แนวทางการปลูกผักอินทรีย์ บ้านเมืองอาง สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล [Thailand]
- Creation:
- Update:
- Compiler: Pitayakon Limtong
- Editor: –
- Reviewers: Rima Mekdaschi Studer, William Critchley
-
approaches_4308 - Thailand
View sections
Expand all Collapse all1. General information
1.2 Contact details of resource persons and institutions involved in the assessment and documentation of the Approach
Key resource person(s)
co-compiler:
วัฒนประพัฒน์ นางสาวกมลาภา
1760 ต่อ 5114 / 0836553915
kamalapa_w@hotmail.com
กรมพัฒนาที่ดิน
เลขที่ 2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
Thailand
land user:
พจนบัณฑิต นายวัชรินทร์
085-7238510
-
98 หมู่ 9…ตำบล บ้านหลวง
Thailand
เจ้าหน้าที่ส่งเสริม:
คีรีภูวดล นายบุญตรี
081-1639230
สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์
175 หมู่ที่1 ต.วังหามแห
Thailand
1.3 Conditions regarding the use of data documented through WOCAT
When were the data compiled (in the field)?
13/09/2018
The compiler and key resource person(s) accept the conditions regarding the use of data documented through WOCAT:
Ja
2. Description of the SLM Approach
2.1 Short description of the Approach
การปลูกผักอินทรีย์ เป็นการบูรณาการของหลายหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือในการอบรมให้ความรู้ ทำวิจัยและสาธิต และสนับสนุนปัจจัยการผลิต กลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็งและมุ่งมั่น การปรับเปลี่ยนการทำเกษตรหมุนเวียนมาเป็นเกษตรอินทรีย์ ที่สร้างรายได้ตลอดปี ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การทำเกษตรอินทรีย์อย่างเคร่งครัด
2.2 Detailed description of the Approach
Detailed description of the Approach:
กิจกรรมการปลูกผักอินทรีย์ บ้านเมืองอาง ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน พื้นที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ วิถีชีวิตในอดีตของชาวปกาเกอะญอคือมีการทำไร่หมุนเวียน เปลี่ยนระบบการผลิตจากการพึ่งพาตนเองไปสู่การผลิตแบบเชิงเดี่ยว ทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงไปเรื่อยๆ ชาวบ้านมีรายได้ดีแต่กลับมีหนี้สิน ผู้นำในพื้นที่ช่วยคิดและแก้ไขปัญหาด้วยการปรับเปลี่ยนระบบผลิตเพื่อการค้าเป็นการผลิตแบบพอเพียง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) คือ ระบบการจัดการด้านการเกษตรแบบองค์รวม ที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศน์, วงจรชีวภาพ และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติ หลีกเลี่ยงวัตถุดิบที่ได้จากการสังเคราะห์ และไม่ใช้พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม(Genetic Modification) หรือ พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์ โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์ และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน หลักการที่สำคัญที่นำมาใช้มี ดังนี้ 1) พัฒนาระบบการผลิตไปสู่แนวทางเกษตรผสมผสานที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์ 2) พัฒนาระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองในเรื่องของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารภายในฟาร์ม 3) ฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติโดยใช้ทรัพยากรในฟาร์มมาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4) รักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์ในฟาร์มและความยั่งยืนของระบบนิเวศน์โดยรวม 5) ป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม 6) สนับสนุนระบบการผลิตและกระบวนการจัดการทุกขั้นตอนที่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม 7) ยึดหลักการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปที่เป็นวิธีการธรรมชาติ ประหยัดพลังงาน และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. เกษตรกรรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์ รับสมัครสมาชิก โดยสมาชิกต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบของกลุ่ม ต้องเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ กรณีละเมิดจะมีบทลงโทษ การจัดตั้งกลุ่มเพื่อหาเงินสนับสนุนในลงทุนทำเกษตรอินทรีย์ให้กับสมาชิก และเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่สามารถต่อรองราคาหรือหาตลาดได้ง่าย
2. สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์และศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ จัดอบรมความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ทุกปี ปีละอย่างน้อย 1 ครั้ง และพากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักอินทรีย์ ไปเรียนรู้ดูงานในสถานที่ที่ประสบความสำเร็จ
3. การคัดเลือกพื้นที่ และปลูกสร้างโรงเรือน โดยผู้นำและเกษตรกรในพื้นที่คัดเลือก จัดสรร เน้นการปลูกเพื่อพอเพียงไม่เน้นการค้า จึงมีระเบียบกติกาว่า สมาชิกแต่ละคนมีโรงเรือนได้ไม่เกิน 3 โรงเรือน โดยเฉลี่ยสมาชิกจึงมีรายละ 2 โรงเรือน ขนาดของโรงเรือน กว้าง 6 เมตร ยาว 30 เมตร สูงประมาณ 3-5 เมตร (180 ตารางเมตรต่อโรงเรือน)
4. วางแผนการผลิตผักอินทรีย์ สมาชิกประชุมหารือกับเจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ วางแผนการผลิตผักอินทรีย์ตามกำหนดการที่ตลาดรับซื้อต้องการและกำหนดบทลงโทษกรณีสมาชิกไม่ปฏิบัติตามแผน
5. การจัดหาปัจจัยการผลิต มีทั้งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานและเกษตรกรซื้อเอง แต่ทุกปัจจัยที่จะนำมาใช้ผลิตต้องเป็นอินทรีย์และมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และเกษตรกรต้องเก็บหลักฐานทุกชิ้นเพื่อให้หน่วยงานที่มาตรวจรับรองมาตรฐาน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงต้นทาง
6. ปลูกพืชอินทรีย์ เกษตรกรต้องปฏิบัติตามปฏิทินการปลูกพืชที่ร่วมกันทำอย่างเคร่งครัด และจดบันทึกกิจกรรมทุกขั้นตอน
7. การดูแลรักษาแปลงผลิตพืชอินทรีย์ เกษตรกรสมาชิกกลุ่มฯ มีหน้าที่จดบันทึกและควบคุมดูแลกำกับเรื่องห้ามใช้สารเคมีของสมาชิกกลุ่มฯ หากมีการละเมิดจะถูกลงโทษ และตัดจากการเป็นสมาชิก เจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์และกรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ติดตามให้คำแนะนำการใช้สารชีวภัณฑ์ สารไล่แมลง ตัวห้ำตัวเบียนฯลฯ ในการควบคุมกำจัดกรณีมีโรคและแมลงในแปลง กรมวิชาการและมกท.ทำหน้าที่ ติดตาม ตรวจสอบกระบวนการผลิตต้องสะอาดได้มาตรฐาน
8. การเก็บเกี่ยว เกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวตามแผนการเก็บเกี่ยวที่กำหนดไว้ การเก็บเกี่ยวต้องคำนึงถึงการรักษาคุณภาพผลผลิต หน่วยงานกรมวิชาการและ มกท.ทำหน้าที่ตรวจรับรอง โดยวิเคราะห์หาสารตกค้างในผลผลิต
9. การคัดและบรรจุ เป็นขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยว เกษตรกรต้องทำความสะอาดผลผลิตด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ปนเปื้อน คัดผลผลิตที่ไม่ได้คุณภาพออก จัดแบ่งขนาดให้มีความสม่ำเสมอ บรรจุในตระกร้าพลาสติกที่ที่มีกระดาษกรุทั้งตะกร้านำส่งโรงคัดบรรจุของสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ต่อไป หน่วยงานกรมวิชาการและ มกท.ติดตามตรวจสอบเรื่องของความสะอาดในขั้นตอนการคัดแยก บรรจุผลผลิต ไม่ปนเปื้อนสารเคมีทุกขั้นตอน และรับรองระบบงานการผลิตที่ได้มาตรฐาน
10. มีความร่วมมือของกลุ่มเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โครงการหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) , ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ , เทศบาลตำบลบ้านหลวง, อำเภอจอมทอง กรมพัฒนาที่ดิน ฯลฯ จัดงานประชุมถ่ายทอดองค์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อเผยแพร่สู่เกษตรกรหมู่บ้านอื่น นอกจากนี้มีรายการทีวีถ่ายทำรายการเพื่อถ่ายทอดความสำเร็จ
