แนวทาง

Return life to Mae Chaem watershed by integrated land and water management in Landscape of Khok Nong Na model [ไทย]

  • ผู้สร้างสรรค์:
  • การอัพเดท:
  • ผู้รวบรวม:
  • ผู้เรียบเรียง:
  • ผู้ตรวจสอบ: ,

Integrated land and water management in Landscape of Khok Nong Na model

approaches_4280 - ไทย

สมบูรณ์: 97%

1. ข้อมูลทั่วไป

1.2 รายละเอียดที่ติดต่อได้ของผู้รวบรวมและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการประเมินและการจัดเตรียมทำเอกสารของแนวทาง

วิทยากรหลัก

co-compiler:
co-compiler:
co-compiler:
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน:

1.3 เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ผ่านทาง WOCAT

วันที่เก็บรวบรวมข้อมูล (ภาคสนาม):

12/09/2018

ผู้รวบรวมและวิทยากรหลักยอมรับเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลที่ถูกบันทึกผ่านทาง WOCAT:

ใช่

2. คำอธิบายของแนวทาง SLM

2.1 การอธิบายแบบสั้น ๆ ของแนวทาง

การคืนชีวิตให้ผืนดินแม่แจ่มโดยระบบการจัดการน้ำบนพื้นที่สูงด้วยศาสตร์พระราชาร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือโคกหนองนาโมเดล

2.2 การอธิบายอย่างละเอียดของแนวทาง

การอธิบายอย่างละเอียดของแนวทาง:

การคืนชีวิตให้ผืนดินแม่แจ่มโดยระบบการจัดการน้ำบนพื้นที่สูงด้วยศาสตร์พระราชาร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือโคกหนองนาโมเดล เนื่องจากพื้นที่ของเทคโนโลยีนี้เป็นพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่ม และพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้น 1 เอบี ชั้น 2 และ 3 ตามลำดับ โดยทางการไม่ได้กันชุมชนและที่ทำกินออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่มและพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำก่อนประกาศแต่อย่างใด ส่งผลทำให้ชุมชนท้องถิ่นดังเดิมที่อยู่กันมายาวนานผิดกฎหมายทันที ถูกลิดรอนสิทธิการใช้ประโยชน์และสิทธิการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปโดยปริยาย เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น วิถีชีวิตและการผลิตในชุมชนท้องถิ่นเปลี่ยนไปพึ่งพากลไกการตลาดมากกว่าพึ่งพาตนเอง การเข้ามาส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจจากภาครัฐและเอกชน ทั้งในทางตรงและทางอ้อมแก่เกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีรายได้พร้อมๆ กันไปกับหนี้สินที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ทำให้ป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่ม และพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ถูกรุกล้ำและแปรสภาพมาเป็นไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หอมแดง และกะหล่ำปลี ซึ่งเป็นรายได้หลักของเกษตรกรอำเภอแม่แจ่ม เพื่อแก้ปัญหาการบุกรุกถางป่าเพื่อปลูกข้าวโพด หน้าดินที่เสื่อมสภาพลงและถูกชะล้างจากน้ำฝนทุกปี ปัญหาการเพิ่มขึ้นของหมอกควัน ปัญหาสุขภาพ และปัญหาหนี้สินของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้นจากการกู้เงินมาลงทุน
ระบบการจัดการน้ำบนพื้นที่สูงโดยศาสตร์พระราชาร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นโมเดลต้นแบบที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติน้อมนำศาสตร์พระราชาด้านการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง าผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อการบริหารจัดการน้ำและพื้นที่ทำการเกษตร ทางมูลนิธิฯ ได้อธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจแนวคิดนี้อย่างง่ายๆ โดยเรียกว่า “โคก หนอง นา” โดยแบ่งสัดส่วนพื้นที่ออกเป็น 30 : 30 : 30 : 10 ดังนี้
30% สำหรับแหล่งน้ำ โดยการขุดบ่อเก็บน้ำ ทำหนองและคลองไส้ไก่
30% สำหรับทำนาปลูกข้าว
30% สำหรับทำโคกหรือป่า ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ก็คือปลูกไม้ใช้สอย ไม้กินได้และไม้เศรษฐกิจ เพื่อให้ได้ประโยชน์ คือ มีกิน มีอยู่ มีใช้ และมีความสมบูรณ์และความร่มเย็น
10% สำหรับที่อยู่อาศัย และเลี้ยงสัตว์
การนำโมเดลมาปฏิบัติใช้ จะแตกต่างตามสภาพพื้นที่ แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ ในพื้นที่ราบลุ่มใช้รูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” และในพื้นที่สูง ใช้การ “เปลี่ยนเขาหัวโล้น เป็นเขาหัวจุก”
การประยุกต์ใช้ โคกหนองนา โมเดล ให้เข้ากับภูมิสังคมสำหรับพื้นที่สูง ใช้การเปลี่ยน “เขาหัวโล้น” เป็น “เขาหัวจุก” เนื่องจากพื้นที่สูง พื้นที่ภูเขาคือโคกตามธรรมชาติ จึงไม่จำเป็นต้องสร้างโคกอีก ส่วนหนองนั้นเปลี่ยนเป็นการกั้นฝายชะลอน้ำในพื้นที่ร่องเขาเพื่อเก็บน้ำไว้เป็นระยะๆ ทำนาขั้นบันได โดยยกหัวคันนาสูงและกว้าง เพื่อเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาบนภูเขาให้ได้มากที่สุด สร้างบ่อเก็บน้ำหรือแท็งค์น้ำจากวัสดุในพื้นที่ไว้ด้านบน เพื่อปล่อยน้ำผ่านคลองไส้ไก่ หรือที่เรียกว่าลำเหมืองกระจายให้ทั่วพื้นที่ และปลูกแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน
วิธีการกักเก็บน้ำไว้ในพื้นที่ (โคก หนอง นา ในรูปแบบการเปลี่ยนเขาหัวโล้นเป็นเขาหัวจุก) มี 3 วิธี คือ
1. เก็บน้ำไว้ในหนอง ปรับเปลี่ยนโดยการกักเก็บน้ำไว้ในร่องเขาและเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นด้วยการทำฝายชะลอน้ำ ต้องมีการคำนวณปริมาณนํ้าที่สามารถเก็บได้เพื่อให้พอใช้งาน ซึ่งอาจต้องสร้างฝายชะลอน้ำ ลดหลั่นกันลงมาหลายระดับ
2. เก็บน้ำไว้บนโคก โดยการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และเก็บน้ำไว้ในระบบรากของต้นไม้ที่ปลูกไว้ 5 ระดับ ได้แก่ ไม้ระดับสูง ไม้ชั้นกลาง ไม้ชั้นเตี้ย ไม้เรี่ยดิน และไม้หัวใต้ดิน ไม้แต่ละระดับควรต้องมีมากกว่า 21 ชนิด เพื่อสร้างความหลากหลายของระบบราก เมื่อฝนตกลงมา รากต้นไม้ซึ่งต่างระดับกันจะช่วยรักษาหน้าดิน และจะค่อยๆ ไหลซึมลงมากักเก็บน้ำไว้ใต้ดินกลายเป็นแหล่งกักเก็บน้ำใต้ดินที่อยู่ใต้โคกนั่นเอง ช่วยสร้างความชุ่มชื้นในพื้นที่และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน
3. เก็บน้ำไว้ในนา ทำนาขั้นบันได ยกหัวคันนาให้สูงและกว้าง เพื่อกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไว้ในคันนาด้วย เพื่อให้มีน้ำใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วง ปลูกแฝกป้องกันการพังทลายของคันดิน ทำนาน้ำลึก ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์ให้กลับมา ข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่เติบโตด้วยดินที่อุดมสมบูรณ์จะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคและแมลง ใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า และเร่งระดับความสูงของต้นข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้ปลอดสารเคมี ปลอดภัยทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค บนคันนาและโดยรอบพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย

2.3 รูปภาพของแนวทาง

ข้อสังเกตทั่วไปเกี่ยวกับรูปภาพ:

-

2.4 วีดีโอของแนวทาง

วันที่:

12/09/2018

ชื่อของผู้ถ่ายวีดีโอ:

ถนอมขวัญ ทิพวงศ์

2.5 ประเทศ ภูมิภาค หรือสถานที่ตั้งที่ได้นำแนวทางไปใช้

ประเทศ:

ไทย

ภูมิภาค/รัฐ/จังหวัด: :

เชียงใหม่

ข้อมูลเฉพาะเพิ่มเติมของสถานที่ตั้ง:

ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม

ความคิดเห็น:

-

2.6 วันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของแนวทาง

ระบุปีที่เริ่ม:

2015

ถ้าไม่รู้ปีที่แน่นอนให้ประมาณวันที่ที่ริเริ่มใช้แนวทางนี้ :

น้อยกว่า 10 ปี (เร็วๆนี้)

ความคิดเห็น:

-

2.7 ประเภทของแนวทาง

  • ใช้โครงงานหรือแผนงานเป็นฐาน

2.8 เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักของแนวทาง

แก้ปัญหาการบุกรุกถางป่าเพื่อปลูกข้าวโพด หน้าดินที่เสื่อมสภาพและถูกชะล้างจากน้ำฝนทุกปี ปัญหาการเพิ่มขึ้นของหมอกควัน ปัญหาสุขภาพ และปัญหาหนี้สินของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้นจากการกู้เงินมาลงทุน

2.9 เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยหรือเป็นอุปสรรคต่อการนำเทคโนโลยีภายใต้แนวทางนี้ไปปฏิบัติใช้

การมีไว้ให้หรือการเข้าถึงแหล่งการเงินและบริการ
  • เป็นอุปสรรค

หยุดกู้เงินและไม่มีเงินใช้หนี้

การร่วมมือหรือการทำงานประสานกันของผู้ลงมือปฏิบัติ
  • เอื้ออำนวย

เอาแรงกันตลอดสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

ปริมาณงานที่ทำได้ กำลังคนที่มีให้
  • เป็นอุปสรรค

ปริมาณงานมากขึ้น ไม่มีแรงงานให้จ้างงาน

3. การมีส่วนร่วมและบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

3.1 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในแนวทางนี้และบทบาท

  • ผู้ใช้ที่ดินระดับท้องถิ่นหรือชุมชนระดับท้องถิ่น

สมาชิกกลุ่ม 21 ครัวเรือน

ร่วมมือเอาแรงกันและกัน

  • องค์กรพัฒนาเอกชน

ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติ

สนับสนุนความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่

  • ภาคเอกชน

บริษัท เชียงใหม่วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด
-กรมป่าไม้
-อำเภอแม่แจ่ม

-สนับสนุนพันธุ์พืช ไม้ผล
-จัดทำโครงการจัดการป่าอเนกประโยชน์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยศาสตร์พระราชา
-จัดทำโครงการแม่แจ่มโมเดลซึ่งเป็นความร่วมมือจากภาคีหลายฝ่าย ในการร่วมคิด วางแผน ออกแบบเพื่อให้เกิดแนวทางแก้ไขปัญหาทรัพยากรในระดับพื้นที่

  • รัฐบาลระดับท้องถิ่น

Royal Forest Department and Mae Chaem District Administrative Organization

Create a project to manage to obtain multiple benefits from the forest for sustainable development by King Rama 9.

3.2 การเกี่ยวข้องของผู้ใช้ที่ดินระดับท้องถิ่นหรือชุมชนระดับท้องถิ่นในช่วงต่างๆของแนวทาง
ความเกี่ยวข้องของผู้ใช้ที่ดินระดับท้องถิ่นหรือชุมชนระดับท้องถิ่น ระบุผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและอธิบายกิจกรรม
การริเริ่มหรือการจูงใจ จ่ายเงินหรือสนับสนุนจากภายนอก สภาวะแห้งแล้ง ดินไม่สามารถสร้างผลผลิตข้าวโพดและรายได้ ก่อให้เกิดหนี้สินให้กับผู้ใช้ที่ดินมากขึ้น
การวางแผน ปฏิสัมพันธ์ ทางอำเภอแม่แจ่ม มีโครงการคืนชีวิตให้แจ่มเข้ามา ร่วมและเสนอแนวคิด รวมแรงกันทำ
การดำเนินการ ปฏิสัมพันธ์ ผู้ใช้ที่ดินร่วมกับเครือข่ายรวมแรงกันทำ จัดทำออกมาในรูปโคกหนองนาโมเดล โดยมีการสนับสนุนจากกรมป่าไม้ ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติ อำเภอแม่แจ่ม บริษัท เชียงใหม่วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด
การติดตามตรวจสอบหรือการประเมินผล ระดมกำลังด้วยตนเอง ติดตามงานโดยรมช. และศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาตรวจสอบความก้าวหน้า

