Approaches

เครือข่ายหมอดินอาสา ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี [Thailand]

หมอดินอาสา

approaches_4245 - Thailand

Completeness: 97%

1. General information

1.2 Contact details of resource persons and institutions involved in the assessment and documentation of the Approach

Key resource person(s)

land user:

Thailand

land user:

1.3 Conditions regarding the use of data documented through WOCAT

When were the data compiled (in the field)?

10/10/2018

The compiler and key resource person(s) accept the conditions regarding the use of data documented through WOCAT:

Ja

2. Description of the SLM Approach

2.1 Short description of the Approach

เครือข่ายหมอดินอาสาตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี น้อมนำแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรในที่ดินของตนเองให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถพึ่งพาตนเองได้

2.2 Detailed description of the Approach

Detailed description of the Approach:

(1) อะไรคือลักษณะที่สำคัญหรือคุณลักษณะที่เห็นเด่นชัดของแนวทาง
หมอดินอาสา คือ เกษตรกรที่ทำหน้าที่ เป็นผู้ประสานงานด้านการพัฒนาที่ดิน ให้คำปรึกษาและแนะนำด้าน การจัดการปัญหาความเสื่อมโทรมของที่ดิน การปรับปรุงบำรุงดิน การใช้ที่ดินให้เหมาะสม ตลอดจนให้บริการตรวจวิเคราะห์ดิน แก่เกษตรกรรวมทั้งร่วมดำเนินกิจกรรมต่างๆ กับเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีเครือข่ายหมอดินอาสาประมาณ 80,000 กว่าราย ในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด ครอบคลุมทั่วประเทศ
เครือข่ายหมอดินอาสา เป็นเครือข่ายของ เกษตรกรที่ทำหน้าที่หมอดินอาสา มีการทำงานร่วมกันแบบเครือข่ายเพื่อสนับสนุนบทบาทภารกิจของหมอดินและกรมพัฒนาที่ดินให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายมี่กำหนด

(2) อะไรคือเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของแนวทาง
เครือข่ายหมอดินอาสา ตั้งขึ้นเพื่อให้หมอดินอาสาและกรมพัฒนาที่ดิน ร่วมบูรณาการการทำงาน ตามบทบาทภารกิจ มีการเชื่อมโยงการทำงาน สนับสนุน และช่วยเหลืองานซึ่งกันและกัน
(3) วิธีการใดที่ถูกเอามาใช้
เครือข่ายหมอดินอาสา เป็นการสร้างเครือข่ายเกษตรกรที่ทำหน้าที่หมอดินอาสา ให้มีโอกาสแลกเปลี่ยน เรียนรู้และสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน โดยการจัดให้มีโครงสร้างของเครือข่ายครอบคลุมทั้งประเทศ ตามลำดับชั้นของพื้นที่ กล่าวคือ เครือข่ายในระดับ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด


(4) ขั้นตอนของการเอาไปปฏิบัติใช้มีอันไหนบ้าง
การดำเนินงานของเครือข่ายหมอดินอาสา มีขั้นตอนดังนี้
1.กรมพัฒนาที่ดินได้คัดเลือกและแต่งตั้งเกษตรกรให้ทำหน้าที่ หมอดินอาสา จำนวน 80,000 กว่าราย ในระดับหมู่บ้านครอบคลุมทั่วประเทศ
2. กรมพัฒนาที่ดินและกล่มเกษตรกรที่ทำหน้าที่หมอดินอาสา ระดับหมู่บ้าน จะคัดเลือกผู้แทนหมอดินอาสาในระดับ หมู่บ้าน ให้หน้าที่เป็นประธานหมอดินอาสาในระดับตำบล และประธานระดับ ตำบลจะพิจารณาคัดเลือกให้ทำหน้าที่ประธานระดับอำเภอ และจังหวัด เป็นลำดับชั้น
3.ประธานหมอดินอาสาในระดับต่างๆ จะทำงานร่วมกันแบบเครือข่าย
4 จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายหมอดินอาสาในแต่ละลำดับชั้นของเครือข่าย
5.เครือข่ายหมอดินอาสาแต่ละลำดับชั้น จะทำหน้าที่เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าวสารต่างๆไปสู่สมาชิก
6.เครือข่ายหมอดินอาสา จะทำหน้าที่ส่งเสริมและให้การสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีของหมอดินอาสาไปสู่ชุมชนเป้าหมาย
7.กรมพัฒนาที่ดินจัดอบรมให้ความรู้แก่เครือข่ายหมอดินอาสา
8.กรมพัฒนาที่ดิน นิเทศ ติดตามประเมินผล พร้อมให้คำแนะนำ และรายงานผล