บทสรุปของผู้ใช้ประโยชน์การผลิตผักอินทรีย์ของบ้านเมืองอาง มีข้อสรุปว่า เกษตรกรเห็นถึงประโยชน์และความยั่งยืนที่จะเกิดขึ้นในการทำอาชีพเกษตรกรรมในอนาคต เกษตรกรมีความพอใจอย่างมากและมีความคิดที่จะทำต่อเนื่องในระยะยาว เนื่องจากเห็นประโยชน์และความสำเร็จทำให้เกษตรกรผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเป็นสินค้าได้มาตรฐานรองรับ สร้างความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้หลักล้านบาทแก่ชุมชน ปี 2560 ส่งผลผลิตปริมาณ 490,739 กิโลกรัม สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรบ้านเมืองอางมูลค่า 10,907,758 บาท
2.3 Photos of the Approach
2.4 Videos of the Approach
Comments, short description:
-
Location:
-
Name of videographer:
-
2.5 Country/ region/ locations where the Approach has been applied
Country:
Thailand
Region/ State/ Province:
เชียงใหม่
Further specification of location:
แปลงผักอินทรีย์แบบโรงเรือน บ้านป่าก่อ หมู่บ้านเมืองอาง ตำบล บ้านหลวง อำเภอจอมทอง
Comments:
สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์เป็นหน่วยงานหลักที่เข้ามาส่งเสริมอาชีพการผลิตผักอินทรีย์ โดยสนับสนุนองค์ความรู้และติดตามให้คำแนะนำ วางแผนการผลิต การเก็บเกี่ยว ตลอดจนหาตลาดรับซื้อให้แก่ชุมชน จนทำให้เกษตรกรสามารถพัฒนากระบวนการผลิตผักอินทรีย์จนผ่านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ IFOAM และ AVA (มาตรฐานเกษตรของสิงคโปร์)
Map
×2.6 Dates of initiation and termination of the Approach
Indicate year of initiation:
2002
If precise year is not known, indicate approximate date when the Approach was initiated:
10-50 years ago
Comments:
เป็นแนวทางที่เกษตรกรเห็นความสำคัญและจะทำต่อเนื่อง เนื่องจากสร้างรายได้และช่วยรักษาระบบนิเวศน์ ไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารที่มีความปลอดภัยแก่มนุษย์และสัตว์
2.7 Type of Approach
- project/ programme based
2.8 Main aims/ objectives of the Approach
แนวทางการปลูกผักอินทรีย์ บ้านเมืองอาง สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลมีวัตถุประสงค์ คือ
1) เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้เกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีรายได้พอเลี้ยงชีพมีรายได้ที่มั่นคง ยกระดับคุณภาพชีวิต
2) สร้างความมั่นคงทางอาหาร ประเทศไทยมีแหล่งผลิตอาหารที่มีความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค โดยการพัฒนาระบบการผลิตด้านการเกษตร ไปสู่การผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย มีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รองรับ
3) รักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นระบบที่มีการจัดการด้านการเกษตรแบบองค์รวมที่เกื้อหนุนระบบนิเวศน์ รักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์ในฟาร์มและความยั่งยืนของระบบนิเวศน์โดยรวม ป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
2.9 Conditions enabling or hindering implementation of the Technology/ Technologies applied under the Approach
availability/ access to financial resources and services
- enabling
โครงการหลวงสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผักให้แก่เกษตรกรก่อน และหักเงินค่าเมล็ดพันธุ์ภายหลังจากการขายผลผลิต
institutional setting
- enabling
มีการจัดตั้งกลุ่มผลิตผักอินทรีย์ กลุ่มผู้ใช้น้ำ กลุ่มผลิตปุ๋ยหมัก
collaboration/ coordination of actors
- enabling
ทำให้เกิดการช่วยเหลือกันของคนในชุมชนเมื่อต้องการแรงงานในการปฏิบัติงาน
legal framework (land tenure, land and water use rights)
- hindering
ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน
policies
- enabling
สอดคล้องกับนโยบายสร้างครัวไทยสู่ครัวโลก และเกษตรอินทรีย์
knowledge about SLM, access to technical support
- enabling
มีการบูรณาการของหลายหน่วยงานที่เข้ามาให้ความรู้และติดตามอย่างต่อเนื่องในการปฏิบัติให้ถูกต้อง
markets (to purchase inputs, sell products) and prices
- enabling
มีตลาดที่ต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐาน และสามารถรับซื้อผลผลิตอย่างต่อเนื่องและให้ราคาสูง
3. Participation and roles of stakeholders involved
