แนวทาง

Suitable soil and water conservation measure in tea plantation area in the North of Thailand [ไทย]

  • ผู้สร้างสรรค์:
  • การอัพเดท:
  • ผู้รวบรวม:
  • ผู้เรียบเรียง:
  • ผู้ตรวจสอบ: ,

Continuous bench terrace in highland

approaches_4282 - ไทย

สมบูรณ์: 97%

1. ข้อมูลทั่วไป

1.2 รายละเอียดที่ติดต่อได้ของผู้รวบรวมและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการประเมินและการจัดเตรียมทำเอกสารของแนวทาง

วิทยากรหลัก

co-compiler:

ทิพวงศ์ ถนอมขวัญ

1760 ต่อ 2235 / 0879172421

aoy.tvong.@gmail.com / -

กรมพัฒนาที่ดิน

เลขที่ 2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ

ไทย

ผู้ใช้ที่ดิน:

Mokngoen Jai

0658720601 / -

- / -

รหัสเกษตรกร 286

หมู่บ้านคุ้ม หมู่ที่ 5 ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 50110

ไทย

เจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ตำแหน่งนักวิชาการ:

Tapangtong Werapong

0987488087 / -

- / -

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

บ้านคุ้ม หมู่ที่ 5 ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 50110

ไทย

เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง:

Boonchoo Sontaya

- / -

- / -

ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง กรมพัฒนาที่ดิน

: เลขที่ 164 หมู่ 3 ถนนเชียงใหม่-ฝาง ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180

ไทย

ชื่อของโครงการซึ่งอำนวยความสะดวกในการทำเอกสารหรือการประเมินแนวทาง (ถ้าเกี่ยวข้อง)
Land Development Department (Land Development Department) - ไทย

1.3 เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ผ่านทาง WOCAT

วันที่เก็บรวบรวมข้อมูล (ภาคสนาม):

19/10/2018

ผู้รวบรวมและวิทยากรหลักยอมรับเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลที่ถูกบันทึกผ่านทาง WOCAT:

ใช่

2. คำอธิบายของแนวทาง SLM

2.1 การอธิบายแบบสั้น ๆ ของแนวทาง

แนวทางการใช้ประโยชน์ขั้นบันไดดินฐาน 3 เมตร สำหรับปลูกชาจีนภายใต้ระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน

2.2 การอธิบายอย่างละเอียดของแนวทาง

การอธิบายอย่างละเอียดของแนวทาง:

ภาพรวมของแนวทางการส่งเสริมการใช้ SLM แนวทางการใช้ประโยชน์ขั้นบันไดดินฐาน 3 เมตร สำหรับปลูกชาจีนภายใต้ระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน แปลง 2000 ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง หมู่ที่ 5 ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
มีคุณลักษณะเด่น คือ เป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีกลที่ได้รับการออกแบบและจัดทำขั้นบันไดดินที่มีฐานความกว้างที่เหมาะสมสำหรับปลูกชาจีนอินทรีย์บนพื้นที่ที่มีความลาดชัน 20-35% โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาและส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำให้เกษตรกรชาวเขาผลิตชาจีนคุณภาพดี ส่งโรงงานแปรรูป ช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคง ยกระดับคุณภาพชีวิต ที่สำคัญยิ่ง คือ เพื่อลดปัญหาการบุกรุกป่า ปัญหาทำไร่เลื่อนลอย ทำการเกษตรกรรมผิดวิธี นำไปสู่การอนุรักษ์ต้นน้ำ และใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างยั่งยืนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระบวนการคัดเลือกและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี SLM ในช่วงแรกที่ทางสถานีเกษตรหลวงอ่างขางได้ริเริ่มโครงการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการปลูกชาจีนบนพื้นที่สูง (ทดแทนการปลูกฝิ่น) ได้รับความร่วมมือจากกรมพัฒนาที่ดินเข้ามาสำรวจ คัดเลือกพื้นที่ ออกแบบและจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำแบบขั้นบันไดในพื้นที่แปลงไม้ผลเมืองหนาวเก่าของสถานีฯ ที่มีสภาพเสื่อมโทรม เพื่อจัดสรรที่ดินตามโซนการปลูกพืช Zoning (แต่ไม่มีสิทธิ์ถือครองที่ดิน) ให้แก่เกษตรกรเผ่าปะหล่องที่ได้รับคัดเลือกและได้รับการรับรองจากผู้นำของชุมชนว่ามีความถนัด และสามารถปลูกชาจีนตามแนวทางปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) จัดตั้งเป็นกลุ่มชาแปลง 2000 ซึ่งทางสถานีเกษตรหลวงอ่างขางได้จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกชาจีนอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ส่งเสริมของสถานีฯ เข้าไปในแปลง 2000 เพื่อให้บริการคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการดิน การใส่ปุ๋ย การจัดการโรคและแมลงศัตรูชา การปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาขั้นบันไดดินหรือแนวขอบถนน สนับสนุนให้จัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยหมักไว้ใช้เองเพื่อลดต้นทุน สนับสนุนปัจจัยการผลิตต่างๆ ให้แก่เกษตรกร ผ่านการเบิกจ่ายภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรดอยอ่างขาง สนับสนุนเรื่องการตลาดผ่านการรับซื้อในราคาประกันตามคุณภาพของยอดชา ตลอดจนการสนับสนุนให้มีโรงงานแปรรูปชา ซึ่งปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว ส่งผลให้เกษตรกรมีความขยัน หมั่นตรวจตราแปลง 2000 อย่างใกล้ชิด จนเกิดความตระหนักรู้ในการดูแลรักษาทรัพยากรดิน ขั้นบันไดดินปลูกชา ให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน เพิ่มพูนทักษะแก่เกษตรกรให้สามารถซ่อมแซมขั้นบันไดดินได้ด้วยตนเองหากชำรุดเล็กน้อย หากชำรุดเสียหายมากทางกรมพัฒนาที่ดินจะช่วยดำเนินการซ่อมแซม
ผลการดำเนินงานการส่งเสริมการใช้ SLM ปัจจุบัน แปลง 2000 นับว่าเป็นแหล่งผลิตชาจีนชั้นเลิศของประเทศไทย แม้ว่าอายุของแปลงปลูกชาจะมากถึง 20 ปี ก็ตาม แต่ผลผลิตชาจีนยังคงมีคุณภาพที่ดี สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกรปีละ 100,000-300,000 บาทต่อราย อีกทั้งยังเป็นแหล่งศึกษาดูงานให้แก่นิสิตนักศึกษา ประชาชนผู้สนใจทั่วไป ได้เรียนรู้ถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อผลิตชาจีนคุณภาพดีอย่างยั่งยืนบนพื้นที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย สอดคล้องตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักของแนวทาง

2.3 รูปภาพของแนวทาง

ข้อสังเกตทั่วไปเกี่ยวกับรูปภาพ:

การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโครงการความร่วมมือ Decision support for mainstreaming and scaling up of sustainable land management (DS-SLM) เพื่อสอบถามเกี่ยวกับแนวทางเพื่อการจัดการดินอย่างยั่งยืน ที่ใช้ประโยชน์ขั้นบันไดดินเพื่อผลิตชาจีนอินทรีย์ดอยอ่างขาง แปลง 2000

2.4 วีดีโอของแนวทาง

ความคิดเห็น อธิบายสั้นๆ:

การปลูกชาจีนขั้นบันไดเชิงอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน

วันที่:

09/10/2018

สถานที่:

ดอยอ่างขาง

ชื่อของผู้ถ่ายวีดีโอ:

สมจิตต์ เลิศดิษยวรรณ / ถนอมขวัญ ทิพวงศ์

ความคิดเห็น อธิบายสั้นๆ:

ไร่ชา 2000 ดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่

วันที่:

21/01/2016

สถานที่:

ดอยอ่างขาง

ชื่อของผู้ถ่ายวีดีโอ:

Pornthep Molee

ความคิดเห็น อธิบายสั้นๆ:

สถานีเกษตรหลวง
อ่างขาง 39 เส้นทาง เรียนรู้ ทำดี “ตามรอยพ่อ”

วันที่:

15/03/2017

สถานที่:

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

ชื่อของผู้ถ่ายวีดีโอ:

มูลนิธิโครงการหลวง Ford Thailand

2.5 ประเทศ ภูมิภาค หรือสถานที่ตั้งที่ได้นำแนวทางไปใช้

ประเทศ:

ไทย

ภูมิภาค/รัฐ/จังหวัด: :

