ศูนย์เรียนรู้เรื่อง ดิน น้ำ ปุ๋ย และการผลิตพริกไทยคุณภาพ ตำบลวังโตนด จังหวัดจันทบุรี [ไทย]
- ผู้สร้างสรรค์:
- การอัพเดท:
- ผู้รวบรวม: Kukiat SOITONG
- ผู้เรียบเรียง: –
- ผู้ตรวจสอบ: Rima Mekdaschi Studer, Pitayakon Limtong, William Critchley
ศูนย์พัฒนาที่ดินวังโตนด
approaches_4247 - ไทย
ดูส่วนย่อย
ขยายทั้งหมด ย่อทั้งหมด1. ข้อมูลทั่วไป
1.2 รายละเอียดที่ติดต่อได้ของผู้รวบรวมและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการประเมินและการจัดเตรียมทำเอกสารของแนวทาง
วิทยากรหลัก
co-compiler:
ผู้รวบรวม:
ไผผักแว่น นางสาวปาริชาติ
0-3721-0781 / 08-5920-8429
parichat19@hotmail.com / -
สถานีพัฒนาที่ดินปราจีนบุรี
135/1ม. 5 ต.เนินหอม อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
ไทย
สนับสนุนปจัจัยการผลิต จัดพิมพ์เอกสาเผยแพร่ จัดอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตให้แก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย:
ช่างถม นายเฉลิมชล
0-3932-2158 / 08-1872-9509
c.changthom@gmail.com / -
สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี
1196 ถนนท่าแฉลบ ต. หน้าตลาด อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000
ไทย
ผู้ใช้ที่ดิน:
กิ่งมณี นายบุญชัย
08-5217-3509 / -
- / -
เกษตรกร และเป็นหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน
25/2 ม. 7 ต. รำพัน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
ไทย
ผู้ใช้ที่ดิน:
นางสาวกมลศินี
08-4781-2071 / -
pimg134082@gmail.com / -
เกษตรกร
44 หมู่ม. 4 ตำบล. วังโตนด อำเภอ. นายายอาม จังหวัด. จันทบุรี
ไทย
ผู้ใช้ที่ดิน:
เมตตา นายจำรัส
08-7032-4142 / -
- / -
เกษตร
24 หมู่. 4 ตำบล. วังโตนด อำเภอ. นายายอาม จังหวัด. จันทบุรี
ไทย
1.3 เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ผ่านทาง WOCAT
วันที่เก็บรวบรวมข้อมูล (ภาคสนาม):
03/10/2018
ผู้รวบรวมและวิทยากรหลักยอมรับเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลที่ถูกบันทึกผ่านทาง WOCAT:
ใช่
2. คำอธิบายของแนวทาง SLM
2.1 การอธิบายแบบสั้น ๆ ของแนวทาง
ศูนย์เรียนรู้เรื่อง ดิน น้ำ ปุ๋ย และการผลิตพริกไทยคุณภาพ ตำบลวังโตนด เป็นแหล่งเรียนรู้ การจัดการดินกรด และสร้างเครือข่ายเพื่อผลิตพริกไทยคุณภาพ ของจังหวัดจันทบุรี
2.2 การอธิบายอย่างละเอียดของแนวทาง
การอธิบายอย่างละเอียดของแนวทาง:
(1) อะไรคือลักษณะที่สำคัญหรือคุณลักษณะที่เห็นเด่นชัดของแนวทาง
ศูนย์เรียนรู้เรื่อง ดิน น้ำ ปุ๋ย และการผลิตพริกไทยคุณภาพ ตำบลวังโตนด จังหวัดจันทบุรีเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการดินตื้น ดินกรด ดินเสื่อมโทรม เพื่อผลิตพริกไทยคุณภาพ เกษตรกรเจ้าของศุนย์ฯเป็นผู้มีความรู้และมีความพากภูมิใจในความสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยี และมีความพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้นั้นไปสู่ชุมชนข้างเคียง โดยมีแปลงสาธืต ให้เยี่ยมชมดูงาน มีกระบวนการถ่ายทอด และมีความสามารถในการทำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยาย
2) อะไรคือเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของแนวทาง
ศูนย์เรียนรู้เรื่อง ดิน น้ำ ปุ๋ย และการผลิตพริกไทยคุณภาพ ตำบลวังโตนด จังหวัดจันทบุรี มีเป้าหมายในการดำเนินงานเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการดินกรด ในการผลิตพริกไทยคุณภาพ และเพื่อสร้างเครือข่ายผู้ปลูกพริกไทย