3.3 แผนผังแสดงขั้นตอนการทำงาน (ถ้ามี)

คำอธิบาย:

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.คัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย (5 รูปแบบ บุคคล ชุมชน วัด โรงเรียน หน่วยงานรัฐตาม ความเหมาะสมในพื้นที่) ที่มีเครือข่ายพื้นที่เข็มแข็ง ครบ 5 ภาคี ได้แก่ ราชการ วิชาการ ประชาชน เอกชน ภาคประชาสังคมและสื่อมวลชน เพื่อความยั่งยืนและ การขยายผล ในรูปแบบประชารัฐ
2.อบรมคนมีใจ ผู้นำชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย ที่มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง
3.จัดอบรมหลักสูตร "การพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง" ของเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ (คกช.) มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ หลักสูตร 5 วัน 4 คืน เรียนรู้เกี่ยวการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง มาผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อการบริหารจัดการน้ำและพื้นที่ทำการเกษตร และลงฝึกปฏิบัติการจริงในพื้นที่เป้าหมายที่คัดเลือกแล้ว
4.จัดเวทีประชาคม สร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมขยายผล สร้างความเข้าใจ
5.คนและชุมชนในพื้นที่ เสนอพื้นที่เข้าร่วมโครงการ (ขยายผล) และพิจารณาอนุมัติโครงการ
6. หาผู้สนับสนุนจากภาคีต่างๆ ได้แก่ มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอแม่แจ่ม กรมป่าไม้ และบริษัท เชียงใหม่วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด
7.อบรมชุมชนในพื้นที่ตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ
8.ปรับปรุงพื้นที่โครงการโดยการปฏิบัติจริงในพื้นที่ เน้นลงแขกลงขัน 5 ภาคี โดยใช้ แนวคิด ‘แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี’ เพื่อให้เกิดการ ‘แตกตัว’ ขยายผลจากลุ่มน้ำป่าสักไปยังลุ่มน้ำอื่นๆ โดยนำกลยุทธ์การ ‘เอามื้อสามัคคี’ หรือ การลงแขกตามประเพณีดั้งเดิมของคนไทยมาเป็นกลวิธีในการขับเคลื่อน เพื่อประสานความสามัคคีเชื่อมโยงและขยายเครือข่ายต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ในสภาพภูมิสังคมที่แตกต่างกัน
ขณะนี้ได้เพิ่มความร่วมมือกับกรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ในการเผยแพร่แบบมาตรฐาน"โคก หนอง นา โมเดล" ออกไปสู่ประชาชนโดยตรง ถ้าชาวบ้านคนไหนไม่มีเงิน อาจจะต้องรอกรมพัฒนาที่ดินเพื่อใช้งบประมาณขุดบ่อจิ๋วมาช่วยทำโคก หนอง นา แทน
9.ยกระดับเป็นศูนย์เรียนรู้ สามารถอบรม ดูงานได้ในพื้นที่ (Coaching)

ผู้เขียน:

สมจิตต์ เลิศดิษยวรรณ

3.4 การตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยี SLM

ระบุผู้ที่ทำการตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีมากกว่าหนึ่งวิธีไปปฏิบัติใช้:
  • ผู้ใช้ที่ดินเป็นผู้ตัดสินใจหลัก โดยการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญ SLM
การอธิบาย:

ผู้ใช้ที่ดินส่วนใหญ่ได้รับการฝึกอบรมจากหน่วยงาน 5 หน่วยงาน โดยผู้ใช้ที่ดินเป็นผู้เลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง

ระบุว่าการตัดสินใจตั้งอยู่บนพื้นฐานของ:
  • การประเมินความรู้ SLM ที่ได้ทำการบันทึกไว้เป็นอย่างดี (การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ)

4. การสนับสนุนด้านเทคนิค การสร้างขีดความสามารถ และการจัดการด้านความรู้

4.1 การสร้างขีดความสามารถ / การอบรม

ได้มีการจัดอบรมให้แก่ผู้ใช้ที่ดินหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนอื่น ๆ หรือไม่:

ใช่

ให้ระบุว่าใครเป็นผู้ได้รับการอบรม:
  • ผู้ใช้ที่ดิน
ถ้าเกี่ยวข้อง ให้ระบุ เพศ อายุ สถานภาพ ชาติพันธุ์ เป็นต้น:

-

รูปแบบการอบรม:
  • เกษตรกรกับเกษตรกร
  • ใช้พื้นที่ทำการสาธิต
  • จัดคอร์ส
หัวข้อที่พูด:

“การพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง” เรียนรู้เกี่ยวการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง มาผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้าน

ความคิดเห็น:

อบรม 4 คืน 5 วัน ก่อนที่จะรับเข้าร่วมโครงการ

4.2 การบริการให้คำแนะนำ

ผู้ใช้ที่ดินมีการเข้าถึงการรับบริการให้คำปรึกษาหรือไม่:

ใช่

ระบุว่ามีบริการให้คำปรึกษาหรือไม่:
  • ไปเยี่ยมชมสถานที่
การอธิบาย/แสดงความคิดเห็น:

Monitor, evaluate and follow up in the area.

4.3 การเสริมความแข็งแกร่งให้กับสถาบัน (การพัฒนาองค์กร)

สถาบันได้รับการจัดตั้งขึ้นมาหรือเสริมความแข็งแกร่งโดยแนวทางนี้หรือไม่:
  • ใช่ ปานกลาง
ระบุระดับของสถาบันที่ได้รับการเสริมความแข็งแกร่งหรือจัดตั้งขึ้นมา:
  • ท้องถิ่น
อธิบายถึงสถาบัน บทบาทและความรับผิดชอบ สมาชิก เป็นต้น:

ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม 21 ครัวเรือน มีกฎระเบียบแนวทางของกลุ่มที่ต้องยึดถือมีการประชุมและเอาแรงกัน สัปดาห์ละ 2 ครั้ง และเข้าร่วมโครงการ"เอามื้อสามัคคี" ซึ่งเป็นโครงการเอาแรงกันในระดับประเทศ หมุนเวียนกันไปทั่วประเทศ

ระบุประเภทของการให้ความช่วยเหลือสนับสนุน:
  • อุปกรณ์
  • ค่าเดินทาง
ให้รายละเอียดเพิ่มเติม :

จอบ พลั่ว เสียบ พันธุ์กล้าไม้
ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน และอาหารสำหรับการไปเอาแรง โครงการ "เอามื้อสามัคคี"

4.4 การติดตามตรวจสอบและประเมินผล

การติดตามตรวจสอบและประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางหรือไม่:

ใช่

ความคิดเห็น:

ติดตามและประเมินผลโดยโครงการ "โคกหนองนาโมเดล" ของรมช. "คืนชีวิตให้แจ่ม" ร่วมกับศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติ

ถ้าตอบว่าใช่ แสดงว่าการจัดเตรียมเอกสารนี้มุ่งหวังที่จะเอาไปใช้สำหรับการติดตามตรวจสอบและประเมินผลใช่หรือไม่:

ไม่ใช่

ความคิดเห็น:

-

4.5 การวิจัย

การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางหรือไม่:

ไม่ใช่

5. การสนับสนุนด้านการเงินและวัสดุอุปกรณ์

5.1 ระบุงบประมาณประจำปีสำหรับแนวทาง SLM นี้

ถ้าหากว่างบประมาณประจำปีไม่เป็นที่ทราบแน่นอน ให้ระบุช่วงลงไป:
  • > 1,000,000
แสดงความคิดเห็น (แหล่งของการระดมทุน ผู้บริจาคคนสำคัญ):