เชียงใหม่

ข้อมูลเฉพาะเพิ่มเติมของสถานที่ตั้ง:

แปลงส่งเสริมการปลูกชาจีน (แปลง 2000) ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง

ความคิดเห็น:

สถานีเกษตรหลวงอ่างขางเป็นหน่วยงานหลักที่มีส่วนช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรชาวเขา ตระหนักรู้เรื่องทรัพยากรดิน ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ การทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รักษ์ป่า จนทำให้เกิดรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่สูงเพื่อการปลูกชาจีนขั้นบันได ที่เรียกว่า “แปลง 2000” ได้อย่างยั่งยืน

2.6 วันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของแนวทาง

ระบุปีที่เริ่ม:

1999

ถ้าไม่รู้ปีที่แน่นอนให้ประมาณวันที่ที่ริเริ่มใช้แนวทางนี้ :

10-50 ปี

ความคิดเห็น:

ใช้ต่อเนื่องไม่มีวันสิ้นสุด ความคิดเห็น : เป็นมาตรการทางโครงสร้างที่จะใช้ต่อเนื่อง ไม่มีวันสิ้นสุด เนื่องจากเกษตรกร มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกชาขั้นบันไดภายใต้ระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP)

2.7 ประเภทของแนวทาง

  • ใช้โครงงานหรือแผนงานเป็นฐาน

2.8 เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักของแนวทาง

การใช้ประโยชน์ขั้นบันไดดินฐาน 3 เมตร สำหรับปลูกชาจีนบนพื้นที่สูง แปลง 2000
มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมอาชีพการทำเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงที่มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำให้เกษตรกรชาวเขาผลิตชาจีนคุณภาพดีส่งโรงงานแปรรูป ช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคง ยกระดับคุณภาพชีวิต ที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างยั่งยืนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาการบุกรุกป่า อนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร

2.9 เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยหรือเป็นอุปสรรคต่อการนำเทคโนโลยีภายใต้แนวทางนี้ไปปฏิบัติใช้

การมีไว้ให้หรือการเข้าถึงแหล่งการเงินและบริการ
  • เอื้ออำนวย

สหกรณ์การเกษตรดอยอ่างขางจะช่วยสนับสนุนปัจจัยการผลิตต่างๆ ให้แก่เกษตรกร โดยมีเจ้าหน้าที่สหกรณ์ฯ ควบคุมดูแลการเบิกจ่าย

การจัดตั้งระดับองค์กร
  • เอื้ออำนวย

การจัดตั้งกลุ่มชา กลุ่มผลิตปุ๋ยหมัก

กรอบแนวทางในการดำเนินการด้านกฎหมาย (การถือครองที่ดิน สิทธิในการใช้ที่ดินและน้ำ)
  • เอื้ออำนวย

ไม่มีสิทธิ์การถือครองที่ดินตามกฎหมาย แต่ได้รับจัดสรรที่ดินทำกิน

นโยบาย
  • เอื้ออำนวย

นโยบายภาครัฐมีช่วยสนับสนุนกิจกรรม งบฯ

การกำกับดูแลที่ดิน (การตัดสินใจ การนำเอาไปปฏิบัติใช้ และการบังคับใช้)
  • เอื้ออำนวย

จัดระเบียบการใช้ที่ดิน ช่วยกันดูแล

ความรู้เกี่ยวกับ SLM การเข้าถึงการสนับสนุนด้านเทคนิค
  • เอื้ออำนวย

เจ้าหน้าที่สถานีฯ ให้คำแนะนำเรื่องการผลิตชาจีนอย่างดี

ตลาด (จัดซื้อปัจจัยนำเข้า ขายผลิตภัณฑ์) และราคา
  • เอื้ออำนวย

มีโรงงานแปรรูปชา ซึ่งเป็นตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน ประกันราคาตามคุณภาพ

อื่นๆ
  • เอื้ออำนวย

เกษตรกรเผ่าปะหล่องมีทักษะด้านการปลูกชา

3. การมีส่วนร่วมและบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

3.1 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในแนวทางนี้และบทบาท

  • ผู้ใช้ที่ดินระดับท้องถิ่นหรือชุมชนระดับท้องถิ่น

เกษตรกรเผ่าปะหล่อง

เป็นผู้ใช้ที่ดิน ดูแลรักษาขั้นบันไดดิน

  • องค์กรที่ขึ้นอยู่กับชุมชน

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

ส่งเสริมอาชีพ ให้คำแนะนำ ความรู้ทางวิชาการ สนับสนุนปัจจัยผลิต โรงงานแปรรูป

  • ครู เด็กนักเรียน หรือนักศึกษา

นิสิตนักศึกษา ประชาชนทั่วไป

ฝึกงาน ทัศนศึกษา

  • รัฐบาลระดับท้องถิ่น

Several local government agencies are directly involved in this process, including officers from the station and the Royal Project.

