เทคโนโลยี

Continuous bench terrace in high sloping area for tea plantation [ไทย]

  • ผู้สร้างสรรค์:
  • การอัพเดท:
  • ผู้รวบรวม:
  • ผู้เรียบเรียง:
  • ผู้ตรวจสอบ:

Continuous bench terrace in high sloping area for tea plantation

technologies_4281 - ไทย

สมบูรณ์: 94%

1. ข้อมูลทั่วไป

1.2 รายละเอียดที่ติดต่อได้ของผู้รวบรวมและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการประเมินและการจัดเตรียมทำเอกสารของเทคโนโลยี

วิทยากรหลัก

co-compiler:

ทิพวงศ์ ถนอมขวัญ

กรมพัฒนาที่ดิน

ไทย

ผู้ใช้ที่ดิน:

Mokngoen Jai

เกษตรกรชาวเขาเผ่าปะหล่อง

ไทย

เจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ตำแหน่งนักวิชาการ:

Tapangtong Werapong

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

ไทย

เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง ศพล.

Boonchoo Sontaya

ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง กรมพัฒนาที่ดิน

ไทย

ชื่อขององค์กรซึ่งอำนวยความสะดวกในการทำเอกสารหรือการประเมินเทคโนโลยี (ถ้าเกี่ยวข้อง)
Land Development Department (Land Development Department) - ไทย

1.3 เงื่อนไขการใช้ข้อมูลที่ได้บันทึกผ่านทาง WOCAT

ผู้รวบรวมและวิทยากรหลักยอมรับเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลที่ถูกบันทึกผ่านทาง WOCAT:

ใช่

1.4 การเปิดเผยเรื่องความยั่งยืนของเทคโนโลยีที่ได้อธิบายไว้

เทคโนโลยีที่ได้อธิบายไว้นี้เป็นปัญหาของความเสื่อมโทรมโทรมของที่ดินหรือไม่ จึงไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีเพื่อการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน:

ไม่ใช่

แสดงความคิดเห็น:

การทำขั้นบันไดดินฐาน 3 เมตร ในแปลงส่งเสริมการปลูกชาจีนบนพื้นที่สูง (แปลง 2000) สามารถช่วยป้องกันการเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินและที่ดิน เนื่องจากขั้นบันไดดินที่สร้างขึ้นเพื่อขวางความลาดเทของพื้นที่มีส่วนช่วยลดความยาวความลาดชันให้สั้นลง จึงทำให้ความเร็วและความแรงของน้ำไหลบ่าหน้าดินชะลอลง ส่งผลต่อการรักษาหน้าดินให้คงอยู่ ดินชุ่มชื้นและคงความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ได้

2. การอธิบายลักษณะของเทคโนโลยี SLM

2.1 การอธิบายแบบสั้น ๆ ของเทคโนโลยี

คำจำกัดความของเทคโนโลยี:

ขั้นบันไดดินฐาน 3 เมตร เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูง

2.2 การอธิบายแบบละเอียดของเทคโนโลยี

คำอธิบาย:

ขั้นบันไดดินฐาน 3 เมตร แบบเอียงออก (forward-sloping terraces) เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูง ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง หมู่ที่ 5 ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2542 ในแปลงไม้ผลเขตหนาวเก่าของสถานีฯ โดยกรมพัฒนาที่ดินได้ทำการสำรวจ ออกแบบ และจัดทำแนวขั้นบันไดกว้างประมาณ 3 เมตร เพื่อปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่ให้มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชรวมเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ โดยทางสถานีเกษตรหลวงอ่างขางได้ทำการคัดเลือกเกษตรกรเผ่าปะหล่องจำนวน 50 ครัวเรือน ที่มีความสามารถและความถนัดในการปลูกชา ให้เข้าร่วมโครงการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการปลูกชาจีน (chinese tea) ในปี พ.ศ.2543 และตั้งชื่อแปลงปลูกชาจีนขั้นบันไดดินดังกล่าวว่า “แปลง 2000” ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อนที่มีความลาดชันสูงอยู่ในช่วง 16-30 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 1,400 เมตร สภาพพื้นที่มีการระบายน้ำได้ดี ดินเป็นดินลึกมาก (>1.2 เมตร) เนื้อดินร่วน ทรายแป้ง มีระดับอินทรียวัตถุในดินบนปานกลาง (1-3 เปอร์เซ็นต์) และจากข้อมูลของสถานีอุตุนิยมวิทยาดอยอ่างขาง (รหัสสถานี 48302) ซึ่งตั้งอยู่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 1,529 เมตร พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี 22.9 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32.1 องศาเซลเซียสในช่วงเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิต่ำสุด 3.9 องศาเซลเซียสในช่วงเดือนธันวาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 1,925.3 มิลลิเมตร โดยฝนจะเริ่มตกตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม
ในอดีตที่ผ่านมาพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารทางภาคเหนือของไทยได้ถูกรบกวนจากภัยธรรมชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศของโลกและภัยมนุษย์ โดยชาวเขาบนดอยได้บุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอยมาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ธาตุอาหารพืชสูญเสียไปกับตะกอนดินและน้ำไหลบ่าหน้าดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง จัดเป็นความเสื่อมโทรมของที่ดินประเภทการกัดกร่อนของดินโดยน้ำ W: Wt (loss of topsoil) ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศป่าต้นน้ำอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2512 สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง สถานีวิจัยแห่งแรกของมูลนิธิโครงการหลวง ได้ถูกก่อตั้งขึ้นจากพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่มุ่งดำเนินงานวิจัยปลูกพืชเศรษฐกิจเมืองหนาวเพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขาในการนำพืชเหล่านั้นมาเพาะปลูกเป็นอาชีพแทนการปลูกฝิ่น หยุดการตัดไม้และทำไร่เลื่อนลอย มีพืชมากกว่า 50 ชนิด สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้น และทำให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่สูงได้อย่างยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบัน
ขั้นบันไดดินนับเป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยโครงสร้างแบบคันดิน (S1) ประเภทขั้นบันไดดิน ฐาน 3 เมตร แบบเอียงออก (Forward-sloping terraces) ที่ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง เฉลี่ยไร่ละ 15,448.60 บาท ทำโดยใช้เครื่องจักรขุดและถมดินบริเวณไหล่เขาให้เป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันเป็นขั้นบันไดแบบต่อเนื่อง เพื่อลดความยาวและระดับของความลาดเท ช่วยลดความแรงและความเร็วของน้ำไหลบ่า ควบคุมการชะล้างพังทลายของดิน ช่วยรักษาหน้าดินไม่ให้ถูกชะล้างออกไปจากพื้นที่ คงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของดิน ช่วยเก็บกักน้ำไว้ในดิน และช่วยให้ไถพรวนดินได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งขั้นบันไดดินส่วนใหญ่มักใช้กับพื้นที่ที่มีความลาดชันเกินกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ และดินต้องเป็นดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร
วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยป้องกันรักษาพื้นที่ต้นน้ำให้คงความอุดมสมบูรณ์ ช่วยลด ป้องกัน ฟื้นฟู การเสื่อมโทรมของที่ดิน ช่วยอนุรักษ์ระบบนิเวศ ป้องกันพื้นที่ลุ่มน้ำ/บริเวณท้ายน้ำ ช่วยให้เกษตรกรชาวเขาเพาะปลูกบนพื้นที่สูงได้อย่างยั่งยืนตามมาตรการปลูกพืชขวางความลาดชัน (cross-slope measure) เพื่อปรับปรุงการผลิตให้ดีขึ้น จนสามารถผลิตชาจีนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงของภัยพิบัติ (สภาวะแห้งแล้ง น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม) ส่งตลาดได้ตลอดทั้งปี ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดความขัดแย้งเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรต่างๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่รอบๆ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งมีด้วยกัน 4 ชนเผ่า ได้แก่ ปะหล่อง มูเซอ จีนยูนนาน และไทยใหญ่
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้เทคโนโลยีที่สำคัญ คือ ทำให้ทรัพยากรที่ดิน ได้แก่ ดิน น้ำ พืช คงความอุดมสมบูรณ์ และทำให้เกษตรกรโดยรอบสถานีเกษตรหลวงอ่างขางมีรายได้ที่มั่นคงเนื่องจากสามารถปลูกพืชเมืองหนาวบนพื้นที่สูงได้ตลอดปี และช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานแปลง 2000 ของเกษตรกร ทำได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใส่ปุ๋ย การเก็บเกี่ยวใบชา การขนส่งกล้าชา ขนส่งวัสดุ อุปกรณ์หรือเครื่องมือเครื่องจักรที่จำเป็นต้องใช้ในการเพาะปลูกเข้าสู่แปลง หรือการขนผลิตผลไปยังโรงงานแปรรูปชาผ่านทางลำเลียงในพื้นที่
ผลกระทบในพื้นที่ดำเนินการจากการใช้เทคโนโลยีขั้นบันไดดินฐาน 3 เมตร
1. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจสังคมที่เด่นชัด คือ เกษตรกรชาวเขามีความมั่นคงทางรายได้จากการผลิตชาจีนแบบขั้นบันไดซึ่งให้ผลผลิตตลอดทั้งปี ขั้นบันไดดินช่วยเอื้อประโยชน์ให้เกษตรกรปฏิบัติงานแปลง เช่น การเตรียมดินปลูก การใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช ได้สะดวก ความเสี่ยงต่อความล้มเหลวในการผลิตชาจีนแทบไม่มี เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ของสถานีเกษตรหลวงอ่างขางคอยให้คำแนะนำส่งเสริมตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ การปลูก การจัดการดิน การดูแลรักษาแปลง การเก็บเกี่ยว การประกันราคารับซื้อในราคาประกัน นอกจากนี้ยังมีโรงงานแปรรูปชา ทำให้ผลิตชาจีนได้อย่างครบวงจรและยั่งยืน
2. ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา คือ ทำให้ปริมาณน้ำไหลบ่าหน้าดินและตะกอนดินลดลง ความชื้นในดินเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณแปลง 2000 สิ่งมีชีวิตต่างๆ พบเห็นได้มากขึ้น อาทิ ไส้เดือน ผึ้ง แมลงปอ แมงมุม แมลงเต่าทอง ฯลฯ
3. ผลกระทบด้านสังคมวัฒนธรรม คือ ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ได้รับโอกาสรับการจัดสรรที่ดินทำกินตามกลุ่มพืชที่ตนเองถนัดและต้องการผลิต ทำให้เคารพในการใช้ที่ดินตามโซนการปลูก (zoning) ตามที่ได้รับจัดสรรจากสถานีฯ และสิทธิในการใช้น้ำ ทำให้เกิดความเข้มแข็งของสถาบันชุมชน มีการรวมกลุ่มผลิตพืชต่างๆ กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เป็นสมาชิกกลุ่มสหกรณ์ ชุมชนเข้มแข็งขึ้น ความรู้เรื่องความเสื่อมโทรมของที่ดิน ตระหนักรู้ว่าการใช้ที่ดินบริเวณไหล่เขา เนินเขา ทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน สูญเสียปุ๋ยไปกับตะกอนดินและน้ำไหลบ่า จำเป็นต้องทำขั้นบันไดดินเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ
สำหรับผลกระทบนอกพื้นที่ดำเนินการนับว่าเป็นผลกระทบเชิงบวก เนื่องจากการทับถมของดินตะกอนบริเวณพื้นที่ท้ายน้ำลดน้อยลงหรือแทบจะไม่มี

