่องจักร เพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ไม้ผลที่แก่ ขายไม่ได้ราคา เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต…รับซื้อผลผลิตของกลุ่ม
รัฐบาลระดับท้องถิ่น อบจ.และ อบต. ติดต่อประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เข้ามาอบรม แนะนำให้ความรู้แก่สมาชิกกลุ่ม เพื่อการจัดการผลผลิต การคัดแยกเกรด บรรจุภัณฑ์ เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานอินทรีย์ เพื่อจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า และส่งออกต่างประเทศ
เอเจนซี่หลัก
-
การเกี่ยวข้องของผู้ใช้ที่ดินระดับท้องถิ่นหรือชุมชนระดับท้องถิ่นในช่วงต่าง ๆ ของแนวทาง
ไม่มี
ไม่ลงมือ
จ่ายเงินหรือสนับสนุนจากภายนอก
ปฏิสัมพันธ์
ระดมกำลังด้วยตนเอง
การริเริ่มหรือการจูงใจ
x
เกษตรกรเจ้าของพื้นที่ดำเนินการ เพราะมีปัญหาด้านสุขภาพ จากการใช้สารเคมี ติดต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน
การวางแผน
x
เกษตรกรเจ้าของพื้นที่และเกษตรกรสมาชิก + ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ไปอบรม ดูงาน ลงมือปฏิบัติ เพื่อนำมาปรับใช้ในพื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์
การดำเนินการ
x
เกษตรกรเจ้าของพื้นที่และเกษตรกรสมาชิก +เจ้าหน้าที่รัฐภายในพื้นที่ + เข้าร่วมกลุ่ม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ตลาดและหาตลาดร่วมกัน เปิดสวนให้เที่ยวฟรีกินฟรี การถ่ายองค์ความรู้ การออกร้านจำหน่ายสินค้า
การติดตามตรวจสอบหรือการประเมินผล
x
เกษตรกรเจ้าของพื้นที่ดำเนินการ + สมาชิกกลุ่ม + เจ้าหน้าที่รัฐภายในพื้นที่ + นักท่องเที่ยว (ผู้บริโภค) + ผู้ประกอบการ มีการสุ่มตรวจของกลุ่ม และ มีสุ่มเก็บตัวอย่างผลผลิตไปตรวจสอบการปนเปื้อนของสารเคมี จากเจ้าหน้าที่รัฐ นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการ
แผนผัง

-

ผู้เขียน -
การตัดสินใจในการเลือกใช้เทคโนโลยี SLM

การตัดสินใจถูกทำโดย

  • ผู้ใช้ที่ดินเพียงผู้เดียว ( ริเริ่มด้วยตัวเอง)
  • ผู้ใช้ที่ดินเป็นผู้ตัดสินใจหลัก โดยการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญ SLM
  • ผู้ลงมือปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในฐานะที่เป็นส่วนรวมของแนวทาง
  • ผู้เชี่ยวชาญ SLM เป็นผู้ตัดสินใจหลัก ที่ติดตามให้คำปรึกษากับผู้ใช้ที่ดิน
  • ผู้เชี่ยวชาญ SLM เพียงผู้เดียว
  • นักการเมืองหรือผู้นำ

การตัดสินใจถูกตัดสินอยู่บนพื้นฐานของ

  • การประเมินความรู้ SLM ที่ได้ทำการบันทึกไว้เป็นอย่างดี (การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ)
  • สิ่งที่ค้นพบจากงานวิจัย
  • ประสบการณ์และความคิดเห็นส่วนตัว (ไม่ได้ลงบันทึกไว้)

การสนับสนุนด้านเทคนิค การสร้างขีดความสามารถ และการจัดการด้านความรู้

กิจกรรมหรือการบริการต่อจากนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวทาง
การสร้างสมรรถภาพหรือการอบรม
การจัดอบรมถูกจัดขึ้นสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อไปนี้
  • ผู้ใช้ที่ดิน
  • เจ้าหน้าที่ภาคสนาม / ที่ปรึกษา
รูปแบบของการอบรม
  • กำลังดำเนินการ
  • เกษตรกรกับเกษตรกร
  • ใช้พื้นที่ทำการสาธิต
  • จัดการประชุมสู่สาธารณชน
  • จัดคอร์ส
หัวข้อที่อบรม

