Integrated soil management for organic vegetable in high landscape of watershed [ไทย]
- ผู้สร้างสรรค์:
- การอัพเดท:
- ผู้รวบรวม: Pitayakon Limtong
- ผู้เรียบเรียง: –
- ผู้ตรวจสอบ: Rima Mekdaschi Studer, William Critchley
Organic vegetables in Royal Project
technologies_4283 - ไทย
ดูส่วนย่อย
ขยายทั้งหมด ย่อทั้งหมด1. ข้อมูลทั่วไป
1.2 รายละเอียดที่ติดต่อได้ของผู้รวบรวมและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการประเมินและการจัดเตรียมทำเอกสารของเทคโนโลยี
วิทยากรหลัก
co-compiler:
วัฒนประพัฒน์ กมลาภา
กรมพัฒนาที่ดิน
ไทย
ผู้ใช้ที่ดิน:
พจนบัณฑิต .วัชรินทร์
ผู้ใหญ่บ้านเมืองอาง
ไทย
เจ้าหน้าที่ส่งเสริม:
คีรีภูวดล บุญตรี
สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์
ไทย
นักวิชาการเกษตร:
อินต๊ะ จรัส
ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 กรมพัฒนาที่ดิน
ไทย
ชื่อขององค์กรซึ่งอำนวยความสะดวกในการทำเอกสารหรือการประเมินเทคโนโลยี (ถ้าเกี่ยวข้อง)
Land Development Department LDD (Land Development Department LDD) - ไทย1.3 เงื่อนไขการใช้ข้อมูลที่ได้บันทึกผ่านทาง WOCAT
ผู้รวบรวมและวิทยากรหลักยอมรับเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลที่ถูกบันทึกผ่านทาง WOCAT:
ใช่
1.4 การเปิดเผยเรื่องความยั่งยืนของเทคโนโลยีที่ได้อธิบายไว้
เทคโนโลยีที่ได้อธิบายไว้นี้เป็นปัญหาของความเสื่อมโทรมโทรมของที่ดินหรือไม่ จึงไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีเพื่อการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน:
ไม่ใช่
แสดงความคิดเห็น:
การผลิตผักอินทรีย์เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันและลดปัญหาการเสื่อมโทรมของที่ดินเนื่องจากมีการจัดการดินที่ไม่ใช้สารเคมี เน้นการใช้วัสดุอินทรีย์ วัสดุธรรมชาติที่ไม่ปนเปื้อนสารเคมีและสารที่ก่อให้เกิดมลพิษ จึงทำให้พื้นที่ทำการเกษตรมีความยั่งยืน อุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรียวัตถุและสิ่งมีชีวิตในดิน
2. การอธิบายลักษณะของเทคโนโลยี SLM
2.1 การอธิบายแบบสั้น ๆ ของเทคโนโลยี
คำจำกัดความของเทคโนโลยี:
การผลิตผักอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตพืชผัก ที่ใช้ปัจจัยการผลิตที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ใช้พันธุ์พืชที่มีการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ ใช้ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ได้มาจากวัสดุธรรมชาติ ไม่พึ่งพาสารเคมี
2.2 การอธิบายแบบละเอียดของเทคโนโลยี
คำอธิบาย:
บ้านเมืองอาง ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ปกครองของบ้านเมืองอางมีประมาณ 25,881 ไร่ มี 6 หย่อมบ้าน ได้แก่ บ้านแม่ป่าก่อ บ้านห้วยน้ำปี บ้านแม่ลา บ้านห้วยน้ำอุ่น บ้านเมืองอาง บ้านหล่ายห้วย ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน พื้นที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ พื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 600 – 800 เมตร ลักษณะภูมิอากาศมีอากาศค่อนข้างเย็นและชื้น อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-17 องศาเซลเซียสในช่วงเดือนธันวาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 2,000-2,100 มิลลิเมตร โดยฝนจะเริ่มตกตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนพฤศจิกายน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวปกาเกอะญอ มีจำนวนครัวเรือน 219 ครัวเรือน และมีประชากรทั้งสิ้น 588 คน แบ่งเป็นเพศชาย 308 คน และเพศหญิง 280 คน (ข้อมูลจาก http://www.banloung.go.th/content.php?cid=20130412164807QmnrGb0)
วัตถุประสงค์ของการนำเทคโนโลยีการผลิตผักอินทรีย์แบบโรงเรือนมาใช้ในพื้นที่ เพื่อต้องการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ ทำการตัดไม้และเผาป่าไม้บนพื้นที่สูงเพื่อใช้ทำไร่เลื่อนลอยขยายพื้นที่เพาะปลูก ทำการเกษตรแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยว ซึ่งทำให้ระบบนิเวศน์ถูกทำลาย รายได้ไม่พอเพียงในการดำรงชีวิต มาเป็นการทำเกษตรแบบอยู่กับที่สร้างโรงเรือน เน้นการรักษาระบบนิเวศน์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และผลที่ตามมาคือมีรายได้เพิ่มขึ้น มีรายได้ตลอดปี และสุขภาพอนามัยดี
