แนวทางการปลูกผักอินทรีย์ บ้านเมืองอาง สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล [泰国]
- 创建:
- 更新:
- 编制者: Pitayakon Limtong
- 编辑者: –
- 审查者: Rima Mekdaschi Studer, William Critchley
-
approaches_4308 - 泰国
查看章节
全部展开 全部收起1. 一般信息
1.2 参与方法评估和文件编制的资源人员和机构的联系方式
关键资源人员
co-compiler:
วัฒนประพัฒน์ นางสาวกมลาภา
1760 ต่อ 5114 / 0836553915
kamalapa_w@hotmail.com
กรมพัฒนาที่ดิน
เลขที่ 2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
泰国
土地使用者:
พจนบัณฑิต นายวัชรินทร์
085-7238510
-
98 หมู่ 9…ตำบล บ้านหลวง
泰国
เจ้าหน้าที่ส่งเสริม:
คีรีภูวดล นายบุญตรี
081-1639230
สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์
175 หมู่ที่1 ต.วังหามแห
泰国
1.3 关于使用通过WOCAT记录的数据的条件
(现场)数据是什么时候汇编的?:
13/09/2018
编制者和关键资源人员接受有关使用通过WOCAT记录数据的条件。:
是
2. SLM方法的描述
2.1 该方法的简要说明
การปลูกผักอินทรีย์ เป็นการบูรณาการของหลายหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือในการอบรมให้ความรู้ ทำวิจัยและสาธิต และสนับสนุนปัจจัยการผลิต กลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็งและมุ่งมั่น การปรับเปลี่ยนการทำเกษตรหมุนเวียนมาเป็นเกษตรอินทรีย์ ที่สร้างรายได้ตลอดปี ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การทำเกษตรอินทรีย์อย่างเคร่งครัด
2.2 该方法的详细说明
该方法的详细说明:
กิจกรรมการปลูกผักอินทรีย์ บ้านเมืองอาง ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน พื้นที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ วิถีชีวิตในอดีตของชาวปกาเกอะญอคือมีการทำไร่หมุนเวียน เปลี่ยนระบบการผลิตจากการพึ่งพาตนเองไปสู่การผลิตแบบเชิงเดี่ยว ทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงไปเรื่อยๆ ชาวบ้านมีรายได้ดีแต่กลับมีหนี้สิน ผู้นำในพื้นที่ช่วยคิดและแก้ไขปัญหาด้วยการปรับเปลี่ยนระบบผลิตเพื่อการค้าเป็นการผลิตแบบพอเพียง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) คือ ระบบการจัดการด้านการเกษตรแบบองค์รวม ที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศน์, วงจรชีวภาพ และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติ หลีกเลี่ยงวัตถุดิบที่ได้จากการสังเคราะห์ และไม่ใช้พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม(Genetic Modification) หรือ พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์ โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์ และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน หลักการที่สำคัญที่นำมาใช้มี ดังนี้ 1) พัฒนาระบบการผลิตไปสู่แนวทางเกษตรผสมผสานที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์ 2) พัฒนาระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองในเรื่องของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารภายในฟาร์ม 3) ฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติโดยใช้ทรัพยากรในฟาร์มมาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4) รักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์ในฟาร์มและความยั่งยืนของระบบนิเวศน์โดยรวม 