3.1 Stakeholders involved in the Approach and their roles
- local land users/ local communities
เกษตรกรเผ่าปกาเก่อญอ
เป็นผู้ใช้ที่ดิน ดูแลรักษา
- community-based organizations
สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ กรมส่งเสริมการเกษตร
ส่งเสริมอาชีพให้คำแนะนำความรู้ทางวิชาการสนับสนุนปัจจัยผลิต การคัดบรรจุ
- local government
เทศบาลตำบลบ้านหลวงอำเภอ และจังหวัด
ร่วมจัดงานถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อส่งเสริมและขยายผลสู่หย่อมบ้านอื่น ๆ
3.2 Involvement of local land users/ local communities in the different phases of the Approach
Involvement of local land users/ local communities | Specify who was involved and describe activities | |
---|---|---|
initiation/ motivation | self-mobilization | เกิดปัญหาการทำเกษตรบนพื้นที่สูง ผลผลิตน้อย รายได้ไม่เพียงพอ ผู้นำชุมชนได้ทำหนังสือถวายฎีกาถึงหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อขอให้สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์เข้ามาส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ |
planning | interactive | 2545 สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์เริ่มดำเนินการทดสอบและสาธิตการผลิตพืชอินทรีย์ 2554 ไปอบรมดูงานที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการผลิตและการปลูกพืชภายใต้โรงเรือนไม้ไผ่กางมุ้ง |
implementation | interactive | เกษตรกรดำเนินการตั้งกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์ กลุ่มผู้ใช้น้ำ ปี2548-2552 ผลิตผักอินทรีย์ภายใต้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์รับรองมาตรฐานโดยกรมวิชาการเกษตร 2548 ตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ จัดสรรการใช้น้ำทำเกษตรภายในชุมชนให้เพียงพอ 2553 ผลิตผักอินทรีย์แบบโรงเรือนกางมุ้ง และยกระดับการผลิตภายใต้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ IFOAM |
monitoring/ evaluation | interactive | ตั้งกฎระเบียบตามเกณฑ์มาตรฐานเกษตรอินทรีย์IFOAM และมีการตรวจสอบและลงโทษโดยสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์ |
ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ | none | สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) , ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ , เทศบาลตำบลบ้านหลวง , อำเภอจอมทองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมจัดงานถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อขยายกิจกรรมไปสู่หย่อมบ้านอื่นๆ ปัจจุบันปี 2560 บ้านเมืองอางผลิตพืชอินทรีย์ที่มีคุณภาพได้รับการรับรองมาตรฐานจาก 3 หน่วยงาน คือ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ประเทศไทย (มกท.) และหน่วยงานรับรองมาตรฐานเกษตรของประเทศสิงคโปร์ |
3.3 Flow chart (if available)
Description:
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. เกษตรกรรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์ รับสมัครสมาชิก โดยสมาชิกต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบของกลุ่มโดยจะต้องยืนยันการเป็นเกษตรกรอินทรีย์ทุกปี ต้องเข้าร่วมประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 6 ครั้งต่อปี ต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องไม่ปลูกพืช 2 ระบบคือ อินทรีย์และ GAP ในเวลาเดียวกัน ยกเว้นการปลูกข้าว ต้องเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ กรณีละเมิดจะมีบทลงโทษ การจัดตั้งกลุ่มเพื่อหาเงินสนับสนุนในลงทุนทำเกษตรอินทรีย์ให้กับสมาชิก และเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่สามารถต่อรองราคาหรือหาตลาดได้ง่าย
2. สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์และศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ จัดอบรมความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ทุกปี ปีละอย่างน้อย 1 ครั้ง และพากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักอินทรีย์ ไปเรียนรู้ดูงานในสถานที่ที่ประสบความสำเร็จ