(3) วิธีการใดที่ถูกเอามาใช้
ศูนย์เรียนรู้เรื่อง ดิน น้ำ ปุ๋ยฯ มีวิธีการดำเนินงานประกอบด้วย
1.Technology Transfe-อบรม ดูงาน แปลงสาธิต นิทรรศการ สื่อสิ่งพิมพ์
2.การสร้างNetworking
3.การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
4.มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เช่น Seedling ,fresh&Dry Peper products
5.การจัดแสดงผลงานนอกสถานที่ Exhibition
6.มีการนำสนอการวิเคราะห์ทางตลาด
r (4) ขั้นตอนของการเอาไปปฏิบัติใช้มีอันไหนบ้าง
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1 ภาครัฐ โดยหน่วยในพื้นที่ได้แก่ กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาคัดเลือก สถานที่และเกษตรกรผุ้ประสบผลสำเร็จในการปลูกพริกไทย เป็นศูนย์เรียนรู้ฯ และให้การสนับสนุนในการดำเนินงาน เช่น ก่อสร้างอาคาร ปัจจัยผลิต เอกสารวิชาการเผยแพร่ ป้ายโฆษณา ค่าตอบแทน การจัดแสดงนอกสถานที่
2.มีการประชาสัมพันธ์ ศูนย์เรียนรู้ฯ ได้แก่ การติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ การออกแสดงแสดงนิทรรศการนอกสถานที่ ถ่ายVDOลงYoutube ออกรายทีวี การเป็นวิทยากร เผยแพร่ผ่านภาครัฐ
3 จัดทำแปลงสาธิต ได้แก่ การปรับปรุงดิน การปลูกพริกไทยคุณภาพ ธนาคารปุ๋ยอินทรีย การป้องกันกำจัศัตรูพืช โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ
4 จัดให้มีการ อบรม ศึกษา ดูงาน เยี่ยมชม โดยหน่วยงานภาครัฐ หรือ เกษตรกรสนใจเข้ามาศึกษาด้วยตนเอง
5.มีการสร้างเครือข่ายผู้ปลูกพริกไทย โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ และเกิดจากกล่มเกษตรกรที่เข้ามาศึกษาดูงานเอง ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี การร่วมกันจัดหาปัจจัยผลิต(seedling พริกไทย) ร่วมกันวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการตลาด
6.ภาครัฐให้การสนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกล่ม/เครือข่ายจากการเรียนรู้ดูงาน เช่น ให้ความรู้ จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ปัจจัยการผลิต พาไปศึกษาดูงาน ส่งเสริมและพัฒนาการผลิคพริกไทย
7 จัดให้มีการจำหน่าย สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น Seedling ผลิตภัณฑ์จากพริกไทย
8.มีการจัดตั้ง ธนาคารปุ๋ยอินทรีย เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกร ร่วมกันผลิตปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก ) โดยให้สมาชิกนำวัสดุอินทรีย์ (เช่น วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร ซากพืช มูลสัตว์ )มาแลกกับปุ๋ยอินทรีย์ที่กลุ่มผลิต
9.พัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ศูนย์การเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ ด้วยการแสวงหาผู้ให้การสนับสนุน โดยการเสนอโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ เช่น การเสนอโครงการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ จาก อบจ.
(5) ผู้มีส่วนได้เสียมีผู้ใดที่เกี่ยวข้องและบทบาทของบุคคลเหล่านั้นมีอะไรบ้าง
ในการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ฯ มีผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่
-เกษตรกรเจ้าของศูนย์ โดยมีบทบาท บริหารจัดการศูนย์ ฯ พัฒนาศูนย์ ถ่ายทอด
-กล่มผู้มาเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ได้แก่ เกษตรกรทั่วไป หมอดิน นักเรียน/นักศึกษา