5) ป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม 6) สนับสนุนระบบการผลิตและกระบวนการจัดการทุกขั้นตอนที่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม 7) ยึดหลักการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปที่เป็นวิธีการธรรมชาติ ประหยัดพลังงาน และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. เกษตรกรรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์ รับสมัครสมาชิก โดยสมาชิกต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบของกลุ่ม ต้องเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ กรณีละเมิดจะมีบทลงโทษ การจัดตั้งกลุ่มเพื่อหาเงินสนับสนุนในลงทุนทำเกษตรอินทรีย์ให้กับสมาชิก และเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่สามารถต่อรองราคาหรือหาตลาดได้ง่าย
2. สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์และศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ จัดอบรมความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ทุกปี ปีละอย่างน้อย 1 ครั้ง และพากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักอินทรีย์ ไปเรียนรู้ดูงานในสถานที่ที่ประสบความสำเร็จ
3. การคัดเลือกพื้นที่ และปลูกสร้างโรงเรือน โดยผู้นำและเกษตรกรในพื้นที่คัดเลือก จัดสรร เน้นการปลูกเพื่อพอเพียงไม่เน้นการค้า จึงมีระเบียบกติกาว่า สมาชิกแต่ละคนมีโรงเรือนได้ไม่เกิน 3 โรงเรือน โดยเฉลี่ยสมาชิกจึงมีรายละ 2 โรงเรือน ขนาดของโรงเรือน กว้าง 6 เมตร ยาว 30 เมตร สูงประมาณ 3-5 เมตร (180 ตารางเมตรต่อโรงเรือน)
4. วางแผนการผลิตผักอินทรีย์ สมาชิกประชุมหารือกับเจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ วางแผนการผลิตผักอินทรีย์ตามกำหนดการที่ตลาดรับซื้อต้องการและกำหนดบทลงโทษกรณีสมาชิกไม่ปฏิบัติตามแผน
5. การจัดหาปัจจัยการผลิต มีทั้งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานและเกษตรกรซื้อเอง แต่ทุกปัจจัยที่จะนำมาใช้ผลิตต้องเป็นอินทรีย์และมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และเกษตรกรต้องเก็บหลักฐานทุกชิ้นเพื่อให้หน่วยงานที่มาตรวจรับรองมาตรฐาน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงต้นทาง
6. ปลูกพืชอินทรีย์ เกษตรกรต้องปฏิบัติตามปฏิทินการปลูกพืชที่ร่วมกันทำอย่างเคร่งครัด และจดบันทึกกิจกรรมทุกขั้นตอน
7. การดูแลรักษาแปลงผลิตพืชอินทรีย์ เกษตรกรสมาชิกกลุ่มฯ มีหน้าที่จดบันทึกและควบคุมดูแลกำกับเรื่องห้ามใช้สารเคมีของสมาชิกกลุ่มฯ หากมีการละเมิดจะถูกลงโทษ และตัดจากการเป็นสมาชิก เจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์และกรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ติดตามให้คำแนะนำการใช้สารชีวภัณฑ์ สารไล่แมลง ตัวห้ำตัวเบียนฯลฯ ในการควบคุมกำจัดกรณีมีโรคและแมลงในแปลง กรมวิชาการและมกท.ทำหน้าที่ ติดตาม ตรวจสอบกระบวนการผลิตต้องสะอาดได้มาตรฐาน
8. การเก็บเกี่ยว เกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวตามแผนการเก็บเกี่ยวที่กำหนดไว้ การเก็บเกี่ยวต้องคำนึงถึงการรักษาคุณภาพผลผลิต หน่วยงานกรมวิชาการและ มกท.ทำหน้าที่ตรวจรับรอง โดยวิเคราะห์หาสารตกค้างในผลผลิต
