แนวทาง

เครือข่ายหมอดินอาสา ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี [ไทย]

หมอดินอาสา

approaches_4245 - ไทย

สมบูรณ์: 97%

1. ข้อมูลทั่วไป

1.2 รายละเอียดที่ติดต่อได้ของผู้รวบรวมและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการประเมินและการจัดเตรียมทำเอกสารของแนวทาง

วิทยากรหลัก

ผู้ใช้ที่ดิน:

ไทย

ผู้ใช้ที่ดิน:

1.3 เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ผ่านทาง WOCAT

วันที่เก็บรวบรวมข้อมูล (ภาคสนาม):

10/10/2018

ผู้รวบรวมและวิทยากรหลักยอมรับเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลที่ถูกบันทึกผ่านทาง WOCAT:

ใช่

2. คำอธิบายของแนวทาง SLM

2.1 การอธิบายแบบสั้น ๆ ของแนวทาง

เครือข่ายหมอดินอาสาตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี น้อมนำแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรในที่ดินของตนเองให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถพึ่งพาตนเองได้

2.2 การอธิบายอย่างละเอียดของแนวทาง

การอธิบายอย่างละเอียดของแนวทาง:

(1) อะไรคือลักษณะที่สำคัญหรือคุณลักษณะที่เห็นเด่นชัดของแนวทาง
หมอดินอาสา คือ เกษตรกรที่ทำหน้าที่ เป็นผู้ประสานงานด้านการพัฒนาที่ดิน ให้คำปรึกษาและแนะนำด้าน การจัดการปัญหาความเสื่อมโทรมของที่ดิน การปรับปรุงบำรุงดิน การใช้ที่ดินให้เหมาะสม ตลอดจนให้บริการตรวจวิเคราะห์ดิน แก่เกษตรกรรวมทั้งร่วมดำเนินกิจกรรมต่างๆ กับเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีเครือข่ายหมอดินอาสาประมาณ 80,000 กว่าราย ในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด ครอบคลุมทั่วประเทศ
เครือข่ายหมอดินอาสา เป็นเครือข่ายของ เกษตรกรที่ทำหน้าที่หมอดินอาสา มีการทำงานร่วมกันแบบเครือข่ายเพื่อสนับสนุนบทบาทภารกิจของหมอดินและกรมพัฒนาที่ดินให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายมี่กำหนด

(2) อะไรคือเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของแนวทาง
เครือข่ายหมอดินอาสา ตั้งขึ้นเพื่อให้หมอดินอาสาและกรมพัฒนาที่ดิน ร่วมบูรณาการการทำงาน ตามบทบาทภารกิจ มีการเชื่อมโยงการทำงาน สนับสนุน และช่วยเหลืองานซึ่งกันและกัน
(3) วิธีการใดที่ถูกเอามาใช้
เครือข่ายหมอดินอาสา เป็นการสร้างเครือข่ายเกษตรกรที่ทำหน้าที่หมอดินอาสา ให้มีโอกาสแลกเปลี่ยน เรียนรู้และสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน โดยการจัดให้มีโครงสร้างของเครือข่ายครอบคลุมทั้งประเทศ ตามลำดับชั้นของพื้นที่ กล่าวคือ เครือข่ายในระดับ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด


(4) ขั้นตอนของการเอาไปปฏิบัติใช้มีอันไหนบ้าง
การดำเนินงานของเครือข่ายหมอดินอาสา มีขั้นตอนดังนี้
1.กรมพัฒนาที่ดินได้คัดเลือกและแต่งตั้งเกษตรกรให้ทำหน้าที่ หมอดินอาสา จำนวน 80,000 กว่าราย ในระดับหมู่บ้านครอบคลุมทั่วประเทศ
2. กรมพัฒนาที่ดินและกล่มเกษตรกรที่ทำหน้าที่หมอดินอาสา ระดับหมู่บ้าน จะคัดเลือกผู้แทนหมอดินอาสาในระดับ หมู่บ้าน ให้หน้าที่เป็นประธานหมอดินอาสาในระดับตำบล และประธานระดับ ตำบลจะพิจารณาคัดเลือกให้ทำหน้าที่ประธานระดับอำเภอ และจังหวัด เป็นลำดับชั้น
3.ประธานหมอดินอาสาในระดับต่างๆ จะทำงานร่วมกันแบบเครือข่าย
4 จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายหมอดินอาสาในแต่ละลำดับชั้นของเครือข่าย
5.เครือข่ายหมอดินอาสาแต่ละลำดับชั้น จะทำหน้าที่เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าวสารต่างๆไปสู่สมาชิก
6.เครือข่ายหมอดินอาสา จะทำหน้าที่ส่งเสริมและให้การสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีของหมอดินอาสาไปสู่ชุมชนเป้าหมาย
7.กรมพัฒนาที่ดินจัดอบรมให้ความรู้แก่เครือข่ายหมอดินอาสา
8.กรมพัฒนาที่ดิน นิเทศ ติดตามประเมินผล พร้อมให้คำแนะนำ และรายงานผล



(5) ผู้มีส่วนได้เสียมีผู้ใดที่เกี่ยวข้องและบทบาทของบุคคลเหล่านั้นมีอะไรบ้าง
ผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของเครือข่ายหมอดินอาสา
1) หมอดินอาสาในตำบลรำพัน เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ทำการเกษตรในรูปแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ และถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้แก่เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานในพื้นที่
2) เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป และเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ที่สนใจเข้ามาศึกษาหาความรู้และฝึกปฏิบัติจริงในพื้นที่
3) เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน และสำนักงาน ก.ป.ร.ให้การสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ วัสดุอุปกรณ์ เอกสารวิชาการ และถ่ายทอดความรู้แก่หมอดินอาสา

(6) สิ่งที่ผู้ใช้ที่ดินชอบเกี่ยวกับแนวทาง
ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับในมุมมองของเกษตรกร
1) ภาครัฐ โดยกรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริม ช่วยเหลือและสนับสนุนงบประมาณ ปัจจัยการผลิต เอกสารวิชาการ และองค์ความรู้ต่างๆ ในการดำเนินงานเกษตรทฤษฎีใหม่
2. การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของกลุ่มเครือข่ายหมอดินอาสามุ่งเน้นการใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี ทำให้ทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
3).

สิ่งที่ผู้ใช้ที่ดินไม่ชอบเกี่ยวกับแนวทาง
ข้อจำกัดในการดำเนินงาน เกษตรกรเห็นว่า การเกษตรตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่มีข้อจำกัดในด้านการยอมรับจากเกษตรกรทั่วไป เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ทำการเกษตรมุ่งเน้นผลกำไร แต่เกษตรทฤษฎีใหม่มุ่งเน้นให้เกษตรกรพอเพียง สามารถพึ่งพาตนเองได้

2.3 รูปภาพของแนวทาง

ข้อสังเกตทั่วไปเกี่ยวกับรูปภาพ:

-

2.4 วีดีโอของแนวทาง

ความคิดเห็น อธิบายสั้นๆ:

-

วันที่:

13/07/2016

สถานที่:

47 ม.3 ต.รำพัน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

ชื่อของผู้ถ่ายวีดีโอ:

กรมพัฒนาที่ดิน

2.5 ประเทศ ภูมิภาค หรือสถานที่ตั้งที่ได้นำแนวทางไปใช้

ประเทศ:

ไทย

ภูมิภาค/รัฐ/จังหวัด: :

จันทบุรี

ข้อมูลเฉพาะเพิ่มเติมของสถานที่ตั้ง:

47 หมู่ 3 ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

ความคิดเห็น:

-

2.6 วันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของแนวทาง

ระบุปีที่เริ่ม:

2007

ถ้าไม่รู้ปีที่แน่นอนให้ประมาณวันที่ที่ริเริ่มใช้แนวทางนี้ :

10-50 ปี

ความคิดเห็น:

-

2.7 ประเภทของแนวทาง

  • ใช้โครงงานหรือแผนงานเป็นฐาน

2.8 เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักของแนวทาง

เครือข่ายหมอดินอาสา ตั้งขึ้นเพื่อให้หมอดินอาสาและกรมพัฒนาที่ดิน ร่วมบูรณาการการทำงาน ตามบทบาทภารกิจ มีการเชื่อมโยงการทำงาน สนับสนุน และช่วยเหลืองานซึ่งกันและกัน

2.9 เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยหรือเป็นอุปสรรคต่อการนำเทคโนโลยีภายใต้แนวทางนี้ไปปฏิบัติใช้

บรรทัดฐานและค่านิยมทางสังคม วัฒนธรรม ศาสนา
  • เอื้ออำนวย

วัฒนธรรมและประเพณีไทย สอนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกษตรกรที่ประสบปัญหาทางการเกษตรภายในชุมชน

การมีไว้ให้หรือการเข้าถึงแหล่งการเงินและบริการ
  • เอื้ออำนวย

ในชุมชนมีแหล่งเงินทุนหลายแหล่ง เช่น ธกส. กองทุนหมู่บ้าน กองทุนกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน ที่สามารถให้กู้ยืมได้

  • เป็นอุปสรรค

เงื่อนไขการให้กู้เงินของแหล่งเงินทุนบางแหล่ง ทำให้เกษตรกรบางรายขาดโอกาสในการได้รับเงินกู้

การจัดตั้งระดับองค์กร
  • เอื้ออำนวย

-

การร่วมมือหรือการทำงานประสานกันของผู้ลงมือปฏิบัติ
  • เอื้ออำนวย

หน่วยงานภายในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ มีการบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรผสมผสาน

กรอบแนวทางในการดำเนินการด้านกฎหมาย (การถือครองที่ดิน สิทธิในการใช้ที่ดินและน้ำ)
  • เอื้ออำนวย

-

นโยบาย
  • เอื้ออำนวย

มีโครงการ 5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง รัชกาลที่ 9 ซึ่งดำเนินการมาแล้วกว่า 2 ปี หลายภาคส่วนร่วมบูรณาการ ช่วยกันขับเคลื่อน ถ่ายทอดองค์ความรู้ศาสตร์พระราชา/เกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนปัจจัยการผลิต ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ มีเอกสารเผยแพร่ และมีการติดตามประเมินผล

การกำกับดูแลที่ดิน (การตัดสินใจ การนำเอาไปปฏิบัติใช้ และการบังคับใช้)
  • เอื้ออำนวย

เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นทฤษฎีของการใช้ที่ดินที่มีจำกัดให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์คุ้มค่า การถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างแพร่หลาย จะทำให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความรู้เกี่ยวกับ SLM การเข้าถึงการสนับสนุนด้านเทคนิค
  • เอื้ออำนวย

-ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินมีความรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่/เศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดี สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่
-กรมพัฒนาที่ดิน ให้การสนับสนุนการขุดบ่อน้ำในไร่นา ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้เกษตรกร บริการตรวจวิเคราะห์ดิน สนับสนุนปัจจัยการผลิต ถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการ ผ่านเครือข่ายหมอดินอาสา และจุดเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน ตำบลรำพัน
-สำนักงาน กปร. และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ สนับสนุนและส่งเสริมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่

ตลาด (จัดซื้อปัจจัยนำเข้า ขายผลิตภัณฑ์) และราคา
  • เอื้ออำนวย

มีตลาดหรือแหล่งรับซื้อผลผลิตในราคาสูง เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกไม้ผลอินทรีย์มากขึ้น และมีตลาดนัดชุมชน สำหรับขายพืชผักเพิ่มรายได้หมุนเวียน

  • เป็นอุปสรรค

ราคาสินค้าเกษตรบางชนิดตกต่ำมาก โดยเฉพาะยางพารา เนื่องจากการผลิตมากกว่าความต้องการสินค้า ราคาถูกกำหนดโดยพ่อค้าคนกลาง