2.3 รูปภาพของเทคโนโลยี

คำอธิบายภาพ:

ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำแบบขั้นบันไดดินฐาน 3 เมตร ในแปลงส่งเสริมการปลูกชาจีนบนพื้นที่สูง (แปลง 2000) ได้ถูกปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่แปลงไม้ผลเขตหนาวเก่าของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จากเดิมที่ไม่มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ให้มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำแบบขั้นบันไดดินต่อเนื่อง ให้เกษตรกรเผ่าปะหล่องปลูกชาจีนภายใต้ระบบเกษตรเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) เป็นเวลานานกว่า 19 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสมเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูงได้อย่างยั่งยืน

2.4 วีดีโอของเทคโนโลยี

วันที่:

14/10/2018

สถานที่:

Ban Thap Sub-District, Mae Chaem District, Chiang Mai Province, 50270

ชื่อผู้ถ่ายวีดีโอ:

สมจิตต์ เลิศดิษยวรรณ

2.5 ประเทศภูมิภาค หรือสถานที่ตั้งที่เทคโนโลยีได้นำไปใช้และได้รับการครอบคลุมโดยการประเมินนี้

ประเทศ:

ไทย

ภูมิภาค/รัฐ/จังหวัด:

เชียงใหม่

ข้อมูลจำเพาะเพิ่มเติมของสถานที่ตั้ง :

แปลงส่งเสริมการปลูกชาจีน (แปลง 2000) ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง

ระบุการกระจายตัวของเทคโนโลยี:
  • กระจายไปอย่างสม่ำเสมอในพื้นที่
If precise area is not known, indicate approximate area covered:
  • 0.1-1 ตร.กม.
แสดงความคิดเห็น:

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง มีพื้นที่สำหรับวิจัยและทดสอบพันธุ์พืชเมืองหนาวประมาณ 1,811 ไร่ สูงจากระดับทะเลปานกลาง 1,400 เมตร มีหมู่บ้านชาวเขารอบสถานีฯ เป็นเขตส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ รวม 9 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านขอบด้ง บ้านนอแล บ้านหลวง บ้านปางม้า บ้านป่าคา บ้านคุ้ม บ้านผาแดง บ้านถ้ำง๊อบ และบ้านสินชัย รวมประชากรประมาณ 3,215 คน เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าจีนยูนาน ไทใหญ่ มูเซอดำ และปะหล่อง สภาพภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 17.7 องศา อุณหภูมิสูงสุด 32 องศา ในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด -3 องศา ในเดือนมกราคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,075 มิลลิเมตรต่อปี สภาพพื้นที่ลาดชัน 20-35%

2.6 วันที่การดำเนินการ

ระบุปีที่ใช้:

1999

ถ้าไม่รู้ปีที่แน่นอน ให้ระบุวันที่โดยประมาณ:
  • 10-50 ปี

2.7 คำแนะนำของเทคโนโลยี

ให้ระบุว่าเทคโนโลยีถูกแนะนำเข้ามาอย่างไร:
  • ทางโครงการหรือจากภายนอก
ความคิดเห็น (ประเภทของโครงการ เป็นต้น) :

เป็นโครงการอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกรชาวเขาบริเวณรอบๆ สถานีเกษตรหลางอ่างขาง ให้สามารถทำการเกษตรบนพื้นที่ความลาดชันสูงที่มีการใช้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน
ช่วยฟื้นคืนสภาพป่า คืนความอุดมสมบูรณ์ดิน ลดการชะล้าง/ดินถล่ม เพิ่มที่ดินทำกิน

3. การจัดประเภทของเทคโนโลยี SLM

3.1 วัตถุประสงค์หลักของเทคโนโลยี

  • ปรับปรุงการผลิตให้ดีขึ้น
  • ลด ป้องกัน ฟื้นฟู การเสื่อมโทรมของที่ดิน
  • อนุรักษ์ระบบนิเวศน์
  • รักษาสภาพหรือปรับปรุงความหลากหลายทางชีวภาพ
  • สร้างผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์

3.2 ประเภทของการใช้ที่ดินในปัจจุบันที่ได้นำเทคโนโลยีไปใช้

พื้นที่ปลูกพืช

พื้นที่ปลูกพืช

  • การปลูกพืชยืนต้นที่ไม่มีเนื้อไม้
  • Tea
จำนวนของฤดูเพาะปลูกต่อปี:
  • 1
ระบุ:

พืชหลัก(พืชเศรษฐกิจและพืชอาหาร): แปลง 2000 ปลูกชาจีน (Chinese Tea) มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Camellia sinensis var. sinensis พื้นที่ 15.43 ตารางกิโลเมตร หรือ 96.4375 ไร่ นอกจากนี้ ยังมีแปลงขั้นบันไดดินที่ปลูกพืชสมุนไพร เจียวกู่หลาน มีชื่อท้องถิ่นว่า ปัญจขันธ์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Gynostemma pentaphyllum Makino จัดอยู่ในวงศ์แตง (Cucurbitacceae)

แสดงความคิดเห็น:

เกษตรกรเผ่าปะหล่อง จะปลูกชาจีนบนขั้นบันไดดิน ช่วงปลายฤดูฝนประมาณเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เนื่องจากหลังปลูกแล้วรากของชาจะกระทบกับอากาศที่ค่อนข้างเย็น จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีและไม่ประสบปัญหาเหมือนช่วงต้นฤดูฝน ต้นปักชำจะมีอายุประมาณ 10-12 เดือน ก่อนปลูก ใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 1.2 เมตร ระยะระหว่างต้น 60 เซนติเมตร มีจำนวนต้นประมาณ 2,200 ต้นต่อไร่ แต่บางช่วงของขั้นบันไดจะปลูกแบบแถวคู่สลับฟันปลา เว้นระยะห่างแถวคู่ประมาณ 40-45 เซนติเมตร ซึ่งในวันลงพื้นที่สำรวจพื้น เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2561 จะเห็นต้นชาที่เพิ่งปลูกแซมบนขั้นบันไดในแปลง 2000 ดังภาพล่างขวา(4)

3.3 Has land use changed due to the implementation of the Technology?

แสดงความคิดเห็น:

Ca : การปลูกพืชล้มลุก (Annual cropping) ในอดีตเกษตรกรชาวเขามีการปลูกข้าวไร่และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบหมุนเวียนในพื้นที่ป่า เพื่อเลี้ยงสมาชิกในครัวเรือน ก่อนที่ทางสถานีเกษตรหลวงเกษตรอ่างขางจะขอความร่วมมือไปยังกรมพัฒนาที่ดินให้ช่วยจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำแบบขั้นบันไดดินฐาน 3 เมตร เพื่อจัดสรรที่ดินทำกินให้เกษตรกรชาวเขาทำการเกษตรในพื้นที่ที่มีการใช้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ และใช้ที่ดินให้เกิดประสิทธิภาพและยั่งยืน

3.4 การใช้น้ำ

การใช้น้ำของที่ดินที่มีการใช้เทคโนโลยีอยู่:
  • น้ำฝนร่วมกับการชลประทาน
แสดงความคิดเห็น:

การใช้ที่ดินเพื่อปลูกชาจีนในแปลง 2000 จำนวน 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ก้านอ่อน และ พันธุ์เบอร์ 12 เป็นการปลูกแบบอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ร่วมกับระบบการให้น้ำแบบพ่นฝอย ที่มีระบบการกระจายน้ำจากบ่อ (แทงก์) ส่งตามท่อพีวีซีไปยังแปลงปลูก ซึ่งวิธีให้น้ำแบบนี้ต้องลงทุนสูงแต่ให้ผลคุ้มค่า

3.5 กลุ่ม SLM ที่ตรงกับเทคโนโลยีนี้

  • มาตรการปลูกพืชขวางความลาดชัน (cross-slope measure)
  • การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติบนพื้นฐานของระบบนิเวศ

3.6 มาตรการ SLM ที่ประกอบกันเป็นเทคโนโลยี

มาตรการอนุรักษ์ด้วยวิธีพืช

มาตรการอนุรักษ์ด้วยวิธีพืช

  • V2: หญ้าและไม้ยืนต้น
มาตรการอนุรักษ์ด้วยโครงสร้าง

มาตรการอนุรักษ์ด้วยโครงสร้าง

  • S1: คันดิน
แสดงความคิดเห็น:

เทคโนโลยีขั้นบันไดดินต่อเนื่องฐาน 3 เมตร ที่จัดทำขึ้นเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำบริเวณป่าต้นน้ำในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเป็นต้องอาศัยผู้มีความรู้/ความเชี่ยวชาญด้านการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่สูง ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง แต่จะช่วยรักษาขั้นบันไดให้คงสภาพสมบูรณ์มากที่สุด เพื่อปลูกชาได้อย่างยั่งยืนต่อไป..

3.7 รูปแบบหลักของการเสื่อมโทรมของที่ดินที่ได้รับการแก้ไขโดยเทคโนโลยี

การกัดกร่อนของดินโดยน้ำ

การกัดกร่อนของดินโดยน้ำ

  • Wt (Loss of topsoil): การสูญเสียดินชั้นบนหรือการกัดกร่อนที่ผิวดิน
แสดงความคิดเห็น:

ด้วยเหตุที่ทรัพยากรดินเสื่อมโทรมลงเนื่องด้วยพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ถูกรบกวนจากภัยธรรมชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศของโลกและภัยมนุษย์ โดยเกษตรกรชาวเขาได้บุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอยบริเวณไหล่เขามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธาตุอาหารพืชสูญเสียไปกับตะกอนดินและน้ำไหลบ่า ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ ป่าต้นน้ำลำธาร จึงจำเป็นต้องหาทางแนวทางป้องกันและลดความเสื่อมโทรมของที่ดิน เพื่อให้ใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างยั่งยืน

3.8 การป้องกัน การลดลง หรือการฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของที่ดิน

ระบุเป้าหมายของเทคโนโลยีกับความเสื่อมโทรมของที่ดิน:
  • ป้องกันความเสื่อมโทรมของที่ดิน
  • ลดความเสื่อมโทรมของดิน
แสดงความคิดเห็น:

ข้อสังเกต มาตรการอนุรักษ์ด้วยโครงสร้างขั้นบันไดดินฐาน 3 เมตร ในแปลง 2000 ที่จัดทำขึ้น สามารถช่วยป้องกันและลดความเสื่อมโทรมของที่ดินได้ ซึ่งจากสภาพพื้นที่เดิมเป็นแปลงไม้ผลเขตหนาวที่เสื่อมโทรม ให้ผลผลิตต่ำมาก มีการชะล้างพังทลายของดินสูง เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม จนกระทั่งปี พ.ศ.2542 ทางสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ได้ขอรับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาที่ดิน โดย ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง ศพล. ให้เข้ามาดำเนินการปรับเปลี่ยนพื้นที่ลาดชันภูเขาสูงที่ไม่มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นขั้นบันไดดินแบบต่อเนื่อง
โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและกรมชลประทานให้การสนับสนุนเรื่องไฟฟ้าและการชลประทาน

4. ข้อมูลจำเพาะด้านเทคนิค กิจกรรมการนำไปปฏิบัติใช้ ปัจจัยนำเข้า และค่าใช้จ่าย

4.1 แบบแปลนทางเทคนิคของเทคโนโลยี

ข้อมูลจำเพาะด้านเทคนิค (แบบแปลนทางเทคนิคของเทคโนโลยี):