The station officers extend and promote the occupation, encourage and advise the farmers in technical matters and related knowledge, and also support production facilities as well as the processing factory nearby.

  • รัฐบาลแห่งชาติ (ผู้วางแผน ผู้ทำการตัดสินใจ)

Administrative officers in department and ministry level

พรบ.ป่าไม้,เกษตรกรรมยั่งยืน

3.2 การเกี่ยวข้องของผู้ใช้ที่ดินระดับท้องถิ่นหรือชุมชนระดับท้องถิ่นในช่วงต่างๆของแนวทาง
ความเกี่ยวข้องของผู้ใช้ที่ดินระดับท้องถิ่นหรือชุมชนระดับท้องถิ่น ระบุผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและอธิบายกิจกรรม
การริเริ่มหรือการจูงใจ ปฏิสัมพันธ์ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ได้จัดทำโครงการอนุรักษ์ดินและน้ำแบบขั้นบันไดในแปลงไม้ผลเก่าที่เสื่อมโทรม และแจ้งให้เกษตรกรชาวเขารับรู้เรื่องการจัดสรรที่ดินปลูกพืชเศรษฐกิจเมืองหนาวตามโซนการปลูกพืช zoning
การวางแผน ปฏิสัมพันธ์ เกษตรกรเผ่าปะหล่องได้รับการจัดสรรที่ดินเพื่อปลูกชาจีน แปลง 2000 ระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP)
การดำเนินการ ไม่มี กรมพัฒนาที่ดินรับผิดชอบดำเนินการสำรวจออกแบบและจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำแบบขั้นบันได (ตามที่สถานีฯ ประสานขอความร่วมมือ)
การติดตามตรวจสอบหรือการประเมินผล ปฏิสัมพันธ์ เกษตรกรเผ่าปะหล่องต้องดูแลรักษา ขั้นบันไดดินเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ยั่งยืน
-

3.3 แผนผังแสดงขั้นตอนการทำงาน (ถ้ามี)

คำอธิบาย:

: ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. การจัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่เกษตรกรชาวเขารอบพื้นที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เพื่อลดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า ลดการปลูกฝิ่น การทำไร่เลื่อนลอย
2. การคัดเลือกพื้นที่ส่งเสริมชาอินทรีย์ของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ได้คัดเลือกพื้นที่แปลงไม้ผลเขตหนาวเก่าของสถานีฯ ที่มีสภาพเสื่อมโทรม และไม่มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อปรับสภาพพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงให้เหมาะสมกับการปลูกพืชเศรษฐกิจเมืองหนาว
3. การสำรวจ ออกแบบ และสร้างขั้นบันไดดินฐาน 3 เมตร ในปี พ.ศ. 2542 กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สนับสนุนในการสำรวจออกแบบและสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยปรับเปลี่ยนพื้นที่แปลงไม้ผลเขตหนาวเก่าของสถานีฯ ให้เป็นขั้นบันไดดินต่อเนื่องตามระยะ VI ที่กำหนด
4. การคัดเลือกเกษตรกร ทางสถานีฯ ได้ทำการคัดเลือกเกษตรกรโดยพิจารณาจากความถนัด ความสามารถ และโอกาสในการพัฒนาต่อยอดสู่เกษตรกรรายอื่นๆ ซึ่งเกษตรกรที่คัดเลือกเป็นเผ่าปะหล่องที่ได้รับคำรับรองจากผู้นำในชุมชนสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมได้ โดยการใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ จะเบิกภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่สถานีฯ ผ่านกลุ่มสหกรณ์การเกษตรดอยอ่างขาง
5. การปลูกและการดูแลรักษา พื้นที่ปลูกชาจีน แปลง 2000 เป็นพื้นที่ที่มีการระบายน้ำได้ดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.5-5.5 เกษตรกรเผ่าปะหล่องจะปลูกชาตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สถานีฯ โดยขุดเป็นร่องตามแนวขั้นบันได ลึกไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร ร่องกว้าง 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 40-50 เซนติเมตร โดยใช้กล้าจากกิ่งปักชำที่มีอายุ 10-12 เดือน คลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชื้น 1 ไร่ จะปลูกประมาณ 2,000 ต้น ซึ่งการผลิตชาอินทรีย์จะไม่มีการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี ใช้เฉพาะวัสดุจากธรรมชาติ การใส่ปุ๋ยหมักที่กลุ่มผลิตกันเอง ใส่โดยขุดร่องยาวบริเวณปลายทรงพุ่มชา ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ทั้งสองด้าน ใส่อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น ใส่ปีละ 3 ครั้ง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มิถุนายน และตุลาคม โดยชาจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนเมษายน-ธันวาคม และจะพักตัวในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม โดยพันธุ์เบอร์ 12 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 800 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนพันธุ์ก้านอ่อน ผลผลิตเฉลี่ย 600 กิโลกรัมต่อไร่ ในรอบ 1 ปี จะเก็บได้ 5-6 ครั้ง ผลผลิตโดยรวมอยู่ที่ 60,000 กิโลกรัมต่อปี ทำให้มีรายได้เฉลี่ย 100,000-300,000 บาทต่อราย โดยทางสถานีฯ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวันและสถาบันพัฒนาพื้นที่สูงช่วยเหลือเรื่องอาคาร เครื่องจักรแปรรูปและเทคนิคในการแปรรูปชา
6. การบำรุงรักษาเทคโนโลยีขั้นบันไดดินปลูกชาจีนบนพื้นที่สูง เกษตรกรจะทำการซ่อมแซมขั้นบันไดดินที่ชำรุดไม่มากด้วยตนเอง หากบริเวณใดชำรุดมากจำเป็นต้องให้กรมพัฒนาที่ดินช่วยซ่อมแซม นอกจากนี้ยังดูแลรักษาหญ้าแฝกบริเวณขอบขั้นบันไดดิน

ผู้เขียน:

นางสาวถนอมขวัญ ทิพวงศ์

3.4 การตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยี SLM

ระบุผู้ที่ทำการตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีมากกว่าหนึ่งวิธีไปปฏิบัติใช้:
  • ผู้ลงมือปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในฐานะที่เป็นส่วนรวมของแนวทาง
การอธิบาย:

-

ระบุว่าการตัดสินใจตั้งอยู่บนพื้นฐานของ:
  • การประเมินความรู้ SLM ที่ได้ทำการบันทึกไว้เป็นอย่างดี (การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ)
  • นโยบายและมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองและควบคุมการทำเกษตรกรรมบนพื้นที่สูง

4. การสนับสนุนด้านเทคนิค การสร้างขีดความสามารถ และการจัดการด้านความรู้

4.1 การสร้างขีดความสามารถ / การอบรม

ได้มีการจัดอบรมให้แก่ผู้ใช้ที่ดินหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนอื่น ๆ หรือไม่:

ใช่

ให้ระบุว่าใครเป็นผู้ได้รับการอบรม:
  • ผู้ใช้ที่ดิน
ถ้าเกี่ยวข้อง ให้ระบุ เพศ อายุ สถานภาพ ชาติพันธุ์ เป็นต้น:

: ชาย หญิง

รูปแบบการอบรม:
  • เกษตรกรกับเกษตรกร
  • ใช้พื้นที่ทำการสาธิต
รูปแบบการอบรม:
  • ประชุมประจำเดือน
หัวข้อที่พูด:

การปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาขั้นบันไดดิน แนวขอบถนน ฯลฯ

ความคิดเห็น:

-

4.2 การบริการให้คำแนะนำ

ผู้ใช้ที่ดินมีการเข้าถึงการรับบริการให้คำปรึกษาหรือไม่:

ใช่

ระบุว่ามีบริการให้คำปรึกษาหรือไม่:
  • ไปเยี่ยมชมสถานที่
  • ที่ศูนย์ถาวร
การอธิบาย/แสดงความคิดเห็น:

-

4.3 การเสริมความแข็งแกร่งให้กับสถาบัน (การพัฒนาองค์กร)