(5) ผู้มีส่วนได้เสียมีผู้ใดที่เกี่ยวข้องและบทบาทของบุคคลเหล่านั้นมีอะไรบ้าง
ผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของเครือข่ายหมอดินอาสา
1) หมอดินอาสาในตำบลรำพัน เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ทำการเกษตรในรูปแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ และถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้แก่เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานในพื้นที่
2) เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป และเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ที่สนใจเข้ามาศึกษาหาความรู้และฝึกปฏิบัติจริงในพื้นที่
3) เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน และสำนักงาน ก.ป.ร.ให้การสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ วัสดุอุปกรณ์ เอกสารวิชาการ และถ่ายทอดความรู้แก่หมอดินอาสา

(6) สิ่งที่ผู้ใช้ที่ดินชอบเกี่ยวกับแนวทาง
ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับในมุมมองของเกษตรกร
1) ภาครัฐ โดยกรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริม ช่วยเหลือและสนับสนุนงบประมาณ ปัจจัยการผลิต เอกสารวิชาการ และองค์ความรู้ต่างๆ ในการดำเนินงานเกษตรทฤษฎีใหม่
2. การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของกลุ่มเครือข่ายหมอดินอาสามุ่งเน้นการใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี ทำให้ทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
3).

สิ่งที่ผู้ใช้ที่ดินไม่ชอบเกี่ยวกับแนวทาง
ข้อจำกัดในการดำเนินงาน เกษตรกรเห็นว่า การเกษตรตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่มีข้อจำกัดในด้านการยอมรับจากเกษตรกรทั่วไป เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ทำการเกษตรมุ่งเน้นผลกำไร แต่เกษตรทฤษฎีใหม่มุ่งเน้นให้เกษตรกรพอเพียง สามารถพึ่งพาตนเองได้

2.3 Photos of the Approach

General remarks regarding photos:

-

2.4 Videos of the Approach

Comments, short description:

-

Date:

13/07/2016

Location:

47 ม.3 ต.รำพัน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

Name of videographer:

กรมพัฒนาที่ดิน

2.5 Country/ region/ locations where the Approach has been applied

Country:

Thailand

Region/ State/ Province:

จันทบุรี

Further specification of location:

47 หมู่ 3 ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

Comments:

-

2.6 Dates of initiation and termination of the Approach

Indicate year of initiation:

2007

If precise year is not known, indicate approximate date when the Approach was initiated:

10-50 years ago

Comments:

-

2.7 Type of Approach

  • project/ programme based

2.8 Main aims/ objectives of the Approach

เครือข่ายหมอดินอาสา ตั้งขึ้นเพื่อให้หมอดินอาสาและกรมพัฒนาที่ดิน ร่วมบูรณาการการทำงาน ตามบทบาทภารกิจ มีการเชื่อมโยงการทำงาน สนับสนุน และช่วยเหลืองานซึ่งกันและกัน

2.9 Conditions enabling or hindering implementation of the Technology/ Technologies applied under the Approach

social/ cultural/ religious norms and values
  • enabling

วัฒนธรรมและประเพณีไทย สอนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกษตรกรที่ประสบปัญหาทางการเกษตรภายในชุมชน

availability/ access to financial resources and services
  • enabling

ในชุมชนมีแหล่งเงินทุนหลายแหล่ง เช่น ธกส. กองทุนหมู่บ้าน กองทุนกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน ที่สามารถให้กู้ยืมได้