1. การสำรวจคัดเลือกพื้นที่ดำเนินการ ในช่วงปี พ.ศ.2542-2543 ทางสถานีเกษตรหลวงอ่างขางประสานขอให้กรมพัฒนาที่ดินดำเนินการสำรวจคัดเลือกพื้นที่ภูเขาสูงที่มีความลาดชันประมาณ 20-35 เปอร์เซ็นต์ บริเวณแปลงปลูกไม้ผลเขตหนาวเก่าของสถานีฯ ที่ไม่มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ และมีสภาพเสื่อมโทรม ให้ผลผลิตต่ำ เสี่ยงต่อการเกิดการชะล้างพังทลายและดินถล่ม เพื่อออกแบบและจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ คือ ขั้นบันไดดินฐาน 3 เมตร สำหรับใช้เป็นแปลงส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการปลูกชาจีนเชิงอนุรักษ์บนพื้นที่ดังกล่าวให้แก่เกษตรกรเผ่าปะหล่องเพื่อสร้างรายได้และใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างยั่งยืน ผลสำรวจดินพบว่าดินบริเวณดังกล่าวอยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 29 ชุดดินแม่แตง เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายถึงดินร่วนเหนียวปนทราย สี น้ำตาลปนแดงเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างเป็นดินเหนียว สีแดงเข้มถึงสีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5)
2. การทำการปักหลักกำหนดแนวขุดตั้งแต่จุดสูงสุดของพื้นที่จนถึงจุดต่ําสุดเพื่อใช้เป็นแนวการขุดแรก จากนั้นปักหลักกําหนดแนวขุดในแนวขึ้น-ลง ตามความลาดชัน มีระยะห่างระหว่างไม้ที่ปักเท่ากับระยะห่างของขั้นบันไดดิน เท่ากับ 3 เมตร โดยจะปักไม้ที่จุดกึ่งกลางของบันไดดิน จากนั้นจึงปักหลักวางแนวขุดในแนวระดับ แนวแรกที่จุดสูงสุดของพื้นที่ กําหนดความกว้างของเส้นระดับประมาณ 3.0 เมตร และลาดเอียง 1-2 องศา เพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่
3. การดําเนินการขุด-ถม เคลื่อนย้ายดินและปรับแต่งพื้นที่ ทำการขุดดินจากล่างขึ้นบน โดยใช้เครื่องจักรขุดดินจากขอบแปลงด้านล่างขึ้นไปทําเป็นขั้นบันไดดินเหนือจุดที่ขุด พร้อมทั้งปรับระดับแปลงให้มีความสม่ำเสมอ จึงเคลื่อนย้ายดิน ปรับแต่ง และบดอัดแน่น ทําขั้นบันไดดินให้มีความกว้างประมาณ 3.0 เมตร เอียงเข้าหาตลิ่งประมาณ 1-2 องศา และให้มีความหนาของดินเพิ่มอีกประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อกันการยุบตัว โดยมีชั้นของอินทรียวัตถุอยู่ชั้นบนสุด กำหนดความสูงของขั้นบันไดดินแต่ละขั้นไม่เกิน 1.8 เมตร ดังนั้นจึงตัดดินลงไป 0.9 เมตร และเติมดิน 0.9 เมตร
4. การปลูกหญ้าแฝกรักษาขั้นบันได 2 แถว โดยปลูกบริเวณเหนือแนวขั้นบันไดดินด้านบน 1 แถว และปลูกบริเวณแนวดินถมอีก 1 แถว ใช้ระยะห่างระหว่างต้น 10 เซนติเมตร 5. การปลูกชาจีน แปลง 2000
5.1 การคัดเลือกเกษตรกรและจัดสรรที่ดิน หลังจากจัดทำขั้นบันไดดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในปี พ.ศ.2543 ทางสถานีเกษตรหลวงอ่างขางได้คัดเลือกและจัดสรรที่ดินปลูกชาให้แก่เกษตรกรเผ่าปะหล่อง 50 ครัวเรือน ทำแปลงส่งเสริมการปลูกชาจีน 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ก้านอ่อน และพันธุ์เบอร์ 12
5.2 ฤดูปลูกที่เหมาะสม เกษตรกรเผ่าปะหล่อง จะปลูกชาจีนบนขั้นบันไดดิน ช่วงปลายฤดูฝนประมาณเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เนื่องจากหลังปลูกแล้วรากของชาจะกระทบกับอากาศที่ค่อนข้างเย็น จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีและไม่ประสบปัญหาเหมือนช่วงต้นฤดูฝน
5.3 ระยะปลูก ต้นปักชำจะมีอายุประมาณ 10-12 เดือน ก่อนปลูก ใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 1.2 เมตร ระยะระหว่างต้น 60 เซนติเมตร มีจำนวนต้นประมาณ 2,200 ต้นต่อไร่ แต่บางช่วงของขั้นบันไดจะปลูกแบบแถวคู่สลับฟันปลา เว้นระยะห่างแถวคู่ประมาณ 40-45 เซนติเมตร
6. การดูแลรักษาแปลง 2000
6.1 การใส่ปุ๋ย เน้นการใช้ปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ที่ผลิตเองในกลุ่ม โดยการขุดร่องยาวบริเวณปลายทรงพุ่มต้นชา ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ทั้งสองด้าน ใส่อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น ใน 1 ปี จะใส่ประมาณ 3 ครั้ง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มิถุนายน ตุลาคม และยังใช้ปุ๋ยน้ำอินทรีย์เสริมให้กับต้นชาเพื่อยืดยอดชาให้เขียวเข้ม อวบ ได้น้ำหนักดี
6.2 การให้น้ำ เป็นการปลูกแบบอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ร่วมกับระบบการให้น้ำแบบพ่นฝอย ที่มีระบบการกระจายน้ำจากบ่อ (แทงก์) ส่งตามท่อพีวีซีไปยังแปลงปลูก
6.3 การเก็บเกี่ยว ชาอินทรีย์จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนเมษายน-ธันวาคม และจะพักตัวในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ปัจจุบันพันธุ์เบอร์ 12 ผลผลิตเฉลี่ย 800 กิโลกรัมต่อไร่ 1 ปี เก็บได้ 5-6 ครั้ง ส่วนพันธุ์ก้านอ่อน ผลผลิตเฉลี่ย 600 กิโลกรัมต่อไร่ 1 ปี เก็บได้ 4-5 ครั้ง ทำให้มีรายได้เฉลี่ยปีละ 100,000-300,000 บาท ต่อราย โดยมีผลผลิตรวมของเกษตรกรประมาณ 60,000 กิโลกรัมต่อปี
7. การบำรุงรักษาเทคโนโลยีขั้นบันไดดินฐาน 3 เมตร แปลงชา 2000 เกษตรกรจะดำเนินการซ่อมแซมขั้นบันไดเองในกรณีที่เกิดการชำรุด/ถูกกัดเซาะจากแรงน้ำฝนและแรงน้ำไหลบ่า โดยจะซ่อมแซมในช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือนเมษายน ยกเว้นเกิดร่องรอยชำรุดมาก ทางกรมพัฒนาที่ดินจะสนับสนุนการซ่อมบำรุงดังกล่าว อัตราไร่ละ 500 บาท

ผู้เขียน:

นางสาวถนอมขวัญ ทิพวงศ์

4.2 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการคำนวณปัจจัยนำเข้าและค่าใช้จ่าย

ให้ระบุว่าค่าใช้จ่ายและปัจจัยนำเข้าได้รับการคำนวณอย่างไร:
  • ต่อพื้นที่ที่ใช้เทคโนโลยี
ระบุขนาดและหน่วยพื้นที่:

พื้นที่จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำแบบขั้นบันไดดินต่อเนื่องฐาน 3 เมตร เนื้อที่ 15.43 ตารางกิโลเมตร หรือ 96.4375 ไร่ หรือ 15.43 เฮกตาร์

If using a local area unit, indicate conversion factor to one hectare (e.g. 1 ha = 2.47 acres): 1 ha =:

15.43

อื่นๆ หรือสกุลเงินประจำชาติ (ระบุ):

บาท

If relevant, indicate exchange rate from USD to local currency (e.g. 1 USD = 79.9 Brazilian Real): 1 USD =:

15448.6

ระบุค่าเฉลี่ยของค่าจ้างในการจ้างแรงงานต่อวัน:

175.82

4.3 กิจกรรมเพื่อการจัดตั้ง

กิจกรรม Timing (season)
1. 1. การสำรวจคัดเลือกพื้นที่และออกแบบขั้นบันไดดิน Sปีแรก (2541)
2. 2. การทำหลักกำหนดแนวการขุด Sปีแรก (2541)
3. 3. ดําเนินการขุด เคลื่อนย้ายดิน และปรับแต่งพื้นที่ Sก่อนฤดูฝน(2542)
4. 4. การปลูกหญ้าแฝกรักษาขั้นบันได Vช่วงต้นฤดูฝน(2542)
5. 5. การปลูกชาจีน (เตรียมที่ดิน การปลูก) Mฤดูฝน(ส.ค.-ต.ค.43)
6. 6. การใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง เดือนกุมภาพันธ์ มิถุนายน ตุลาคม Mก.พ., มิ.ย., ต.ค.
7. 7. การให้น้ำ Mตลอดช่วงปลูก
8. 8. การใส่ปุ๋ย Mตลอดช่วงปลูก
9. 9. การเก็บเกี่ยว Aช่วงเก็บเกี่ยว
10. 10. การบำรุงรักษาเทคโนโลยีขั้นบันไดดินฐาน 3 เมตร ?ช่วงฤดูแล้ง(เม.ย.)
แสดงความคิดเห็น:

-

4.4 ค่าใช้จ่ายของปัจจัยนำเข้าที่จำเป็นสำหรับการจัดตั้ง

ปัจจัยนำเข้า หน่วย ปริมาณ ค่าใช้จ่ายต่อหน่วย ค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อปัจจัยนำเข้า %ของค่าใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดขึ้นโดยผู้ใช้ที่ดิน
แรงงาน สำรวจพื้นที่ 1 วัน แรง 0.5 175.82 87.91
แรงงาน ปักแนวไม้หลักกำหนดแนวขุด ขึ้น-ลง และแนวระดับ 1 วัน แรง 4.0 175.82 703.28
แรงงาน ปลูกหญ้าแฝก ระยะห่าง 10 ซม. (1 แถว 40 ม. = 400 กล้าx8 แถว) กล้า 3200.0 1.65 5280.0
แรงงาน แรงงานขุดดินปริมาตร 2.4 ม3/ม ลบ.ม. 88.0 100.88 8877.44
อุปกรณ์ เครื่องจักรกลขุดปริมาตร 2.4 ม.3/ม ลบ.ม.
อุปกรณ์ ไม้หลัก อัน 100.0 5.0 500.0
วัสดุด้านพืช กล้าหญ้าแฝก (พด. สนับสนุน) กล้า 3200.0
ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการจัดตั้งเทคโนโลยี 15448.63
Total costs for establishment of the Technology in USD 1.0
ถ้าผู้ใช้ที่ดินรับภาระน้อยกว่า 100% ของค่าใช้จ่าย ให้ระบุว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบส่วนที่เหลือ:

กรมพัฒนาที่ดิน โดย ศพล. รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดทำขั้นบันไดดินทั้งหมด

แสดงความคิดเห็น:

-

4.5 การบำรุงรักษาสภาพหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำ

กิจกรรม ช่วงระยะเวลา/ความถี่
1. ซ่อมแซมขั้นบันไดดิน Sซ่อมฤดูแล้ง 3-5 ปี ครั้ง
แสดงความคิดเห็น:

กรณีที่ขั้นบันไดดินชำรุดไม่มาก ขนาดร่องริ้วกว้าง 5--20 เซนติเมตร และลึกไม่มาก ส่วนใหญ่เกษตรกรเจ้าของแปลงจะดำเนินการซ่อมปรับแต่งขั้นบันไดเองในช่วงฤดูแล้ง

4.6 ค่าใช้จ่ายของปัจจัยนำเข้าและกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำที่ต้องการการบำรุงรักษา (ต่อปี)

ปัจจัยนำเข้า หน่วย ปริมาณ ค่าใช้จ่ายต่อหน่วย ค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อปัจจัยนำเข้า %ของค่าใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดขึ้นโดยผู้ใช้ที่ดิน
แรงงาน แรงงานปรับแต่งขั้นบันไดดิน แรง 1.0 500.0 500.0 100.0
ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการบำรุงรักษาสภาพเทคโนโลยี 500.0
Total costs for maintenance of the Technology in USD 0.03
ถ้าผู้ใช้ที่ดินรับภาระน้อยกว่า 100% ของค่าใช้จ่าย ให้ระบุว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบส่วนที่เหลือ:

ค่าใช้จ่ายดำเนินงานบำรุงรักษาขั้นบันไดดินทั้งหมด รับผิดชอบโดย ศพล.พด.

แสดงความคิดเห็น:

-

4.7 ปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่าย

ปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายต่างๆ:

construction of continuous bench terrace and maintenance cost, which it is all invested by government sector, Land Development Department.

5. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและของมนุษย์

5.1 ภูมิอากาศ

ฝนประจำปี
  • < 250 ม.ม.
  • 251-500 ม.ม.
  • 501-750 ม.ม.
  • 751-1,000 ม.ม.
  • 1,001-1,500 ม.ม.
  • 1,501-2,000 ม.ม.
  • 2,001-3,000 ม.ม.
  • 3,001-4,000 ม.ม.
  • > 4,000 ม.ม.
ระบุปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี (ถ้ารู้) :หน่วย ม.ม.

1925.30

ข้อมูลจำเพาะ/ความคิดเห็นเรื่องปริมาณน้ำฝน:

•จำนวนวันฝนตก 160.9 วันต่อปี •วันที่มีปริมาณฝนตกหนักสูงสุด (Daily max.) เฉลี่ย149.4 มม/วัน ในเดือนตุลาคม •เกิดพายุ (Thunderstorm) เฉลี่ย 57.5 วันต่อปี มากสุดในเดือน พ.ค. เกิดขึ้น 10.5 วัน

ระบุชื่อของสถานีตรวดวัดอากาศที่ใช้อ้างอิงคือ:

DOI ANG KANG (Index station คือ 48302) Latitude 19° 55' 53.0" N Longitude 99° 2' 54.0" E สถานีอยู่สูงจาก MSL 1529 เมตร ปีเก็บข้อมูล ค.ศ.2006-2015 (10 ปี ย้อนหลัง)

เขตภูมิอากาศเกษตร
  • กึ่งชุ่มชื้น

จากข้อมูลสถานีอุตุ 48302 พบว่า ระยะเวลาช่วงที่หยาดน้ำฟ้าสูงมากกว่าครึ่งหนึ่งของศักยภาพการคายระเหยน้ำ(PET) อยู่ระหว่าง พ.ค.-ต.ค. หรือประมาณ 6 เดือน = 180 วัน จึงจัดเป็นเขตกึ่งชุ่มชื้น

5.2 สภาพภูมิประเทศ

ค่าเฉลี่ยความลาดชัน:
  • ราบเรียบ (0-2%)
  • ลาดที่ไม่ชัน (3-5%)
  • ปานกลาง (6-10%)
  • เป็นลูกคลื่น (11-15%)
  • เป็นเนิน (16-30%)
  • ชัน (31-60%)
  • ชันมาก (>60%)
ธรณีสัณฐาน:
  • ที่ราบสูง/ที่ราบ
  • สันเขา
  • ไหล่เขา
  • ไหล่เนินเขา
  • ตีนเนิน
  • หุบเขา
ระดับความสูง:
  • 0-100 เมตร
  • 101-500 เมตร
  • 501-1,000 เมตร
  • 1,001-1,500 เมตร
  • 1,501-2,000 เมตร
  • 2,001-2,500 เมตร
  • 2,501-3,000 เมตร
  • 3,001-4,000 เมตร
  • > 4,000 เมตร
ให้ระบุถ้าเทคโนโลยีได้ถูกนำไปใช้:
  • ไม่เกี่ยวข้อง
ความคิดเห็นและข้อมูลจำเพาะเพิ่มเติมเรื่องสภาพภูมิประเทศ:

ใช้เทคโนโลยีบริเวณ •เนินเขา slope 20-35% •ลาดชันเชิงซ้อน/ลาดชันสูง slope >35%
การจำแนกระดับความลาดชัน by LDD •เนินเขา slope 20-35% •ลาดชันเชิงซ้อน/ลาดชันสูง slope >35%