วิถีชีวิตในอดีตของชาวปกาเกอะญอที่บ้านเมืองอาง ไม่ต่างจากคนในพื้นที่ภูเขาทั่วไป คือมีการทำไร่หมุนเวียน เปลี่ยนระบบการผลิตจากการพึ่งพาตนเองไปสู่การผลิตแบบเชิงเดี่ยว ทำให้พื้นที่สีเขียวลดลงไปเรื่อยๆ ชาวบ้านมีรายได้ดีแต่กลับมีหนี้สินพอกพูน สุดท้ายผู้นำในพื้นที่จึงช่วยกันคิดและแก้ไขปัญหาด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนระบบผลิตเพื่อการค้าเป็นการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์ โดยให้นายวัชรินทร์ พจนบัณฑิต ผู้ใหญ่บ้านเมืองอาง ทำหนังสือถวายฎีกาต่อหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ให้โครงการหลวงเข้ามาส่งเสริมอาชีพ จากนั้นตั้งแต่ปี 2545 บ้านเมืองอางได้ปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินมาทำเกษตรอินทรีย์ คนจากที่เคยถางป่าปลูกข้าว 10 ไร่ 20 ไร่ ก็กลายมาเป็นทำโรงเรือนที่ใช้พื้นที่ประมาณ 1-2 งาน ซึ่งสามารถเลี้ยงครอบครัวได้ รวมถึงได้พื้นที่ป่าคืนมาประมาณ 1700 ไร่ ปัจจุบัน บ้านเมืองอางเป็นแหล่งผลิตผักอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโครงการหลวงอินทนนท์ โดยมีชาวบ้านสนใจเข้าร่วมโครงการแล้ว 90 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าอีก 1-2 ปีข้างหน้า ชาวบ้านเมืองอางทั้งหมดจะผันตัวเองมาทำเกษตรอินทรีย์แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ และพร้อมเป็นต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
การผลิตผักอินทรีย์ ณ บ้านเมืองอาง เริ่มแรกไม่ได้ทำโรงเรือนรวมกลุ่มได้ 80 คน ปลูกถั่วแขก หัวไชเท้า ทำไปประมาณ 7-8 ปี ปลูกแล้วได้ผลผลิตไม่ดี มีรายได้ประมาณ 5,000 บาทต่อปี ปี พ.ศ.2553 สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ได้พาเกษตรกรไปศึกษาดูงานที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ได้ความรู้ในเรื่องการวางแผนการผลิตและการปลูกพืชภายใต้โรงเรือนไม้ไผ่กางมุ้ง จึงกลับมาเริ่มโครงการใหม่โดยจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์เพื่อช่วยหางบประมาณสนับสนุนการสร้างโรงเรือน มีเจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์เป็นผู้สนับสนุนให้ความรู้ ติดตาม และหาตลาดให้ การปลูกผักในโรงเรือนจึงประสบผลสำเร็จเป็นต้นแบบให้กับสมาชิก โดยครั้งแรกที่ผลิตผักอินทรีย์ในโรงเรือนมีแกนนำรวมกลุ่มได้เพียง 8 คน จำนวน 10 โรงเรือน ใช้เวลา 1 รอบการผลิตประมาณ 25 วัน 1 โรงเรือนได้ผักประมาณ 200 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 25 บาท มีรายได้ 5,000 บาทต่อ 1 รอบการผลิต ซึ่ง 1 ปีสามารถผลิตผักได้ 11 รอบ มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าจากรายได้เมื่อก่อน จึงมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันปี 2561 มีสมาชิก 153 ราย จำนวนโรงเรือน 270 โรงเรือน การผลิตพืชผักอินทรีย์ของบ้านเมืองอางมีจุดเด่นคือ ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตร, สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ประเทศไทย (ผู้ที่ได้รับการรับรองตามระบบนี้สามารถใช้ตรารับรองเกษตรอินทรีย์ของ มกท.ร่วมกับตรา IFOAM Accredited) และหน่วยงานรับรองมาตรฐานเกษตรของประเทศสิงคโปร์ (AVA) มีกระบวนการผลิต ปัจจัยการผลิตทุกขั้นตอนผ่านมาตรฐาน มีการตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งที่มา ในระบบนี้ มกท.สามารถให้บริการตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ในขอบข่ายเกี่ยวกับ การเพาะปลูกพืช การเก็บผลผลิตจากป่าและพื้นที่ธรรมชาติ การแปรรูปและจัดการผลผลิต และปัจจัยการผลิตเพื่อการค้า ผักที่ผลิตส่วนใหญ่มี 9 ชนิด ได้แก่ กวางตุ้ง เบบี้ฮ่องเต้ คอสสลัด โอ๊คลีฟเขียว โอ๊คลีฟแดง ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์ก ถั่วแขก คะน้าฮ่องกง และเบบี้แครอท ส่งผลผลิตให้กับบริษัท เอ็มเค, บริษัทพงษ์เทพ (สิงคโปร์), บริษัททวีวัฒนา, บริษัทไทยเฟรชฟาร์ม, บริษัทแมคโคร, ร้านโครงการหลวง, บริษัทไพลิน, บริษัทพลังผักและสหกรณ์โครงการหลวงอินทนนท์
กระบวนการผลิตผักอินทรีย์ของกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์ บ้านเมืองอาง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน IFOAM มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. จัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์ รับสมัครสมาชิก โดยสมาชิกต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบของกลุ่มโดยจะต้องยืนยันการเป็นเกษตรกรอินทรีย์ทุกปี ต้องเข้าร่วมประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 6 ครั้งต่อปี ต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องไม่ปลูกพืช 2 ระบบคือ อินทรีย์และ GAP ในเวลาเดียวกัน ยกเว้นการปลูกข้าว ต้องเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ กรณีละเมิดจะมีบทลงโทษ การจัดตั้งกลุ่มเพื่อหาเงินสนับสนุนในลงทุนทำเกษตรอินทรีย์ให้กับสมาชิก และเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่สามารถต่อรองราคาหรือหาตลาดได้ง่าย
2. การคัดเลือกพื้นที่ เลือกพื้นที่ที่ค่อนข้างเรียบ บริเวณหุบเขาหรือไหล่เขาเพื่อปลูกสร้างโรงเรือน