3. การคัดเลือกพื้นที่ และปลูกสร้างโรงเรือน โดยผู้นำและเกษตรกรในพื้นที่คัดเลือก จัดสรร เน้นการปลูกเพื่อพอเพียงไม่เน้นการค้า จึงมีระเบียบกติกาว่า สมาชิกแต่ละคนมีโรงเรือนได้ไม่เกิน 3 โรงเรือน โดยเฉลี่ยสมาชิกจึงมีรายละ 2 โรงเรือน ดังนั้นเงินลงทุนสร้างโรงเรือน 2 โรงเรือนแรกมีเงินกองทุนสนับสนุนช่วยเหลือให้ 60% ของค่าโรงเรือน และลงทุนเองอีก 40% ถ้าใครจะทำโรงเรือนที่ 3 ต้องลงทุนเองทั้งหมด ขนาดของโรงเรือน กว้าง 6 เมตร ยาว 30 เมตร สูงประมาณ 3-5 เมตร (180 ตารางเมตรต่อโรงเรือน)
4. วางแผนการผลิตผักอินทรีย์ สมาชิกประชุมหารือกับเจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ วางแผนการผลิตผักอินทรีย์ตามกำหนดการที่ตลาดรับซื้อต้องการ โดยกำหนดชนิดผักที่ปลูก วันเพาะกล้า วันปลูก จนถึงวันตัดผลผลิต ทำเป็นปฏิทินการดำเนินการของเกษตรกรเป็นรายบุคคล กรณีสมาชิกไม่ปฏิบัติตามแผน จะหักค่าผลผลิต 50% เข้ากลุ่ม
5. การจัดหาปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ผัก ตัวห้ำตัวเบียน ได้รับการสนับสนุนจากโครงการหลวง, การกระจายน้ำสู่แปลงในระบบท่อ ทางลำเลียง โดโลไมท์ ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ได้รับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาที่ดินทั้งความรู้และงบประมาณ, ขี้วัว กาวเหนียวดักแมลง และสารชีวภัณฑ์ เกษตรกรซื้อเองจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และต้องเก็บหลักฐานทุกชิ้นเพื่อให้หน่วยงานมาตรวจสอบย้อนกลับได้
6. ปลูกพืชอินทรีย์ เกษตรกรต้องปฏิบัติตามปฏิทินการปลูกพืชที่ร่วมกันทำตามข้อ 4 และจดบันทึกกิจกรรมทุกขั้นตอน
7. การดูแลรักษาแปลงผลิตพืชอินทรีย์ เกษตรกรสมาชิกกลุ่มฯ มีหน้าที่จดบันทึกและควบคุมดูแลกำกับเรื่องห้ามใช้สารเคมีของสมาชิกกลุ่มฯ หากมีการละเมิดจะถูกลงโทษ และตัดจากการเป็นสมาชิก เจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์และกรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ติดตามให้คำแนะนำการใช้สารชีวภัณฑ์ สารไล่แมลง ตัวห้ำตัวเบียนฯลฯ ในการควบคุมกรณีมีโรคและแมลงในแปลง กรมวิชาการและมกท.ทำหน้าที่ ติดตาม ตรวจสอบกระบวนการผลิตต้องสะอาดได้มาตรฐาน
8. การเก็บเกี่ยว เกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวตามแผนการเก็บเกี่ยวที่กำหนดไว้ การเก็บเกี่ยวให้ใช้มีดคมตัด เพื่อรักษาผักให้ได้คุณภาพ ป้องกันการฉีกขาด หน่วยงานกรมวิชาการและ มกท.วิเคราะห์สารตกค้างในผลผลิต
9. การคัดและบรรจุ เป็นขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยว เกษตรกรต้องล้างผักให้สะอาดด้วยน้ำที่ไม่ปนเปื้อน ผึ่งให้แห้ง คัดผักที่ไม่ได้คุณภาพออก จัดแบ่งขนาดให้มีความสม่ำเสมอ บรรจุในตระกร้าพลาสติกที่ที่มีกระดาษกรุทั้งตะกร้านำส่งโรงคัดบรรจุของสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ต่อไป หน่วยงานกรมวิชาการและ มกท.ติดตามตรวจสอบเรื่องของความสะอาดในขั้นตอนการคัดแยก บรรจุผลผลิต ไม่ปนเปื้อนสารเคมีทุกขั้นตอน และรับรองระบบงานการผลิตที่ได้มาตรฐาน
10. มีความร่วมมือของกลุ่มเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โครงการหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) , ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ , เทศบาลตำบลบ้านหลวง, อำเภอจอมทอง กรมพัฒนาที่ดิน ฯลฯ จัดงานประชุมถ่ายทอดองค์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อเผยแพร่สู่เกษตรกรหมู่บ้านอื่น นอกจากนี้มีรายการทีวีถ่ายทำรายการเพื่อถ่ายทอดความสำเร็จ
Author:
กมลาภา วัฒนประพัฒน์
3.4 Decision-making on the selection of SLM Technology/ Technologies
Specify who decided on the selection of the Technology/ Technologies to be implemented:
- all relevant actors, as part of a participatory approach
Specify on what basis decisions were made:
- evaluation of well-documented SLM knowledge (evidence-based decision-making)
4. Technical support, capacity building, and knowledge management
4.1 Capacity building/ training
Was training provided to land users/ other stakeholders?