5.3 ดิน

ค่าเฉลี่ยความลึกของดิน:
  • ตื้นมาก (0-20 ซ.ม.)
  • ตื้น (21-50 ซ.ม.)
  • ลึกปานกลาง (51-80 ซ.ม.)
  • ลึก (81-120 ซ.ม.)
  • ลึกมาก (>120 ซ.ม.)
เนื้อดิน (ดินชั้นบน):
  • ปานกลาง (ดินร่วน ทรายแป้ง)
เนื้อดินล่าง (> 20 ซ.ม.ต่ำจากผิวดิน):
  • ละเอียด/หนัก (ดินเหนียว)
อินทรียวัตถุในดิน:
  • ปานกลาง (1-3%)
(ถ้ามี) ให้แนบคำอธิบายเรื่องดินแบบเต็มหรือระบุข้อมูลที่มีอยู่ เช่น ชนิดของดิน ค่า pH ของดินหรือความเป็นกรดของดิน ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ไนโตรเจน ความเค็ม เป็นต้น:

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง มีขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบ 16,577 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ส่งเสริมหลัก 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านนอแล บ้านขอบด้ง บ้านปางม้า บ้านคุ้ม และ บ้านหลวง ประชากร จำนวน 3,929 คน 703 ครอบครัว ประกอบด้วย เผ่าปะหล่อง, มูเซอดำ, ไทใหญ่ และจีนยูนาน ศาสนา พุทธ, คริสต์เป็นส่วนใหญ่ และนับถือผีบางส่วน ภูมิทัศน์โดยรวมมีสภาพเป็นเทือกเขาสูง สลับซับซ้อน ล้อมรอบ ที่ตั้ง มีลักษณะเป็นรูปแอ่งกระทะ มีพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการส่งเสริมชุมชนชาวเขาปลูกพืชเมืองหนาว และเป็นพื้นที่ทหารและความมั่นคงชายแดน สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าสนและป่าดิบ ดินอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,400 เมตร แม่น้ำที่สำคัญมีทั้งหมด 4 สาย คือ ห้วยแห้ง ห้วยซ่าน ห้วยอ่างขาง และห้วยแม่เผอะ
ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินชุดบ้านหลวง (Ban Luang Series) ดินร่วนเหนียว ดินชุดอ่างขาง (Angkhang Series) เป็นดินที่เกิดจากหินปูน หินเชลล์ ดินดาน สภาพของดินโดยรวมมีโครงสร้างดินดี พื้นที่มีความลาดชันสูงสภาพค่อนข้างเป็นกรด (pH 4.5-6.0)

5.4 ความเป็นประโยชน์และคุณภาพของน้ำ

ระดับน้ำใต้ดิน:

> 50 เมตร

น้ำไหลบ่าที่ผิวดิน:

ดี

คุณภาพน้ำ (ที่ยังไม่ได้บำบัด):

เป็นน้ำใช้เพื่อการเกษตรเท่านั้น (การชลประทาน)

ความเค็มของน้ำเป็นปัญหาหรือไม่:

ไม่ใช่

กำลังเกิดน้ำท่วมในพื้นที่หรือไม่:

ไม่ใช่

ความคิดเห็นและข้อมูลจำเพาะเพิ่มเติมเรื่องคุณภาพและปริมาณน้ำ:

แต่เดิมที่ไม่มีการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เมื่อฝนตกหนักโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะทำให้เกิดน้ำกัดเซาะและไหลบ่ารุนแรง พัดพาเอาดินบนหายไปจากพื้นที่ปลูก ทำให้อินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืชสูญเสียไป บริเวณที่เกิดเป็นร่องริ้ว ร่องลึก ทำให้ยากต่อการไถพรวน และปฏิบัติงานแปลง และส่งผลให้พื้นที่ท้ายน้ำเกิดการสะสมตะกอนดินจนร่องน้ำ แหล่งน้ำตามธรรมชาติตื้นเขิน

5.5 ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์:
  • สูง
ความหลากหลายของแหล่งที่อยู่:
  • ปานกลาง
ความคิดเห็นและข้อมูลจำเพาะเพิ่มเติมของความหลากหลายทางชีวภาพ:

บริเวณแปลง 2000สามารถพบเห็นแมลงตัวห้ำและแมลงตัวเบียน อาทิ แมลงปอ ด้วงเต่าลาย มวน ผึ้ง มด ฯลฯ ไส้เดือนดิน เป็นต้น

5.6 ลักษณะของผู้ใช้ที่ดินที่นำเทคโนโลยีไปปฏิบัติใช้

อยู่กับที่หรือเร่ร่อน:
  • อยู่กับที่
แนวทางการตลาดของระบบการผลิต:
  • mixed (subsistence/ commercial)
รายได้ที่มาจากนอกฟาร์ม:
  • < 10% ของรายได้ทั้งหมด
ระดับของความมั่งคั่งโดยเปรียบเทียบ:
  • พอมีพอกิน
เป็นรายบุคคล/ครัวเรือน:
  • กลุ่ม/ชุมชน
ระดับของการใช้เครื่องจักรกล:
  • งานที่ใช้แรงกาย
เพศ:
  • หญิง
  • ชาย
อายุของผู้ใช้ที่ดิน:
  • ผู้เยาว์
  • วัยกลางคน
  • ผู้สูงอายุ
ระบุลักษณะอื่นๆที่เกี่ยวข้องของผู้ใช้ที่ดิน:

ที่ดิน เกษตรกรเจ้าของแปลงและสมาชิกในครอบครัวจะช่วยกันปฏิบัติงานแปลง เช่น เก็บเกี่ยวใบชา กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย ปลูกซ่อมต้นชา ฯลฯ โดยจะไม่นิยมจ้างแรงงาน

5.7 Average area of land used by land users applying the Technology

  • < 0.5 เฮกตาร์
  • 0.5-1 เฮกตาร์
  • 1-2 เฮกตาร์
  • 2-5 เฮกตาร์
  • 5-15 เฮกตาร์
  • 15-50 เฮกตาร์
  • 50-100 เฮกตาร์
  • 100-500 เฮกตาร์
  • 500-1,000 เฮกตาร์
  • 1,000-10,000 เฮกตาร์
  • >10,000 เฮกตาร์
พิจารณาว่าเป็นขนาดเล็ก กลาง หรือขนาดใหญ่ (ซึ่งอ้างอิงถึงบริบทระดับท้องถิ่น):
  • ขนาดเล็ก
แสดงความคิดเห็น:

นายจาย หัวหน้าแปลง 2000 มีพื้นที่ปลูกชา จำนวน 4 ไร่ นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ปลูกพืช สมุนไพรเจียวกู่หลาน จำนวน 1 ไร่ และพื้นที่เช่า 1 ไร่

5.8 กรรมสิทธิ์ในที่ดิน สิทธิในการใช้ที่ดินและสิทธิในการใช้น้ำ

กรรมสิทธิ์ในที่ดิน:
  • รายบุคคล ไม่ได้รับสิทธิครอบครอง
สิทธิในการใช้ที่ดิน:
  • เกี่ยวกับชุมชน (ถูกจัดระเบียบ)
สิทธิในการใช้น้ำ:
  • เกี่ยวกับชุมชน (ถูกจัดระเบียบ)
ระบุ:

-

แสดงความคิดเห็น:

นายจาย และผู้ใช้ที่ดินรายอื่น ล้วนไร้ซึ่งกรรมสิทธิ์ในการครอบครองที่ดิน เป็นเพียงสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตร โดยผ่านการจัดสรรที่ดินทำกินของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เพื่อแบ่งเป็นโซนปลูกไม้ผล โซนปลูกพืชผัก โซนปลูกไม้ดอก/ไม้ประดับ เป็นต้น

5.9 การเข้าถึงบริการและโครงสร้างพื้นฐาน

สุขภาพ:
  • จน
  • ปานกลาง
  • ดี
การศึกษา:
  • จน
  • ปานกลาง
  • ดี
ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค:
  • จน
  • ปานกลาง
  • ดี
การจ้างงาน (เช่น ภายนอกฟาร์ม):
  • จน
  • ปานกลาง
  • ดี
ตลาด:
  • จน
  • ปานกลาง
  • ดี
พลังงาน:
  • จน
  • ปานกลาง
  • ดี
ถนนและการขนส่ง:
  • จน
  • ปานกลาง
  • ดี
น้ำดื่มและการสุขาภิบาล:
  • จน
  • ปานกลาง
  • ดี
บริการด้านการเงิน:
  • จน
  • ปานกลาง
  • ดี
แสดงความคิดเห็น:

มีกลุ่มสหกรณ์ฯ ช่วยสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย
ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช ฯลฯ

6. ผลกระทบและสรุปคำบอกกล่าว

6.1 ผลกระทบในพื้นที่ดำเนินการ (On-site) จากการใช้เทคโนโลยี

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

การผลิต

การผลิตพืชผล

ลดลง
เพิ่มขึ้น
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

• ก่อน SLM ปลูกข้าวโพด ข้าวไร่ หมุนเวียน /ไร่เลื่อนลอย เพื่อยังชีพ
• หลัง SLM ปลูกชาอินทรีย์โครงการ แปลง 2000 ทำให้มีรายได้ตลอดปี มีเจ้าหน้าที่สถานีฯ ให้คำแนะนำส่งเสริม พันธุ์ การปลูก การผลิต เก็บเกี่ยว รับซื้อราคาประกัน มีโรงงานแปรรูปชา มีตลาด ทำให้ผลิตชาได้อย่างยั่งยืน (ครบวงจร)

การเสี่ยงต่อความล้มเหลวในการผลิต

เพิ่มขึ้น
ลดลง
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

• ก่อน SLM ทำเกษตรไร่เลื่อนลอย=เสี่ยง
• หลัง SLM ปลูกชา พืชสมุนไพร ได้ตลอดทั้งปี =เสี่ยงลดลงอย่างมาก

พื้นที่สำหรับการผลิต

ลดลง
เพิ่มขึ้น
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

• ละเลยได้

การจัดการที่ดิน

ขัดขวาง
ทำให้ง่ายขึ้น
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

• ก่อน SLM ปลูกข้าวโพด ข้าวไร่ ไม้ผล บนพื้นที่ลาดชัน เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติ และเกิดการชะล้างพังทลายของดิน เกิดร่องริ้ว ปุ๋ยไหลไปกับน้ำไหลบ่า
• หลัง SLM ได้รับจัดสรรที่ดินเพื่อปลูกชาอินทรีย์โครงการ แปลง 2000 ทำให้ส่งเสริมการปลูกชา การปฏิบัติงานแปลงง่ายขึ้น

ความเป็นประโยชน์และคุณภาพของน้ำ

ความต้องการน้ำจากการชลประทาน

เพิ่มขึ้น
ลดลง
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

เนืองจากจำเป็นต้องใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง

รายได้และค่าใช้จ่าย

ค่าใช่จ่ายของปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

เพิ่มขึ้น
ลดลง
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

เนื่องจากต้องมีการดูแลรักษาระบบและต้นชาเพิ่มมากขึ้น

รายได้จากฟาร์ม

ลดลง
เพิ่มขึ้น
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

ก่อน SLM มีพอยังชีพ
• หลัง SLM มีรายได้เพิ่มมากขึ้น

ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ

เพิ่มขึ้น
ลดลง
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

เกษตรกรได้รับโอกาศที่เท่าเทียมกัน

ภาระงาน

เพิ่มขึ้น
ลดลง
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

ภาระงานเพิ่มากขึ้น เนื่องจากต้องดูแลต้นชาอย่างใกล้ชิด และมีการเก็บเกี่ยวเกือบทุกวัน และต่อเนื่อง

ผลกระทบด้านสังคมวัฒนธรรมอื่น ๆ

การใช้ที่ดิน / สิทธิในการใช้น้ำ

แย่ลง
ปรับปรุงดีขึ้น
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

มีการใช้ที่ดินตามกลุ่มพืช (zoning) ที่ได้รับจัดสรรจากสถานีฯ และมีสิทธิใช้น้ำ

สถาบันของชุมชน

อ่อนแอลง
เสริมให้แข็งแรง
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

มีการรวมกลุ่มผลิตพืชต่างๆ กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เป็นสมาชิกกลุ่มสหกรณ์ ชุมชนเข้มแข็งขึ้น

SLM หรือความรู้เรื่องความเสื่อมโทรมของที่ดิน

ลดลง
ปรับปรุงดีขึ้น
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

ตระหนักรู้ว่าการใช้ที่ดินบริเวณไหล่เขา เนินเขา ทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน สูญเสียปุ๋ยไปกับตะกอนดินและน้ำไหลบ่า จำเป็นต้องทำขั้นบันไดดินเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ

สถานการณ์ของกลุ่มด้อยโอกาส ทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ

แย่ลง
ปรับปรุงดีขึ้น
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ได้รับโอกาสรับการจัดสรรที่ดินทำกินตามกลุ่มพืชที่ตนเองถนัดและต้องการผลิต

ผลกระทบด้านนิเวศวิทยา

วัฐจักรน้ำหรือน้ำบ่า

น้ำไหลบ่าที่ผิวดิน

เพิ่มขึ้น
ลดลง
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

ระบบช่วยให้มีการกักเก็บน้ำไว้ในดิน น้ำไหลบ่าลดลง

ดิน

ความชื้นในดิน

ลดลง
เพิ่มขึ้น
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

ระบบนี้ช่วยเก็บกักน้ำไว้ในดินมากขึ้น ความชื้นในดินคงอยู่นานมากขึ้น

สิ่งปกคลุมดิน

ลดลง
ปรับปรุงดีขึ้น
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

ระบบช่วยให้มีพืชคลุมดินมากขึ้น

การสูญเสียดิน

เพิ่มขึ้น
ลดลง
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

ระบบทำให้สูญเสียดินลดลงอย่างมาก

การสะสมของดิน

ลดลง
เพิ่มขึ้น
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

แต่เดิมหน้าดินจะถูกชะล้างและไปสะสมที่ตอนล่าง แต่ระบบนี้ช่วยลดการสูญเสียดินในพื้นที่ลาดชัน

ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์

การปกคลุมด้วยพืช

ลดลง
เพิ่มขึ้น
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

ระบบทำให้มีพืชปกคลุมดินมากขึ้นและตลอดทั้งปี

ชนิดพันธุ์ที่ให้ประโยชน์

ลดลง
เพิ่มขึ้น
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

ระบบช่วยให้พบสัตว์/แมลงมากขึ้น เช่น ไส้เดือน ผึ้ง แมลงปอ แมงมุม แมลงเต่าทอง ฯลฯ

การจัดการศัตรูพืชและโรคพืช

ลดลง
เพิ่มขึ้น
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

เกษตรกรจะได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ และใช้ในลักษระของเกษตรอินทรีย์

ลดความเสี่ยงของภัยพิบัติ

ดินถล่ม/ ซากต่าง ๆ ที่ถูกพัดพามา

เพิ่มขึ้น
ลดลง
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

ระบบช่วยลดความแรงของน้ำไหลบ่า ลดการเกิดร่องลึก การพังทลายของดิน

Specify assessment of on-site impacts (measurements):

almost land users have been continuously advised in tea plantation and organic farming by local officers of the Station.

