Small irrigation system for high landscape rice terrace in the North of Thailand [ไทย]
- ผู้สร้างสรรค์:
- การอัพเดท:
- ผู้รวบรวม: Pitayakon Limtong
- ผู้เรียบเรียง: –
- ผู้ตรวจสอบ: Rima Mekdaschi Studer, William Critchley
Check dam for high landscape rice terrace
technologies_4114 - ไทย
ดูส่วนย่อย
ขยายทั้งหมด ย่อทั้งหมด1. ข้อมูลทั่วไป
1.2 รายละเอียดที่ติดต่อได้ของผู้รวบรวมและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการประเมินและการจัดเตรียมทำเอกสารของเทคโนโลยี
วิทยากรหลัก
ผู้เชี่ยวชาญ SLM:
Srisomkiew Sasirin
662-579-1409 / 669-8269-6410
sasirin_ldd@hotmail.com / sasirin0928@gmail.com
Land Development Department
Paholyothin Road, Chatuchak, Bangkok 10999, Thailand
ไทย
SLM Consultant:
Limtong Pitayakon
668-9444-6599 / 66 89 444 6599
pitaya@ldd.go.th / pitaya49@msn.com
Land Development Department
Paholyothin Road, Chatuchak, Bangkok 10999, Thailand
ไทย
ผู้ใช้ที่ดิน:
SLM Consultant:
Limtong Pitayakon
668-9444-6599 / 668 7188 0798
pitaya@ldd.go.th / pitaya49@msn.com
Land Development Department
Paholyothin Road, Chatuchak, Bangkok 10999, Thailand
ไทย
ผู้ใช้ที่ดิน:
SLM Consultant:
Limtong Pitayakon
668-9444-6599 / 668 4740 1550
pitaya@ldd.go.th / pitaya49@msn.com
Land Development Department
Paholyothin Road, Chatuchak, Bangkok 10999, Thailand
ไทย
ผู้ใช้ที่ดิน:
SLM Consultant:
Limtong Pitayakon
668-9444-6599 / 668 3660 0272
pitaya@ldd.go.th / pitaya49@msn.com
Land Development Department
Paholyothin Road, Chatuchak, Bangkok 10999, Thailand
ไทย
ผู้ใช้ที่ดิน:
SLM Consultant:
Limtong Pitayakon
668-9444-6599 / 668 8764 1683
pitaya@ldd.go.th / pitaya49@msn.com
Land Development Department
Paholyothin Road, Chatuchak, Bangkok 10999, Thailand
ไทย
ชื่อขององค์กรซึ่งอำนวยความสะดวกในการทำเอกสารหรือการประเมินเทคโนโลยี (ถ้าเกี่ยวข้อง)
Land Development Department LDD (Land Development Department LDD) - ไทย1.3 เงื่อนไขการใช้ข้อมูลที่ได้บันทึกผ่านทาง WOCAT
วันที่เก็บรวบรวมข้อมูล(ภาคสนาม) :
11/09/2018
ผู้รวบรวมและวิทยากรหลักยอมรับเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลที่ถูกบันทึกผ่านทาง WOCAT:
ใช่
1.4 การเปิดเผยเรื่องความยั่งยืนของเทคโนโลยีที่ได้อธิบายไว้
เทคโนโลยีที่ได้อธิบายไว้นี้เป็นปัญหาของความเสื่อมโทรมโทรมของที่ดินหรือไม่ จึงไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีเพื่อการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน:
ไม่ใช่
แสดงความคิดเห็น:
ระบบส่งน้ำแบบฝายคันดินในนาขั้นบันไดบนพื้นที่สูง สามารถช่วยป้องกันการเสื่อมโทรมของหน้าดิน เนื่องจากช่วยชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง จึงช่วยลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย และช่วยกักเก็บน้ำรวมถึงตะกอนดินจากป่าต้นน้ำไว้ ซึ่งน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมซาบเข้าไปในดินส่งผลให้ดินชุ่มชื้นและมีความอุดมสมบูรณ์ของดินเพิ่มขึ้น
2. การอธิบายลักษณะของเทคโนโลยี SLM
2.1 การอธิบายแบบสั้น ๆ ของเทคโนโลยี
คำจำกัดความของเทคโนโลยี:
management of small irrigation system for high landscape of rice terrace in Northern part of Thailand
2.2 การอธิบายแบบละเอียดของเทคโนโลยี
คำอธิบาย:
Water supply system in the high landscape rice terrace at the Mae La Noi Royal Project Development Center located at Moo 5, Ban Dong Village, Huai Hom Sub-District, Mae La Noi District and Mae Hong Sorn Province. Topography is slop complex in mountainous terrain with high slope. The height of the sea level is 994 - 1,100 meters. The main river is Mae La Noi. The climate is cool all year round. The annual average temperature is 25 degrees Celsius, maximum temperature is 37 degrees Celsius in April, and minimum temperature is 8 degrees Celsius during December. The annual average rainfall is 1,500 mm. which starts from June to October. The majority of the population is 147 households and total population is 763 people, where separated as 389 males and 374 females (Mae La Noi Royal Project Development Center, 2561).
Water distribution system in high landscape rice terrace by farmers in the village, and the important matter of technology is that it is suitable for highland sloping agriculture, with slopes range from 5-60 degree. It is based on the principles of water management in the area by diversion of water from natural watersheds in the upstream to their agricultural land with regulation of village community consensus. The steps of preparation are as follows.
1. Site selection: rice terrace should be in suitable slope and not more than 60 degree because it is difficult to excavate the slope and area of rice fields are narrow. And water supply system should be accessed to the rice terrace.
2. Reshaving and leveling the slope: The slope for rice terrace should be reshave and level by man power or mechanical means. Almost villagers will do by theself, also restore and maintain their terrace. The terraces can extend up to 50 meters long, with 1 meter wide and 50 centimeters deep, depending on the area where it can be adjusted. The leveling of soil surface in the plot is done by draining water into that plots and adjust soil surface till level is constant.
3. Soil improvement: Generally, soil structure and fertility in plots is very low because of reshaving and leveling. So it is necessary to restore and improve by application of organic matter, compost, animal manure or legumes, soil pH must be adjusted, and more nutrients such as phosphorus and potassium should be added based on soil analysis.
4. Rice cultivation: In the first years of cultivation, the terraces may not store water in the desire level, so they planted rice in the small hole. Normally, they planted stalk with 20 x 20 cm in length, and about 3 to 5 seedlings per planted.
5. Fertilizer application: In this high landscape area should focus on organic fertilizer to reduce costs, where it can locally find and produce by themselves, such as animal manure and compost
6. Water supply system: Distribution of water to the rice terrace was managed by small dam or weir to lean suitable amount of water to small canal and directly distribute to rice terrace. These drainage system will spread water to all land users in this area, where they has sufficient water for farming throughout the year.
7. Disease and insect control: Most of rice variety is native rice with high resistance, where some currently outbreaks of disease and insect must be protected according to instructions. Submerged condition in paddy field can control weed problem, and labor also need. After planting, weeds must be removed at least 2 times at 20-25 days and 40-45 days after germination.
8. Maintenance: Small dam or weir, small drainage canal and terrace in water supply technology in the highland necessary to restore and maintain twice a year, before and after harvesting.