Ja
Specify who was trained:
- land users
- ประชาชนผู้สนใจ
If relevant, specify gender, age, status, ethnicity, etc.
-
Form of training:
- farmer-to-farmer
- demonstration areas
- public meetings
- courses
Form of training:
- ถ่ายทำรายการออกอากาศ…
Subjects covered:
วิถีผัก...อินทรีย์ ที่บ้านเมืองอาง
Comments:
-
4.2 Advisory service
Do land users have access to an advisory service?
Ja
Specify whether advisory service is provided:
- on land users' fields
- at permanent centres
4.3 Institution strengthening (organizational development)
Have institutions been established or strengthened through the Approach?
- yes, greatly
Specify the level(s) at which institutions have been strengthened or established:
- local
Describe institution, roles and responsibilities, members, etc.
จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน เป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง สร้างรายได้ ให้ความรู้และศึกษาดูงานด้านการปลูกผักอินทรีย์ที่ประสบผลสำเร็จของบ้านเมืองอาง
Specify type of support:
- financial
- capacity building/ training
- equipment
Give further details:
-
4.4 Monitoring and evaluation
Is monitoring and evaluation part of the Approach?
Ja
Comments:
ติดตามและประเมินผล โดย สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ กรมวิชาการ มกท.
If yes, is this documentation intended to be used for monitoring and evaluation?
Ja
Comments:
-
4.5 Research
Was research part of the Approach?
Ja
Specify topics:
- economics / marketing
- ecology
- technology
Give further details and indicate who did the research:
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
5. Financing and external material support
5.1 Annual budget for the SLM component of the Approach
If precise annual budget is not known, indicate range:
- 2,000-10,000
Comments (e.g. main sources of funding/ major donors):
เงินงบประมาณโครงการหลวง กรมส่งเสริมการเกษตร งบองค์การเทศบาลตำบล
5.2 Financial/ material support provided to land users
Did land users receive financial/ material support for implementing the Technology/ Technologies?
Ja
If yes, specify type(s) of support, conditions, and provider(s):
ได้รับเป็นวัสดุปัจจัยการผลิต เช่น โดโลไมท์ สารเร่งพด.1 พด.2 ทางลำเลียง ฝาย แมลงตัวห้ำตัวเบียน ปุ๋ยหมัก
5.3 Subsidies for specific inputs (including labour)
- agricultural
Specify which inputs were subsidised | To which extent | Specify subsidies |
---|---|---|
None | partly financed | โดโลไมท์ หัวเชื้อจุลินทรีย์ทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ |
- infrastructure
Specify which inputs were subsidised | To which extent | Specify subsidies |
---|---|---|
None | partly financed | ทางลำเลียงในไร่นา ฝาย |
5.4 Credit
Was credit provided under the Approach for SLM activities?