3. ปลูกสร้างโรงเรือน ทางกลุ่มฯ เน้นการปลูกเพื่อพอเพียงไม่เน้นการค้า จึงมีระเบียบกติกาว่า สมาชิกแต่ละคนมีโรงเรือนได้ไม่เกิน 3 โรงเรือน โดยเฉลี่ยสมาชิกจึงมีรายละ 2 โรงเรือน ดังนั้นเงินลงทุนสร้างโรงเรือน 2 โรงเรือนแรกมีเงินกองทุนสนับสนุนช่วยเหลือให้ 60% ของค่าโรงเรือน และลงทุนเองอีก 40% ถ้าใครจะทำโรงเรือนที่ 3 ต้องลงทุนเองทั้งหมด ขนาดของโรงเรือน กว้าง 6 เมตร ยาว 30 เมตร สูงประมาณ 3-5 เมตร (180 ตารางเมตรต่อโรงเรือน) เมื่อก่อนใช้ไม้ไผ่ ปัจจุบันมีการใช้โครงเหล็ก หลังคาคลุมด้วยผ้าใบใส ด้านข้างคลุมด้วยตาข่ายป้องกันแมลงศัตรูพืช ใช้แรงงานของสมาชิกช่วยกันปลูกสร้าง
4. วางแผนการผลิตผักอินทรีย์ สมาชิกประชุมหารือกับเจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ วางแผนการผลิตผักอินทรีย์ตามกำหนดการที่ตลาดรับซื้อต้องการ โดยกำหนดชนิดผักที่ปลูก วันเพาะกล้า วันปลูก จนถึงวันตัดผลผลิต ทำเป็นปฏิทินการดำเนินการของเกษตรกรเป็นรายบุคคล กรณีสมาชิกไม่ปฏิบัติตามแผน จะหักค่าผลผลิต 50% เข้ากลุ่ม
5. การจัดหาปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ผัก ซื้อของโครงการหลวง, แหล่งน้ำที่ใช้มาจากระบบชลวิถี กักเก็บน้ำจากแหล่งต้นน้ำธรรมชาติและปล่อยสู่แปลงเกษตรกรตามท่อ, ปุ๋ยหมัก เช่นขี้วัว ต้องหาซื้อจากแหล่งที่เลี้ยงแบบปล่อยกินหญ้าธรรมชาติ ห้ามใช้สารเคมีทุกชนิด วิธีการกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ให้ใช้กาวเหนียวดักแมลง ตัวห้ำตัวเบียน สารชีวภัณฑ์ และน้ำหมักชีวภาพ พืชสมุนไพร ปัจจัยการผลิตต้องมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบย้อนกลับได้ กรณีละเมิดบทลงโทษโดยถ้ามีการใช้สารเคมีโดยไม่ตั้งใจให้พักแปลง 3 ปี กรณีตั้งใจให้ออกจากการเป็นสมาชิก
6. การเตรียมดินและปรับปรุงดิน ใช้รถไถขนาดเล็กไถปรับพื้นที่ ตากดินไว้ประมาณ 7 วัน ใช้ปูนปรับค่าความเป็นกรดด่างของดิน ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักขี้วัว ซึ่งหาซื้อจากแหล่งที่เลี้ยงแบบปล่อยกินหญ้าธรรมชาติ ขึ้นแปลงขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 30 เมตร ตามขนาดพื้นที่โรงเรือน
7. การเพาะกล้าผัก เมล็ดพันธุ์ซื้อของโครงการหลวง (โครงการหลวงจะหักค่าเมล็ดพันธุ์เมื่อเกษตรกรไปส่งผลผลิตประมาณ 700 บาทต่อโรงเรือน) ชนิดผักที่ปลูก ปลูกตามปฏิทินการปลูกที่ได้วางแผนไว้ให้สอดรับกับตลาดที่ต้องการสินค้า สมาชิกทุกคนช่วยกันลงแรงเพาะกล้าผักในถาดหลุม ซึ่งแต่ละถาดหลุมจะมีชื่อรหัสของสมาชิกติดอยู่ และพักไว้ในโรงเพาะกล้าช่วยกันดูแลรดน้ำ
8. การปลูก เมื่อกล้าผักอายุ 7 วัน นำออกมาลงปลูกในแปลงที่เตรียมดินไว้แล้ว หมั่นรดน้ำทุกวันใช้วิธีรดน้ำแบบฝักบัว 1 โรงเรือน ปลูกประมาณ 2-3 ชนิด
9. การป้องกันกำจัดโรคและแมลง หมั่นสอดส่องกำจัดโรค และแมลงโดยให้ใช้กาวเหนียวดักแมลง ตัวห้ำตัวเบียน สารชีวภัณฑ์ และน้ำหมักชีวภาพ พืชสมุนไพร
10. การเก็บเกี่ยวที่อายุ 25 วัน เกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวตามแผนการเก็บเกี่ยวที่กำหนดไว้ การเก็บเกี่ยวให้ใช้มีดตัด ผักจะสวยได้คุณภาพ ป้องกันการฉีกขาด หากมีตำหนิเกิน 30 % จะตกเกรดเป็นผักที่ไม่ได้คุณภาพ โครงการหลวงไม่รับซื้อต้องขายพ่อค้าที่มารอรับซื้อในราคากิโลกรัมละไม่ถึง 10 บาท และต้องส่งตัวอย่างผักไปวิเคราะห์สารตกค้าง
11. การคัดและบรรจุ เป็นขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยว ต้องล้างผักให้สะอาดด้วยน้ำที่ไม่ปนเปื้อน ผึ่งให้แห้ง คัดผักที่ไม่ได้คุณภาพออก จัดแบ่งขนาดให้มีความสม่ำเสมอ บรรจุในตระกร้าพลาสติกที่มีกระดาษกรุทั้งตะกร้า นำส่งโรงคัดแยกของสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ต่อไป
12. การบำรุงรักษาเทคโนโลยี การล้างหลังคาโรงเรือนปีละ 1 ครั้ง และมีการเปลี่ยนผ้าพลาสติกหลังคาโรงเรือน ทุก 3 ปี
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้เทคโนโลยีที่สำคัญ คือ
1. ช่วยรักษาระบบนิเวศน์ รักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ดินและน้ำ บ้านเมืองอางมีพื้นที่ป่าต้นน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรคืนพื้นที่ทำการเกษตรให้กลับคืนเป็นป่าถึง 1700 ไร่
2. สามารถผลิตผักอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานในระดับที่นานาชาติยอมรับ คือได้มาตรฐาน IFOAM สามารถส่งขายต่างประเทศได้ นำรายได้เข้าประเทศ
3. ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความปลอดภัย สุขภาพแข็งแรง
4. สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชนได้ตลอดปี ซึ่งจะทำให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
5. ประโยชน์ทางอ้อม ชุมชนมีการทำกิจกรรมร่วมกัน สามารถเปลี่ยนแนวความคิดของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ให้สนใจกลับมาทำอาชีพในท้องถิ่น เป็นกำลังสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ นอกจากนี้การสร้างชุมชนให้มีชื่อเสียงด้านผลิตผักอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดชื่อเสียงสามารถจัดทําเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบและนิยมเดินทางไปท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชน ซึ่งจะส่งเสริมชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกทางหนึ่ง