2.3 รูปภาพของเทคโนโลยี
2.4 วีดีโอของเทคโนโลยี
ความคิดเห็น/อธิบายสั้นๆ:
วิธีการทำระบบส่งน้ำแบบฝายคันดินในนาขั้นบันไดในพื้นที่สูง
วันที่:
11/09/2018
สถานที่:
MAE LA NOI
ชื่อผู้ถ่ายวีดีโอ:
Ms.Sasirin Srisomkiew
ความคิดเห็น/อธิบายสั้นๆ:
ศูนย์เรียนหมู่บ้านต้นแบบปลอดการเผา บ้านดง บ้านห้วยห้อม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
วันที่:
21/03/2018
สถานที่:
MAE LA NOI
ชื่อผู้ถ่ายวีดีโอ:
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความคิดเห็น/อธิบายสั้นๆ:
ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีบ้านดง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
วันที่:
11/09/2018
สถานที่:
MAE LA NOI
ชื่อผู้ถ่ายวีดีโอ:
กรมการพัฒนาชุมชน
2.5 ประเทศภูมิภาค หรือสถานที่ตั้งที่เทคโนโลยีได้นำไปใช้และได้รับการครอบคลุมโดยการประเมินนี้
ประเทศ:
ไทย
ภูมิภาค/รัฐ/จังหวัด:
แม่ฮ่องสอน
ข้อมูลจำเพาะเพิ่มเติมของสถานที่ตั้ง :
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อย
แสดงความคิดเห็น:
1. หมู่บ้านดง หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน, นายวิทุน ขยันใหญ่ยิ่ง
2. 47 หมู่ 5 ตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน, นายบุญปั๋น คงวิไล
3. 1/2 หมู่ 5 ตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน, นายสุชาติ แก่นเจิง
Map
×2.6 วันที่การดำเนินการ
ถ้าไม่รู้ปีที่แน่นอน ให้ระบุวันที่โดยประมาณ:
- มากกว่า 50 ปี (แบบดั้งเดิม)
2.7 คำแนะนำของเทคโนโลยี
ให้ระบุว่าเทคโนโลยีถูกแนะนำเข้ามาอย่างไร:
- เป็นส่วนหนึ่งของระบบแบบดั้งเดิมที่ทำก้นอยู่ (> 50 ปี)
ความคิดเห็น (ประเภทของโครงการ เป็นต้น) :
เทคโนโลยีนี้ใช้มาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย โดยอดีตจะใช้ปลูกข้าวไร่
3. การจัดประเภทของเทคโนโลยี SLM
3.1 วัตถุประสงค์หลักของเทคโนโลยี
- ลด ป้องกัน ฟื้นฟู การเสื่อมโทรมของที่ดิน
- ป้องกันพื้นที่ลุ่มน้ำ/บริเวณท้ายน้ำ โดยร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ
- ลดความเสี่ยงของภัยพิบัติ
- ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก สภาพภูมิอากาศที่รุนแรงและผลกระทบ
- ชะลอการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกและผลกระทบ
3.2 ประเภทของการใช้ที่ดินในปัจจุบันที่ได้นำเทคโนโลยีไปใช้
พื้นที่ปลูกพืช
- การปลูกพืชล้มลุกอายุปีเดียว
พืชหลัก (พืชเศรษฐกิจและพืชอาหาร):
ปลูกข้าว+ปลูกผักหลังการทำน
ข้าวไร่และพืชผักโครงการหลวง เช่น พริก เกรปเบอรี่ กะหล่ำปี เป็นต้น
ทางน้ำ แหล่งน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ
- ทางระบายน้ำ ทางน้ำ
ผลิตภัณฑ์หลักหรือบริการ:
ระบบส่งน้ำแบบฝายคันดิน
แสดงความคิดเห็น:
เกษตรกรในพื้นที่จะทำการปลูกข้าวไร่ในช่วงฤดูฝนเพื่อใช้ในการบริโภคภายในครัวเรือน โดยจะใช้ระยะเวลาในการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวประมาณ 6 เดือน ส่วนในช่วงฤดูแล้งเกษตรกรจะเปลี่ยนเป็นพืชผักจากโครงการหลวงหรือพืชผักที่ใช้น้ำในการเพาะปลูกน้อย เช่น พริก เกรปเบอรี่ กะหล่ำปี เป็นต้น
ถ้าการใช้ที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากการนำเทคโนโลยีไปปฏิบัติใช้ ให้ระบุการใช้ที่ดินก่อนนำเทคโนโลยีไปปฏิบัติใช้:
ในอดีตชาวบ้านได้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้และตัดไม้ทำลายป่าบนพื้นที่สูงเพื่อใช้ทำไร่เลื่อนลอยขยายพื้นที่เพาะปลูกเข้าไปในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ส่งผลให้พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายและดินเกิดความเสื่อมโทรม ชาวบ้านอยู่อย่างแล้งแค้น แต่เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงนำโครงการหลวงมาส่งเสริมและให้ความรู้แก่เกษตรกรการทำการเกษตรแบบยั่งยืน ร่วมกับการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ ทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
3.3 ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ที่ดิน
การใช้น้ำของที่ดินที่มีการใช้เทคโนโลยีอยู่:
- จากน้ำฝน
แสดงความคิดเห็น:
การใช้น้ำของเกษตรกรในพื้นที่อาศัยแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ได้จากน้ำฝนจากป่าต้นน้ำบนภูเขา เช่น ห้วย คลอง ลำธาร เป็นต้น
จำนวนของฤดูเพาะปลูกต่อปี:
- 3
ระบุ:
ข้าวไร่ 1 ครั้ง ร่วมกับผักโครงการจากหลวง 1-2 ครั้ง
ความหนาแน่นของปศุสัตว์ (ถ้าเกี่ยวข้อง):
-
3.4 กลุ่ม SLM ที่ตรงกับเทคโนโลยีนี้
- มาตรการปลูกพืชขวางความลาดชัน (cross-slope measure)
- การผันน้ำและการระบายน้ำ
3.5 กระจายตัวของเทคโนโลยี
ระบุการกระจายตัวของเทคโนโลยี:
- ใช้ ณ จุดที่เฉพาะเจาะจงหรือเน้นไปยังบริเวณพื้นที่ขนาดเล็ก
แสดงความคิดเห็น:
เกษตรกรที่ใช้ระบบส่งน้ำแบบฝายคันดินบนพื้นที่สูงจำนวน 200 หลังคาเรือน หลังคาเรือนละ 3 ไร่ รวมทั้งสิ้นประมาณ 600 ไร่
3.6 มาตรการ SLM ที่ประกอบกันเป็นเทคโนโลยี
มาตรการอนุรักษ์ด้วยโครงสร้าง
- S1: คันดิน
มาตรการอนุรักษ์ด้วยการจัดการ