ปริมาณงานที่ทำได้ กำลังคนที่มีให้
  • เป็นอุปสรรค

แรงงานภาคการเกษตรในพื้นที่มีน้อย ค่าจ้างแรงงานในพื้นที่สูง เกษตรกรที่ทำเกษตรกรทฤษฎีใหม่จึงอาศัยแรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก พึ่งพาตนเอง บางครั้งมีการลงแขกช่วยเหลือกันภายในกลุ่ม

3. การมีส่วนร่วมและบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

3.1 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในแนวทางนี้และบทบาท

  • ผู้ใช้ที่ดินระดับท้องถิ่นหรือชุมชนระดับท้องถิ่น

เกษตรกรในชุมชน

เกษตรกรในชุมชน เดิมทำการเกษตรเชิงเดี่ยว ปลูกพืชชนิดเดียว หลังจากได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ ปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกพืชหลากหลายชนิดลดความเสี่ยงเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ และโรคพืช ร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ เพื่อบริโภค และจำหน่ายเป็นรายได้ของครัวเรือน ใช้ชีวิตแบบพอเพียงและพึ่งพาตนเอง

  • ผู้เชี่ยวชาญ SLM หรือที่ปรึกษาการเกษตร

-กรมพัฒนาที่ดิน
-กปร

กรมพัฒนาที่ดิน
-กปร นย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ นำเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ไปศึกษาดูงานเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ เพื่อเรียนรู้และนำมาปฏิบัติใช้ และช่วยเผยแพร่เกษตรทฤษฎีใหม่ผ่านสิ่งพิมพ์

  • นักวิจัย

นักวิจัยจากกรมพัฒนาที่ดิน

นักวิจัยจากกรมพัฒนาที่ดิน ใช้พื้นที่แปลงเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นแปลงทดลองเพื่อศึกษาวิจัยด้านต่างๆ ดังนี้
-การใช้กรดอินทรีย์จากน้ำหมักชีวภาพเพื่อทดแทนกรดฟอร์มิกสังเคราะห์ในการผลิตยางก้อนถ้วย (นายวิโรจน์ เผ่าวัฒนา)
-ทดสอบการใช้ประโยชน์ของหญ้าแฝกในพื้นที่ปลูกลองกอง เพื่อรักษาความชื้นในดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน และลดการชะล้างหน้าดิน (นายวิโรจน์ เผ่าวัฒนา)
-การจัดการดินกรดเพื่อปลูกแก้วมังกร (นางสาวนงปวีณ์ บุตรรามรา)

  • ครู เด็กนักเรียน หรือนักศึกษา

นักศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา

นักศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี เข้ามาศึกษาดูงาน ฝึกปฏิบัติ และเรียนรู้

  • รัฐบาลระดับท้องถิ่น

อบต อบจ

-

หน่วยงานทหาร เข้ามาศึกษาดูงาน

-

ถ้ามีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายคนที่เกี่ยวข้องให้ระบุหน่วยงานตัวแทน:

-

3.2 การเกี่ยวข้องของผู้ใช้ที่ดินระดับท้องถิ่นหรือชุมชนระดับท้องถิ่นในช่วงต่างๆของแนวทาง
ความเกี่ยวข้องของผู้ใช้ที่ดินระดับท้องถิ่นหรือชุมชนระดับท้องถิ่น ระบุผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและอธิบายกิจกรรม
การริเริ่มหรือการจูงใจ ปฏิสัมพันธ์ กรมพัฒนาที่ดินคัดเลือกเป็นหมอดินอาสา จัดตั้งเครือข่าย หมอดินอาสา
การวางแผน ปฏิสัมพันธ์ -กรมพัฒนาที่ดิน สร้างกลุ่มเครือข่ายหมอดินอาสาระดับหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้แก่หมอดินอาสาให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น -หมอดินอาสา
การดำเนินการ ปฏิสัมพันธ์ -กรมพัฒนาที่ดิน จัดตั้งเป็นจุดเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน -หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ จังหวัดจันทบุรีคัดเลือกเป็นแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ ในโครงการ 5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง รัชกาลที่ 9 และขับเคลื่อนการดำเนินงาน -สำนักงาน กปร. โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ คัดเลือกเป็นศูนย์เรียนรู้ปลูกพืชผสมผสาน ตามแนวพระราชดำริ -กรมพัฒนาที่ดินเผยแพร่ความสำเร็จ การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ การดำเนินงานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านเอกสารและสื่อวิดิทัศน์หมอดินอาสา
การติดตามตรวจสอบหรือการประเมินผล ปฏิสัมพันธ์ กรมพัฒนาที่ดินประเมินผลสำเร็จและผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน
-