2.3 รูปภาพของเทคโนโลยี
คำอธิบายภาพ:
จากภาพด้านซ้ายบน คือ โรงเรือนที่สร้างขึ้นมีขนาด กว้าง 6 เมตร ยาว 30 เมตร สูงประมาณ 5 เมตร ภาพด้านขวาบน คือ ต้นกล้าผักอินทรีย์ เพาะในถาดหลุม โดยซื้อเมล็ดพันธุ์จากโครงการหลวง อายุพร้อมปลูกลงแปลงที่เตรียมดินไว้แล้ว ภาพด้านซ้ายแถวที่ 2 คือ วิธีรดน้ำผักโดยใช้สายยางและใช้น้ำที่ต่อท่อมาจากถังพักน้ำบนเขา ภาพด้านขวาแถวที่ 2 คือ ถังเก็บน้ำ น้ำที่ได้มาจากแหล่งต้นน้ำ นำมาพักไว้เพื่อใช้ในการปลูกผักอินทรีย์ สมาราถใช้ปลูกผักได้ตลอดทั้งปี ภาพด้านซ้ายแถวที่ 3 คือ กับดักแมลงศัตรูพืชโดยใช้กาวเหนียวติดตั้งไว้ในโรงเรือนเพื่อดักจับแมลงศัตรูพืช ภาพด้านขวาแถวที่ 3 คือ ปุ๋ยหมัก ทำจากขี้วัวนำมาหมักด้วยสารเร่งพด. ต้องซื้อจากแหล่งที่เลี้ยงแบบปล่อยธรรมชาติ ภาพด้านซ้ายแถวที่ 4 คือ การเก็บเกี่ยวผลผลิตผักให้มีคุณภาพโดยใช้มีดในการตัดผัก จะทำให้ผักไม่ช้ำหรือฉีกขาดซึ่งอาจทำให้ตกเกรดถูกคัดออก ขายไม่ได้ราคา ภาพด้านขวาแถวที่ 4 การล้างทำความสะอาดผักที่เก็บเกี่ยวจากแปลง ต้องทำอย่างเบามือไม่ให้ผักช้ำ และกำจัดแมลงหรือเศษตะกอนดินและผงออกให้สะอาด
2.4 วีดีโอของเทคโนโลยี
ความคิดเห็น/อธิบายสั้นๆ:
ไฟล์ ผักอินทรีย์ เมืองอาง
วันที่:
13/09/2018
สถานที่:
บ้านเมืองอาง หมู่ที่ 9 หย่อมบ้านแม่ป่าก่อ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อผู้ถ่ายวีดีโอ:
Ms. Kamalapa Wattanaprapat
2.5 ประเทศภูมิภาค หรือสถานที่ตั้งที่เทคโนโลยีได้นำไปใช้และได้รับการครอบคลุมโดยการประเมินนี้
ประเทศ:
ไทย
ภูมิภาค/รัฐ/จังหวัด:
เชียงใหม่
ข้อมูลจำเพาะเพิ่มเติมของสถานที่ตั้ง :
สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์
ระบุการกระจายตัวของเทคโนโลยี:
- ใช้ ณ จุดที่เฉพาะเจาะจงหรือเน้นไปยังบริเวณพื้นที่ขนาดเล็ก
แสดงความคิดเห็น:
This activity is the integrated implementation project of the Royal Project in collaboration with other government agencies.
Map
×2.6 วันที่การดำเนินการ
ระบุปีที่ใช้:
2002
ถ้าไม่รู้ปีที่แน่นอน ให้ระบุวันที่โดยประมาณ:
- 10-50 ปี
2.7 คำแนะนำของเทคโนโลยี
ให้ระบุว่าเทคโนโลยีถูกแนะนำเข้ามาอย่างไร:
- ทางโครงการหรือจากภายนอก
ความคิดเห็น (ประเภทของโครงการ เป็นต้น) :
เทคโนโลยีนี้โครงการหลวงได้เข้ามาให้ความรู้แก่เกษตรกร
3. การจัดประเภทของเทคโนโลยี SLM
3.1 วัตถุประสงค์หลักของเทคโนโลยี
- อนุรักษ์ระบบนิเวศน์
- รักษาสภาพหรือปรับปรุงความหลากหลายทางชีวภาพ
- สร้างผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์
3.2 ประเภทของการใช้ที่ดินในปัจจุบันที่ได้นำเทคโนโลยีไปใช้
พื้นที่ปลูกพืช
- การปลูกพืชล้มลุกอายุปีเดียว
ระบุ:
พืชหลัก(พืชเศรษฐกิจและพืชอาหาร): ปลูกพืชผักทั้งหมด 9 ชนิด ได้แก่ กวางตุ้ง เบบี้ฮ่องเต้ คอสสลัด โอ๊คลีฟเขียว โอ๊คลีฟแดง ถั่วแขก ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์ก คะน้าฮ่องกง และเบบี้แครอท
ทางน้ำ แหล่งน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ
ผลิตภัณฑ์หลักหรือบริการ:
ระบบส่งน้ำบนดอย และต่อท่อมายังแปลงผักอินทรีย์
แสดงความคิดเห็น:
เกษตรกรในพื้นที่จะทำการปลูกผักในโรงเรือน มีการปลูกสลับหมุนเวียนกัน 9 ชนิด ได้แก่ กวางตุ้ง เบบี้ฮ่องเต้ คอสสลัด โอ๊คลีฟเขียว โอ๊คลีฟแดง ถั่วแขก ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์ก คะน้าฮ่องกง และเบบี้แครอท ตามตารางการปลูกที่โครงการหลวงจัดให้ พื้นที่นี้ปลูกได้ตลอดปีเนื่องจากมีการพัฒนาระบบส่งน้ำชลประทานกระจายน้ำให้เกษตรกรแบบรายแปลง มีน้ำใช้ตลอดปีและปลูกในโรงเรือน ทำให้มีรายได้ตลอดทั้งปี
ในอดีตชาวบ้านได้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้และตัดไม้ทำลายป่าบนพื้นที่สูงเพื่อใช้ทำไร่เลื่อนลอยขยายพื้นที่เพาะปลูกเข้าไปในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ส่งผลให้พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายและดินเกิดความเสื่อมโทรม ชาวบ้านมีรายได้น้อยไม่พอยังชีพ แต่เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงตั้งโครงการหลวงขึ้นเพื่อช่วยเหลือให้ความรู้แก่เกษตรกรมีอาชีพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ที่บ้านเมืองอางนี้โครงการหลวงได้เข้ามาส่งเสริมในเรื่องการผลิตผักอินทรีย์ เกษตรกรจึงเปลี่ยนจากการถางป่าทำไร่เลื่อนลอยมาเป็นเกษตรอินทรีย์มีความยั่งยืน อีกทั้งคืนพื้นที่ป่าและร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ รักษาสมดุลระบบนิเวศน์ทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