- M7: อื่นๆ
3.7 รูปแบบหลักของการเสื่อมโทรมของที่ดินที่ได้รับการแก้ไขโดยเทคโนโลยี
การกัดกร่อนของดินโดยน้ำ
แสดงความคิดเห็น:
ไม่มีความเสื่อมโทรมของน้ำ ชาวบ้านใช้น้ำในการอุปโภคและบริโภคที่มาจากป่าต้นน้ำธรรมชาติบนภูเขาที่ไม่มีการทำการเกษตร โดยทำการต่อท่อประปาภูเขาและนำมาเก็บไว้ในแท้งค์ปูนสี่เหลี่ยมซึ่งในหมู่บ้านจะมีทั้งหมด 3 จุด
3.8 การป้องกัน การลดลง หรือการฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของที่ดิน
ระบุเป้าหมายของเทคโนโลยีกับความเสื่อมโทรมของที่ดิน:
- ป้องกันความเสื่อมโทรมของที่ดิน
แสดงความคิดเห็น:
ช่วยป้องกันการเสื่อมโทรมของหน้าดิน เนื่องจากช่วยชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง จึงช่วยลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย และช่วยกักเก็บน้ำรวมถึงตะกอนดินจากป่าต้นน้ำไว้ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น
4. ข้อมูลจำเพาะด้านเทคนิค กิจกรรมการนำไปปฏิบัติใช้ ปัจจัยนำเข้า และค่าใช้จ่าย
4.1 แบบแปลนทางเทคนิคของเทคโนโลยี
ผู้เขียน:
Ms.Sasirin Srisomkiew
วันที่:
25/09/2018
4.2 ข้อมูลจำเพาะด้านเทคนิคและการอธิบายแบบแปลนทางเทคนิค
ข้อมูลจำเพาะด้านเทคนิคและการอธิบายแบบแปลนทางเทคนิค
.............ระบบส่งน้ำแบบฝายคันดินในนาขั้นบันไดของเกษตรกรที่บ้านดง มีลักษณะองค์ประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยี คือ เทคโนโลยีนี้จะเหมาะสมกับการทำการเกษตรบนพื้นที่สูงที่มีความชันมาก ส่วนใหญ่มักมีความลาดชันตั้งแต่ 5-60 องศา ซึ่งอาศัยหลักการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ โดยการผันน้ำจากแหล่งต้นน้ำธรรมชาติมาใช้ภายในพื้นที่การเกษตรของตนเอง ช่วยเพิ่มพื้นที่ในการเพาะปลูกและยังช่วยชะลอการพังทลายของหน้าดินได้เป็นอย่างดี โดยมีขั้นตอนและวิธีการที่สำคัญ คือ
1. การคัดเลือกพื้นที่ เลือกพื้นที่ที่ไม่มีความลาดชันมากนัก เนื่องจากการขุดปรับพื้นที่ทำได้ค่อนข้างยากและจะได้พื้นที่ปลูกข้าวในกระทงนาที่แคบ การทำงานได้ไม่สะดวก และควรเลือกพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ สามารถทำระบบส่งน้ำมายังแปลงนาได้
2. การขุดปรับพื้นที่นาขั้นบันได การขุดปรับพื้นที่นาขั้นบันไดสามารถทำได้โดยใช้แรงงานคนหรือใช้เครื่องจักรกล ในบางพื้นที่อาจมีข้อจำกัดในการใช้เครื่องจักรกลเนื่องจากไม่มีถนนเข้าสู่พื้นที่ การใช้แรงงานคนเป็นวิธีการที่เหมาะสมในหลายพื้นที่และง่ายต่อการบำรุงรักษาเมื่อเกิดการชำรุด ปรับพื้นที่นาสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
2.1 การขุดดินจากล่างขึ้นบน เป็นการขุดดินจากขอบแปลงด้านล่างขึ้นไปทำเป็นคันนาเหนือจุดที่ขุดดิน พร้อมทั้งปรับแปลงให้มีความสม่ำเสมอ การขุดปรับพื้นที่นาแบบนี้มีข้อดีคือโครงสร้างของดินในแปลงนาจะถูกรบกวนน้อย หน้าดินจะไม่ถูกเคลื่อนย้ายจึงทำให้ยังรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินเดิมไว้ได้ สามารถทำให้น้ำขังในแปลงนาได้เร็วขึ้น
2.2 การขุดดินจากบนลงล่าง เป็นการขุดดินจากส่วนบนของแปลงที่สูงกว่ามาถมส่วนล่างของแปลงที่ต่ำกว่าเพื่อปรับให้แปลงนามีความสม่ำเสมอ การขุดปรับพื้นที่นาวิธีนี้ทำได้ง่ายเกษตรกรส่วนใหญ่คุ้นเคยและสามารถใช้เครื่องจักรกลได้ แต่วิธีนี้มีข้อจำกัดคือ หน้าดินส่วนบนของแปลงนาจะถูกตัดออกไปเหลือแต่ดินชั้นล่างความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ จึงทำให้การเจริญเติบโตของข้าวในระยะแรกไม่ค่อยดี ส่วนหน้าดินที่ตัดออกไปจะถูกนำไปถมในส่วนล่างของแปลงนาและปรับเป็นคันนา จึงทำให้ข้าวที่ปลูกในพื้นที่ส่วนล่างเจริญเติบโตได้ดีกว่า การแก้ปัญหาโดยการขุดเอาดินชั้นบนของกระทงนาที่อยู่เหนือขึ้นไปนำไปใส่แปลงนาที่อยู่ด้านล่างปรับระดับให้สม่ำเสมอ การปรับพื้นที่ในแปลงนาให้สม่ำเสมอทำได้โดยการปล่อยน้ำเข้าในแปลงแล้วปรับพื้นที่ให้น้ำท่วมพื้นที่ในแปลงให้สม่ำเสมอกัน หรือถ้าไม่สามารถปล่อยน้ำเข้าแปลงได้ก็ใช้การสังเกตและค่อยๆปรับระดับให้สม่ำเสมอ โดยฝายคันดินในนาขั้นบันไดในพื้นที่สูงจะมีความยาว 50 เมตร กว้าง 1 เมตร และความลึก 50 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ซึ่งสามรถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
3. การปรับปรุงบำรุงดิน ฝายคันดินและนาขั้นบันไดหลังจากปรับพื้นที่เสร็จใหม่ๆความอุดมสมบูรณ์ของดินในแปลงจะไม่สม่ำเสมอ โครงสร้างของดินยังไม่เหมาะสมในการทำนา ดังนั้นจะต้องปรับปรุงบำรุงดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ โดยการใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือการปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด นอกจากนี้จะต้องมีการปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดิน และเพิ่มเติมธาตุอาหาร เช่น ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ตามค่าการวิเคราะห์ดิน
4. การปลูกข้าว ในปีแรกๆ ของการขุดปรับพื้นที่เป็นนาขั้นบันได บางพื้นที่ไม่สามารถขังน้ำได้จึงต้องปลูกข้าวไร่โดยการหยอดเป็นหลุม แต่ในพื้นที่ที่สามารถปรับและขังน้ำได้ก็สามารถปลูกข้าวโดยวิธีปักดำ แต่ควรใช้ระยะปักดำให้ถี่ขึ้นเนื่องจากข้าวจะแตกกอน้อย โดยอาจใช้ระยะปักดำ 20 x 20 เซนติเมตร จำนวนกล้า 3 - 5 ต้นต่อจับ