  • hindering

เงื่อนไขการให้กู้เงินของแหล่งเงินทุนบางแหล่ง ทำให้เกษตรกรบางรายขาดโอกาสในการได้รับเงินกู้

institutional setting
  • enabling

-

collaboration/ coordination of actors
  • enabling

หน่วยงานภายในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ มีการบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรผสมผสาน

legal framework (land tenure, land and water use rights)
  • enabling

-

policies
  • enabling

มีโครงการ 5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง รัชกาลที่ 9 ซึ่งดำเนินการมาแล้วกว่า 2 ปี หลายภาคส่วนร่วมบูรณาการ ช่วยกันขับเคลื่อน ถ่ายทอดองค์ความรู้ศาสตร์พระราชา/เกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนปัจจัยการผลิต ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ มีเอกสารเผยแพร่ และมีการติดตามประเมินผล

land governance (decision-making, implementation and enforcement)
  • enabling

เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นทฤษฎีของการใช้ที่ดินที่มีจำกัดให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์คุ้มค่า การถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างแพร่หลาย จะทำให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

knowledge about SLM, access to technical support
  • enabling

-ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินมีความรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่/เศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดี สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่
-กรมพัฒนาที่ดิน ให้การสนับสนุนการขุดบ่อน้ำในไร่นา ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้เกษตรกร บริการตรวจวิเคราะห์ดิน สนับสนุนปัจจัยการผลิต ถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการ ผ่านเครือข่ายหมอดินอาสา และจุดเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน ตำบลรำพัน
-สำนักงาน กปร. และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ สนับสนุนและส่งเสริมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่

markets (to purchase inputs, sell products) and prices
  • enabling

มีตลาดหรือแหล่งรับซื้อผลผลิตในราคาสูง เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกไม้ผลอินทรีย์มากขึ้น และมีตลาดนัดชุมชน สำหรับขายพืชผักเพิ่มรายได้หมุนเวียน

  • hindering

ราคาสินค้าเกษตรบางชนิดตกต่ำมาก โดยเฉพาะยางพารา เนื่องจากการผลิตมากกว่าความต้องการสินค้า ราคาถูกกำหนดโดยพ่อค้าคนกลาง

workload, availability of manpower
  • hindering

แรงงานภาคการเกษตรในพื้นที่มีน้อย ค่าจ้างแรงงานในพื้นที่สูง เกษตรกรที่ทำเกษตรกรทฤษฎีใหม่จึงอาศัยแรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก พึ่งพาตนเอง บางครั้งมีการลงแขกช่วยเหลือกันภายในกลุ่ม

3. Participation and roles of stakeholders involved

3.1 Stakeholders involved in the Approach and their roles

  • local land users/ local communities

เกษตรกรในชุมชน

เกษตรกรในชุมชน เดิมทำการเกษตรเชิงเดี่ยว ปลูกพืชชนิดเดียว หลังจากได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ ปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกพืชหลากหลายชนิดลดความเสี่ยงเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ และโรคพืช ร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ เพื่อบริโภค และจำหน่ายเป็นรายได้ของครัวเรือน ใช้ชีวิตแบบพอเพียงและพึ่งพาตนเอง

  • SLM specialists/ agricultural advisers

-กรมพัฒนาที่ดิน
-กปร

กรมพัฒนาที่ดิน
-กปร นย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ นำเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ไปศึกษาดูงานเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ เพื่อเรียนรู้และนำมาปฏิบัติใช้ และช่วยเผยแพร่เกษตรทฤษฎีใหม่ผ่านสิ่งพิมพ์

  • researchers

นักวิจัยจากกรมพัฒนาที่ดิน

นักวิจัยจากกรมพัฒนาที่ดิน ใช้พื้นที่แปลงเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นแปลงทดลองเพื่อศึกษาวิจัยด้านต่างๆ ดังนี้
-การใช้กรดอินทรีย์จากน้ำหมักชีวภาพเพื่อทดแทนกรดฟอร์มิกสังเคราะห์ในการผลิตยางก้อนถ้วย (นายวิโรจน์ เผ่าวัฒนา)
-ทดสอบการใช้ประโยชน์ของหญ้าแฝกในพื้นที่ปลูกลองกอง เพื่อรักษาความชื้นในดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน และลดการชะล้างหน้าดิน (นายวิโรจน์ เผ่าวัฒนา)
-การจัดการดินกรดเพื่อปลูกแก้วมังกร (นางสาวนงปวีณ์ บุตรรามรา)