สถาบันได้รับการจัดตั้งขึ้นมาหรือเสริมความแข็งแกร่งโดยแนวทางนี้หรือไม่:
  • ใช่ อย่างมาก
ระบุระดับของสถาบันที่ได้รับการเสริมความแข็งแกร่งหรือจัดตั้งขึ้นมา:
  • ท้องถิ่น
อธิบายถึงสถาบัน บทบาทและความรับผิดชอบ สมาชิก เป็นต้น:

เกษตรกรเผ่าปะหล่องผู้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกแปลงส่งเสริมการปลูกชาอินทรีย์ มีความตระหนักที่จะดูแลรักษาขั้นบันไดดินให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน

ระบุประเภทของการให้ความช่วยเหลือสนับสนุน:
  • ด้านการเงิน
  • ให้การสนับสนุนซ่อมแซมขั้นบันไดดิน ไร่ละประมาณ 500 บาท
ให้รายละเอียดเพิ่มเติม :

-

4.4 การติดตามตรวจสอบและประเมินผล

การติดตามตรวจสอบและประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางหรือไม่:

ใช่

ความคิดเห็น:

มีการติดตามและประเมินผลของแนวทางการปลูกชาจีนบนขั้นบันไดดินบนพื้นที่สูงโดยสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

ถ้าตอบว่าใช่ แสดงว่าการจัดเตรียมเอกสารนี้มุ่งหวังที่จะเอาไปใช้สำหรับการติดตามตรวจสอบและประเมินผลใช่หรือไม่:

ใช่

ความคิดเห็น:

-

4.5 การวิจัย

การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางหรือไม่:

ไม่ใช่

5. การสนับสนุนด้านการเงินและวัสดุอุปกรณ์

5.1 ระบุงบประมาณประจำปีสำหรับแนวทาง SLM นี้

แสดงความคิดเห็น (แหล่งของการระดมทุน ผู้บริจาคคนสำคัญ):

-

5.2 การสนับสนุนด้านการเงิน / วัสดุอุปกรณ์ให้แก่ผู้ใช้ที่ดิน

ผู้ใช้ที่ดินได้รับการสนับสนุนด้านการเงิน / วัสดุอุปกรณ์ไปปฏิบัติใช้เทคโนโลยีหรือไม่:

ใช่

ถ้าใช่ ให้ระบุประเภทของการสนับสนุน เงื่อนไขและผู้จัดหามาให้:

สนับสนุนกล้าหญ้าแฝกเพื่อการบำรุงรักษาเทคโนโลยี รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการซ่อมแซมปีละ 500 บาท

5.3 เงินสนับสนุนสำหรับปัจจัยนำเข้า (รวมถึงแรงงาน)

  • แรงงาน
เห็นด้วยระดับไหน ระบุเงินสนับสนุน
ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินบางส่วน Maintain and repair budget around 500 baht per rai.
ถ้าแรงงานโดยผู้ใช้ที่ดินเป็นปัจจัยนำเข้าที่มีอยู่มากมาย ระบุด้วยว่าเนื่องจาก:
  • สมัครใจ
ความคิดเห็น:

-

5.4 เครดิต

มีการจัดหาเครดิตมาให้ภายใต้แนวทาง SLM หรือไม่:

ใช่

ถ้าใช่ ระบุเงื่อนไข (อัตราดอกเบี้ย การชำระคืน):

ปลอดดอกเบี้ย

ระบุผู้ให้เครดิต:

สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงดอยอ่างขาง สนับสนุนปัจจัยการผลิต

ระบุผู้รับเครดิต:

เกษตรกรผู้เป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ

5.5 แรงจูงใจหรือเครื่องมืออื่น ๆ

แรงจูงใจหรือเครื่องมืออื่น ๆ ได้ถูกนำไปใช้ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี SLM หรือไม่:

ไม่ใช่

6. การวิเคราะห์ผลกระทบและการสรุป

6.1 ผลกระทบของแนวทาง

ช่วยให้ผู้ใช้ที่ดินนำเอาเทคโนโลยี SLMไปใช้และบำรุงรักษาสภาพไว้ได้หรือไม่:
  • ไม่ใช่
  • ใช่ เล็กน้อย
  • ใช่ ปานกลาง
  • ใช่ อย่างมาก