5. การใส่ปุ๋ย นาขั้นบันไดบนพื้นที่สูงควรเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรโดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งสามารถหาได้ในท้องถิ่น หรือเกษตรกรสามารถผลิตเองได้ เช่น ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เป็นต้น ในกรณีที่ไม่เพียงพออาจใช้ปุ๋ยเคมีเสริมเท่าที่จำเป็น
6. การให้น้ำ เพื่อลดปัญหาน้ำไม่เพียงพอ และกระจายน้ำให้กับเกษตรกรได้อย่างทั่วถึง การบริหารจัดการน้ำโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน (ระบบเหมืองฝายในนาขั้นบันได) ช่วยทำให้การทำนาและการปลูกพืชผักหลังการทำนามีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีน้ำเพียงพอต่อการทำการเกษตรตลอดทั้งปี
7. การป้องกันกำจัดโรคและแมลง ข้าวนาขั้นบันไดส่วนมากใช้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่มีความต้านทานต่อโรคในท้องถิ่น แต่ปัจจุบันมีการระบาดของแมลงบางชนิด ได้แก่ เพลี้ยอ่อนในดิน เพลี้ยกระโดดหลังขาว และแมลงบั่ว ซึ่งจะต้องมีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูต่างๆ ตามคำแนะนำ และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ด้วย
8. การควบคุมวัชพืช การขังน้ำในแปลงนาสามารถลดปัญหาวัชพืชได้ ถ้าถ้ายังมีวัชพืชก็ใช้แรงงานคนถอน แต่ในแปลงนาที่ไม่สามารถขังน้ำได้วัชพืชเป็นปัญหาสำคัญในการปลูกข้าว ดังนั้นการเตรียมดินโดยการไถพรวน การขุดพรวนดินในระยะแรกของการเตรียมดินจะช่วยลดปัญหาวัชพืช แต่หลังจากปลูกข้าวแล้วจะต้องกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกหลังข้าวงอก 20 – 25 วัน และอีกครั้งหนึ่งหลังข้าวงอก 40- 45 วัน
9. การบำรุงรักษาเทคโนโลยีระบบส่งน้ำแบบฝายคันดินในนาขั้นบันไดบนพื้นที่สูง เกษตรกรจะทำการช่อมแซมคันดินและขุดลอกฝายส่งน้ำจากแหล่งต้นน้ำธรรมชาติที่เชื่อมมายังพื้นที่การเกษตรของตนเองปีละ 2 ครั้ง คือ ก่อนที่จะทำการเพาะปลูกข้าวและหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวหรือก่อนจะเปลี่ยนพืชปลูกหลังจากการทำนา
4.3 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการคำนวณปัจจัยนำเข้าและค่าใช้จ่าย
ให้ระบุว่าค่าใช้จ่ายและปัจจัยนำเข้าได้รับการคำนวณอย่างไร:
- ต่อพื้นที่ที่ใช้เทคโนโลยี
ระบุขนาดและหน่วยพื้นที่:
0.48 hectare for each farmer
อื่นๆ หรือสกุลเงินประจำชาติ (ระบุ):
Baht (THB)
ระบุอัตราแลกเปลี่ยนจากดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินท้องถิ่น (ถ้าเกี่ยวข้อง) คือ 1 เหรียญสหรัฐ =:
32.0
ระบุค่าเฉลี่ยของค่าจ้างในการจ้างแรงงานต่อวัน:
300
4.4 กิจกรรมเพื่อการจัดตั้ง
กิจกรรม | ประเภทของมาตรการ | ช่วงเวลาดำเนินการ | |
---|---|---|---|
1. | การขุดคลองขนาดเล็กเพื่อทำระบบส่งน้ำมายัง พื้นที่เพาะปลูก | ด้วยโครงสร้าง | ปีแรกของการปลูก |
2. | การขุดปรับพื้นที่และทำฝายคันดินในนาขั้นบันได | ด้วยโครงสร้าง | ปีแรกของการปลูก |
3. | การไถนาและการเตรียมดินเพื่อการเพาะปลูก | ด้วยโครงสร้าง | ก่อนฤดูฝน |
4. | การปรับปรุงบำรุงดิน | ด้วยการจัดการ | หลังจากปรับพื้นที่ |
5. | การปลูก | ด้วยวิธีพืช | ช่วงฤดูฝน |
6. | การใส่ปุ๋ย | ด้วยการจัดการ | ช่วงการปลูก |
7. | การให้น้ำ | ด้วยการจัดการ | ช่วงการปลูก |
8. | การป้องกันกำจัดโรคและแมลง | ด้วยการจัดการ | ช่วงการปลูก |
9. | การควบคุมวัชพืช | จัดการพืช | ช่วงการปลูก |
10. | การเก็บเกี่ยว | ช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต |
4.5 ค่าใช้จ่ายของปัจจัยนำเข้าที่จำเป็นสำหรับการจัดตั้ง
ถ้าเป็นไปได้ให้แจกแจงรายละเอียดต้นทุนการบำรุงรักษาตามตารางข้างล่างดังต่อไปนี้ ให้ระบุลงไปถึงปัจจัยนำเข้าและค่าใช้จ่ายต่อปัจจัยนำเข้า ถ้าไม่สามารถแจกแจงรายละเอียดต้นทุนได้ ให้ทำการประมาณค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการบำรุงรักษาเทคโนโลยี:
98100.0
ปัจจัยนำเข้า | หน่วย | ปริมาณ | ค่าใช้จ่ายต่อหน่วย | ค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อปัจจัยนำเข้า | %ของค่าใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดขึ้นโดยผู้ใช้ที่ดิน | |
---|---|---|---|---|---|---|
แรงงาน | ทำฝาย 10 วัน | man/day | 70.0 | 300.0 | 21000.0 | 100.0 |
แรงงาน | ช่วงปลูก1วัน | man | 7.0 | 300.0 | 2100.0 | 100.0 |
แรงงาน | ช่วงดูแล20ครั้ง | man | 40.0 | 300.0 | 12000.0 | 100.0 |
แรงงาน | ช่วงเก็บเกี่ยว20ครั้ง | man | 140.0 | 300.0 | 42000.0 | 100.0 |
อุปกรณ์ | tractor | คัน | 1.0 | 3000.0 | 3000.0 | 100.0 |
อุปกรณ์ | น้ำมันเครื่อง | ลิตร | 20.0 | 30.0 | 600.0 | 100.0 |
วัสดุด้านพืช | เมล็ดพันธุ์ข้าว | ถัง | 3.0 | 100.0 | 300.0 | 100.0 |
วัสดุด้านพืช | เมล็ดพันธุ์พริก | ต้น | 5000.0 | 2.0 | 10000.0 | 100.0 |