อบรมหัวข้อที่ 1 การผลิตอาหารปลอดภัย ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค
อบรมหัวข้อที่ 2 การทำเกษตรอินทรีย์

การบริการให้คำแนะนำ
การให้คำแนะนำถูกจัดขึ้น
  • ไปเยี่ยมชมสถานที่
  • ที่ศูนย์ถาวร
เกษตรกร นักท่องเที่ยว นักเรียน/ นักศึกษา ผู้ประกอบการ ที่สนใจ สามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ ขอคำแนะนำ ลงมือทำ และควบคู่กับการท่องเที่ยว จากเกษตรกรเจ้าของเทคโนโลยีได้ ที่ปัถวีโมเดล (แหล่งท่องเที่ยวชุมชน) ที่สำคัญได้ของติดไม้ติดมือกลับบ้าน (มีพืชผัก ผลไม้ และผลิตแปรรูปจากผลไม้อินทรีย์จำหน่าย) ติดต่อสอบถามนายรัฐไท พงษ์ศักดิ์ โทร. 063-2262251 หรือ Facebook รัฐไทศูนย์เรียนรู้ชุมชนปัถวี
Line : รัฐไทorganic group
การติดตามตรวจสอบและประเมินผล
คิดเห็น กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล เปิดสวนให้เที่ยวฟรีชิมฟรี นักท่องเที่ยว (ผู้บริโภค) /ผู้ประกอบการ สามารถแอบเอาผลผลิตไม่ตรวจการปนเปื้อนของสารเคมีได้ตลอด หลังจากได้ทราบผลวิเคราะห์ก็จะส่งผลมาให้เกษตรกรเจ้าของสวนได้ดู.... ตลาดที่กลุ่มส่งสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้มีทั้งห้างสรรพสินค้า (เดอะมอลล์) TOP) และส่งออกไปญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป ซึ่งประเทศเหล่านี้จะมีการสุ่มตรวจทุกครั้ง... สมาชิกที่เข้าร่วมกลุ่มจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มอย่างเคร่งครัด มีการสุ่มตรวจแปลงสมาชิก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของผลผลิตอินทรีย์ จนอาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกลุ่ม

การสนับสนุนด้านการเงินและวัสดุอุปกรณ์

งบประมาณประจำปีสำหรับองค์ประกอบ SLM เป็นจำนวนดอลลาร์สหรัฐ
  • < 2,000
  • 2,000-10,000
  • 10,000-100,000
  • 10,000-100,000
  • > 1,000,000
Precise annual budget: n.a.
กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดจันทบุรี เอกชน
การบริการหรือแรงจูงใจต่อจากนี้ได้ถูกจัดให้สำหรับผู้ใช้ที่ดิน
  • การสนับสนุนด้านการเงิน / วัสดุอุปกรณ์ให้แก่ผู้ใช้ที่ดิน
  • เงินสนับสนุนสำหรับปัจจัยการผลิต
  • เครดิต
  • แรงจูงใจหรือเครื่องมืออื่น ๆ
การสนับสนุนด้านการเงินและวัสดุอุปกรณ์ให้แก่ผู้ใช้ที่ดิน
กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดจันทบุรี เอกชน สนับสนุนปัจจัยการผลิตสำหรับการทำแปลงสาธิต ป้าย โปสเตอร์ แผ่นพับ สื่อสิ่งพิมพ์ VDO เครื่องจักรแปรรูปผลิตภัณฑ์
ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินบางส่วน
ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินแบบเต็ม
อุปกรณ์: เครื่องจักร