3.3 แผนผังแสดงขั้นตอนการทำงาน (ถ้ามี)

คำอธิบาย:

-

ผู้เขียน:

-

3.4 การตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยี SLM

ระบุผู้ที่ทำการตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีมากกว่าหนึ่งวิธีไปปฏิบัติใช้:
  • ผู้ใช้ที่ดินเป็นผู้ตัดสินใจหลัก โดยการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญ SLM
การอธิบาย:

ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินและเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดความรู้ และสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากกรมพัฒนาที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ

ระบุว่าการตัดสินใจตั้งอยู่บนพื้นฐานของ:
  • ประสบการณ์และความคิดเห็นส่วนตัว (ไม่ได้ลงบันทึกไว้)
  • การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ

4. การสนับสนุนด้านเทคนิค การสร้างขีดความสามารถ และการจัดการด้านความรู้

4.1 การสร้างขีดความสามารถ / การอบรม

ได้มีการจัดอบรมให้แก่ผู้ใช้ที่ดินหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนอื่น ๆ หรือไม่:

ใช่

ให้ระบุว่าใครเป็นผู้ได้รับการอบรม:
  • ผู้ใช้ที่ดิน
ถ้าเกี่ยวข้อง ให้ระบุ เพศ อายุ สถานภาพ ชาติพันธุ์ เป็นต้น:

-

รูปแบบการอบรม:
  • กำลังดำเนินการ
  • เกษตรกรกับเกษตรกร
  • จัดการประชุมสู่สาธารณชน
หัวข้อที่พูด:

การปรับแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายใต้โครงการ “5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวงรัชกาลที่ 9” . ชื่อหัวข้อวิชาประกอบด้วย ศาสตร์พระราชา เกษตรทฤษฎีใหม่ และการจัดทำแผนผังแปลง แผนการผลิตของเกษตรกร การลดต้นทุนการผลิต ลดรายจ่าย การผลิตการสร้างผลผลิต/ การสร้างรายได้ การจัดทำบัญชีครัวเรือน

ความคิดเห็น:

เพิ่มพูนความรู้ศาตร์พระราชา และหลักการทำเกษตรทฤษฎีใหม่

4.2 การบริการให้คำแนะนำ

ผู้ใช้ที่ดินมีการเข้าถึงการรับบริการให้คำปรึกษาหรือไม่:

ใช่

ระบุว่ามีบริการให้คำปรึกษาหรือไม่:
  • ไปเยี่ยมชมสถานที่
การอธิบาย/แสดงความคิดเห็น:

เกษตรกรที่สนใจเกษตรทฤษฎีใหม่ สามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ และขอคำแนะนำได้ ณ ที่ตั้งแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ (คุณมะลิ คันธีระ) ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี หรือสอบถามได้ทางหมายเลขโทรศัพท์ 065-6903985

4.3 การเสริมความแข็งแกร่งให้กับสถาบัน (การพัฒนาองค์กร)

สถาบันได้รับการจัดตั้งขึ้นมาหรือเสริมความแข็งแกร่งโดยแนวทางนี้หรือไม่:
  • ไม่

4.4 การติดตามตรวจสอบและประเมินผล

การติดตามตรวจสอบและประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางหรือไม่:

ใช่

ความคิดเห็น:

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายใต้โครงการ “5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวงรัชกาลที่ 9” มีการตรวจและติดตามผล จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ

ความคิดเห็น:

-

4.5 การวิจัย

การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางหรือไม่:

ไม่ใช่

5. การสนับสนุนด้านการเงินและวัสดุอุปกรณ์

5.1 ระบุงบประมาณประจำปีสำหรับแนวทาง SLM นี้

ถ้าหากว่างบประมาณประจำปีไม่เป็นที่ทราบแน่นอน ให้ระบุช่วงลงไป:
  • < 2,000
แสดงความคิดเห็น (แหล่งของการระดมทุน ผู้บริจาคคนสำคัญ):

กรมพัฒนาที่ดิน

5.2 การสนับสนุนด้านการเงิน / วัสดุอุปกรณ์ให้แก่ผู้ใช้ที่ดิน

ผู้ใช้ที่ดินได้รับการสนับสนุนด้านการเงิน / วัสดุอุปกรณ์ไปปฏิบัติใช้เทคโนโลยีหรือไม่:

ใช่

ถ้าใช่ ให้ระบุประเภทของการสนับสนุน เงื่อนไขและผู้จัดหามาให้:

กรมพัฒนาที่ดิน สนับสนุนการดำเนินงานเกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างบ่อน้ำในไร่นา และปัจจัยการผลิต

5.3 เงินสนับสนุนสำหรับปัจจัยนำเข้า (รวมถึงแรงงาน)

  • การเกษตร
ระบุปัจจัยนำเข้าที่ได้รับการสนับสนุน เห็นด้วยระดับไหน ระบุเงินสนับสนุน
เมล็ด ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินบางส่วน 5,000
ปูนโดโลไมท์ ปูนมาร์ล 50,800
ถ้าแรงงานโดยผู้ใช้ที่ดินเป็นปัจจัยนำเข้าที่มีอยู่มากมาย ระบุด้วยว่าเนื่องจาก:
  • ให้ค่าตอบแทนด้วยการสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ
ความคิดเห็น:

กรมพัฒนาที่ดิน สนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปูนมาร์ล ปูนโลไมท์ เมล็ดพันธุ์ถั่วพร้า เชื้อจุลินทรีย์สารเร่ง พด. สำหรับผลิตปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ แผ่นป้ายจุดเรียนรู้ แก่เจ้าของจุดเรียนรู้ (นางมะลิ คันธีระ วิทยากรหลัก) เกษตรกรผู้ใช้ที่ดินได้รับการสนับสนุนปูนโดโลไมท์ และปูนมาร์ล

5.4 เครดิต

มีการจัดหาเครดิตมาให้ภายใต้แนวทาง SLM หรือไม่:

ใช่

ถ้าใช่ ระบุเงื่อนไข (อัตราดอกเบี้ย การชำระคืน):

-

ระบุผู้ให้เครดิต:

กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ และกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (สมาชิกออมเดือนละ 100 บาท และสมาชิกสามารถกู้เงินได้)

ระบุผู้รับเครดิต:

กลุ่มเกษตรกร

5.5 แรงจูงใจหรือเครื่องมืออื่น ๆ

แรงจูงใจหรือเครื่องมืออื่น ๆ ได้ถูกนำไปใช้ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี SLM หรือไม่:

ใช่

ถ้าใช่ ระบุ:

ใช้พื้นที่เป็นจุดเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ โดยมีหมอดินอาสา (นางสาวมะลิ คันธีระ) เป็นวิทยากรหลักในการถ่ายทอดความรู้ร่วมกับเครือข่ายหมอดินอาสาตำบลรำพัน

6. การวิเคราะห์ผลกระทบและการสรุป

6.1 ผลกระทบของแนวทาง

ทำให้ผู้ใช้ที่ดินระดับท้องถิ่นมีอำนาจขึ้น ปรับปรุงการเข้าร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ดีขึ้นหรือไม่:
  • ไม่ใช่
  • ใช่ เล็กน้อย
  • ใช่ ปานกลาง
  • ใช่ อย่างมาก

เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ (มีรายได้จากขายผลผลิตทางการเกษตรหลากหลายชนิด) มีการรวมกลุ่มเกษตรกร

ช่วยในการตัดสินใจโดยดูจากหลักฐาน ได้หรือไม่:
  • ไม่ใช่
  • ใช่ เล็กน้อย
  • ใช่ ปานกลาง
  • ใช่ อย่างมาก

เกษตกรบางรายหันมาปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินจากการปลูกเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ /เกษตรผสมผสาน มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองได้

ช่วยให้ผู้ใช้ที่ดินนำเอาเทคโนโลยี SLMไปใช้และบำรุงรักษาสภาพไว้ได้หรือไม่:
  • ไม่ใช่
  • ใช่ เล็กน้อย
  • ใช่ ปานกลาง
  • ใช่ อย่างมาก

เกษตรกรในชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และนำไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่ของตนเอง

ปรับปรุงความร่วมมือกันและการดำเนิน งานของ SLM ได้อย่างมีประสิทธิผลหรือไม่:
  • ไม่ใช่
  • ใช่ เล็กน้อย
  • ใช่ ปานกลาง
  • ใช่ อย่างมาก

มีเครื่อข่ายหมอดินอาสา กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแปรรูปสินค้าเกษตร และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ระดมกำลังหรือปรับปรุงการเข้าถึงแหล่ง เงินทุนสำหรับการดำเนินการ SLM หรือไม่:
  • ไม่ใช่
  • ใช่ เล็กน้อย
  • ใช่ ปานกลาง
  • ใช่ อย่างมาก

เครือข่ายช่วยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะกองทุนต่างๆ เกษตรกรสามารถกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำมาใช้ทางการเกษตรได้

ปรับปรุงความรู้และความสามารถของผู้ใช้ที่ดินในการดำเนินการ SLM หรือไม่:
  • ไม่ใช่
  • ใช่ เล็กน้อย
  • ใช่ ปานกลาง
  • ใช่ อย่างมาก

หน่วยงานภาครัฐ จัดฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่แก่เกษตรกร

ปรับปรุงความรู้และความสามารถของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนอื่น ๆ ให้ดีขึ้นหรือไม่:
  • ไม่ใช่
  • ใช่ เล็กน้อย
  • ใช่ ปานกลาง
  • ใช่ อย่างมาก

หน่วยงานภาครัฐ จัดฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่แก่เกษตรกร

ส่งเสริมให้เยาวชนหรือบุตรหลานของผู้ใช้ที่ดินให้เข้าร่วมใน SLM:
  • ไม่ใช่
  • ใช่ เล็กน้อย
  • ใช่ ปานกลาง
  • ใช่ อย่างมาก

เกษตรทฤษฎีใหม่มีการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ เช่น สื่อทีวี วิทยุ ยูทูป เยาวชนรุ่นใหม่ที่สนใจสามารถศึกษาหาความรู้ได้ และสามารถเข้ามาเรียนรู้ในแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ของคุณมะลิ คันธีระ เพื่อนำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองได้

นำไปสู่ความมั่นคงด้านอาหารหรือปรับปรุงโภชนาการให้ดีขึ้น:
  • ไม่ใช่
  • ใช่ เล็กน้อย
  • ใช่ ปานกลาง
  • ใช่ อย่างมาก

การผลิตสินค้าเกษตรทั้งพืชและสัตว์ ในแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นการเกษตรโดยใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี ทำให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัย

ปรับปรุงการเข้าถึงตลาดหรือไม่:
  • ไม่ใช่
  • ใช่ เล็กน้อย
  • ใช่ ปานกลาง
  • ใช่ อย่างมาก

มีผลผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยหลากหลายชนิด เป็นที่ต้องการของตลาด

6.2 แรงจูงใจหลักของผู้ใช้ที่ดินเพื่อที่จะนำ SLM ไปปฏิบัติใช้

  • การผลิตที่เพิ่มขึ้น

รูปแบบการผลิตหลากหลายชนิด

  • กำไร (ความสามารถ) อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น

มีรายได้หมุนเวียน เกษตรกรใช้ชีวิตแบบพอเพียง

  • การเสื่อมของที่ดินลดลง

รูปแบบการทำเกษตรทฤษฎีใหม่เน้นการใช้สารอินทรีย์
ช่วยลดและฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของดินทางเคมี

  • การเข้าร่วมสมทบในขบวนการ โครงการ กลุ่ม เครือข่าย

มีเครือข่ายหมอดินอาสาเข้มแข็ง

  • ความรู้และทักษะ SLM ที่เพิ่มพูนขึ้น

ได้จากการปฏิบัติเป็นประจำ และการไปศึกษาดูงานต่างพื้นที่

6.3 ความยั่งยืนของกิจกรรมของแนวทาง

ผู้ใช้ที่ดินสามารถทำให้สิ่งต่างๆ ที่ได้ปฏิบัติใช้โดยแนวทางนี้ยั่งยืนได้หรือไม่ (โดยไม่มีการสนับสนุนจากภายนอก):
  • ใช่
ถ้าตอบว่าใช่ ให้อธิบายว่าอย่างไร :

เครือข่ายหมอดินอาสานำแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่ของตนเอง สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยใช้แรงงานตนเอง/แรงงานในครัวเรือน อยู่แบบพอเพียง และนำไปบอกต่อแก่เกษตรกรแปลงข้างเคียงให้นำแนวทางนี้ไปใช้ได้

6.4 จุดแข็งและข้อได้เปรียบของแนวทาง

จุดแข็ง / ข้อได้เปรียบของแนวทางในทัศนคติของผู้ใช้ที่ดิน
1) เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้
2) หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนการดำเนินงานเกษตรทฤษฎีใหม่ของเครือข่ายหมอดินอาสา/กลุ่มสมาชิก
3) การรวมกลุ่มเกษตรกรทำให้เกิดความเข้มแข็ง รัก และสามัคคีกัน
จุดแข็ง / ข้อได้เปรียบของแนวทางในทัศนคติของผู้รวบรวมหรือวิทยากรหลัก
1 หน่วยงานภาครัฐถือเป็นหน่วยงานหลักที่ช่วยสนับสนุน ส่งเสริมเกษตรกรในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่
2)ทฤษฎีใหม่มุ่งเน้นการใช้สารอินทรีย์/วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในแปลงมาเป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เอง ช่วยลดต้นทุนการผลิต

6.5 จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบของแนวทางและวิธีในการแก้ไข

จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบในทัศนคติของผู้ใช้ที่ดิน สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร
1) แรงงานไม่พอ ค่าแรงงานสูง ใช้แรงงานในครัวเรือน และใช้เครื่องทุนแรง เช่น เครื่องตัดหญ้า
2) ขาดความรู้เรื่องการผลิตพืช ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
3)น้ำมีไม่เพียงพอสำหรับใช้ทำการเกษตร -เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ/ขุดบ่อน้ำในไร่นา ขุดลอกคลองธรรมชาติ โดยใช้แรงงานในครัวเรือน หรือขอสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจากหน่วยงานภาครัฐ/ท้องถิ่น
-สูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมากักเก็บไวในบ่อน้ำในไร่นา
จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบในทัศนคติของผู้รวบรวมหรือวิทยากรหลัก สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร
1)แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ มีข้อจำกัดในด้านการยอมรับจากเกษตรกร เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มุ่งเน้นผลกำไร แต่ทฤษฎีใหม่คือการใช้ชีวิตแบบพอเพียง เน้นให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ เร่งสร้างความตระหนักรู้แก่เกษตรกร ในเรื่องการใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวทฤษฎีใหม่ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

7. การอ้างอิงและการเชื่อมต่อ

7.1 วิธีการหรือแหล่งข้อมูล

  • ไปเยี่ยมชมภาคสนาม การสำรวจพื้นที่ภาคสนาม

-

  • การสัมภาษณ์กับผู้ใช้ที่ดิน

5

  • การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้าน SLM หรือผู้ชำนาญ

1

7.2 การอ้างอิงถึงสิ่งตีพิมพ์

ชื่อเรื่อง ผู้เขียน ปี ISBN:

-

ช่องทางในการสืบค้น และราคา:

-

7.3 เชื่อมโยงกับข้อมูลที่มีอยู่บนออนไลน์

ชื่อเรื่องหรือคำอธิบาย:

-

URL:

-

โมดูล