6.2 ผลกระทบนอกพื้นที่ดำเนินการ (Off-site) จากการใช้เทคโนโลยี

น้ำท่วมพื้นที่ท้ายน้ำ

เพิ่มขึ้น
ลดลง
จำนวนก่อน SLM:

เพิ่ม

หลังจาก SLM:

ลด

แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

ขั้นบันได+พืชปลูก ช่วยลดความแรงของน้ำไหลบ่า ทำให้น้ำท่วมพื้นที่ท้ายน้ำลดลง และ ลดการพังทลายของดิน ทำให้ดินตะกอนท้ายน้ำลดลง

การทับถมของดินตะกอนพื้นที่ท้ายน้ำ

เพิ่มขึ้น
ลดลง
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:

ระบบช่วยลดปริมาณของตะกอนดินในน้ำไหลบ่า

Specify assessment of off-site impacts (measurements):

-

6.3 การเผชิญและความตอบสนองของเทคโนโลยีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ค่อยเป็นค่อยไป และสภาพรุนแรงของภูมิอากาศ / ภัยพิบัติ (ที่รับรู้ได้โดยผู้ใช้ที่ดิน)

สภาพรุนแรงของภูมิอากาศ (ภัยพิบัติ)

ภัยพิบัติทางอุตุนิยมวิทยา
เทคโนโลยีมีวิธีการรับมืออย่างไร
พายุฝนประจำท้องถิ่น ดีมาก
ภัยพิบัติจากน้ำ
เทคโนโลยีมีวิธีการรับมืออย่างไร
ดินถล่ม ดี
แสดงความคิดเห็น:

-

6.4 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ที่ได้รับ

ผลประโยชน์ที่ได้รับเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งเป็นอย่างไร (จากมุมมองของผู้ใช้ที่ดิน)
ผลตอบแทนระยะสั้น:

ด้านบวก

ผลตอบแทนระยะยาว:

ด้านบวกอย่างมาก

ผลประโยชน์ที่ได้รับเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาหรือต้นทุนที่เกิดขึ้นซ้ำอีก เป็นอย่างไร (จากมุมมองของผู้ใช้ที่ดิน)
ผลตอบแทนระยะสั้น:

ด้านบวก

ผลตอบแทนระยะยาว:

ด้านบวกอย่างมาก

แสดงความคิดเห็น:

ผู้ใช้ที่ดินไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในการจัดสร้างขั้นบันไดดินฐาน 3 เมตร เนื่องจากรัฐ โดย ศพล.พด.เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดทำทั้งหมด ยกเว้นการซ่อมบำรุงขั้นบันไดที่เกษตรกรเจ้าของที่ดินจัดสรรดำเนินการปรังแต่งเอง (เป็นค่าแรงงานตนเอง)

6.5 การปรับตัวของเทคโนโลยี

  • 11-50%
ถ้ามีข้อมูลให้บอกปริมาณด้วย (จำนวนของครัวเรือนหรือครอบคลุมพื้นที่):

เฉพาะปลูกชาอินทรีย์ แปลง 2000 มีเกษตรกรจำนวน 39 ราย ที่ทำการเกษตรชาขั้นบันได และยังมีพื้นที่แปลงปลูกพืชสมุนไพร ไม้ผล พืชผัก อื่นๆ ที่ทำขั้นบันไดดินฐาน 3 เมตร ไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

Of all those who have adopted the Technology, how many did so spontaneously, i.e. without receiving any material incentives/ payments?
  • 0-10%
แสดงความคิดเห็น:

หากเกษตรกรไม่มีแรงจูงใจดังกล่าว จะไม่ทำขั้นบันไดดินอย่างแน่นอน (0%) เนื่องจากเป็นโครงสร้างอนุรักษ์ดินและน้ำที่มีต้นทุนสูงมาก ต้องใช้เครื่องจักรกล และต้องอาศัยนักวิชาการและนายช่างผู้มีความรู้และชำนาญงานดำเนินการจึงจะทำสำเร็จ

6.6 การปรับตัว

เทคโนโลยีได้รับการปรับเปลี่ยนเมื่อเร็วๆนี้ เพื่อให้ปรับตัวเข้ากับสภาพที่กำลังเปลี่ยนแปลงหรือไม่:

ไม่ใช่

6.7 จุดแข็ง / ข้อได้เปรียบ / โอกาสของเทคโนโลยี

จุดแข็ง / ข้อได้เปรียบ / โอกาสในทัศนคติของผู้ใช้ที่ดิน
ขั้นบันไดดินช่วยชะลอความแรงและลดความเร็วของน้ำไหลบ่าหน้าดิน และลดปริมาณดินตะกอน
ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ย เนื่องจากไม่สูญเสียธาตุอาหารพืชในรูปของปุ๋ยไปกับน้ำไหลบ่าและตะกอนดิน
ช่วยให้เกษตกรปฏิบัติหรือจัดการพื้นที่เกษตรได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น
จุดแข็ง / ข้อได้เปรียบ / โอกาสในทัศนคติของผู้รวบรวมหรือวิทยากรหลัก
ขั้นบันไดดินช่วยชะลอความแรงและลดความเร็วของน้ำไหลบ่าหน้าดิน และลดปริมาณการสูญเสียดิน
ขั้นบันไดสามารถช่วยดักกรองน้ำฝน ทำให้น้ำฝนค่อยๆ แทรกซึมลงไปในดินได้มากขึ้น สร้างความชื้นในดิน น้ำฝนส่วนที่เกินก็จะค่อยๆ ไหลบ่าลงไปเป็นชั้นๆ ตามขั้นบันไดดิน
เทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ช่วยให้เกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ย (ทั้งปริมาณปุ๋ยที่ใช้ และเวลาใส่ปุ๋ย) เนื่องจากปริมาณธาตุอาหารพืชในปุ๋ยที่สูญเสียไปกับน้ำไหลบ่าและตะกอนดินน้อยลง
ช่วยให้เกษตรกรสามารถปฏิบัติงานได้สะดวกมากขึ้น ไม่เสี่ยงต่อการลื่นไถลจากที่สูงลงไป.

6.8 จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบ / ความเสี่ยงของเทคโนโลยีและวิธีการแก้ไข

จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบ / ความเสี่ยงในทัศนคติของผู้ใช้ที่ดิน มีวิธีการแก้ไขได้อย่างไร
เทคโนโลยีมีค่าใช้จ่ายสูง/แพง รัฐควรช่วยสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ
ต้องใช้ผู้มีความรู้ ความชำนาญ ในการออกแบบและก่อสร้าง รัฐช่วยจัดเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ
ขั้นบันไดดินชำรุด ดูแล ซ่อมแซม ด้วยตนเองได้ หากชำรุดไม่มาก
จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบ / ความเสี่ยงในทัศนคติของผู้รวบรวมหรือวิทยากรหลัก มีวิธีการแก้ไขได้อย่างไร
เทคโนโลยีมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกล หน่วยงานของรัฐควรช่วยสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ
จำเป็นต้องใช้ผู้มีความรู้ ความชำนาญ ในการออกแบบและก่อสร้าง เจ้าหน้ารัฐควรช่วยให้ความรู้ และดำเนินงานก่อสร้าง
การเกิดความเสียหายต่อขั้นบันไดดิน (ขั้นบันไดดินชำรุด) จากน้ำฝนและน้ำไหลบ่าหน้าดิน หรือเหตุการณ์อื่นๆ ต้องจัดหางบประมาณในการดูแล ซ่อมบำรุง ขั้นบันไดดิน ประจำปี หรือ ทุกๆ 3-5 ปี หรืองบเร่งด่วน

7. การอ้างอิงและการเชื่อมต่อ

7.1 วิธีการและแหล่งข้อมูล

  • ไปเยี่ยมชมภาคสนาม การสำรวจพื้นที่ภาคสนาม

1

  • การสัมภาษณ์กับผู้ใช้ที่ดิน

1

  • การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้าน SLM หรือผู้ชำนาญ

2

  • การเก็บรวบรวมมาจากรายงานและเอกสารที่มีอยู่

-

วันที่เก็บรวบรวมข้อมูล(ภาคสนาม) :

14/10/2018

แสดงความคิดเห็น:

More detail information is available at the Royal Project.

7.2 การอ้างอิงถึงสิ่งตีพิมพ์

หัวข้อ, ผู้เขียน, ปี, หมายเลข ISBN:

-

ชื่อเรื่อง ผู้เขียน ปี ISBN:

-

7.3 Links to relevant online information

ชื่อเรื่องหรือคำอธิบาย:

การทำขั้นบันไดดินเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ต้นน้ำ (ความลาดชัน 35-60%)

URL:

http://www.dnp.go.th/watershed/ ส่วนอำนวยการ/จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ โครงการทำขั้นบันไดดิน.pdf

7.4 General comments

-

โมดูล