  • teachers/ school children/ students

นักศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา

นักศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี เข้ามาศึกษาดูงาน ฝึกปฏิบัติ และเรียนรู้

  • local government

อบต อบจ

-

หน่วยงานทหาร เข้ามาศึกษาดูงาน

-

If several stakeholders were involved, indicate lead agency:

-

3.2 Involvement of local land users/ local communities in the different phases of the Approach
Involvement of local land users/ local communities Specify who was involved and describe activities
initiation/ motivation interactive กรมพัฒนาที่ดินคัดเลือกเป็นหมอดินอาสา จัดตั้งเครือข่าย หมอดินอาสา
planning interactive -กรมพัฒนาที่ดิน สร้างกลุ่มเครือข่ายหมอดินอาสาระดับหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้แก่หมอดินอาสาให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น -หมอดินอาสา
implementation interactive -กรมพัฒนาที่ดิน จัดตั้งเป็นจุดเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน -หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ จังหวัดจันทบุรีคัดเลือกเป็นแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ ในโครงการ 5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง รัชกาลที่ 9 และขับเคลื่อนการดำเนินงาน -สำนักงาน กปร. โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ คัดเลือกเป็นศูนย์เรียนรู้ปลูกพืชผสมผสาน ตามแนวพระราชดำริ -กรมพัฒนาที่ดินเผยแพร่ความสำเร็จ การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ การดำเนินงานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านเอกสารและสื่อวิดิทัศน์หมอดินอาสา
monitoring/ evaluation interactive กรมพัฒนาที่ดินประเมินผลสำเร็จและผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน
-

3.3 Flow chart (if available)

Description:

-

Author:

-

3.4 Decision-making on the selection of SLM Technology/ Technologies

Specify who decided on the selection of the Technology/ Technologies to be implemented:
  • mainly land users, supported by SLM specialists
Explain:

ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินและเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดความรู้ และสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากกรมพัฒนาที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ

Specify on what basis decisions were made:
  • personal experience and opinions (undocumented)
  • การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ

4. Technical support, capacity building, and knowledge management

4.1 Capacity building/ training

Was training provided to land users/ other stakeholders?

Ja

Specify who was trained:
  • land users
If relevant, specify gender, age, status, ethnicity, etc.

-

Form of training:
  • on-the-job
  • farmer-to-farmer
  • public meetings
Subjects covered:

การปรับแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายใต้โครงการ “5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวงรัชกาลที่ 9” . ชื่อหัวข้อวิชาประกอบด้วย ศาสตร์พระราชา เกษตรทฤษฎีใหม่ และการจัดทำแผนผังแปลง แผนการผลิตของเกษตรกร การลดต้นทุนการผลิต ลดรายจ่าย การผลิตการสร้างผลผลิต/ การสร้างรายได้ การจัดทำบัญชีครัวเรือน

Comments:

เพิ่มพูนความรู้ศาตร์พระราชา และหลักการทำเกษตรทฤษฎีใหม่

4.2 Advisory service

Do land users have access to an advisory service?

Ja

Specify whether advisory service is provided:
  • on land users' fields
Describe/ comments:

เกษตรกรที่สนใจเกษตรทฤษฎีใหม่ สามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ และขอคำแนะนำได้ ณ ที่ตั้งแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ (คุณมะลิ คันธีระ) ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี หรือสอบถามได้ทางหมายเลขโทรศัพท์ 065-6903985

4.3 Institution strengthening (organizational development)

Have institutions been established or strengthened through the Approach?
  • no

4.4 Monitoring and evaluation

Is monitoring and evaluation part of the Approach?