3.3 Has land use changed due to the implementation of the Technology?
แสดงความคิดเห็น:
-
3.4 การใช้น้ำ
อื่นๆ (เช่น หลังจากน้ำท่วม):
- แหล่งน้ำจากต้นน้ำ
แสดงความคิดเห็น:
การใช้น้ำของเกษตรกรในพื้นที่อาศัยแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ได้จากน้ำฝนจากป่าต้นน้ำบนภูเขา และทำฝายกั้นธารน้ำเพื่อกักเก็บน้ำและต่อท่อนำน้ำไปเก็บไว้ในบ่อพัก และจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำ ต่อท่อเข้าแปลงเป็นรายบุคคล
3.5 กลุ่ม SLM ที่ตรงกับเทคโนโลยีนี้
- ระบบหมุนเวียน (การปลูกพืชหมุนเวียน การพักดิน การเกษตรแบบไร่เลื่อนลอย)
- การจัดการศัตรูพืชและโรคพืชแบบผสมผสาน (รวมถึงเกษตรอินทรีย์ด้วย)
- การจัดการด้านชลประทาน (รวมถึงการลำเลียงส่งน้ำ การระบายน้ำ)
3.6 มาตรการ SLM ที่ประกอบกันเป็นเทคโนโลยี
มาตรการจัดการพืช
- A2: อินทรียวัตถุในดิน/ความอุดมสมบูรณ์ในดิน
มาตรการอนุรักษ์ด้วยการจัดการ
- M2: การเปลี่ยนแปลงของการจัดการหรือระดับความเข้มข้น
แสดงความคิดเห็น:
-
3.7 รูปแบบหลักของการเสื่อมโทรมของที่ดินที่ได้รับการแก้ไขโดยเทคโนโลยี
การกัดกร่อนของดินโดยน้ำ
- Wt (Loss of topsoil): การสูญเสียดินชั้นบนหรือการกัดกร่อนที่ผิวดิน
การเสื่อมโทรมของดินทางด้านเคมี
- Cp (Soil pollution): มลพิษในดิน
การเสื่อมโทรมของดินทางด้านชีวภาพ
- Bl (Loss of soil life): การสูญเสียสิ่งมีชีวิตในดิน
- Bp (Increase of pests/diseases): การเพิ่มขึ้นของศัตรูพืชและโรคพืช
แสดงความคิดเห็น:
การผลิตผักอินทรีย์แบบโรงเรือน ช่วยแก้ปัญหาการกัดกร่อนหน้าดินจากการถูกฝนชะหน้าดินได้ และยังมีการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุและสิ่งมีชีวิตในดิน ไม่ใช้สารกำจัดศัตรูพืช ใช้ตัวห้ำ ตัวเบียนกำจัดศัตรูพืช เป็นการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ เทคโนโลยีนี้จึงช่วยลดสาเหตุของความเสื่อมโทรมที่เกิดจากการกระทำโดยมนุษย์หรือธรรมชาติ
3.8 การป้องกัน การลดลง หรือการฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของที่ดิน
ระบุเป้าหมายของเทคโนโลยีกับความเสื่อมโทรมของที่ดิน:
- ป้องกันความเสื่อมโทรมของที่ดิน
- ลดความเสื่อมโทรมของดิน
แสดงความคิดเห็น:
การผลิตผักอินทรีย์แบบโรงเรือน ช่วยป้องกันการกัดกร่อนหน้าดินจากการถูกฝนชะหน้าดินได้ ฟื้นฟูและบำบัดพื้นที่เสื่อมโทรมทั้งทางกายภาพและชีวภาพ มีการใช้วัสดุอินทรีย์เพื่อปรับปรุงดินและใช้แมลงหรือสิ่งมีชีวิตในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช รักษาสมดุลของสิ่งมีชีวิต
4. ข้อมูลจำเพาะด้านเทคนิค กิจกรรมการนำไปปฏิบัติใช้ ปัจจัยนำเข้า และค่าใช้จ่าย
4.1 แบบแปลนทางเทคนิคของเทคโนโลยี
ข้อมูลจำเพาะด้านเทคนิค (แบบแปลนทางเทคนิคของเทคโนโลยี):
การผลิตผักอินทรีย์บ้านเมืองอาง ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ให้เป็นเกษตรอินทรีย์มาตรฐาน IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movements) ซึ่งระบบนี้เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นโดยสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2535 และ มกท.ได้รับการรับรองระบบงานจาก IOAS (International Organic Accreditation Service) ตั้งแต่ปีพ.ศ.2544 ทำให้สามารถรับรองและให้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ IFOAM แก่หน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทยได้ ในระบบนี้ มกท.สามารถให้บริการตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ในขอบข่ายเกี่ยวกับ การเพาะปลูกพืช การเก็บผลผลิตจากป่าและพื้นที่ธรรมชาติ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปและจัดการผลผลิต และปัจจัยการผลิตเพื่อการค้า ผู้ที่ได้รับการรับรองตามระบบนี้สามารถใช้ตรารับรองเกษตรอินทรีย์ของ มกท.ร่วมกับตรา“IFOAM Accredited” มีเจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างดินและผักไปตรวจสอบสารตกค้าง
กระบวนการผลิตผักอินทรีย์ของกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์ บ้านเมืองอาง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน IFOAM มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. จัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์ รับสมัครสมาชิก โดยสมาชิกต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบของกลุ่มโดยจะต้องยืนยันการเป็นเกษตรกรอินทรีย์ทุกปี ต้องเข้าร่วมประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 6 ครั้งต่อปี ต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องไม่ปลูกพืช 2 ระบบคือ อินทรีย์และ GAP ในเวลาเดียวกัน ยกเว้นการปลูกข้าว ต้องเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ กรณีละเมิดจะมีบทลงโทษ การจัดตั้งกลุ่มเพื่อหาเงินสนับสนุนในลงทุนทำเกษตรอินทรีย์ให้กับสมาชิก และเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่สามารถต่อรองราคาหรือหาตลาดได้ง่าย
2. การคัดเลือกพื้นที่ เลือกพื้นที่ที่ค่อนข้างเรียบ บริเวณหุบเขาหรือไหล่เขาเพื่อปลูกสร้างโรงเรือน