ปุ๋ยและสารฆ่า/ยับยั้งการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต (ไบโอไซด์) | ปุ๋ยสูตร 21-0-0 | ถุง | 3.0 | 400.0 | 1200.0 | 100.0 |
ปุ๋ยและสารฆ่า/ยับยั้งการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต (ไบโอไซด์) | ปุ๋ยสูตร 15-15-15 | ถุง | 3.0 | 700.0 | 2100.0 | 100.0 |
ปุ๋ยและสารฆ่า/ยับยั้งการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต (ไบโอไซด์) | ปุ๋ยสูตร 16-20-0 | ถุง | 3.0 | 600.0 | 1800.0 | 100.0 |
ปุ๋ยและสารฆ่า/ยับยั้งการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต (ไบโอไซด์) | ปุ๋ยคอก | ถุง | 10.0 | 200.0 | 2000.0 | 100.0 |
ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการจัดตั้งเทคโนโลยี | 98100.0 |
ถ้าผู้ใช้ที่ดินรับภาระน้อยกว่า 100% ของค่าใช้จ่าย ให้ระบุว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบส่วนที่เหลือ:
ผู้ใช้ที่ดินรับภาระทั้งหมด 100 %
แสดงความคิดเห็น:
ค่าแรงในการทำฝายคันดินเกษตรกรจะจ่ายเฉพาะในปีแรกเท่านั้นปีถัดไปจะไม่มีค่าใช้จ่ายนี้อีก
4.6 การบำรุงรักษาสภาพหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
กิจกรรม | ประเภทของมาตรการ | ช่วงระยะเวลา/ความถี่ | |
---|---|---|---|
1. | การซ่อมแซมฝายคันดินและขุดลอกคลองส่งน้ำ | ด้วยโครงสร้าง | ปีละ 2 ครั้ง ก่อนการปลูกพืชรอบถัดไป |
4.7 ค่าใช้จ่ายของปัจจัยนำเข้าและกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำที่ต้องการการบำรุงรักษา (ต่อปี)
ถ้าเป็นไปได้ให้แจกแจงรายละเอียดต้นทุนการบำรุงรักษาตารางข้างล่างดังต่อไปนี้ ให้ชี้ระบุลงไปถึงปัจจัยการผลิตและค่าใช้จ่ายต่อปัจจัยการผลิต ถ้าคุณไม่สามารถแจกแจงรายละเอียดต้นทุนได้ ให้ทำการประมาณค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการบำรุงรักษา:
1800.0
ปัจจัยนำเข้า | หน่วย | ปริมาณ | ค่าใช้จ่ายต่อหน่วย | ค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อปัจจัยนำเข้า | %ของค่าใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดขึ้นโดยผู้ใช้ที่ดิน | |
---|---|---|---|---|---|---|
แรงงาน | ซ่อมฝาย 2 วัน | man | 6.0 | 300.0 | 1800.0 | 100.0 |
ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการบำรุงรักษาสภาพเทคโนโลยี | 1800.0 |
ถ้าผู้ใช้ที่ดินรับภาระน้อยกว่า 100% ของค่าใช้จ่าย ให้ระบุว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบส่วนที่เหลือ:
ผู้ใช้ที่ดินรับภาระทั้งหมด 100 %
4.8 ปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่าย
ปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายต่างๆ:
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายอื่นๆ คือปัจจัยแรงงาน เพราะเกษตรกรจำเป็นต้องจ้างแรงงานในการเพาะปลูก เช่น การทำฝาย การปลูก การดูแล ใส่ปุ๋ย และการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งในการขุดและปรับพื้นที่ในนาขั้นบันไดสามารถทำได้โดยใช้แรงงนคน หรือใช้เครื่องจักรกล แต่ในบางพื้นที่อาจมีข้อจำกัดในการใช้เครื่องจักรกลเนื่องจากไม่มีถนนเข้าสู่พื้นที่
5. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและของมนุษย์
5.1 ภูมิอากาศ
ฝนประจำปี
- < 250 ม.ม.
- 251-500 ม.ม.
- 501-750 ม.ม.
- 751-1,000 ม.ม.
- 1,001-1,500 ม.ม.
- 1,501-2,000 ม.ม.
- 2,001-3,000 ม.ม.
- 3,001-4,000 ม.ม.
- > 4,000 ม.ม.
ระบุปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี (ถ้ารู้) :หน่วย ม.ม.
1500.00
ข้อมูลจำเพาะ/ความคิดเห็นเรื่องปริมาณน้ำฝน:
ฝนจะเริ่มตกตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม
เขตภูมิอากาศเกษตร
- กึ่งชุ่มชื้น
ในกรณีที่ฝนตกเยอะเกินไปที่สถานี้ตรวจวัดจะมีสัญญาณเตือนแจ้งไปที่ศูนย์กรุงเทพฯ จากนั้นกรุงเทพฯจะแจ้งผู้ใหญ่บ้านและผู้ใหญ่บ้านจะแจ้งลูกบ้านให้ทราบต่อไป
5.2 สภาพภูมิประเทศ
ค่าเฉลี่ยความลาดชัน:
- ราบเรียบ (0-2%)
- ลาดที่ไม่ชัน (3-5%)
- ปานกลาง (6-10%)
- เป็นลูกคลื่น (11-15%)
- เป็นเนิน (16-30%)
- ชัน (31-60%)
- ชันมาก (>60%)
ธรณีสัณฐาน:
- ที่ราบสูง/ที่ราบ
- สันเขา
- ไหล่เขา
- ไหล่เนินเขา
- ตีนเนิน
- หุบเขา
ระดับความสูง:
- 0-100 เมตร
- 101-500 เมตร
- 501-1,000 เมตร
- 1,001-1,500 เมตร
- 1,501-2,000 เมตร
- 2,001-2,500 เมตร
- 2,501-3,000 เมตร
- 3,001-4,000 เมตร
- > 4,000 เมตร
ให้ระบุถ้าเทคโนโลยีได้ถูกนำไปใช้:
- บริเวณสันเขา (convex situations)
ความคิดเห็นและข้อมูลจำเพาะเพิ่มเติมเรื่องสภาพภูมิประเทศ:
พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีความลาดชันอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 900-1,100 เมตร ป่าไม้ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ พื้นที่ป่าทั้งหมดอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่เป็นต้นน้ำแม่ลาน้อยไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน
5.3 ดิน
ค่าเฉลี่ยความลึกของดิน:
- ตื้นมาก (0-20 ซ.ม.)
- ตื้น (21-50 ซ.ม.)
- ลึกปานกลาง (51-80 ซ.ม.)
- ลึก (81-120 ซ.ม.)
- ลึกมาก (>120 ซ.ม.)