Ja
Specify conditions (interest rate, payback, etc.):
ปลอดดอกเบี้ย
Specify credit providers:
สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวง กลุ่มผู้ผลิตพืชอินทรีย์ สนับสนุนปัจจัยการผลิต
Specify credit receivers:
เกษตรกรผู้เป็นสมาชิก
5.5 Other incentives or instruments
Were other incentives or instruments used to promote implementation of SLM Technologies?
Ja
If yes, specify:
เห็นประโยชน์ของการรักษาระบบนิเวศน์ การรักษาป่าต้นน้ำ ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความปลอดภัย สร้างรายได้ตลอดปี
6. Impact analysis and concluding statements
6.1 Impacts of the Approach
Did the Approach help land users to implement and maintain SLM Technologies?
- No
- Yes, little
- Yes, moderately
- Yes, greatly
เกษตรกรตั้งกลุ่มฯ เพื่อช่วยเหลือสมาชิก ในเรื่องความรู้และปัจจัยการผลิต
Did the Approach improve coordination and cost-effective implementation of SLM?
- No
- Yes, little
- Yes, moderately
- Yes, greatly
ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ สอดส่องดูแลหาบทลงโทษผู้กระทำผิดกฎระเบียบ
Did the Approach improve knowledge and capacities of land users to implement SLM?
- No
- Yes, little
- Yes, moderately
- Yes, greatly
มีการอบรมให้ความรู้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
Did the Approach improve knowledge and capacities of other stakeholders?
- No
- Yes, little
- Yes, moderately
- Yes, greatly
มีการถ่ายทอดความรู้เพื่อหาแนวร่วมการทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มทุกปี
Did the Approach improve gender equality and empower women and girls?
- No
- Yes, little
- Yes, moderately
- Yes, greatly
ไม่กีดกันสามารถทำได้ทุกคน
Did the Approach encourage young people/ the next generation of land users to engage in SLM?
- No
- Yes, little
- Yes, moderately
- Yes, greatly
ถ่ายทอดให้เยาวชน บุตรหลาน มาช่วยงาน
Did the Approach improve issues of land tenure/ user rights that hindered implementation of SLM Technologies?
- No
- Yes, little
- Yes, moderately
- Yes, greatly
ใช้พื้นที่น้อย มีการควบคุมจำกัดจำนวนโรงเรือน และคืนพื้นที่เกษตรเป็นป่าไปแล้ว 1700ไร่
Did the Approach lead to improved food security/ improved nutrition?
- No
- Yes, little
- Yes, moderately
- Yes, greatly
การผลิตมีความปลอดภัยไม่ใช้สารเคมีมีมาตรฐานรองรับ
Did the Approach improve access to markets?
- No
- Yes, little
- Yes, moderately
- Yes, greatly
-
Did the Approach lead to more sustainable use/ sources of energy?
- No
- Yes, little
- Yes, moderately
- Yes, greatly
-
Did the Approach lead to employment, income opportunities?
- No
- Yes, little
- Yes, moderately
- Yes, greatly
ผลผลิตมีคุณภาพและตลาดต้องการมาก จึงขายได้ราคาสูง
6.2 Main motivation of land users to implement SLM
- increased production
ปริมาณและคุณภาพผลผลิตดีขึ้นปลูกผักได้11 รอบต่อปี
- reduced land degradation
การปลูกอยู่ในโรงเรือน ลดการชะล้างของหน้า ดิน มีการใช้อินทรียวัตถุลงดินตลอด เพิ่ม/รักษาสิ่งมีชีวิตในดิน
- affiliation to movement/ project/ group/ networks
สมาชิกกลุ่มผลิตพืชอินทรีย์มี จำนวนเพิ่มขึ้นเนื่องจากเห็นว่าการ ปลูกพืชอินทรีย์สร้างรายได้เพิ่มขึ้น
6.3 Sustainability of Approach activities
Can the land users sustain what has been implemented through the Approach (without external support)?