9. การคัดและบรรจุ เป็นขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยว เกษตรกรต้องทำความสะอาดผลผลิตด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ปนเปื้อน คัดผลผลิตที่ไม่ได้คุณภาพออก จัดแบ่งขนาดให้มีความสม่ำเสมอ บรรจุในตระกร้าพลาสติกที่ที่มีกระดาษกรุทั้งตะกร้านำส่งโรงคัดบรรจุของสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ต่อไป หน่วยงานกรมวิชาการและ มกท.ติดตามตรวจสอบเรื่องของความสะอาดในขั้นตอนการคัดแยก บรรจุผลผลิต ไม่ปนเปื้อนสารเคมีทุกขั้นตอน และรับรองระบบงานการผลิตที่ได้มาตรฐาน
10. มีความร่วมมือของกลุ่มเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โครงการหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) , ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ , เทศบาลตำบลบ้านหลวง, อำเภอจอมทอง กรมพัฒนาที่ดิน ฯลฯ จัดงานประชุมถ่ายทอดองค์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อเผยแพร่สู่เกษตรกรหมู่บ้านอื่น นอกจากนี้มีรายการทีวีถ่ายทำรายการเพื่อถ่ายทอดความสำเร็จ
บทสรุปของผู้ใช้ประโยชน์การผลิตผักอินทรีย์ของบ้านเมืองอาง มีข้อสรุปว่า เกษตรกรเห็นถึงประโยชน์และความยั่งยืนที่จะเกิดขึ้นในการทำอาชีพเกษตรกรรมในอนาคต เกษตรกรมีความพอใจอย่างมากและมีความคิดที่จะทำต่อเนื่องในระยะยาว เนื่องจากเห็นประโยชน์และความสำเร็จทำให้เกษตรกรผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเป็นสินค้าได้มาตรฐานรองรับ สร้างความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้หลักล้านบาทแก่ชุมชน ปี 2560 ส่งผลผลิตปริมาณ 490,739 กิโลกรัม สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรบ้านเมืองอางมูลค่า 10,907,758 บาท
2.3 该方法的照片
2.4 该方法的视频
注释、简短说明:
-
位置:
-
摄影师的名字:
-
2.5 采用该方法的国家/地区/地点
国家:
泰国
区域/州/省:
เชียงใหม่
有关地点的进一步说明:
แปลงผักอินทรีย์แบบโรงเรือน บ้านป่าก่อ หมู่บ้านเมืองอาง ตำบล บ้านหลวง อำเภอจอมทอง
注释:
สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์เป็นหน่วยงานหลักที่เข้ามาส่งเสริมอาชีพการผลิตผักอินทรีย์ โดยสนับสนุนองค์ความรู้และติดตามให้คำแนะนำ วางแผนการผลิต การเก็บเกี่ยว ตลอดจนหาตลาดรับซื้อให้แก่ชุมชน จนทำให้เกษตรกรสามารถพัฒนากระบวนการผลิตผักอินทรีย์จนผ่านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ IFOAM และ AVA (มาตรฐานเกษตรของสิงคโปร์)
Map
×2.6 该方法的开始和终止日期
注明开始年份:
2002
若不知道准确的年份,请注明该方法的大致开始日期。:
10-50年前
注释:
เป็นแนวทางที่เกษตรกรเห็นความสำคัญและจะทำต่อเนื่อง เนื่องจากสร้างรายได้และช่วยรักษาระบบนิเวศน์ ไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารที่มีความปลอดภัยแก่มนุษย์และสัตว์
2.7 方法的类型
- 基于项目/方案
2.8 该方法的主要目的/目标
แนวทางการปลูกผักอินทรีย์ บ้านเมืองอาง สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลมีวัตถุประสงค์ คือ
1) เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้เกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีรายได้พอเลี้ยงชีพมีรายได้ที่มั่นคง ยกระดับคุณภาพชีวิต