เกษตรกรดูแลซ่อมแซมขั้นบันไดเป็นอย่างดี

ปรับปรุงความร่วมมือกันและการดำเนิน งานของ SLM ได้อย่างมีประสิทธิผลหรือไม่:
  • ไม่ใช่
  • ใช่ เล็กน้อย
  • ใช่ ปานกลาง
  • ใช่ อย่างมาก

ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ สอดส่องดูแล รักษาขั้นบันได

ปรับปรุงความรู้และความสามารถของผู้ใช้ที่ดินในการดำเนินการ SLM หรือไม่:
  • ไม่ใช่
  • ใช่ เล็กน้อย
  • ใช่ ปานกลาง
  • ใช่ อย่างมาก

เกษตรกรไม่สามารถสร้างขั้นบันไดเองได้ แต่ซ่อมแซมจุดที่ชำรุดน้อยๆ ได้

 ปรับปรุงประเด็นของการถือครองที่ดินหรือสิทธิในการใช้ ซึ่งขัดขวางการนำเทคโนโลยีไปใช้ให้ดีขึ้น:
  • ไม่ใช่
  • ใช่ เล็กน้อย
  • ใช่ ปานกลาง
  • ใช่ อย่างมาก

ขาดเอกสารสิทธิ์ถือครอง แต่ได้รับจัดสรรที่ดินทำกิน

นำไปสู่การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนหรือแหล่งพลังงานหรือไม่:
  • ไม่ใช่
  • ใช่ เล็กน้อย
  • ใช่ ปานกลาง
  • ใช่ อย่างมาก

ทำให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อผลิตชาจีนคุณภาพดีอย่างยั่งยืน

6.2 แรงจูงใจหลักของผู้ใช้ที่ดินเพื่อที่จะนำ SLM ไปปฏิบัติใช้

  • การผลิตที่เพิ่มขึ้น

ชาจีนให้ผลผลิต 5-6 ครั้ง/ปี สร้างรายได้อย่างดีให้แก่เกษตรกร

  • การเสื่อมของที่ดินลดลง

ขั้นบันไดดินช่วยป้องกันการชะล้างได้

  • การเข้าร่วมสมทบในขบวนการ โครงการ กลุ่ม เครือข่าย

โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการผลิตชาอินทรีย์ของสถานีฯ

6.3 ความยั่งยืนของกิจกรรมของแนวทาง

ผู้ใช้ที่ดินสามารถทำให้สิ่งต่างๆ ที่ได้ปฏิบัติใช้โดยแนวทางนี้ยั่งยืนได้หรือไม่ (โดยไม่มีการสนับสนุนจากภายนอก):
  • ไม่แน่ใจ
ถ้าตอบว่าไม่หรือไม่แน่ใจ ให้ระบุและแสดงความคิดเห็น :

ผู้ใช้ที่ดินต้องพึ่งพาการชี้นำแนวทางเป็นอย่างมาก เนื่องจากขั้นบันไดดินเป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีกลที่มีค่าใช้จ่ายสูง ต้องใช้เครื่องจักร ต้องมีผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญสำรวจ ออกแบบ และจัดทำระบบฯ
แต่อย่างไรก็ดี ผู้ใช้ที่ดินมีความพึงพอใจในการปลูกชาขั้นบันไดบนพื้นที่สูง และพร้อมที่จะดูแลรักษาและซ่อมแซมขั้นบันไดด้วยตนเองหากเกิดการชำรุดเล็กน้อย เนื่องจากมีแค่แรงตนและจอบเท่านั้น