3. ปลูกสร้างโรงเรือน ทางกลุ่มฯ เน้นการปลูกเพื่อพอเพียงไม่เน้นการค้า จึงมีระเบียบกติกาว่า สมาชิกแต่ละคนมีโรงเรือนได้ไม่เกิน 3 โรงเรือน โดยเฉลี่ยสมาชิกจึงมีรายละ 2 โรงเรือน ดังนั้นเงินลงทุนสร้างโรงเรือน 2 โรงเรือนแรกมีเงินกองทุนสนับสนุนช่วยเหลือให้ 60% ของค่าโรงเรือน และลงทุนเองอีก 40% ถ้าใครจะทำโรงเรือนที่ 3 ต้องลงทุนเองทั้งหมด ขนาดของโรงเรือน กว้าง 6 เมตร ยาว 30 เมตร สูงประมาณ 3-5 เมตร (180 ตารางเมตรต่อโรงเรือน) เมื่อก่อนใช้ไม้ไผ่ ปัจจุบันมีการใช้โครงเหล็ก หลังคาคลุมด้วยผ้าใบใส ด้านข้างคลุมด้วยตาข่ายป้องกันแมลงศัตรูพืช ใช้แรงงานของสมาชิกช่วยกันปลูกสร้าง
4. วางแผนการผลิตผักอินทรีย์ สมาชิกประชุมหารือกับเจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ วางแผนการผลิตผักอินทรีย์ตามกำหนดการที่ตลาดรับซื้อต้องการ โดยกำหนดชนิดผักที่ปลูก วันเพาะกล้า วันปลูก จนถึงวันตัดผลผลิต ทำเป็นปฏิทินการดำเนินการของเกษตรกรเป็นรายบุคคล กรณีสมาชิกไม่ปฏิบัติตามแผน จะหักค่าผลผลิต 50% เข้ากลุ่ม
5. การจัดหาปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ผัก ซื้อของโครงการหลวง, แหล่งน้ำที่ใช้มาจากระบบชลวิถี กักเก็บน้ำจากแหล่งต้นน้ำธรรมชาติและปล่อยสู่แปลงเกษตรกรตามท่อ, ปุ๋ยหมัก เช่นขี้วัว ต้องหาซื้อจากแหล่งที่เลี้ยงแบบปล่อยกินหญ้าธรรมชาติ ห้ามใช้สารเคมีทุกชนิด วิธีการกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ให้ใช้กาวเหนียวดักแมลง ตัวห้ำตัวเบียน สารชีวภัณฑ์ และน้ำหมักชีวภาพ พืชสมุนไพร ปัจจัยการผลิตต้องมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบย้อนกลับได้ กรณีละเมิดบทลงโทษโดยถ้ามีการใช้สารเคมีโดยไม่ตั้งใจให้พักแปลง 3 ปี กรณีตั้งใจให้ออกจากการเป็นสมาชิก
6. การเตรียมดินและปรับปรุงดิน ใช้รถไถขนาดเล็กไถปรับพื้นที่ ตากดินไว้ประมาณ 7 วัน ใช้ปูนปรับค่าความเป็นกรดด่างของดิน ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักขี้วัว ซึ่งหาซื้อจากแหล่งที่เลี้ยงแบบปล่อยกินหญ้าธรรมชาติ ขึ้นแปลงขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 30 เมตร ตามขนาดพื้นที่โรงเรือน
7. การเพาะกล้าผัก เมล็ดพันธุ์ซื้อของโครงการหลวง (โครงการหลวงจะหักค่าเมล็ดพันธุ์เมื่อเกษตรกรไปส่งผลผลิตประมาณ 700 บาทต่อโรงเรือน) ชนิดผักที่ปลูก ปลูกตามปฏิทินการปลูกที่ได้วางแผนไว้ให้สอดรับกับตลาดที่ต้องการสินค้า สมาชิกทุกคนช่วยกันลงแรงเพาะกล้าผักในถาดหลุม ซึ่งแต่ละถาดหลุมจะมีชื่อรหัสของสมาชิกติดอยู่ และพักไว้ในโรงเพาะกล้าช่วยกันดูแลรดน้ำ
8. การปลูก เมื่อกล้าผักอายุ 7 วัน นำออกมาลงปลูกในแปลงที่เตรียมดินไว้แล้ว หมั่นรดน้ำทุกวันใช้วิธีรดน้ำแบบฝักบัว 1 โรงเรือน ปลูกประมาณ 2-3 ชนิด
9. การป้องกันกำจัดโรคและแมลง หมั่นสอดส่องกำจัดโรค และแมลงโดยให้ใช้กาวเหนียวดักแมลง ตัวห้ำตัวเบียน สารชีวภัณฑ์ และน้ำหมักชีวภาพ พืชสมุนไพร
10. การเก็บเกี่ยวที่อายุ 25 วัน เกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวตามแผนการเก็บเกี่ยวที่กำหนดไว้ การเก็บเกี่ยวให้ใช้มีดตัด ผักจะสวยได้คุณภาพ ป้องกันการฉีกขาด หากมีตำหนิเกิน 30 % จะตกเกรดเป็นผักที่ไม่ได้คุณภาพ โครงการหลวงไม่รับซื้อต้องขายพ่อค้าที่มารอรับซื้อในราคากิโลกรัมละไม่ถึง 10 บาท และต้องส่งตัวอย่างผักไปวิเคราะห์สารตกค้าง
11. การคัดและบรรจุ เป็นขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยว ต้องล้างผักให้สะอาดด้วยน้ำที่ไม่ปนเปื้อน ผึ่งให้แห้ง คัดผักที่ไม่ได้คุณภาพออก จัดแบ่งขนาดให้มีความสม่ำเสมอ บรรจุในตระกร้าพลาสติกที่มีกระดาษกรุทั้งตะกร้า นำส่งโรงคัดแยกของ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ต่อไป
12. การบำรุงรักษาเทคโนโลยี การล้างหลังคาโรงเรือนปีละ 1 ครั้ง และมีการเปลี่ยนผ้าพลาสติกหลังคาโรงเรือน ทุก 3 ปี
ผู้เขียน:
นางสาวกมลาภา วัฒนประพัฒน์
วันที่:
25/10/2018
4.2 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการคำนวณปัจจัยนำเข้าและค่าใช้จ่าย
ให้ระบุว่าค่าใช้จ่ายและปัจจัยนำเข้าได้รับการคำนวณอย่างไร:
- ต่อพื้นที่ที่ใช้เทคโนโลยี
ระบุขนาดและหน่วยพื้นที่:
70ไร่
If using a local area unit, indicate conversion factor to one hectare (e.g. 1 ha = 2.47 acres): 1 ha =:
1 ha = 6.25 rai
อื่นๆ หรือสกุลเงินประจำชาติ (ระบุ):
บาท
If relevant, indicate exchange rate from USD to local currency (e.g. 1 USD = 79.9 Brazilian Real): 1 USD =:
32.0
ระบุค่าเฉลี่ยของค่าจ้างในการจ้างแรงงานต่อวัน:
300
4.3 กิจกรรมเพื่อการจัดตั้ง
กิจกรรม | Timing (season) | |
---|---|---|
1. | จัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์ | Mปีแรกของการปลูก |
2. | การคัดเลือกพื้นที่ | M ก่อนการปลูก |
3. | ปลูกสร้างโรงเรือน | Sก่อนการปลูก |
4. | 4. วางแผนการผลิตผักอินทรีย์ | Mก่อนการปลูก |
5. | 5. การจัดหาปัจจัยการผลิต | Mก่อนการปลูก |
6. | 6. การเตรียมดินและปรับปรุงดิน | M ระหว่างเตรียมดิน |
7. | 7. การเพาะกล้าผัก | Vระหว่างเตรียมดิน |
8. | 8. การปลูก | Mช่วงการปลูก |
9. | 9. การป้องกันกำจัดโรคและแมลง | Mช่วงการปลูก |
10. | 10. การเก็บเกี่ยว | Mช่วงการเก็บเกี่ยว |
11. | 11. การคัดและบรรจุ | Mหลังก็บเกี่ยวผลผลิต |
12. | 12. การบำรุงรักษาเทคโนโลยี | Mหลังก็บเกี่ยวผลผลิต |