2) สร้างความมั่นคงทางอาหาร ประเทศไทยมีแหล่งผลิตอาหารที่มีความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค โดยการพัฒนาระบบการผลิตด้านการเกษตร ไปสู่การผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย มีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รองรับ
3) รักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นระบบที่มีการจัดการด้านการเกษตรแบบองค์รวมที่เกื้อหนุนระบบนิเวศน์ รักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์ในฟาร์มและความยั่งยืนของระบบนิเวศน์โดยรวม ป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
2.9 推动或妨碍实施本办法所适用的技术的条件
财务资源和服务的可用性/可得性
- 启动
โครงการหลวงสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผักให้แก่เกษตรกรก่อน และหักเงินค่าเมล็ดพันธุ์ภายหลังจากการขายผลผลิต
机构设置
- 启动
มีการจัดตั้งกลุ่มผลิตผักอินทรีย์ กลุ่มผู้ใช้น้ำ กลุ่มผลิตปุ๋ยหมัก
参与者的的协作/协调
- 启动
ทำให้เกิดการช่วยเหลือกันของคนในชุมชนเมื่อต้องการแรงงานในการปฏิบัติงาน
法律框架(土地使用权、土地和水使用权)
- 阻碍
ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน
政策
- 启动
สอดคล้องกับนโยบายสร้างครัวไทยสู่ครัวโลก และเกษตรอินทรีย์
了解SLM,获得技术支持
- 启动
มีการบูรณาการของหลายหน่วยงานที่เข้ามาให้ความรู้และติดตามอย่างต่อเนื่องในการปฏิบัติให้ถูกต้อง
市场(购买投入,销售产品)和价格
- 启动
มีตลาดที่ต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐาน และสามารถรับซื้อผลผลิตอย่างต่อเนื่องและให้ราคาสูง
3. 相关利益相关者的参与和角色
3.1 该方法涉及的利益相关者及其职责
- 当地土地使用者/当地社区
เกษตรกรเผ่าปกาเก่อญอ
เป็นผู้ใช้ที่ดิน ดูแลรักษา
- 社区组织
สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ กรมส่งเสริมการเกษตร
ส่งเสริมอาชีพให้คำแนะนำความรู้ทางวิชาการสนับสนุนปัจจัยผลิต การคัดบรรจุ
- 地方政府
เทศบาลตำบลบ้านหลวงอำเภอ และจังหวัด
ร่วมจัดงานถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อส่งเสริมและขยายผลสู่หย่อมบ้านอื่น ๆ
3.2 当地土地使用者/当地社区参与该方法的不同阶段
当地土地使用者/当地社区的参与 | 指定参与人员并描述活动 | |
---|---|---|
启动/动机 | 自我动员 | เกิดปัญหาการทำเกษตรบนพื้นที่สูง ผลผลิตน้อย รายได้ไม่เพียงพอ ผู้นำชุมชนได้ทำหนังสือถวายฎีกาถึงหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อขอให้สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์เข้ามาส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ |
计划 | 互动 | 2545 สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์เริ่มดำเนินการทดสอบและสาธิตการผลิตพืชอินทรีย์ 2554 ไปอบรมดูงานที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการผลิตและการปลูกพืชภายใต้โรงเรือนไม้ไผ่กางมุ้ง |
实施 | 互动 | เกษตรกรดำเนินการตั้งกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์ กลุ่มผู้ใช้น้ำ ปี2548-2552 ผลิตผักอินทรีย์ภายใต้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์รับรองมาตรฐานโดยกรมวิชาการเกษตร 2548 ตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ จัดสรรการใช้น้ำทำเกษตรภายในชุมชนให้เพียงพอ 2553 ผลิตผักอินทรีย์แบบโรงเรือนกางมุ้ง และยกระดับการผลิตภายใต้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ IFOAM |
监测/评估 | 互动 | ตั้งกฎระเบียบตามเกณฑ์มาตรฐานเกษตรอินทรีย์IFOAM และมีการตรวจสอบและลงโทษโดยสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์ |
ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ | 无 | สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) , ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ , เทศบาลตำบลบ้านหลวง , อำเภอจอมทองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมจัดงานถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อขยายกิจกรรมไปสู่หย่อมบ้านอื่นๆ ปัจจุบันปี 2560 บ้านเมืองอางผลิตพืชอินทรีย์ที่มีคุณภาพได้รับการรับรองมาตรฐานจาก 3 หน่วยงาน คือ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ประเทศไทย (มกท.) และหน่วยงานรับรองมาตรฐานเกษตรของประเทศสิงคโปร์ |
3.3 流程图(如可用)
具体说明:
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. เกษตรกรรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์ รับสมัครสมาชิก โดยสมาชิกต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบของกลุ่มโดยจะต้องยืนยันการเป็นเกษตรกรอินทรีย์ทุกปี ต้องเข้าร่วมประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 6 ครั้งต่อปี ต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องไม่ปลูกพืช 2 ระบบคือ อินทรีย์และ GAP ในเวลาเดียวกัน ยกเว้นการปลูกข้าว ต้องเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ กรณีละเมิดจะมีบทลงโทษ การจัดตั้งกลุ่มเพื่อหาเงินสนับสนุนในลงทุนทำเกษตรอินทรีย์ให้กับสมาชิก และเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่สามารถต่อรองราคาหรือหาตลาดได้ง่าย
2. สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์และศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ จัดอบรมความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ทุกปี ปีละอย่างน้อย 1 ครั้ง และพากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักอินทรีย์ ไปเรียนรู้ดูงานในสถานที่ที่ประสบความสำเร็จ
3. การคัดเลือกพื้นที่ และปลูกสร้างโรงเรือน โดยผู้นำและเกษตรกรในพื้นที่คัดเลือก จัดสรร เน้นการปลูกเพื่อพอเพียงไม่เน้นการค้า จึงมีระเบียบกติกาว่า สมาชิกแต่ละคนมีโรงเรือนได้ไม่เกิน 3 โรงเรือน โดยเฉลี่ยสมาชิกจึงมีรายละ 2 โรงเรือน ดังนั้นเงินลงทุนสร้างโรงเรือน 2 โรงเรือนแรกมีเงินกองทุนสนับสนุนช่วยเหลือให้ 60% ของค่าโรงเรือน และลงทุนเองอีก 40% ถ้าใครจะทำโรงเรือนที่ 3 ต้องลงทุนเองทั้งหมด ขนาดของโรงเรือน กว้าง 6 เมตร ยาว 30 เมตร สูงประมาณ 3-5 เมตร (180 ตารางเมตรต่อโรงเรือน)
4. วางแผนการผลิตผักอินทรีย์ สมาชิกประชุมหารือกับเจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ วางแผนการผลิตผักอินทรีย์ตามกำหนดการที่ตลาดรับซื้อต้องการ โดยกำหนดชนิดผักที่ปลูก วันเพาะกล้า วันปลูก จนถึงวันตัดผลผลิต ทำเป็นปฏิทินการดำเนินการของเกษตรกรเป็นรายบุคคล กรณีสมาชิกไม่ปฏิบัติตามแผน จะหักค่าผลผลิต 50% เข้ากลุ่ม
5. การจัดหาปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ผัก ตัวห้ำตัวเบียน ได้รับการสนับสนุนจากโครงการหลวง, การกระจายน้ำสู่แปลงในระบบท่อ ทางลำเลียง โดโลไมท์ ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ได้รับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาที่ดินทั้งความรู้และงบประมาณ, ขี้วัว กาวเหนียวดักแมลง และสารชีวภัณฑ์ เกษตรกรซื้อเองจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และต้องเก็บหลักฐานทุกชิ้นเพื่อให้หน่วยงานมาตรวจสอบย้อนกลับได้