Ja

Comments:

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายใต้โครงการ “5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวงรัชกาลที่ 9” มีการตรวจและติดตามผล จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ

Comments:

-

4.5 Research

Was research part of the Approach?

Nee

5. Financing and external material support

5.1 Annual budget for the SLM component of the Approach

If precise annual budget is not known, indicate range:
  • < 2,000
Comments (e.g. main sources of funding/ major donors):

กรมพัฒนาที่ดิน

5.2 Financial/ material support provided to land users

Did land users receive financial/ material support for implementing the Technology/ Technologies?

Ja

If yes, specify type(s) of support, conditions, and provider(s):

กรมพัฒนาที่ดิน สนับสนุนการดำเนินงานเกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างบ่อน้ำในไร่นา และปัจจัยการผลิต

5.3 Subsidies for specific inputs (including labour)

  • agricultural
Specify which inputs were subsidised To which extent Specify subsidies
seeds partly financed 5,000
ปูนโดโลไมท์ ปูนมาร์ล 50,800
If labour by land users was a substantial input, was it:
  • rewarded with other material support
Comments:

กรมพัฒนาที่ดิน สนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปูนมาร์ล ปูนโลไมท์ เมล็ดพันธุ์ถั่วพร้า เชื้อจุลินทรีย์สารเร่ง พด. สำหรับผลิตปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ แผ่นป้ายจุดเรียนรู้ แก่เจ้าของจุดเรียนรู้ (นางมะลิ คันธีระ วิทยากรหลัก) เกษตรกรผู้ใช้ที่ดินได้รับการสนับสนุนปูนโดโลไมท์ และปูนมาร์ล

5.4 Credit

Was credit provided under the Approach for SLM activities?

Ja

Specify conditions (interest rate, payback, etc.):

-

Specify credit providers:

กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ และกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (สมาชิกออมเดือนละ 100 บาท และสมาชิกสามารถกู้เงินได้)

Specify credit receivers:

กลุ่มเกษตรกร

5.5 Other incentives or instruments

Were other incentives or instruments used to promote implementation of SLM Technologies?

Ja

If yes, specify:

ใช้พื้นที่เป็นจุดเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ โดยมีหมอดินอาสา (นางสาวมะลิ คันธีระ) เป็นวิทยากรหลักในการถ่ายทอดความรู้ร่วมกับเครือข่ายหมอดินอาสาตำบลรำพัน

6. Impact analysis and concluding statements

6.1 Impacts of the Approach

Did the Approach empower local land users, improve stakeholder participation?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ (มีรายได้จากขายผลผลิตทางการเกษตรหลากหลายชนิด) มีการรวมกลุ่มเกษตรกร

Did the Approach enable evidence-based decision-making?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

เกษตกรบางรายหันมาปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินจากการปลูกเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ /เกษตรผสมผสาน มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองได้

Did the Approach help land users to implement and maintain SLM Technologies?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

เกษตรกรในชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และนำไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่ของตนเอง

Did the Approach improve coordination and cost-effective implementation of SLM?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

มีเครื่อข่ายหมอดินอาสา กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแปรรูปสินค้าเกษตร และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

Did the Approach mobilize/ improve access to financial resources for SLM implementation?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

เครือข่ายช่วยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะกองทุนต่างๆ เกษตรกรสามารถกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำมาใช้ทางการเกษตรได้

Did the Approach improve knowledge and capacities of land users to implement SLM?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

หน่วยงานภาครัฐ จัดฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่แก่เกษตรกร

Did the Approach improve knowledge and capacities of other stakeholders?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

หน่วยงานภาครัฐ จัดฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่แก่เกษตรกร

Did the Approach encourage young people/ the next generation of land users to engage in SLM?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

เกษตรทฤษฎีใหม่มีการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ เช่น สื่อทีวี วิทยุ ยูทูป เยาวชนรุ่นใหม่ที่สนใจสามารถศึกษาหาความรู้ได้ และสามารถเข้ามาเรียนรู้ในแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ของคุณมะลิ คันธีระ เพื่อนำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองได้

Did the Approach lead to improved food security/ improved nutrition?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