แสดงความคิดเห็น:
-
4.4 ค่าใช้จ่ายของปัจจัยนำเข้าที่จำเป็นสำหรับการจัดตั้ง
ปัจจัยนำเข้า | หน่วย | ปริมาณ | ค่าใช้จ่ายต่อหน่วย | ค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อปัจจัยนำเข้า | %ของค่าใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดขึ้นโดยผู้ใช้ที่ดิน | |
---|---|---|---|---|---|---|
แรงงาน | สร้างโรงเรือน | แรง | 10.0 | 300.0 | 3000.0 | 100.0 |
แรงงาน | ช่วงปลูก | แรง | 6.0 | 300.0 | 1800.0 | 100.0 |
แรงงาน | ช่วงดูแล | แรง | 45.0 | 300.0 | 13500.0 | 100.0 |
แรงงาน | ช่วงเก็บเกี่ยว | แรง | 10.0 | 300.0 | 3000.0 | 100.0 |
อุปกรณ์ | สายยาง | เส้น | 1.0 | 1000.0 | 1000.0 | 100.0 |
อุปกรณ์ | รถไถเตรียมดิน | ไร่ | 1.0 | 300.0 | 300.0 | 100.0 |
วัสดุด้านพืช | เมล็ดพันธุ์ผัก | โรงเรือน | 1.0 | 700.0 | 700.0 | 100.0 |
ปุ๋ยและสารฆ่า/ยับยั้งการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต (ไบโอไซด์) | ปุ๋ยคอก (ขี้วัว) | กระสอบ | 20.0 | 30.0 | 600.0 | 100.0 |
ปุ๋ยและสารฆ่า/ยับยั้งการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต (ไบโอไซด์) | ชีวภัณฑ์ Bt | ลิตร | 100.0 | |||
ปุ๋ยและสารฆ่า/ยับยั้งการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต (ไบโอไซด์) | ตัวห้ำ ตัวเบียน | - | ||||
ปุ๋ยและสารฆ่า/ยับยั้งการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต (ไบโอไซด์) | กาวเหนียวดักแมลง | ลิตร | 0.5 | 290.0 | 145.0 | 100.0 |
ปุ๋ยและสารฆ่า/ยับยั้งการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต (ไบโอไซด์) | แผ่นพลาสติกเหลือง | แผ่น | 60.0 | 5.0 | 300.0 | 100.0 |
ปุ๋ยและสารฆ่า/ยับยั้งการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต (ไบโอไซด์) | ถุงพลาสติกเหลือง | กก | 0.5 | 120.0 | 60.0 | 100.0 |
วัสดุสำหรับก่อสร้าง | ไม้ทำโครง/มุ้งตาข่าย/ผ้าพลาสติก | โรงเรือน | 1.0 | 14700.0 | 14700.0 | 40.0 |
วัสดุสำหรับก่อสร้าง | ท่อ PVC | ท่อ | 40.0 | 40.0 | 1600.0 | 100.0 |
ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการจัดตั้งเทคโนโลยี | 40705.0 | |||||
Total costs for establishment of the Technology in USD | 1272.03 |
ถ้าผู้ใช้ที่ดินรับภาระน้อยกว่า 100% ของค่าใช้จ่าย ให้ระบุว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบส่วนที่เหลือ:
ค่าก่อสร้างโรงเรือน ผู้ใช้ที่ดินรับภาระ 40 % กองทุนกลุ่มผลิตผักอินทรีย์สนับสนุน 60 %.....
แสดงความคิดเห็น:
ค่าแรงในการสร้างโรงเรือน สายยาง วัสดุก่อสร้างโรงเรือน เกษตรกรจะจ่ายเฉพาะในปีแรกเท่านั้นปีถัดไปจะไม่มีค่าใช้จ่ายนี้อีก หากชำรุดจะมีค่าซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย
4.5 การบำรุงรักษาสภาพหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
กิจกรรม | ช่วงระยะเวลา/ความถี่ | |
---|---|---|
1. | 1. เปลี่ยนผ้าพลาสติกหลังคาคลุมโรงเรือน | 3,700 บาทต่อโรงเรือนSทุกๆ 3 ปี |
2. | 2. การล้างพลาสติกหลังคาคลุมโรงเรือน | Sทุกปี |
แสดงความคิดเห็น:
-
4.6 ค่าใช้จ่ายของปัจจัยนำเข้าและกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำที่ต้องการการบำรุงรักษา (ต่อปี)
ปัจจัยนำเข้า | หน่วย | ปริมาณ | ค่าใช้จ่ายต่อหน่วย | ค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อปัจจัยนำเข้า | %ของค่าใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดขึ้นโดยผู้ใช้ที่ดิน | |
---|---|---|---|---|---|---|
แรงงาน | เปลี่ยนผ้าพลาสติก | คน | 3.0 | 300.0 | 900.0 | 100.0 |
แรงงาน | ล้างหลังคา 3 ครั้ง | คน | 3.0 | 300.0 | 900.0 | 100.0 |
วัสดุสำหรับก่อสร้าง | ผ้าพลาสติกใส (3ปีเปลี่ยน 1 ครั้ง) | ม้วน | 1.0 | 3700.0 | 3700.0 | 100.0 |
ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการบำรุงรักษาสภาพเทคโนโลยี | 5500.0 | |||||
Total costs for maintenance of the Technology in USD | 171.88 |
ถ้าผู้ใช้ที่ดินรับภาระน้อยกว่า 100% ของค่าใช้จ่าย ให้ระบุว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบส่วนที่เหลือ:
Land users purchase 100%
แสดงความคิดเห็น:
ผู้ใช้ที่ดินรับภาระทั้งหมด 100 %....................................................................
4.7 ปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่าย
ปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายต่างๆ:
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายอื่นๆ คือ ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ยคอก ต้องซื้อจากแหล่งที่มีมาตรฐานว่าเป็นอินทรีย์ชัดเจน เมล็ดพันธุ์ใช้ของโครงการหลวงแหล่งเดียว และปุ๋ยคอกต้องหาซื้อจากจังหวัดอื่นซึ่งต้องมีการเลี้ยงแบบปล่อยธรรมชาติ แหล่งวัสดุที่นำมาใช้สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงแหล่งผลิตได้
ปัจจัยแรงงานไม่ค่อยมีผลกระทบคือช่วงที่ใช้แรงงานมีการลงแรงช่วยกัน และผลัดเปลี่ยนกันไปช่วยในแต่ละโรงเรือน
5. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและของมนุษย์
5.1 ภูมิอากาศ
ฝนประจำปี
- < 250 ม.ม.