-

5.2 การสนับสนุนด้านการเงิน / วัสดุอุปกรณ์ให้แก่ผู้ใช้ที่ดิน

ผู้ใช้ที่ดินได้รับการสนับสนุนด้านการเงิน / วัสดุอุปกรณ์ไปปฏิบัติใช้เทคโนโลยีหรือไม่:

ใช่

ถ้าใช่ ให้ระบุประเภทของการสนับสนุน เงื่อนไขและผู้จัดหามาให้:

อุปกรณ์การเกษตรแบบใช้แรงกาย เช่น จอบ เสียบ พลั่ว โดยโครงการ "โคกหนองนาโมเดล" ของรมช. และศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติเป็นผู้จัดหามาให้แก่สมาชิก

5.3 เงินสนับสนุนสำหรับปัจจัยนำเข้า (รวมถึงแรงงาน)

  • อุปกรณ์
ระบุปัจจัยนำเข้าที่ได้รับการสนับสนุน เห็นด้วยระดับไหน ระบุเงินสนับสนุน
เครื่องมือ ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินบางส่วน Material and equipment for farming
  • การเกษตร
ระบุปัจจัยนำเข้าที่ได้รับการสนับสนุน เห็นด้วยระดับไหน ระบุเงินสนับสนุน
เมล็ด ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินบางส่วน Seed of crops and saplings of trees and fruit trees
ถ้าแรงงานโดยผู้ใช้ที่ดินเป็นปัจจัยนำเข้าที่มีอยู่มากมาย ระบุด้วยว่าเนื่องจาก:
  • สมัครใจ
ความคิดเห็น:

-

5.4 เครดิต

มีการจัดหาเครดิตมาให้ภายใต้แนวทาง SLM หรือไม่:

ไม่ใช่

5.5 แรงจูงใจหรือเครื่องมืออื่น ๆ

แรงจูงใจหรือเครื่องมืออื่น ๆ ได้ถูกนำไปใช้ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี SLM หรือไม่:

ใช่

ถ้าใช่ ระบุ:

แรงจูงใจในการมีความสามารถปลดหนี้หรือพักชำระหนี้ได้

6. การวิเคราะห์ผลกระทบและการสรุป

6.1 ผลกระทบของแนวทาง

ปรับปรุงความรู้และความสามารถของผู้ใช้ที่ดินในการดำเนินการ SLM หรือไม่:
  • ไม่ใช่
  • ใช่ เล็กน้อย
  • ใช่ ปานกลาง
  • ใช่ อย่างมาก

All land users are trained to set up the Khok-Nong-Na model.

 ปรับปรุงประเด็นของการถือครองที่ดินหรือสิทธิในการใช้ ซึ่งขัดขวางการนำเทคโนโลยีไปใช้ให้ดีขึ้น:
  • ไม่ใช่
  • ใช่ เล็กน้อย
  • ใช่ ปานกลาง
  • ใช่ อย่างมาก
นำไปสู่การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนหรือแหล่งพลังงานหรือไม่:
  • ไม่ใช่
  • ใช่ เล็กน้อย
  • ใช่ ปานกลาง
  • ใช่ อย่างมาก

6.2 แรงจูงใจหลักของผู้ใช้ที่ดินเพื่อที่จะนำ SLM ไปปฏิบัติใช้

  • การเสื่อมของที่ดินลดลง

-

  • ความเสี่ยงของภัยพิบัติลดลง

-

  • การเข้าร่วมสมทบในขบวนการ โครงการ กลุ่ม เครือข่าย

-

  • จิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม

-

6.3 ความยั่งยืนของกิจกรรมของแนวทาง

ผู้ใช้ที่ดินสามารถทำให้สิ่งต่างๆ ที่ได้ปฏิบัติใช้โดยแนวทางนี้ยั่งยืนได้หรือไม่ (โดยไม่มีการสนับสนุนจากภายนอก):
  • ไม่แน่ใจ
ถ้าตอบว่าไม่หรือไม่แน่ใจ ให้ระบุและแสดงความคิดเห็น :