140,000

x
อุปกรณ์: เครื่องจักร: เครื่องมือ

12,000

x

แรงงานของผู้ใช้ที่ดินคือ

เเรงจูงใจหรือเครื่องมืออื่นๆ

1. การจำหน่ายพืชผัก ไม้ผล ผลิตภัณฑ์แปรรูปไม้ผลอินทรีย์ แก่นักท่องเที่ยว ลูกค้าทั่วไปที่สั่งไม้ผลทางออนไลน์ ห้างสรรพสินค้า และตลาดต่างประเทศ 2. ค่าตอบแทนการทำหน้าที่วิทยากร เผยแพร่ความรู้จากภาครัฐ 3. ทำให้เกิดชื่อเสียงแพร่หลาย เป็นที่รู้จัก ทำให้ยิ่งขายผลิตของกลุ่มได้มากขึ้น 4. การได้รับรางวัลจากผลงานที่ทำ

ผลกระทบและสรุปคำบอกกล่าว

ผลกระทบของแนวทาง
ไม่ใช่
ใช่ เล็กน้อย
ใช่ ปานกลาง
ใช่ อย่างมาก
ทำให้ผู้ใช้ที่ดินระดับท้องถิ่นมีอำนาจขึ้น ปรับปรุงการเข้าร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ดีขึ้นหรือไม่

เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการเข้าร่วมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล มีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้น ตั้งราคาผลผลิตได้เอง มีความมั่นคงในอาชีพ

x
ช่วยในการตัดสินใจโดยดูจากหลักฐาน ได้หรือไม่

กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดล มีตลาดรองรับ กำหนดราคาจำหน่ายเอง ทำให้มีการลงทุนเพื่อสร้างโรงคัดแยกผลผลิต บรรจุภัณฑ์ ให้เป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เพื่อจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า และส่งออก

x
ช่วยให้ผู้ใช้ที่ดินนำเอาเทคโนโลยี SLMไปใช้และบำรุงรักษาสภาพไว้ได้หรือไม่

เกิดแรงบันดาลใจ อยากทำเกษตรอินทรีย์ เพราะขายได้ราคาสูง เพราะกระแสผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เลือกกินผลผลิตอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น

x
ปรับปรุงความร่วมมือกันและการดำเนิน งานของ SLM ได้อย่างมีประสิทธิผลหรือไม่

กลุ่มจะมีการประชุมทุกวันที่ 20 ของเดือน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการผลิต และมีการเผยแพร่องค์รู้ที่ใหม่ๆ ผ่านเฟสบุ๊คของกลุ่ม ช่วยตรวจสอบ/รักษามาตรฐานผลผลิตของกลุ่ม ช่วยกันวิเคราะห์ ตลาด และประชาสัมพันธ์กลุ่ม

x
ระดมกำลังหรือปรับปรุงการเข้าถึงแหล่ง เงินทุนสำหรับการดำเนินการ SLM หรือไม่

จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน ง่ายต่อการขอกู้เงิน แต่กลุ่มไม่กู้ เพราะไม่อยากเป็นหนี้ อยากทำตามกำลัง แต่ประธานกลุ่มเป็้นคนกู้เงิน เพื่อเอาเงินมาสร้างโรงคัดแยกผลผลิต บรรจุ ก่อนจำหน่าย เป็นความเสียสละของประธาน

x
ปรับปรุงความรู้และความสามารถของผู้ใช้ที่ดินในการดำเนินการ SLM หรือไม่

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรผู้ใช้เทคโนโลยีเอสแอลเอ็ม /สมาชิกในกลุ่ม มีการคิดริเริ่ม ทดลองวิธีใหม่เพื่อกำจัดโรคแมลงศัตรพืช และเผยแพร่แลกเปลี่ยนกันภายในกลุ่ม

x
ปรับปรุงความรู้และความสามารถของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนอื่น ๆ ให้ดีขึ้นหรือไม่

มีการแลกเปลี่ยนความรู้ และตรวจแปลงเพื่อนในกลุ่มทำให้มีการพัฒนาความรู้ตลอดเวลา

x
ทำให้ผู้ใช้ที่ดินระดับท้องถิ่นมีอำนาจขึ้น ปรับปรุงการเข้าร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ดีขึ้นหรือไม่