6. ปลูกพืชอินทรีย์ เกษตรกรต้องปฏิบัติตามปฏิทินการปลูกพืชที่ร่วมกันทำตามข้อ 4 และจดบันทึกกิจกรรมทุกขั้นตอน
7. การดูแลรักษาแปลงผลิตพืชอินทรีย์ เกษตรกรสมาชิกกลุ่มฯ มีหน้าที่จดบันทึกและควบคุมดูแลกำกับเรื่องห้ามใช้สารเคมีของสมาชิกกลุ่มฯ หากมีการละเมิดจะถูกลงโทษ และตัดจากการเป็นสมาชิก เจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์และกรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ติดตามให้คำแนะนำการใช้สารชีวภัณฑ์ สารไล่แมลง ตัวห้ำตัวเบียนฯลฯ ในการควบคุมกรณีมีโรคและแมลงในแปลง กรมวิชาการและมกท.ทำหน้าที่ ติดตาม ตรวจสอบกระบวนการผลิตต้องสะอาดได้มาตรฐาน
8. การเก็บเกี่ยว เกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวตามแผนการเก็บเกี่ยวที่กำหนดไว้ การเก็บเกี่ยวให้ใช้มีดคมตัด เพื่อรักษาผักให้ได้คุณภาพ ป้องกันการฉีกขาด หน่วยงานกรมวิชาการและ มกท.วิเคราะห์สารตกค้างในผลผลิต
9. การคัดและบรรจุ เป็นขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยว เกษตรกรต้องล้างผักให้สะอาดด้วยน้ำที่ไม่ปนเปื้อน ผึ่งให้แห้ง คัดผักที่ไม่ได้คุณภาพออก จัดแบ่งขนาดให้มีความสม่ำเสมอ บรรจุในตระกร้าพลาสติกที่ที่มีกระดาษกรุทั้งตะกร้านำส่งโรงคัดบรรจุของสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ต่อไป หน่วยงานกรมวิชาการและ มกท.ติดตามตรวจสอบเรื่องของความสะอาดในขั้นตอนการคัดแยก บรรจุผลผลิต ไม่ปนเปื้อนสารเคมีทุกขั้นตอน และรับรองระบบงานการผลิตที่ได้มาตรฐาน
10. มีความร่วมมือของกลุ่มเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โครงการหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) , ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ , เทศบาลตำบลบ้านหลวง, อำเภอจอมทอง กรมพัฒนาที่ดิน ฯลฯ จัดงานประชุมถ่ายทอดองค์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อเผยแพร่สู่เกษตรกรหมู่บ้านอื่น นอกจากนี้มีรายการทีวีถ่ายทำรายการเพื่อถ่ายทอดความสำเร็จ
作者:
กมลาภา วัฒนประพัฒน์
3.4 有关SLM技术选择的决策
具体说明谁有权决定选择要实施的技术:
- 所有相关参与者,作为参与式方法的一部分
明确做出决策的依据:
- 对充分记录的SLM知识进行评估(基于证据的决策)
4. 技术支持、能力建设和知识管理
4.1 能力建设/培训
是否为土地使用者/其他利益相关者提供培训?:
是
明确受训人员:
- 土地使用者
- ประชาชนผู้สนใจ
如果相关,请说明性别、年龄、地位、种族等。:
-
培训形式:
- 农民对农民
- 示范区域
- 公开会议
- 课程
培训形式:
- ถ่ายทำรายการออกอากาศ…
涵盖的主题:
วิถีผัก...อินทรีย์ ที่บ้านเมืองอาง
注释:
-
4.2 咨询服务
土地使用者有权使用咨询服务吗?:
是
指明是否提供了咨询服务:
- 在土地使用者的土地上
- 在固定中心
4.3 机构强化(组织发展)
是否通过这种方法建立或加强了机构?:
- 是,非常
具体说明机构的强化或建立程度:
- 本地
说明机构、角色和职责、成员等。:
จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน เป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง สร้างรายได้ ให้ความรู้และศึกษาดูงานด้านการปลูกผักอินทรีย์ที่ประสบผลสำเร็จของบ้านเมืองอาง
具体说明支持类型:
- 财务
- 能力建设/培训
- 设备
提供进一步细节:
-
4.4 监测和评估
监测和评估是该方法的一部分吗?:
是
注释:
ติดตามและประเมินผล โดย สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ กรมวิชาการ มกท.
若是,该文件是否用于监测和评估?:
是
注释:
-
4.5 研究
研究是该方法的一部分吗?
是
明确话题:
- 经济/市场营销
- 生态学
- 技术
提供进一步的细节,并指出是谁做的研究:
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
5. 融资和外部物质支持
5.1 该方法中SLM组成部分的年度预算
如果不知道准确的年度预算,请给出一个范围:
- 2,000-10,000
注释(例如主要的资助来源/主要捐助者):
เงินงบประมาณโครงการหลวง กรมส่งเสริมการเกษตร งบองค์การเทศบาลตำบล
5.2 为土地使用者提供财政/物质支援
土地使用者是否获得实施该技术的财政/物质支持?:
是
如果是,请具体说明支持的类型、条件和提供者:
ได้รับเป็นวัสดุปัจจัยการผลิต เช่น โดโลไมท์ สารเร่งพด.1 พด.2 ทางลำเลียง ฝาย แมลงตัวห้ำตัวเบียน ปุ๋ยหมัก
5.3 对特定投入的补贴(包括劳动力)
- 农业
具体说明哪些投入得到了补贴 | 程度如何 | 对补贴做出具体说明 |
---|---|---|
None | 部分融资 | โดโลไมท์ หัวเชื้อจุลินทรีย์ทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ |
- 基建
具体说明哪些投入得到了补贴 | 程度如何 | 对补贴做出具体说明 |
---|---|---|
None | 部分融资 | ทางลำเลียงในไร่นา ฝาย |
5.4 信用
是否根据SLM活动的方法给予信用值?:
是
对条件(利率、回报等)进行具体说明:
ปลอดดอกเบี้ย
请具体指明授信方:
สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวง กลุ่มผู้ผลิตพืชอินทรีย์ สนับสนุนปัจจัยการผลิต
请具体指明信贷接收人:
เกษตรกรผู้เป็นสมาชิก
5.5 其它激励或手段
是否有其他激励措施或工具用于促进SLM技术的实施?:
是
如果是,请具体说明:
เห็นประโยชน์ของการรักษาระบบนิเวศน์ การรักษาป่าต้นน้ำ ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความปลอดภัย สร้างรายได้ตลอดปี
6. 影响分析和结论性陈述
6.1 方法的影响
该方法是否帮助土地使用者实施和维护SLM技术?:
- 否
- 是,很少
- 是,中等
- 是,支持力度很大
เกษตรกรตั้งกลุ่มฯ เพื่อช่วยเหลือสมาชิก ในเรื่องความรู้และปัจจัยการผลิต
该方法是否提高了SLM的协调性和成本效益?:
- 否
- 是,很少
- 是,中等
- 是,支持力度很大
ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ สอดส่องดูแลหาบทลงโทษผู้กระทำผิดกฎระเบียบ
该方法是否提高了土地使用者实施土地管理的知识和能力?:
- 否
- 是,很少
- 是,中等
- 是,支持力度很大
มีการอบรมให้ความรู้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
该方法是否提高了其他利益相关者的知识和能力?:
- 否
- 是,很少
- 是,中等
- 是,支持力度很大
มีการถ่ายทอดความรู้เพื่อหาแนวร่วมการทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มทุกปี
该方法是否改善了性别平等并赋予女性权力?:
- 否
- 是,很少
- 是,中等
- 是,支持力度很大
ไม่กีดกันสามารถทำได้ทุกคน
该方法是否鼓励年轻人/下一代土地使用者参与SLM?:
- 否
- 是,很少
- 是,中等
- 是,支持力度很大
ถ่ายทอดให้เยาวชน บุตรหลาน มาช่วยงาน
该方法是否改善了阻碍SLM技术实施的土地使用权/用户权问题?:
- 否
- 是,很少
- 是,中等
- 是,支持力度很大
ใช้พื้นที่น้อย มีการควบคุมจำกัดจำนวนโรงเรือน และคืนพื้นที่เกษตรเป็นป่าไปแล้ว 1700ไร่
该方法是否改善了粮食安全/改善了营养?:
- 否
- 是,很少
- 是,中等
- 是,支持力度很大
การผลิตมีความปลอดภัยไม่ใช้สารเคมีมีมาตรฐานรองรับ
该方法是否改善了市场准入?:
- 否
- 是,很少
- 是,中等
- 是,支持力度很大
-
该方法是否带来了更可持续的能源使用?:
- 否
- 是,很少
- 是,中等
- 是,支持力度很大
-
该方法是否会带来就业、收入机会?:
- 否
- 是,很少
- 是,中等
- 是,支持力度很大
ผลผลิตมีคุณภาพและตลาดต้องการมาก จึงขายได้ราคาสูง
6.2 土地使用者实施SLM的主要动机
- 增加生产
ปริมาณและคุณภาพผลผลิตดีขึ้นปลูกผักได้11 รอบต่อปี
- 减少土地退化
การปลูกอยู่ในโรงเรือน ลดการชะล้างของหน้า ดิน มีการใช้อินทรียวัตถุลงดินตลอด เพิ่ม/รักษาสิ่งมีชีวิตในดิน
- 加入运动/项目/团体/网络
สมาชิกกลุ่มผลิตพืชอินทรีย์มี จำนวนเพิ่มขึ้นเนื่องจากเห็นว่าการ ปลูกพืชอินทรีย์สร้างรายได้เพิ่มขึ้น
6.3 方法活动的可持续性