1) ยังต้องพึ่งพาการชี้นำแนวทาง ซึ่งถ้าไม่มีรัฐเข้าช่วยพยุงไปในระยะนี้ คงไม่สามารถเดินต่อได้ เพราะปัจจุบันไม่เกิดรายได้จากแนวทางนี้
2) ผู้ใช้ที่ดินไม่มีอำนาจการต่อรอง ทั้งด้านการเงิน รายได้ และตลาด

6.4 จุดแข็งและข้อได้เปรียบของแนวทาง

จุดแข็ง / ข้อได้เปรียบของแนวทางในทัศนคติของผู้ใช้ที่ดิน
สภาพแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า กลับสู่สภาพธรรมชาติมากขึ้น
ประหยัดค่าแรงงาน ค่าน้ำมัน และค่าวัสดุอุปกรณ์ในการสูบน้ำเข้านา และรดน้ำไม้ผลและพืชปลูกต่างๆ
สมาชิกกลุ่มมีความสามัคคี ร่วมแรงกันทำงาน และยึดถือควบคุมโดยระเบียบของกลุ่ม
จุดแข็ง / ข้อได้เปรียบของแนวทางในทัศนคติของผู้รวบรวมหรือวิทยากรหลัก
สามารถทวงคืนผืนป่า โดยความร่วมมือและยอมรับประชามติจากหลายๆ ฝ่าย
ลดการเผาไหม้ทำลายป่าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและมีส่วนร่วมจากชุมชน

6.5 จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบของแนวทางและวิธีในการแก้ไข

จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบในทัศนคติของผู้ใช้ที่ดิน สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร
ไม่มีเวลาว่าง ภาระหน้าที่ต่อวันเพิ่มขึ้น -
ยังไม่มีรายได้เป็นตัวเงิน และยังไม่มีความสามารถปลดหนี้ได้ อยากให้รัฐปลดหนี้ให้ แล้วจะดูแลป่าไม้และสภาพแวดล้อมอย่างดีเป็นการตอบแทน
-
จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบในทัศนคติของผู้รวบรวมหรือวิทยากรหลัก สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร
ควรส่งเสริมพืชอายุสั้นที่เหมาะสมเพื่อสร้างรายได้ แต่ยังไม่มีการผลิตเนื่องจากการขาดแคลนน้ำ ควรหาวิธีการกักเก็บน้ำให้ได้มากและนานขึ้น หาพืชที่ใช้น้ำน้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่
มีตลาดผักปลอดภัยจากโรงเรียนและโรงพยาบาล แต่ไม่มีผลผลิตเพียงพอความต้องการ ควรหาวิธีการกักเก็บน้ำให้ได้มากและนานขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อการผลิต
- -

7. การอ้างอิงและการเชื่อมต่อ

7.1 วิธีการหรือแหล่งข้อมูล

  • ไปเยี่ยมชมภาคสนาม การสำรวจพื้นที่ภาคสนาม
  • การสัมภาษณ์กับผู้ใช้ที่ดิน

2

  • การเก็บรวบรวมมาจากรายงานและเอกสารที่มีอยู่

อบต.บ้านทับ

7.2 การอ้างอิงถึงสิ่งตีพิมพ์

ชื่อเรื่อง ผู้เขียน ปี ISBN:

-

ช่องทางในการสืบค้น และราคา:

-

7.3 เชื่อมโยงกับข้อมูลที่มีอยู่บนออนไลน์

ชื่อเรื่องหรือคำอธิบาย:

คนเปลี่ยนโลก SS4 TAPE 28 : แม่แจ่มโมเดลพลัส (9 ก.ค. 61) 1/3

URL:

https://www.youtube.com/watch?v=k7Bex9ku_qY&feature=youtu.be

ชื่อเรื่องหรือคำอธิบาย:

คนเปลี่ยนโลก SS4 TAPE 28 : แม่แจ่มโมเดลพลัส (9 ก.ค. 61) 2/3

URL:

https://www.youtube.com/watch?v=RwY01nOLVvs&feature=youtu.be

ชื่อเรื่องหรือคำอธิบาย:

คนเปลี่ยนโลก SS4 TAPE 28 : แม่แจ่มโมเดลพลัส (9 ก.ค. 61) 3/3

URL:

https://www.youtube.com/watch?v=doiZ8r6Bo9I&feature=youtu.be

โมดูล