- uncertain
If no or uncertain, specify and comment:
ผู้ใช้ที่ดินยังต้องพึ่งพาการชี้นำแนวทางจากหน่วยงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการวางแผนการผลิต การหาตลาดรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน และยังไม่มี แบรนด์เป็นของตนเอง แต่อย่างไรก็ดี ผู้ใช้ที่ดินมีความพึงพอใจมากในการปลูกผักอินทรีย์ในโรงเรือน
6.4 Strengths/ advantages of the Approach
Strengths/ advantages/ opportunities in the land user’s view |
---|
1) ช่วยรักษาระบบนิเวศน์ และสภาพแวดล้อม ไม่บุกรุกพื้นที่ป่าใช้ที่ดิน และทำให้ชุมชนมีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่ปลอดภัย |
2) เกษตรกรมีอาชีพที่มั่นคง รายได้และฐานะดีขึ้น |
3) ผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย และส่งต่อความปลอดภัยมาถึงผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม |
Strengths/ advantages/ opportunities in the compiler’s or other key resource person’s view |
---|
1) สอดรับกับนโยบาย ”เกษตรอินทรีย์และครัวไทยสู่ครัวโลก” ของรัฐบาล แนวทางนี้สนับสนุนให้เกษตรกรสามารถผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย และส่งต่อความปลอดภัยมาถึงผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม |
2) ลดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ปลูกพืชไร่หมุนเวียน เพื่อหาเลี้ยงชีพ |
3) ช่วยเสริมสร้างความตระหนักรู้เรื่องทรัพยากรดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ ให้แก่เกษตรกรชาวเขา สามารถใช้ทรัพยากรที่ดินและทรัพยากรน้ำได้อย่างคุ้มค่า มีการอนุรักษ์บำรุงรักษาที่ถูกวิธีเช่น ปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ ไม่ใช้สารเคมี รักษาให้เกิดสมดุลตามธรรมชาติ |
6.5 Weaknesses/ disadvantages of the Approach and ways of overcoming them
Weaknesses/ disadvantages/ risks in the land user’s view | How can they be overcome? |
---|---|
1) เกษตรกรยังอ่อนแอเรื่องของการตลาด | พัฒนาองค์ความรู้เรื่องการทำตลาดออนไลน์ |
Weaknesses/ disadvantages/ risks in the compiler’s or other key resource person’s view | How can they be overcome? |
---|---|
1) ระบบกรรมสิทธิ์ที่ดินของเกษตรกรชาวเขา เนื่องจากพื้นที่ทำกินอยู่ในเขตป่าสงวน จึงส่งผลทำให้การจัดสรรพื้นที่ดังกล่าวเกิดข้อจำกัด | รัฐควรปรับปรุง แก้ไข ปัญหาเกี่ยวกับแนวนโยบายและมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองและควบคุมการทำเกษตรกรรมบนพื้นที่สูง |
7. References and links
7.1 Methods/ sources of information
- field visits, field surveys
3 คน
- interviews with land users
1 คน
- compilation from reports and other existing documentation
1 คน
7.2 References to available publications
Title, author, year, ISBN:
-
Available from where? Costs?
-
7.3 Links to relevant information which is available online
Title/ description:
เมืองอางโมเดล Archives - เข้มข้น กับคนข่าวเกษตรตัวจริง – ข่าวเกษตรทำกิน 29 มกราคม 2561
URL:
https://kasettumkin.com/tag/เมืองอางโมเดล
Title/ description:
The North องศาเหนือ – เมืองอางปลูกผักให้เป็นป่า 25 มิถุนายน 2560
URL:
http://program.thaipbs.or.th/thenorth/episodes/46187
Title/ description:
เรียนรู้รักษ์ป่ากับอาสาเที่ยว...ที่หมู่บ้าน ปกาเกอะญอ "บ้านเมืองอาง" เชียงใหม่9 มีนาคม 2561
URL:
https://m.mgronline.com/travel/detail/9610000022292
Title/ description:
ผักอินทรีย์เมืองอาง ปล่อยไก่..กำจัดศัตรูพืช 5 มิถุนายน 2558
URL:
https://www.thairath.co.th/content/502999
Title/ description:
วิถีผักอินทรีย์ที่บ้านเมืองอ่าง | ผู้นำด้านนวัตกรรม-เกษตรชีวภาพ 1 กุมภาพันธ์ 2560
URL:
https://www.svgroup.co.th/ผักอินทรีย์เมืองอ่าง/
Links and modules
Expand all Collapse allLinks
No links
Modules
No modules