-กล่ม/เครือข่ายผู้ปลูกพริกไทย แลกเปลี่ยนรู้ การจัดการด้านการตลาด ซื้อ-ขาย
-ผุ้มีบทบาทให้การสนับสนุน( งบประมาณ การเผยแพร่ การเวทีเรียนรู้ดูงาน) ได้แก่ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ อบต อบจ สื่อมวลชน
(6) สิ่งที่ผู้ใช้ที่ดินชอบหรือไม่ชอบเกี่ยวกับแนวทาง
ประเด็นที่ เกษตรกร มีชอบในกระบวนของศูนย์เรียนรู้ ได้แก่
- การจัดทำศูนย์เรียนรู้ฯ ทำให้เกิด มีแหล่งเรียนรู้ ดูงาน เพื่อศึกษาหาข้อมูลไปแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ
-ทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพในกล่มเกษตรกรผู้ปลูกพริกไทย เนื่องจากมีเครือข่ายคอยให้คำแนะนำเช่น ทำให้มีข้อมูลการผลิต ข้อมูลตลาด
- ทำให้เกิดมี่สังสรรค์ recreation ทำให้เกิดความสุขในการที่ได้มีโอกาสพบและแลกเปลี่ยน ซึ่งกันและกัน
2.3 รูปภาพของแนวทาง
2.4 วีดีโอของแนวทาง
ความคิดเห็น อธิบายสั้นๆ:
-
วันที่:
10/05/2016
สถานที่:
-
ชื่อของผู้ถ่ายวีดีโอ:
กรมพัฒนาที่ดิน
ความคิดเห็น อธิบายสั้นๆ:
-
วันที่:
03/04/2017
สถานที่:
-
ชื่อของผู้ถ่ายวีดีโอ:
รักษ์บ้านเกิด Rakbankerd.com
2.5 ประเทศ ภูมิภาค หรือสถานที่ตั้งที่ได้นำแนวทางไปใช้
ประเทศ:
ไทย
ภูมิภาค/รัฐ/จังหวัด: :
จันทบุรี
ข้อมูลเฉพาะเพิ่มเติมของสถานที่ตั้ง:
35 หมู่. 4 ตำบล.วังโตนด อำเภอ. นายายอาม จังหวั.ด จันทบุรี
ความคิดเห็น:
คิดเห็น เดิมเป็นพื้นที่ปลูกไม้ผล (เงาะ ทุเรียน) แต่ประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาด ราคาตกต่ำ ปรับเปลี่ยนมาปลูกพริกไทย แต่ประสบปัญหาดินและน้ำเป็นกรดจัด ลักษณะดิน คือ ชุดดินชุมพร เป็นดินตื้นปนกรวดลูกรัง ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมาก (pH 3.0) และมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ก่อนปลูกพริกไทย ต้องฟื้นฟูและปรับสภาพความเป็นกรดของดินให้เหมาะสม โดยการใช้ปูนโดโลไมท์ เพื่อยกระดับ pH ของดินให้เพิ่มขึ้น ในทางอ้อมช่วยลดการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าและโรคแอนแทรคโนส การปลูกพริกไทยในดินลักษณะนี้ทำให้รายได้เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากพริกไทยมีราคารับซื้อสูง เมื่อเปรียบกับการปลูกไม้ผล เกษตรกรหลายคนจึงปรับเปลี่ยนมาปลูกพริกไทยตาม และมีการเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องการปรับปรุงดินกรดก่อนปลูก จนจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่อง ดิน น้ำ ปุ๋ย และการผลิตพริกไทยคุณภาพ เพื่อใช้เป็นจุดศึกษาดูงานและเผยแพร่องค์ความรู้สู่ชุมชน
Map
×2.6 วันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของแนวทาง
ระบุปีที่เริ่ม:
2013
ถ้าไม่รู้ปีที่แน่นอนให้ประมาณวันที่ที่ริเริ่มใช้แนวทางนี้ :
น้อยกว่า 10 ปี (เร็วๆนี้)
ความคิดเห็น:
ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในด้านงบประมาณ ปัจจัยการผลิต สื่อ และเอกสารวิชาการ ตลอดจนส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ปูนโดโลไมท์ เพื่อผลิตพริกไทยคุณภาพ ให้เป็นที่รู้จักของเกษตรกรทั่วไป
2.7 ประเภทของแนวทาง
- ใช้โครงงานหรือแผนงานเป็นฐาน
2.8 เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักของแนวทาง
ศูนย์เรียนรู้เรื่อง ดิน น้ำ ปุ๋ย และการผลิตพริกไทยคุณภาพ ตำบลวังโตนด จังหวัดจันทบุรี มีเป้าหมายในการดำเนินงานเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการดินกรด ในการผลิตพริกไทยคุณภาพ และเพื่อสร้างเครือข่ายผู้ปลูกพริกไทย