เนื้อดิน (ดินชั้นบน):
- ปานกลาง (ดินร่วน ทรายแป้ง)
เนื้อดินล่าง (> 20 ซ.ม.ต่ำจากผิวดิน):
- ปานกลาง (ดินร่วน ทรายแป้ง)
อินทรียวัตถุในดิน:
- สูง (>3%)
(ถ้ามี) ให้แนบคำอธิบายเรื่องดินแบบเต็มหรือระบุข้อมูลที่มีอยู่ เช่น ชนิดของดิน ค่า pH ของดินหรือความเป็นกรดของดิน ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ไนโตรเจน ความเค็ม เป็นต้น:
pH 5.5-6.0
5.4 ความเป็นประโยชน์และคุณภาพของน้ำ
ระดับน้ำใต้ดิน:
ที่ผิวดิน
น้ำไหลบ่าที่ผิวดิน:
ดี
คุณภาพน้ำ (ที่ยังไม่ได้บำบัด):
เป็นน้ำเพื่อการดื่มที่ดี
ความเค็มของน้ำเป็นปัญหาหรือไม่:
ไม่ใช่
กำลังเกิดน้ำท่วมในพื้นที่หรือไม่:
ไม่ใช่
ความคิดเห็นและข้อมูลจำเพาะเพิ่มเติมเรื่องคุณภาพและปริมาณน้ำ:
ปริมาณน้ำจะแปรผันตามฤดูการ เช่น ฤดูฝนน้ำจะมีปริมาณมากโดยส่วนใหญ่เกษตรกรจะทำการปลูกข้าว ในฤดูแล้งน้ำจะมีปริมาณน้อย เกษตรกรจึงจำเป็นต้องเลือกพืชปลูกที่ใช้น้ำน้อย เช่น พริก กะหล่ำ เป็นต้น อาจมีผลกระทบเรื่องสารพิษที่ปะปนในน้ำจากกระหล่ำบนดอย
5.5 ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์:
- ปานกลาง
ความหลากหลายของแหล่งที่อยู่:
- ปานกลาง
ความคิดเห็นและข้อมูลจำเพาะเพิ่มเติมของความหลากหลายทางชีวภาพ:
ความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งจะสังเกตได้จากการพบไส้เดือนในดินจำนวนมาก ทำให้ดินในพื้นที่มีโครงสร้างดินที่ดีมีการระบายน้ำและอากาศในดินดี
5.6 ลักษณะของผู้ใช้ที่ดินที่นำเทคโนโลยีไปปฏิบัติใช้
อยู่กับที่หรือเร่ร่อน:
- อยู่กับที่
แนวทางการตลาดของระบบการผลิต:
- เพื่อการยังชีพ (หาเลี้ยงตนเอง)
- ทำการค้า/การตลาด
รายได้ที่มาจากนอกฟาร์ม:
- 10-50% ของรายได้ทั้งหมด
ระดับของความมั่งคั่งโดยเปรียบเทียบ:
- พอมีพอกิน
เป็นรายบุคคล/ครัวเรือน:
- เป็นรายบุคคล/ครัวเรือน
ระดับของการใช้เครื่องจักรกล:
- งานที่ใช้แรงกาย
- การใช้เครื่องจักรหรือเครื่องยนต์
เพศ:
- หญิง
- ชาย
อายุของผู้ใช้ที่ดิน:
- วัยกลางคน
- ผู้สูงอายุ
ระบุลักษณะอื่นๆที่เกี่ยวข้องของผู้ใช้ที่ดิน:
ลูกหลานเกษตกรช่วยพ่อแม่ทำนาปลูกผักในช่วงวันหยุด ช่วงวัยกลางคนหรือวัยทำงานจะช่วยครอบครัวหลังทำงานช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ และผู้สูงอายุนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบหลักในการทำการเกษตร เนื่องจากสามารถลดรายจ่ายให้กับครอบครัวในการซื้อข้าวและพืชผักต่างๆ ทำให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งเด็กที่ได้รับการศึกษาในระดับปริญญาตรีมีแนวโน้มกลับมาทำการเกษตรและพัฒนาท้งถิ่นมากขึ้น
5.7 พื้นที่เฉลี่ยของที่ดินที่เป็นเจ้าของหรือเช่าโดยผู้ใช้ที่ดินที่นำเทคโนโลยีไปปฏิบัติใช้
- < 0.5 เฮกตาร์
- 0.5-1 เฮกตาร์
- 1-2 เฮกตาร์
- 2-5 เฮกตาร์
- 5-15 เฮกตาร์
- 15-50 เฮกตาร์
- 50-100 เฮกตาร์
- 100-500 เฮกตาร์
- 500-1,000 เฮกตาร์
- 1,000-10,000 เฮกตาร์
- >10,000 เฮกตาร์
พิจารณาว่าเป็นขนาดเล็ก กลาง หรือขนาดใหญ่ (ซึ่งอ้างอิงถึงบริบทระดับท้องถิ่น):
- ขนาดกลาง
แสดงความคิดเห็น:
เกษตรกรส่วนใหญ่มีเนื้อเฉลี่ย 20 ไร่ประกอบด้วย นาข้าว 3 ไร่ ไม้ผล 5 ไร่ พืชผัก 5 ไร่ และป่าไม้ 7 ไร่ พื้นที่ของเกษตรกรไม่มีเอกสารสิทธิ์ในการครอบครองพื้นที่ เนื่องจากไม่มีโฉนดที่ดินและเป็นพื้นที่เขตป่าสงวน
5.8 กรรมสิทธิ์ในที่ดิน สิทธิในการใช้ที่ดินและสิทธิในการใช้น้ำ
กรรมสิทธิ์ในที่ดิน:
- รายบุคคล ไม่ได้รับสิทธิครอบครอง
สิทธิในการใช้ที่ดิน:
- เกี่ยวกับชุมชน (ถูกจัดระเบียบ)
สิทธิในการใช้น้ำ:
- เกี่ยวกับชุมชน (ถูกจัดระเบียบ)
แสดงความคิดเห็น:
ชาวหมู่บ้านดงเป็นชาวละว้าที่อพยพมาจากต่างถิ่นมาตั้งถิ่นฐานรกรากที่นี่ มีอาชีพหลักคือทำการเกษตร ทำนาปลูกข้าว ปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ เนื่องจากพื้นที่ที่ชาวบ้านใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตรอยู่ในพื้นที่เขตป่าสงวนทำให้ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยสิทธิในการใช้ที่ดินและสิทธิในการใช้น้ำจะถูกจัดระเบียบโดยชุมชนมาตั้งแต่อดีต และปัจจุบันชาวบ้านดงยังคงใช้สิทธิในการใช้ที่ดินและน้ำโดยการจัดระเบียบโดยชุมชนดังเดิม
5.9 การเข้าถึงบริการและโครงสร้างพื้นฐาน
การจ้างงาน (เช่น ภายนอกฟาร์ม):
- จน
- ปานกลาง
- ดี
พลังงาน:
- จน
- ปานกลาง
- ดี
หนี้ ธกส. และสหกรณ์ เป็นหนี้จากการส่งลูกเรียน:
- จน
- ปานกลาง
- ดี
6. ผลกระทบและสรุปคำบอกกล่าว
6.1 ผลกระทบในพื้นที่ดำเนินการ (On-site) จากการใช้เทคโนโลยี
ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
การผลิต
การผลิตพืชผล
คุณภาพพืชผล
ความเป็นประโยชน์และคุณภาพของน้ำ
การมีน้ำดื่มไว้ให้ใช้
คุณภาพน้ำดื่ม
การมีน้ำไว้ให้สำหรับการชลประทาน
คุณภาพน้ำสำหรับการชลประทาน
รายได้และค่าใช้จ่าย
ค่าใช่จ่ายของปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
ภาระงาน
ผลกระทบด้านสังคมวัฒนธรรมอื่น ๆ
ความมั่นคงด้านอาหาร / พึ่งตนเองได้
สถานการณ์ด้านสุขภาพ
การใช้ที่ดิน / สิทธิในการใช้น้ำ
โอกาสทางวัฒนธรรม
โอกาสทางด้านสันทนาการ
สถาบันของชุมชน
SLM หรือความรู้เรื่องความเสื่อมโทรมของที่ดิน
ผลกระทบด้านนิเวศวิทยา
วัฐจักรน้ำหรือน้ำบ่า
ปริมาณน้ำ
คุณภาพน้ำ
การเก็บเกี่ยวหรือการกักเก็บน้ำ
น้ำไหลบ่าที่ผิวดิน
การระบายน้ำส่วนเกิน
น้ำบาดาลหรือระดับน้ำในแอ่งน้ำบาดาล
ดิน
การสูญเสียดิน
การสะสมของดิน
อินทรียวัตถุในดิน/ต่ำกว่าดินชั้น C
ความเป็นกรด
ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์
มวลชีวภาพ/เหนือดินชั้น C
ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช
ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์
ชนิดพันธุ์ที่ให้ประโยชน์
ลดความเสี่ยงของภัยพิบัติ
ผลกระทบจากน้ำท่วม
ผลกระทบจากภัยแล้ง
การปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก
6.2 ผลกระทบนอกพื้นที่ดำเนินการ (Off-site) จากการใช้เทคโนโลยี
น้ำที่ใช้ประโยชน์ได้
การไหลของน้ำคงที่และสม่ำเสมอในช่วงฤดูแล้ง
น้ำท่วมพื้นที่ท้ายน้ำ
การทับถมของดินตะกอนพื้นที่ท้ายน้ำ