土地使用者能否维持通过该方法实施的措施(无外部支持的情况下)?:
- 不确定
若否或不确定,请具体说明并予以注释:
ผู้ใช้ที่ดินยังต้องพึ่งพาการชี้นำแนวทางจากหน่วยงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการวางแผนการผลิต การหาตลาดรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน และยังไม่มี แบรนด์เป็นของตนเอง แต่อย่างไรก็ดี ผู้ใช้ที่ดินมีความพึงพอใจมากในการปลูกผักอินทรีย์ในโรงเรือน
6.4 该方法的长处/优点
土地使用者眼中的长处/优势/机会 |
---|
1) ช่วยรักษาระบบนิเวศน์ และสภาพแวดล้อม ไม่บุกรุกพื้นที่ป่าใช้ที่ดิน และทำให้ชุมชนมีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่ปลอดภัย |
2) เกษตรกรมีอาชีพที่มั่นคง รายได้และฐานะดีขึ้น |
3) ผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย และส่งต่อความปลอดภัยมาถึงผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม |
编制者或其他关键资源人员认为的长处/优势/机会 |
---|
1) สอดรับกับนโยบาย ”เกษตรอินทรีย์และครัวไทยสู่ครัวโลก” ของรัฐบาล แนวทางนี้สนับสนุนให้เกษตรกรสามารถผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย และส่งต่อความปลอดภัยมาถึงผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม |
2) ลดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ปลูกพืชไร่หมุนเวียน เพื่อหาเลี้ยงชีพ |
3) ช่วยเสริมสร้างความตระหนักรู้เรื่องทรัพยากรดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ ให้แก่เกษตรกรชาวเขา สามารถใช้ทรัพยากรที่ดินและทรัพยากรน้ำได้อย่างคุ้มค่า มีการอนุรักษ์บำรุงรักษาที่ถูกวิธีเช่น ปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ ไม่ใช้สารเคมี รักษาให้เกิดสมดุลตามธรรมชาติ |
6.5 该方法的弱点/缺点以及克服它们的方法
土地使用者认为的弱点/缺点/风险 | 如何克服它们? |
---|---|
1) เกษตรกรยังอ่อนแอเรื่องของการตลาด | พัฒนาองค์ความรู้เรื่องการทำตลาดออนไลน์ |
编制者或其他关键资源人员认为的弱点/缺点/风险 | 如何克服它们? |
---|---|
1) ระบบกรรมสิทธิ์ที่ดินของเกษตรกรชาวเขา เนื่องจากพื้นที่ทำกินอยู่ในเขตป่าสงวน จึงส่งผลทำให้การจัดสรรพื้นที่ดังกล่าวเกิดข้อจำกัด | รัฐควรปรับปรุง แก้ไข ปัญหาเกี่ยวกับแนวนโยบายและมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองและควบคุมการทำเกษตรกรรมบนพื้นที่สูง |
7. 参考和链接
7.1 方法/信息来源
- 实地考察、实地调查
3 คน
- 与土地使用者的访谈
1 คน
- 根据报告和其他现有文档进行编译
1 คน
7.2 参考可用出版物
标题、作者、年份、ISBN:
-
可以从哪里获得?成本如何?
-
7.3 链接到网络上可用的相关信息
标题/说明:
เมืองอางโมเดล Archives - เข้มข้น กับคนข่าวเกษตรตัวจริง – ข่าวเกษตรทำกิน 29 มกราคม 2561
URL:
https://kasettumkin.com/tag/เมืองอางโมเดล
标题/说明:
The North องศาเหนือ – เมืองอางปลูกผักให้เป็นป่า 25 มิถุนายน 2560
URL:
http://program.thaipbs.or.th/thenorth/episodes/46187
标题/说明:
เรียนรู้รักษ์ป่ากับอาสาเที่ยว...ที่หมู่บ้าน ปกาเกอะญอ "บ้านเมืองอาง" เชียงใหม่9 มีนาคม 2561
URL:
https://m.mgronline.com/travel/detail/9610000022292
标题/说明:
ผักอินทรีย์เมืองอาง ปล่อยไก่..กำจัดศัตรูพืช 5 มิถุนายน 2558
URL:
https://www.thairath.co.th/content/502999
标题/说明:
วิถีผักอินทรีย์ที่บ้านเมืองอ่าง | ผู้นำด้านนวัตกรรม-เกษตรชีวภาพ 1 กุมภาพันธ์ 2560
URL:
https://www.svgroup.co.th/ผักอินทรีย์เมืองอ่าง/
链接和模块
全部展开 全部收起链接
无链接
模块
无模块