2.9 เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยหรือเป็นอุปสรรคต่อการนำเทคโนโลยีภายใต้แนวทางนี้ไปปฏิบัติใช้
บรรทัดฐานและค่านิยมทางสังคม วัฒนธรรม ศาสนา
- เอื้ออำนวย
ไม่เป็นอุปสรรคต่อการถ่ายทอดองค์ความรู้และการนำเทคโนโลยีไปใช้
การมีไว้ให้หรือการเข้าถึงแหล่งการเงินและบริการ
- เอื้ออำนวย
เกษตรกรที่เห็นความสำคัญของปัญหาในเรื่องดินกรด แม้มีงบประมาณน้อย เกษตรกรจะซื้อปูนโดโลไมท์ใช้เอง โดยสถาบันทางการเงินในพื้นที่พร้อมให้การสนับสนุน
การจัดตั้งระดับองค์กร
- เอื้ออำนวย
สำนักงานเกษตรจังหวัดและเกษตรอำเภอ กรมพัฒนาที่ดิน จัดสรรงบประมาณมาช่วยขับเคลื่อนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพริกไทย ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัยและยั่งยืน (มีการจัดอบรม ศึกษาดูงานในพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ และ สนับสนุนปัจจัยการผลิต
การร่วมมือหรือการทำงานประสานกันของผู้ลงมือปฏิบัติ
- เอื้ออำนวย
หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ จัดทำแผนของบประมาณจากกลุ่มจังหวัด เพื่อช่วยสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกพริกไทย ที่ประสบปัญหาดินกรดจัด และปัญหาทางการเกษตรอื่น
กรอบแนวทางในการดำเนินการด้านกฎหมาย (การถือครองที่ดิน สิทธิในการใช้ที่ดินและน้ำ)
- เอื้ออำนวย
กฎหมายไม่มีข้อบังคับห้ามการใช้ปูนโดโลไมท์ในพื้นที่เกษตร
นโยบาย
- เอื้ออำนวย
เร่งฟื้นฟูทรัพยากรที่ดิน/ทรัพยากรดินเสื่อมโทรม
การกำกับดูแลที่ดิน (การตัดสินใจ การนำเอาไปปฏิบัติใช้ และการบังคับใช้)
- เอื้ออำนวย
ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชให้เหมาะสมกับศักยภาพของดิน
ความรู้เกี่ยวกับ SLM การเข้าถึงการสนับสนุนด้านเทคนิค
- เอื้ออำนวย
องค์ความรู้ในเรื่องการจัดการดินกรดด้วยปูนโดโลไมท์ มีแพร่หลายและตรวจวัดได้
กรมพัฒนาที่ดิน ให้บริการตรวจวิเคราะห์ดิน สนับสนุนปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรด จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่อง ดิน น้ำ ปุ๋ย และการผลิตพริกไทยคุณภาพ และธนาคารปุ๋ยอินทรีย์
หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ของจังหวัดจันทบุรี ร่วมบูรณาการจัดทำโครงการ FTA เพื่อช่วยเหลือ สนับสนุน และส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกพริกไทยในพื้นที่ดินกรด
ตลาด (จัดซื้อปัจจัยนำเข้า ขายผลิตภัณฑ์) และราคา
- เอื้ออำนวย
มีตลาดหรือแหล่งรับซื้อผลผลิตพริกไทยได้ราคาสูง เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกพริกไทยเพิ่มขึ้น
- เป็นอุปสรรค
ปูนโดโลไมท์มีราคาแพง และต้องใช้ตามค่าวิเคราะห์ดินจึงจะเห็นผล
ปริมาณงานที่ทำได้ กำลังคนที่มีให้
- เป็นอุปสรรค
แรงงานในพื้นที่มีน้อย ส่วนใหญ่เป็นแรงงานผู้สูงอายุ
3. การมีส่วนร่วมและบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง
3.1 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในแนวทางนี้และบทบาท
- ผู้ใช้ที่ดินระดับท้องถิ่นหรือชุมชนระดับท้องถิ่น
เกษตรกร
เห็นความสำคัญของปัญหาดินกรด ต้องมีการปรับปรุงดินกรดก่อนการปลูกพืช
- องค์กรที่ขึ้นอยู่กับชุมชน
อบจ และอบต
.เป็นผู้ให้การสนับสนุนการดำเนินงาน งบประมาณ
- ผู้เชี่ยวชาญ SLM หรือที่ปรึกษาการเกษตร
กรมพัฒนาที่ดิน
ให้บริการตรวจวิเคราะห์ดิน สนับสนุนปูนโดโลไมท์ จัดตั้งเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน และเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่หมอดินอาสา และเกษตรกรทั่วไป