การเกิดมลพิษในน้ำบาดาลหรือแม่น้ำ
ผลกระทบของก๊าซเรือนกระจก
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:
การทำระบบส่งน้ำแบบฝายคันดินในนาขั้นบันไดบนพื้นที่สูงของชาวบ้านดง มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความยาวและระดับของความลาดเท ช่วยลดการไหลบ่าของน้ำและควบคุมการชะล้างพังทลายของดิน และสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเกษตร และการสะสมของตะกอนดินจากต้นน้ำจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน
6.3 การเผชิญและความตอบสนองของเทคโนโลยีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ค่อยเป็นค่อยไป และสภาพรุนแรงของภูมิอากาศ / ภัยพิบัติ (ที่รับรู้ได้โดยผู้ใช้ที่ดิน)
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ค่อยเป็นค่อยไป
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ค่อยเป็นค่อยไป
ฤดู | ประเภทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ค่อยเป็นค่อยไป และสภาพรุนแรงของภูมิอากาศ | เทคโนโลยีมีวิธีการรับมืออย่างไร | |
---|---|---|---|
อุณหภูมิประจำปี | ปานกลาง | ||
อุณหภูมิตามฤดูกาล | ฤดูร้อน | ไม่ค่อยดี | |
ฝนประจำปี | ดี |
สภาพรุนแรงของภูมิอากาศ (ภัยพิบัติ)
ภัยพิบัติทางอุตุนิยมวิทยา
เทคโนโลยีมีวิธีการรับมืออย่างไร | |
---|---|
พายุฝนประจำท้องถิ่น | ปานกลาง |
พายุฝนฟ้าคะนองประจำท้องถิ่น | ปานกลาง |
พายุลูกเห็บประจำท้องถิ่น | ปานกลาง |
ภัยพิบัติจากสภาพภูมิอากาศ
เทคโนโลยีมีวิธีการรับมืออย่างไร | |
---|---|
ไฟป่า | ปานกลาง |
ภัยพิบัติทางชีวภาพ
เทคโนโลยีมีวิธีการรับมืออย่างไร | |
---|---|
โรคระบาด | ไม่ดี |
การบุกรุกของแมลง / หนอน | ไม่ดี |
6.4 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ที่ได้รับ
ผลประโยชน์ที่ได้รับเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งเป็นอย่างไร (จากมุมมองของผู้ใช้ที่ดิน)
ผลตอบแทนระยะยาว:
ด้านบวกอย่างมาก
ผลประโยชน์ที่ได้รับเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาหรือต้นทุนที่เกิดขึ้นซ้ำอีก เป็นอย่างไร (จากมุมมองของผู้ใช้ที่ดิน)
ผลตอบแทนระยะยาว:
ด้านบวกอย่างมาก
6.5 การปรับตัวของเทคโนโลยี
- มากกว่า 50%
ถ้ามีข้อมูลให้บอกปริมาณด้วย (จำนวนของครัวเรือนหรือครอบคลุมพื้นที่):
200 ครัวเรือน
จากทั้งหมดที่ได้รับเทคโนโลยีเข้ามามีจำนวนเท่าใดที่ทำแบบทันที โดยไม่ได้รับการจูงใจด้านวัสดุหรือการเงินใด ๆ:
- 90-100%
แสดงความคิดเห็น:
ชาวบ้านในพื้นที่มีการใช้เทคโนโลยีระบบส่งน้ำแบบฝายคันดินในนาขั้นบันไดบนพื้นที่สูงมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายและยังคงสืบสานเทคโนโลยีนี้มายังปัจจุบันโดยไม่มีแรงจูงใจด้านวัสดุหรือการเงินสนับสนุนใดๆ ชาวบ้านใช้เทคโนโลยีนี้ด้วยตนเองเนื่องจากเห็นผลลัพธ์ของการใช้เทคโนโลยีที่สามารถอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำได้อย่างยั่งยืน
6.6 การปรับตัว
เทคโนโลยีได้รับการปรับเปลี่ยนเมื่อเร็วๆนี้ เพื่อให้ปรับตัวเข้ากับสภาพที่กำลังเปลี่ยนแปลงหรือไม่:
ไม่ใช่
6.7 จุดแข็ง / ข้อได้เปรียบ / โอกาสของเทคโนโลยี
จุดแข็ง / ข้อได้เปรียบ / โอกาสในทัศนคติของผู้ใช้ที่ดิน |
---|
สามารถพึ่งพาตนเอง ดำรงชีวิตอยู่อย่างสมดุลระหว่างความต้องการและขีดความสามารถในการตอบสนองความต้องการของตนเอง ครอบครัว หรือชุมชนได้ตามอัตภาพ เช่น ทุกครัวเรือนจะปลูกข้าวไว้บริโภคภายในครัวเรือนเอง |
ชาวบ้านมีการนำความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างเครือญาติและชุมชน และมีการรวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาหลักของชุมชน ทำให้การดำเนินงานมีความให้สอดคล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่ |
ชาวบ้าน มีสภาพจิตใจที่มั่นคง กล้าแข็งในการที่จะต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคในการเลี้ยงชีพ การพัฒนาชีวิตให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น บุคคลหรือชุมชนมีจิตสำนึกในการพึ่งตนเอง มีจิตใจใฝ่รู้ มีคุณธรรม มีเหตุมีผลในการคิดและตัดสินใจ |
ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร เพื่อเป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวมาชม โดยนักท่องเที่ยวจะได้ชื่นชมความงามและพักผ่อนหย่อนใจเป็นการสร้างโอกาสและรายได้ให้กับชาวบ้านและชุมชนในพื้นที่ |
จุดแข็ง / ข้อได้เปรียบ / โอกาสในทัศนคติของผู้รวบรวมหรือวิทยากรหลัก |
---|
การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สามารถแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน ลดการชะล้างพังทลายของหน้าดินและเก็บกักน้ำไว้ในดิน ทำให้ชาวบ้าวมีน้ำไว้ใช้ในการทำการเกษตรได้ตลอกทั้งปี |
ชาวบ้านมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความไว้วางใจกัน ช่วยเหลือกันด้วยความเต็มใจแบ่งปันความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ มีความเป็นปึกแผ่นเหนียวแน่น |
ชุมชนมีความสามารถในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด รวมถึงมีการอนุรักษ์ ให้คงอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์หรือรักษาให้ดำรงอยู่อย่างไม่เสื่อมโทรมไปจนหมด |
การสร้างเครือข่ายการทำงาน (Networking) เครือข่ายจะทำให้ชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเองได้ |
6.8 จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบ / ความเสี่ยงของเทคโนโลยีและวิธีการแก้ไข
จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบ / ความเสี่ยงในทัศนคติของผู้ใช้ที่ดิน | มีวิธีการแก้ไขได้อย่างไร |
---|---|
ขาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน ชาวบ้านสามารถทำการเกษตรบนพื้นที่ของตนเองได้แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ทางกฏหมาย เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวน ทำให้ชาวบ้านเกรงว่าอาจจะต้องย้ายออกจากพื้นที่ในอนาคต | ชาวบ้านและหัวหน้าชุมชนต้องการแก้ไขปัญหาจึงได้ขอความช่วยเหลือกับทางรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายในการ ”ออกโฉนดชุมชน” ทั้งนี้เพื่อหามุมมอง “ด้านกฎหมาย” ที่จะเข้าไปช่วยเหลือจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป |
เด็กด้วยโอกาสทางการศึกษา เนื่องจากด้านสภาพเศรษฐกิจของผู้ปกครองของเด็กยากจน | โรงเรียนในพื้นที่ได้เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กยากจน โดยการให้ทุนสนับสนุนในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา เพื่อให้สามารถเข้าสู่ระบบการศึกษา และลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวในด้านค่าเล่าเรียน |
การขาดสวัสดิการด้านสุขภาพ เนื่องจากพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมืองมาก ทำให้ไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันถ่วงทีในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน | ชาวบ้านไปรักษากับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมื่อเกิดความเจ็บป่วย และใช้สิทธิการรักษาจากบัตรทองหรือโครงการ 30 บาทรักษาฟรีทุกโรค สำหรับภาวการณ์เจ็บป่วยฉุกเฉิน |
ปัญหาทางด้านพลังงานและการติดต่อสื่อสารที่ยังไม่มีคณภาพ เนื่องจากบางพืนที่ยังขาดไฟฟ้า และพื้นที่ส่วนใหญ่สัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เนตยังไม่ครอบคลุม | ชาวบ้านบางคนได้ซื้อและติดตั้งติดตั้งโซลาร์เซลล์นำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้แทนด้วยตนเอง ส่วนเรื่องสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เนตยังคงเป็นปัญหาอย่างมากสำหรับชาวบ้านในพื้นที่ที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ |
จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบ / ความเสี่ยงในทัศนคติของผู้รวบรวมหรือวิทยากรหลัก | มีวิธีการแก้ไขได้อย่างไร |
---|---|
ชาวบ้านขาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน เนื่องจากพื้นที่ของชาวบ้านส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวน ทำให้ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน | รัฐบาลได้มีนโยบายในการ ”ออกโฉนดชุมชน” ออกมาเพื่อหวังจะแก้ไขปัญหาที่ดินดังกล่าว แต่การแก้ไขปัญหานี้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวโยงถึงเรื่องระบบเศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง |
ชาวบ้านยังขาดสวัสดิการด้านหลักประกันด้านสุขภาพ เนื่องจากพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมืองมาก ทำให้การรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยเมื่อต้องการเข้ารับการรักษาจึงมีความยากลำบากในการเดินทาง | รัฐบาลได้จัดตั้งและสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งหัวใจสำคัญของระบบสุขภาพปฐมภูมิที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค รวมทั้งรวมทั้งบุคลากร ซึ่งเป็นการรักษาพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วยเป็นที่พึ่งแก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ |
การขาดโอกาสทางการศึกษา เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมือง ทำให้เด็กในพื้นที่ขาดโอกาสและความเท่าเทียมในการศึกษา ส่งผลให้เด็กเหล่านี้หลุดออกจากระบบการศึกษาภาคบังคับ โดยมีสาเหตุมาจากปัญหาความยากจน | รัฐบาลมีนโยบายที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาเด็กด้อยโอกาสอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากสถาบันครอบครัวไปจนถึงระดับประเทศ เพื่อที่จะให้เด็กด้อยโอกาสได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกับเด็กทั่วไป และการมอบทุนการศึกษาให้กับเด็กเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อให้เด็กๆ ในพื้นที่มีโอกาสทางการศึกษามากขึ้น |
ด้านพลังงานและการสื่อสารยังขาดแคลน พื้นที่บางแห่งยังขาดแคลนไฟฟ้า รวมทั้งยังขาดการติดต่อสื่อสารที่มีคุณภาพ ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถได้รับคำปรึกษาเมื่อประชาชนที่เจ็บป่วยมีอาการซับซ้อนหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ | รัฐบาลและหน่วยงานปกครองส่วนทั้งถิ่นได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์นำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้แทน และเพิ่มศักยภาพระบบเครื่องมือสื่อสาร ติดตั้งระบบทางไกลทางอินเทอร์เน็ตและดาวเทียมเพื่อเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารเข้าไปยังพื้นที่ห่างไกลมากขึ้น |
7. การอ้างอิงและการเชื่อมต่อ
7.1 วิธีการและแหล่งข้อมูล
- ไปเยี่ยมชมภาคสนาม การสำรวจพื้นที่ภาคสนาม
8 คน
- การสัมภาษณ์กับผู้ใช้ที่ดิน
4 คน
- การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้าน SLM หรือผู้ชำนาญ
4 คน
- การเก็บรวบรวมมาจากรายงานและเอกสารที่มีอยู่
2 คน
7.3 เชื่อมโยงกับข้อมูลที่มีอยู่บนออนไลน์
ชื่อเรื่องหรือคำอธิบาย:
ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง แม่ลาน้อย: สะเด็ดข่าวสี่ทิศ
URL:
https://www.youtube.com/watch?v=818zn7JMKsU
ชื่อเรื่องหรือคำอธิบาย:
โครงการหลวงแม่ลาน้อย
URL:
https://www.youtube.com/watch?v=M8pFfl18fC8
ชื่อเรื่องหรือคำอธิบาย:
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อย
URL:
http://www.mhsdc.org/interest510.htm
ชื่อเรื่องหรือคำอธิบาย:
ประวัติศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อย
URL:
http://www.mhsdc.org/rypmaenoi.htm
ชื่อเรื่องหรือคำอธิบาย:
โครงการหลวงแม่ลาน้อย เที่ยวตามรอยพ่อ ชมนาขั้นบันไดแสนงาม
URL:
https://mgronline.com/travel/detail/9590000106920
ชื่อเรื่องหรือคำอธิบาย:
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อย
URL:
http://royalprojectthailand.com/maelanoi
ชื่อเรื่องหรือคำอธิบาย:
การทำนาขั้นบันได
URL:
http://www.ricethailand.go.th/rkb/management/index.php-file=content.php&id=4.htm
ลิงก์และโมดูล
ขยายทั้งหมด ย่อทั้งหมดลิงก์
ไม่มีลิงก์
โมดูล
ไม่มีโมดูล