6.4 จุดแข็งและข้อได้เปรียบของแนวทาง

จุดแข็ง / ข้อได้เปรียบของแนวทางในทัศนคติของผู้ใช้ที่ดิน
ช่วยป้องกันหรือลดปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน
ช่วยให้การทำเขตกรรม การดูแลรักษาแปลงปลูกชาจีน ทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
สร้างอาชีพที่มั่นคง เกษตรกรมีรายได้ตลอดฤดูปลูก ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น
จุดแข็ง / ข้อได้เปรียบของแนวทางในทัศนคติของผู้รวบรวมหรือวิทยากรหลัก
สามารถลดปัญหาการชะล้างพังทลายของดินบนพื้นที่สูงได้ เนื่องจากขั้นบันไดดินมีส่วนช่วยชะลอความแรงและความเร็วของน้ำเอาไว้ ทำให้น้ำฝนบางส่วนค่อยๆ ซึมลงดิน สร้างความชุ่มชื้นแก่ดิน และน้ำฝนส่วนที่เกินก็จะค่อยๆ ไหลบ่าลงไปตามขั้นบันได ทีละขั้น ไปเรื่อยๆ
ช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการผลิตชาจีนแบบขั้นบันไดบนพื้นที่สูงให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยเจ้าหน้าที่สถานีฯ จะให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการ ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ วิธีปลูก การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้กันเองภายในกลุ่มเพื่อลดต้นทุน การจัดหายาชีวภัณฑ์เพื่อกำจัดโรคแมลงศัตรูชา การเก็บเกี่ยว การรับซื้อในราคาประกัน และการจัดหาโรงงานแปรรูป
ช่วยเสริมสร้างความตระหนักรู้เรื่องทรัพยากรดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ ให้แก่เกษตรกรชาวเขา ผ่านแปลงส่งเสริมการปลูกชาจีนแบบขั้นบันไดดินบนพื้นที่สูง ทำให้เกษตรกรเกิดความหวงแหน เอาใจใส่ดูแลแปลง 2000 เพื่อให้ใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ และยั่งยืน

6.5 จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบของแนวทางและวิธีในการแก้ไข

จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบในทัศนคติของผู้ใช้ที่ดิน สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร
การทำขั้นบันไดดินปลูกชาบนพื้นที่สูง มีต้นทุนค่าก่อสร้างสูง/แพง และต้องใช้เครื่องจักร เกษตรกรไม่สามารถทำเองได้ รัฐควรให้การสนับสนุนงบประมาณและการดำเนินงานจัดทำขั้นบันไดดิน
ให้แก่เกษตรกรผู้ใช้ที่ดิน
The system needs expert in design and implementation. Local government officers (LDD) support and perform these activities.
When the structure of bench terraces is damaged. Local government officers (LDD) will help in doing the repair.
จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบในทัศนคติของผู้รวบรวมหรือวิทยากรหลัก สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร
การปลูกชาขั้นบันไดดินบนพื้นที่สูงเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ มีความจำเป็นต้องอาศัยผู้รู้และชำนาญในการสำรวจ ออกแบบ และจัดทำขั้นบันไดดิน ซึ่งมีต้นทุนค่าก่อสร้างต่อตารางเมตรสูง/แพง ต้องใช้เครื่องจักร ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถทำเองได้ รัฐควรให้การสนับสนุนงบประมาณและการดำเนินงานจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมบนพื้นที่สูง รวมถึงการดูแลรักษา/ซ่อมบำรุงเทคโนโลยีขั้นบันไดดินฐาน 3 เมตร เพื่อให้สามารถปลูกพืชเมืองหนาวได้อย่างยั่งยืน
ระบบกรรมสิทธิ์ที่ดินของเกษตรกรชาวเขา เนื่องจากพื้นที่ทำกินอยู่ในเขตป่าสงวน จึงส่งผลทำให้การจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูงดังกล่าวเกิดข้อจำกัด รัฐควรปรับปรุง แก้ไข ปัญหาเกี่ยวกับแนวนโยบายและมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองและควบคุมการทำเกษตรกรรมบนพื้นที่สูง
When the structure of bench terraces is damaged by heavy rain, runoff and other events. Local government officers (LDD) support its reparation.

7. การอ้างอิงและการเชื่อมต่อ

7.1 วิธีการหรือแหล่งข้อมูล

  • ไปเยี่ยมชมภาคสนาม การสำรวจพื้นที่ภาคสนาม

3

  • การสัมภาษณ์กับผู้ใช้ที่ดิน

1

  • การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้าน SLM หรือผู้ชำนาญ

2

  • การเก็บรวบรวมมาจากรายงานและเอกสารที่มีอยู่

1

7.2 การอ้างอิงถึงสิ่งตีพิมพ์

ชื่อเรื่อง ผู้เขียน ปี ISBN:

-

ช่องทางในการสืบค้น และราคา:

-

7.3 เชื่อมโยงกับข้อมูลที่มีอยู่บนออนไลน์

ชื่อเรื่องหรือคำอธิบาย:

การทำขั้นบันไดดินเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาน (ความลาดชัน 35-60%)

URL:

http://www.dnp.go.th/watershed/ ส่วนอำนวยการ/จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ โครงการทำขั้นบันไดดิน.pdf

โมดูล