- ครู เด็กนักเรียน หรือนักศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
เชิญคุณภิรมย์ ไปเป็นวิทยากรบรรยายและดำเนินการจัดทำแปลงสาธิตการปรับปรุงดินกรดด้วยปูนมาร์ลในนาข้าว
- รัฐบาลแห่งชาติ (ผู้วางแผน ผู้ทำการตัดสินใจ)
กรมพัฒนาที่ดิน
คัดเลือกให้เป็นตัวแทนเกษตรกร ร่วมจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการใช้ปูนโดโลไมท์ในการผลิตพริกไทยคุณภาพ ในงานประชุมคณะรัฐมนตรีกลุ่มอาเซี่ยน ประจำปี พ.ศ. 2561 ณ โรงแรมดุสิตธานี พัทยา ทำให้เทคโนโลยีได้รับการเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
ถ้ามีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายคนที่เกี่ยวข้องให้ระบุหน่วยงานตัวแทน:
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพริกไทยเพื่อลดผลกระทบการเปิดเสรีทางการค้า (FTA) เป็นโครงการร่วมระหว่าง ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สำนักงานเกษตรจังหวัด และกรมวิชาการเกษตร ดำเนินการ 2 ปี (2557-2558) โดยมีกิจกรรมการศึกษาดูงานในพื้นที่ที่ประสบผลสำเร็จ ฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ ตรวจ วิเคราะห์ดิน สนับสนุนปัจจัยการผลิต และพันธุ์พืช จัดทำแปลงสาธิต และตรวจสอบมาตรฐาน GAP รวมทั้งจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3.2 การเกี่ยวข้องของผู้ใช้ที่ดินระดับท้องถิ่นหรือชุมชนระดับท้องถิ่นในช่วงต่างๆของแนวทาง
ความเกี่ยวข้องของผู้ใช้ที่ดินระดับท้องถิ่นหรือชุมชนระดับท้องถิ่น | ระบุผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและอธิบายกิจกรรม | |
---|---|---|
การริเริ่มหรือการจูงใจ | ปฏิสัมพันธ์ | เกษตรกรเจ้าของพื้นที่ดำเนินการ +เจ้าหน้าที่รัฐภายในพื้นที่ |
การวางแผน | ปฏิสัมพันธ์ | เกษตรกรเจ้าของพื้นที่ดำเนินการ +เจ้าหน้าที่รัฐภายในพื้นที่ |
การดำเนินการ | เกษตรกรเจ้าของพื้นที่ดำเนินการ +เจ้าหน้าที่รัฐภายในพื้นที่ | |
การติดตามตรวจสอบหรือการประเมินผล | ปฏิสัมพันธ์ | เกษตรกรเจ้าของพื้นที่ดำเนินการ +เจ้าหน้าที่รัฐภายในพื้นที่ |
- | - |
3.3 แผนผังแสดงขั้นตอนการทำงาน (ถ้ามี)
3.4 การตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยี SLM
ระบุผู้ที่ทำการตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีมากกว่าหนึ่งวิธีไปปฏิบัติใช้:
- ผู้ลงมือปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในฐานะที่เป็นส่วนรวมของแนวทาง
การอธิบาย:
กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ รู้ปัญหาดินและน้ำเป็นกรดจัด ปลูกพืชไม่ได้ผล ผลผลิตพืชตกต่ำ ได้รับการถ่ายทอดความรู้ในการปรับปรุงดินกรดด้วยปูนโดโลไมท์ จากหน่วยงานภาครัฐ และเกษตรกรเจ้าของเทคโนโลยี
ระบุว่าการตัดสินใจตั้งอยู่บนพื้นฐานของ:
- ประสบการณ์และความคิดเห็นส่วนตัว (ไม่ได้ลงบันทึกไว้)
4. การสนับสนุนด้านเทคนิค การสร้างขีดความสามารถ และการจัดการด้านความรู้
4.1 การสร้างขีดความสามารถ / การอบรม
ได้มีการจัดอบรมให้แก่ผู้ใช้ที่ดินหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนอื่น ๆ หรือไม่:
ใช่
ให้ระบุว่าใครเป็นผู้ได้รับการอบรม:
- ผู้ใช้ที่ดิน
ถ้าเกี่ยวข้อง ให้ระบุ เพศ อายุ สถานภาพ ชาติพันธุ์ เป็นต้น:
อบรมหรือถ่ายทอดความรู้ ให้แก่ เกษตรกร หมอดินอาสา และผู้สนใจ
รูปแบบการอบรม:
- เกษตรกรกับเกษตรกร
- ใช้พื้นที่ทำการสาธิต
- จัดการประชุมสู่สาธารณชน
หัวข้อที่พูด:
การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินในการปรับปรุงบำรุงดิน
ความคิดเห็น:
เป็นการบรรยายถ่ายทอดความรู้ และศึกษาดูงานในพื้นที่จริง ในศูนย์เรียนรู้เรื่อง ดิน น้ำ ปุ๋ย และการผลิตพริกไทยคุณภาพ
4.2 การบริการให้คำแนะนำ
ผู้ใช้ที่ดินมีการเข้าถึงการรับบริการให้คำปรึกษาหรือไม่:
ใช่
ระบุว่ามีบริการให้คำปรึกษาหรือไม่:
- ไปเยี่ยมชมสถานที่
- ที่ศูนย์ถาวร
การอธิบาย/แสดงความคิดเห็น:
เกษตรกรที่สนใจ สามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ ขอคำแนะนำ จากเกษตรกรเจ้าของเทคโนโลยีได้ ที่ศูนย์เรียนรู้เรื่อง ดิน น้ำ ปุ๋ย และการผลิตพริกไทยคุณภาพ ตำบลวังโตนด อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี และสอบถามทางโทรศัพท์ หมายเลข 085-2788035
4.3 การเสริมความแข็งแกร่งให้กับสถาบัน (การพัฒนาองค์กร)
สถาบันได้รับการจัดตั้งขึ้นมาหรือเสริมความแข็งแกร่งโดยแนวทางนี้หรือไม่:
- ไม่
4.4 การติดตามตรวจสอบและประเมินผล
การติดตามตรวจสอบและประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางหรือไม่:
ใช่
ความคิดเห็น:
กรมพัฒนาที่ดิน มีการติดตามประเมินผลการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะผลการตรวจวิเคราะห์ดิน (ค่า pH)
ถ้าตอบว่าใช่ แสดงว่าการจัดเตรียมเอกสารนี้มุ่งหวังที่จะเอาไปใช้สำหรับการติดตามตรวจสอบและประเมินผลใช่หรือไม่:
ใช่
ความคิดเห็น:
การติดตามผลวิเคราะห์ดินหลังการใช้เทคโนโลยี ทำให้เทคโนโลยีนี้มีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับ
4.5 การวิจัย
การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางหรือไม่:
ไม่ใช่
5. การสนับสนุนด้านการเงินและวัสดุอุปกรณ์
5.1 ระบุงบประมาณประจำปีสำหรับแนวทาง SLM นี้
ระบุงบประมาณประจำปีสำหรับแนวทาง SLM นี้ เป็นหน่วยดอลลาร์สหรัฐ:
9753.00
ถ้าหากว่างบประมาณประจำปีไม่เป็นที่ทราบแน่นอน ให้ระบุช่วงลงไป:
- 2,000-10,000
แสดงความคิดเห็น (แหล่งของการระดมทุน ผู้บริจาคคนสำคัญ):
กรมพัฒนาที่ดินและกรมส่งเสริมการเกษตร สนับสนุนการสร้างอาคารศูนย์ฯ ปัจจัยการผลิต ในการจัดทำแปลงสาธิตแผ่นป้ายเผยแพร่ความสำเร็จ ตลอดจนสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ในพื้นที่
5.2 การสนับสนุนด้านการเงิน / วัสดุอุปกรณ์ให้แก่ผู้ใช้ที่ดิน
ผู้ใช้ที่ดินได้รับการสนับสนุนด้านการเงิน / วัสดุอุปกรณ์ไปปฏิบัติใช้เทคโนโลยีหรือไม่:
ใช่
ถ้าใช่ ให้ระบุประเภทของการสนับสนุน เงื่อนไขและผู้จัดหามาให้:
กรมพัฒนาที่ดิน ถ่ายทอดความรู้ในการปรับปรุงดินกรด สนับสนุนปูนโดโลไมท์และปัจจัยการผลิตอื่นๆ สำนักงานเกษตรจังหวัด/ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สนับสนุนปัจจัยการผลิต และถ่ายทอดความรู้ภายใต้โครงการ FTA และ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพริกไทย ในจังหวัดจันทบุรีให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัยและยั่งยืน
5.3 เงินสนับสนุนสำหรับปัจจัยนำเข้า (รวมถึงแรงงาน)
- การเกษตร
ระบุปัจจัยนำเข้าที่ได้รับการสนับสนุน | เห็นด้วยระดับไหน | ระบุเงินสนับสนุน |
---|---|---|
เมล็ด | ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินบางส่วน | 13,200 |
ปุ๋ย | ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินบางส่วน | 100,000 |
ปูนโดโลไมท์ เชื้อจุลินทรีย์ทรีย์สารเร่ง พด.2 กากน้ำตาล และถังหมัก | ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินบางส่วน | 22,800 |
ถ้าแรงงานโดยผู้ใช้ที่ดินเป็นปัจจัยนำเข้าที่มีอยู่มากมาย ระบุด้วยว่าเนื่องจาก:
- ให้ค่าตอบแทนด้วยการสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ
ความคิดเห็น:
-
5.4 เครดิต
มีการจัดหาเครดิตมาให้ภายใต้แนวทาง SLM หรือไม่:
ไม่ใช่
5.5 แรงจูงใจหรือเครื่องมืออื่น ๆ
แรงจูงใจหรือเครื่องมืออื่น ๆ ได้ถูกนำไปใช้ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี SLM หรือไม่:
ใช่
ถ้าใช่ ระบุ:
1การจำหน่ายยอดพริกไทยSeedling แก่สมาชิกเครือข่าย ผู้เรียนรู้ดูงาน
2.ค่าตอบแทนการทำหน้าที่วิทยากร เผยแพร่ความรู้จากภาครัฐ
3.ทำให้เกิดชื่อเสียงแพร่หลาย เป้นที่รู้จัก ทำให้ยิ่งขายผลิตของศูนย์ได้มากขึ้น"
4 การได้รับรางวัลจากผลงานที่ทำ
6. การวิเคราะห์ผลกระทบและการสรุป
6.1 ผลกระทบของแนวทาง
ช่วยในการตัดสินใจโดยดูจากหลักฐาน ได้หรือไม่:
- ไม่ใช่
- ใช่ เล็กน้อย
- ใช่ ปานกลาง
- ใช่ อย่างมาก
เกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ ตระหนักถึงปัญหาดินกรดจัด และเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหา บางรายจึงลงทุนซื้อปูนโดโลไมท์มาใช้เอง โดยไม่รอภาครัฐสนับสนุน
ช่วยให้ผู้ใช้ที่ดินนำเอาเทคโนโลยี SLMไปใช้และบำรุงรักษาสภาพไว้ได้หรือไม่:
- ไม่ใช่
- ใช่ เล็กน้อย
- ใช่ ปานกลาง
- ใช่ อย่างมาก
เมื่อนำเทคโนโลยีไปใช้แล้วเกิดผลดี ดินดีขึ้น ช่วยป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าในทางอ้อม และผลผลิตพืชดีขึ้น เกษตรกรข้างเคียงจึงนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง
ปรับปรุงความร่วมมือกันและการดำเนิน งานของ SLM ได้อย่างมีประสิทธิผลหรือไม่:
- ไม่ใช่
- ใช่ เล็กน้อย
- ใช่ ปานกลาง
- ใช่ อย่างมาก
มีกลุ่มเครื่อข่ายเกษตรกรหลายกลุ่ม ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มผลผลิตพืชของสมาชิกกลุ่ม
ปรับปรุงความรู้และความสามารถของผู้ใช้ที่ดินในการดำเนินการ SLM หรือไม่:
- ไม่ใช่
- ใช่ เล็กน้อย
- ใช่ ปานกลาง
- ใช่ อย่างมาก
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรผู้ใช้เทคโนโลยีเอสแอลเอ็ม ศึกษาดูงานในพื้นที่ ตลอดจนภาครัฐจัดฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้และให้การสนับสนุนการดำเนินงาน
ปรับปรุงความรู้และความสามารถของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนอื่น ๆ ให้ดีขึ้นหรือไม่:
- ไม่ใช่
- ใช่ เล็กน้อย
- ใช่ ปานกลาง
- ใช่ อย่างมาก
การแลกเปลี่ยนความรู้และศึกษาดูงานในพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ
ทำให้ผู้ใช้ที่ดินระดับท้องถิ่นมีอำนาจขึ้น ปรับปรุงการเข้าร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ดีขึ้นหรือไม่:
- ไม่ใช่
- ใช่ เล็กน้อย
- ใช่ ปานกลาง
- ใช่ อย่างมาก
มีกลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็ง
ส่งเสริมให้เยาวชนหรือบุตรหลานของผู้ใช้ที่ดินให้เข้าร่วมใน SLM:
- ไม่ใช่
- ใช่ เล็กน้อย
- ใช่ ปานกลาง
- ใช่ อย่างมาก
การเผยแพร่ความรู้จากผู้ใช้เทคโนโลยีสู่เกษตรกรแปลงข้างเคียง ทำให้เกษตรกรรุ่นใหม่ ตระหนักถึงปัญหาดินกรดจัด และน้ำเทคโนโลยีเอสแอลเอ็มไปปฏิบัติในพื้นที่ มีการเผยแพร่ความสำเร็จของผู้ใช้เทคโนโลยีเอสแอลเอ็มผ่านสื่อทีวี ยูทูป การจัดนิทรรศการของหน่วยงานภาครัฐ ทำให้เกษตรกร นักเรียน นิสิต นักศึกษาสามารถเข้าถึงความรู้ได้
เทคโนโลยีช่วยฟื้นฟูและปรับปรุงดินกรด เกษตรกรผู้ใช้เทคโนโลยีส่วนใหญ่หันมาใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ทำให้ได้ผลผลิตอาหารที่ปลอดภัย
ปรับปรุงการเข้าถึงตลาดหรือไม่:
- ไม่ใช่
- ใช่ เล็กน้อย
- ใช่ ปานกลาง
- ใช่ อย่างมาก
ผลผลิตมีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาด
นำไปสู่โอกาสในการจ้างงาน รายได้หรือไม่:
- ไม่ใช่
- ใช่ เล็กน้อย
- ใช่ ปานกลาง
- ใช่ อย่างมาก
ช่วงดำเนินการใช้เทคโนโลยี มีการจ้างแรงงานในพื้นที่
6.2 แรงจูงใจหลักของผู้ใช้ที่ดินเพื่อที่จะนำ SLM ไปปฏิบัติใช้
- การผลิตที่เพิ่มขึ้น
pH ของดินสูงขึ้น ดินดีขึ้น เหมาะสำหรับการปลูกพืช
ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น การผลิตในพื้นที่จึง
เพิ่มขึ้น
- กำไร (ความสามารถ) อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น
ผลผลิตเพิ่มขึ้น ราคาที่สูงขึ้น ทำให้เกษตรกรได้รับ
ผลตอบแทนมากขึ้น
- การเสื่อมของที่ดินลดลง
pH ของดินเพิ่มขึ้น ดินดีขึ้น
- การเข้าร่วมสมทบในขบวนการ โครงการ กลุ่ม เครือข่าย
มีการรวมกลุ่ม และเครืื่อข่ายผู้ปลูกพริกไทย
- ความรู้และทักษะ SLM ที่เพิ่มพูนขึ้น
เทคโนโลยีที่ใช้เห็นผลจริง ก่อให้เกิดการเรียนรู้และ
ปฏิบัติใช้อย่างแพร่หลาย
6.3 ความยั่งยืนของกิจกรรมของแนวทาง
ผู้ใช้ที่ดินสามารถทำให้สิ่งต่างๆ ที่ได้ปฏิบัติใช้โดยแนวทางนี้ยั่งยืนได้หรือไม่ (โดยไม่มีการสนับสนุนจากภายนอก):
- ใช่
ถ้าตอบว่าใช่ ให้อธิบายว่าอย่างไร :
เกษตรกรผู้ใช้ที่ดินสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องรอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ
6.4 จุดแข็งและข้อได้เปรียบของแนวทาง
จุดแข็ง / ข้อได้เปรียบของแนวทางในทัศนคติของผู้ใช้ที่ดิน |
---|
1-มีแหล่งเรียนรู้ ดูงาน เพื่อศึกษาหาข้อมูลไปแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ |
2ทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพในกล่มเกษตรกรผู้ปลูกพริกไทย เนื่องจากมีเครือข่ายคอยให้คำแนะนำเช่น ทำให้มีข้อมูลการผลิต ข้อมูลตลาด |
3 ทำให้เกิดมี่สังสรรค์ recreation ทำให้เกิดความสุขในการที่ได้มีโอกาสพบและแลกเปลี่ยน ซึ่งกันและกัน |
4.มีการสนับสนุนจากภาครัฐ อย่างต่อเนื่อง |
5.ทำให้เกิดช่องทางและโอกาสในการเรียนรู้มากขึ้น |
จุดแข็ง / ข้อได้เปรียบของแนวทางในทัศนคติของผู้รวบรวมหรือวิทยากรหลัก |
---|
1) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ เห็นความสำคัญของการฟื้นฟูและปรับปรุงดินเสื่อมโทรม และการเพิ่มผลผลิตพืชในพื้นที่ จึงสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนถ่ายทอดความรู้ ทำให้ชุมชน และกลุ่มเกษตรกรเข้มแข็ง |
6.5 จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบของแนวทางและวิธีในการแก้ไข
จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบในทัศนคติของผู้ใช้ที่ดิน | สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร |
---|---|
- | - |
- | - |
- | - |
จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบในทัศนคติของผู้รวบรวมหรือวิทยากรหลัก | สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร |
---|---|
- | - |
- | - |
- | - |
7. การอ้างอิงและการเชื่อมต่อ
7.1 วิธีการหรือแหล่งข้อมูล
- การสัมภาษณ์กับผู้ใช้ที่ดิน
5
- การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้าน SLM หรือผู้ชำนาญ
1
7.2 การอ้างอิงถึงสิ่งตีพิมพ์
ชื่อเรื่อง ผู้เขียน ปี ISBN:
-
ช่องทางในการสืบค้น และราคา:
-
7.3 เชื่อมโยงกับข้อมูลที่มีอยู่บนออนไลน์
ชื่อเรื่องหรือคำอธิบาย:
-
URL:
-
ลิงก์และโมดูล
ขยายทั้งหมด ย่อทั้งหมดลิงก์
ไม่มีลิงก์
โมดูล
ไม่มีโมดูล