การผลิตสินค้าเกษตรทั้งพืชและสัตว์ ในแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นการเกษตรโดยใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี ทำให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัย

Did the Approach improve access to markets?
  • No
  • Yes, little
  • Yes, moderately
  • Yes, greatly

มีผลผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยหลากหลายชนิด เป็นที่ต้องการของตลาด

6.2 Main motivation of land users to implement SLM

  • increased production

รูปแบบการผลิตหลากหลายชนิด

  • increased profit(ability), improved cost-benefit-ratio

มีรายได้หมุนเวียน เกษตรกรใช้ชีวิตแบบพอเพียง

  • reduced land degradation

รูปแบบการทำเกษตรทฤษฎีใหม่เน้นการใช้สารอินทรีย์
ช่วยลดและฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของดินทางเคมี

  • affiliation to movement/ project/ group/ networks

มีเครือข่ายหมอดินอาสาเข้มแข็ง

  • enhanced SLM knowledge and skills

ได้จากการปฏิบัติเป็นประจำ และการไปศึกษาดูงานต่างพื้นที่

6.3 Sustainability of Approach activities

Can the land users sustain what has been implemented through the Approach (without external support)?
  • yes
If yes, describe how:

เครือข่ายหมอดินอาสานำแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่ของตนเอง สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยใช้แรงงานตนเอง/แรงงานในครัวเรือน อยู่แบบพอเพียง และนำไปบอกต่อแก่เกษตรกรแปลงข้างเคียงให้นำแนวทางนี้ไปใช้ได้

6.4 Strengths/ advantages of the Approach

Strengths/ advantages/ opportunities in the land user’s view
1) เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้
2) หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนการดำเนินงานเกษตรทฤษฎีใหม่ของเครือข่ายหมอดินอาสา/กลุ่มสมาชิก
3) การรวมกลุ่มเกษตรกรทำให้เกิดความเข้มแข็ง รัก และสามัคคีกัน
Strengths/ advantages/ opportunities in the compiler’s or other key resource person’s view
1 หน่วยงานภาครัฐถือเป็นหน่วยงานหลักที่ช่วยสนับสนุน ส่งเสริมเกษตรกรในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่
2)ทฤษฎีใหม่มุ่งเน้นการใช้สารอินทรีย์/วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในแปลงมาเป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เอง ช่วยลดต้นทุนการผลิต

6.5 Weaknesses/ disadvantages of the Approach and ways of overcoming them

Weaknesses/ disadvantages/ risks in the land user’s view How can they be overcome?
1) แรงงานไม่พอ ค่าแรงงานสูง ใช้แรงงานในครัวเรือน และใช้เครื่องทุนแรง เช่น เครื่องตัดหญ้า
2) ขาดความรู้เรื่องการผลิตพืช ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
3)น้ำมีไม่เพียงพอสำหรับใช้ทำการเกษตร -เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ/ขุดบ่อน้ำในไร่นา ขุดลอกคลองธรรมชาติ โดยใช้แรงงานในครัวเรือน หรือขอสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจากหน่วยงานภาครัฐ/ท้องถิ่น
-สูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมากักเก็บไวในบ่อน้ำในไร่นา
Weaknesses/ disadvantages/ risks in the compiler’s or other key resource person’s view How can they be overcome?
1)แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ มีข้อจำกัดในด้านการยอมรับจากเกษตรกร เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มุ่งเน้นผลกำไร แต่ทฤษฎีใหม่คือการใช้ชีวิตแบบพอเพียง เน้นให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ เร่งสร้างความตระหนักรู้แก่เกษตรกร ในเรื่องการใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวทฤษฎีใหม่ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

7. References and links

7.1 Methods/ sources of information

  • field visits, field surveys

-

  • interviews with land users

5

  • interviews with SLM specialists/ experts

1

7.2 References to available publications

Title, author, year, ISBN:

-

Available from where? Costs?

-

7.3 Links to relevant information which is available online

Title/ description:

-

URL:

-

Links and modules

Expand all Collapse all

Modules