เป็นกลุ่มที่เข้มแข็ง จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน มีการประชุมทุกเดือน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมแก้ปัญหาด้วยกัน วิเคราะห์ตลาด และมีหน่วยงานรัฐสนับสนุนให้ตั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน (ปัถวีโมเดล) สนับสนุนการผลิตอาหารปลอดภัยระดับจังหวัด ทำให้กลุ่มมีความเข็มแข็งเพิ่มขึ้น

x
ส่งเสริมให้เยาวชนหรือบุตรหลานของผู้ใช้ที่ดินให้เข้าร่วมใน SLM

มีการเผยแพร่ เทคโนโลยีผ่านช่องทางสื่อต่างๆ เช่น TV Youtube เพจ เฟสบุ๊ค Line การออกงาน/ออกร้านนอกสถานที่ เปิดให้มาศึกษาดูงาน ลงมือทำ ควบคู่กับการท่องเที่ยว ได้ทั้งความรู้ ความเพลิดเพลินไม่เบื่อ ดีกว่าเรียนรู้เฉพาะในห้องเรียน และได้ของฝากกลับบ้าน

x
นำไปสู่ความมั่นคงด้านอาหารหรือปรับปรุงโภชนาการให้ดีขึ้น

เป็นเทคโนโลยีช่วยฟื้นฟูและปรับปรุงดินให้ดินดีขึ้น ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม ปลอดภัยทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค เป็นการจัดการทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน

x
ปรับปรุงการเข้าถึงตลาดหรือไม่

ผลผลิตอินทรีย์ เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น เพราะกระแสนิยมของผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ตลาดมีมากมายขึ้น กำหนดราคาผลผลิตเอง

x
แรงจูงใจหลักของผู้ใช้ที่ดินเพื่อที่จะนำ SLM ไปปฏิบัติใช้
ความยั่งยืนของกิจกรรมของแนวทาง
ผู้ใช้ปที่ดินสามารถทำให้สิ่งต่างๆ ที่ได้ปฏิบัติใช้โดยแนวทางนี้ยั่งยืนได้หรือไม่ (โดยไม่มีการสนับสนุนจากภายนอก)?

เกษตรกรผู้ใช้ที่ดินสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องรอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ

บทสรุปหรือบทเรียนที่ได้รับ

จุดแข็ง: มุมมองของผู้ใช้ที่ดิน
  • 1. มีแหล่งเรียนรู้ ดูงาน เพื่อศึกษาหาข้อมูลไปแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ
  • 2. ทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพ เพราะกลุ่มช่วยกันขับเคลื่อน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นประจำทุกเดือน แบ่งปันปัจจัยการผลิต ตรวจติดตามแปลงของสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ปัถวีโมเดล วิเคราะห์และหาตลาด ร่วมกัน
  • 3. ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ มีราคาสูง และกลุ่มกำหนดราคาเอง เป็นแรงจูงใจในการทำเกษตรอินทรียืน
  • 4. เพิ่มช่องทางให้ผู้บริโภคเข้าถึง พืชผัก ผลไม้อินทรีย์ โดยการขายผ่านออนไลน์ เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน (ปัถวีโมเดล) เที่ยวฟรี กินฟรี
  • 5. สร้างความเชื่อมั่นให้กับคนที่สนใจจะทำเกษตรอินทรีย์
  • 6. ทำให้เกิดมี่สังสรรค์ recreation ทำให้เกิดความสุขในการที่ได้มีโอกาสพบและแลกเปลี่ยน ซึ่งกันและกัน
  • 7.ทำให้เกิดช่องทาง และโอกาสในการเรียนรู้มากขึ้น
  • 8. สุขภาพดีขึ้น
จุดแข็ง: ทัศนคติของผู้รวบรวมหรือวิทยากรคนอื่นๆ
  • 1) กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ปัถวีโมเดลเข้มแข็ง เพราะผู้นำกลุ่ม/ ประธาน เป็นผู้เสียสละเวลา สถานที่ เงิน พัฒนาองค์ความรู้ไม่หยุด เพื่อแก้ปัญหากระบวนการผลิต และเป็นหน้าตา/ภาพลักษณ์ของกลุ่ม ทำให้ผู้บริโภค ผู้ประกอบการมั่นใจคุณภาพผลผลิต เพิ่มช่องทางหรือขยายตลาด
  • None
จุดด้อย/ข้อเสีย/ความเสี่ยง: มุมมองของผู้ใช้ที่ดินแก้ไขปัญหาได้อย่างไร
  • การบริหารจัดการคนหมู่มาก ยาก มีหลากหลายแนวคิด/ วีธีการ เพื่อแก้ปัญหาโรคแมงศัตรูพืช การเร่งดอก เพิ่มผลผลิต แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และภูมิอากาศของจังหวัดจันทบุรี
  • สมาชิกกลุ่ม ไม่ว่าง ทำให้ขาดการประชุมประจำเดือน มีการถ่าย VDO ระหว่างประชุมกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกที่ขาดประชุมรับทราบข้อมูล ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
  • ทุนบริหารกลุ่มมีน้อย กลุ่มจะค่อยๆ เดิน ตามกำลัง ไม่กู้หนี้มาดำเนินงาน เพิ่มเงินของกลุ่ม โดยการหักเงินจากสมาชิก ที่ขายผลผลิต ปีไหน ขายได้ราคา จะหักเข้ากลุ่มมาก แต่กลุ่มต้องยอมรับ เพื่อเอาไว้บริหารกลุ่ม หรือชดเชยให้กลุ่ม เพราะเกิดจากมีการส่งคืนผลไม้อินทรีย์จากตลาดต่างประเทศ กลุ่มจะจ่ายเงินให้เพื่อชดเชยค่าเสียหาย ไม่เก็บจากสมาชิก ถ้าปีไหน ราคาผลผลิตต่ำ กลุ่มจะไม่หักเงินเข้ากลุ่ม กรณีไม่มีเงินกลุ่มชดเชยค่าเสียหายที่ตลาดส่งคืนไม้ผล ประธานกลุ่มจะออกเงินชดเชยให้ ไม่เรียกเก็บจากสมาชิก
  • เกิดความขัดแย้งจากกฎ กติกาของกลุ่ม มากคนมากความคิด ร่วมพูดคุย มีการติดตาม ตรวจแปลงของสมาชิก ที่ต้องสงสัย อาจทำผิดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของกลุ่ม แปลงที่ผ่านการรับรอง ผลผลิตจะอยู่ในระดับเกรด A ขายได้ราคาสูง เป็นการสร้างแรงจูงใจ
  • ขาดความรู้ และข้อปฏิบัติ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ภาครัฐควรสนับสนุน
จุดด้อย/ข้อเสีย/ความเสี่ยง: ทัศนคติของผู้รวบรวมหรือวิทยากรคนอื่นๆแก้ไขปัญหาได้อย่างไร
  • - -
  • - -
  • - -

การอ้างอิง

ผู้รวบรวม
  • Kukiat SOITONG
Editors
ผู้ตรวจสอบ
  • Rima Mekdaschi Studer
  • William Critchley
วันที่จัดทำเอกสาร: 14 ธันวาคม 2018
การอัพเดทล่าสุด: 18 มกราคม 2021
วิทยากร
คำอธิบายฉบับเต็มในฐานข้อมูล WOCAT
ข้อมูล SLM ที่ถูกอ้างอิง
การจัดทำเอกสารถูกทำโดย
องค์กร โครงการ
การอ้งอิงหลัก
  • Organic Farming System in the Context of Sufficiency Economy: Case Study of Organic Farmers in Mae Rim Watershed, Chiang Mai Province / Tawan Hangsoongnern, Pongsak Angkasith, Avorn Opatpatanakit and Ruth Sirisunyluck / 30 ฉบับที่ 1 มกราคม 2557 / ISSN 0857-0841: http://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=121&CID=911
ลิงก์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ในออนไลน์
  • -: -
This work is licensed under Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareaAlike 4.0 International