- 251-500 ม.ม.
- 501-750 ม.ม.
- 751-1,000 ม.ม.
- 1,001-1,500 ม.ม.
- 1,501-2,000 ม.ม.
- 2,001-3,000 ม.ม.
- 3,001-4,000 ม.ม.
- > 4,000 ม.ม.
ระบุปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี (ถ้ารู้) :หน่วย ม.ม.
1500.00
ข้อมูลจำเพาะ/ความคิดเห็นเรื่องปริมาณน้ำฝน:
ฝนจะเริ่มตกตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม
ระบุชื่อของสถานีตรวดวัดอากาศที่ใช้อ้างอิงคือ:
สถานีตรวจวัดอากาศโครงการหลวงอินทนนท์
เขตภูมิอากาศเกษตร
- กึ่งชุ่มชื้น
-
5.2 สภาพภูมิประเทศ
ค่าเฉลี่ยความลาดชัน:
- ราบเรียบ (0-2%)
- ลาดที่ไม่ชัน (3-5%)
- ปานกลาง (6-10%)
- เป็นลูกคลื่น (11-15%)
- เป็นเนิน (16-30%)
- ชัน (31-60%)
- ชันมาก (>60%)
ธรณีสัณฐาน:
- ที่ราบสูง/ที่ราบ
- สันเขา
- ไหล่เขา
- ไหล่เนินเขา
- ตีนเนิน
- หุบเขา
ระดับความสูง:
- 0-100 เมตร
- 101-500 เมตร
- 501-1,000 เมตร
- 1,001-1,500 เมตร
- 1,501-2,000 เมตร
- 2,001-2,500 เมตร
- 2,501-3,000 เมตร
- 3,001-4,000 เมตร
- > 4,000 เมตร
ให้ระบุถ้าเทคโนโลยีได้ถูกนำไปใช้:
- บริเวณสันเขา (convex situations)
ความคิดเห็นและข้อมูลจำเพาะเพิ่มเติมเรื่องสภาพภูมิประเทศ:
พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีความลาดชันอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,200-1,400 เมตร ป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์ พื้นที่บ้านเมืองอางบางส่วนอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ บางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์
5.3 ดิน
ค่าเฉลี่ยความลึกของดิน:
- ตื้นมาก (0-20 ซ.ม.)
- ตื้น (21-50 ซ.ม.)
- ลึกปานกลาง (51-80 ซ.ม.)
- ลึก (81-120 ซ.ม.)
- ลึกมาก (>120 ซ.ม.)
เนื้อดิน (ดินชั้นบน):
- ปานกลาง (ดินร่วน ทรายแป้ง)
เนื้อดินล่าง (> 20 ซ.ม.ต่ำจากผิวดิน):
- หยาบ/เบา (ดินทราย)
อินทรียวัตถุในดิน:
- ปานกลาง (1-3%)
(ถ้ามี) ให้แนบคำอธิบายเรื่องดินแบบเต็มหรือระบุข้อมูลที่มีอยู่ เช่น ชนิดของดิน ค่า pH ของดินหรือความเป็นกรดของดิน ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ไนโตรเจน ความเค็ม เป็นต้น:
pH 5.5-6.0
5.4 ความเป็นประโยชน์และคุณภาพของน้ำ
ระดับน้ำใต้ดิน:
> 50 เมตร
น้ำไหลบ่าที่ผิวดิน:
ดี
คุณภาพน้ำ (ที่ยังไม่ได้บำบัด):
เป็นน้ำใช้เพื่อการเกษตรเท่านั้น (การชลประทาน)
ความเค็มของน้ำเป็นปัญหาหรือไม่:
ไม่ใช่
กำลังเกิดน้ำท่วมในพื้นที่หรือไม่:
ไม่ใช่
ความคิดเห็นและข้อมูลจำเพาะเพิ่มเติมเรื่องคุณภาพและปริมาณน้ำ:
เป็นน้ำที่ไหลมาจากแหล่งป่าต้นน้ำไม่ผ่านพื้นที่ทำการเกษตรไม่มีสารพิษ
5.5 ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์:
- ปานกลาง
ความหลากหลายของแหล่งที่อยู่:
- ปานกลาง
ความคิดเห็นและข้อมูลจำเพาะเพิ่มเติมของความหลากหลายทางชีวภาพ:
ความหลากหลายทางชีวภาพมีแมลงหลากหลายชนิด มีทั้งแมลงศัตรูพืช และแมลงที่เป็นตัวห้ำตัวเบียน
5.6 ลักษณะของผู้ใช้ที่ดินที่นำเทคโนโลยีไปปฏิบัติใช้
อยู่กับที่หรือเร่ร่อน:
- อยู่กับที่
แนวทางการตลาดของระบบการผลิต:
- mixed (subsistence/ commercial)
รายได้ที่มาจากนอกฟาร์ม:
- 10-50% ของรายได้ทั้งหมด
ระดับของความมั่งคั่งโดยเปรียบเทียบ:
- พอมีพอกิน
เป็นรายบุคคล/ครัวเรือน:
- กลุ่ม/ชุมชน
ระดับของการใช้เครื่องจักรกล:
- งานที่ใช้แรงกาย
เพศ:
- หญิง
- ชาย
อายุของผู้ใช้ที่ดิน:
- ผู้เยาว์
- วัยกลางคน
- ผู้สูงอายุ
ระบุลักษณะอื่นๆที่เกี่ยวข้องของผู้ใช้ที่ดิน:
ตั้งแต่มีการปลูกผักอินทรีย์และมีรายได้ที่ดี ทำให้เยาวชนในหมู่บ้านหันมาสนใจ เรียนรู้ ช่วยครอบครัวปลูกผักอินทรีย์ และเยาวชนที่จบการศึกษากลับมาเป็นเกษตรกรที่หมู่บ้านมากขึ้น ไม่ทิ้งถิ่นฐานไปประกอบอาชีพอื่น
5.7 Average area of land used by land users applying the Technology
- < 0.5 เฮกตาร์
- 0.5-1 เฮกตาร์
- 1-2 เฮกตาร์
- 2-5 เฮกตาร์
- 5-15 เฮกตาร์
- 15-50 เฮกตาร์
- 50-100 เฮกตาร์
- 100-500 เฮกตาร์
- 500-1,000 เฮกตาร์
- 1,000-10,000 เฮกตาร์
- >10,000 เฮกตาร์
พิจารณาว่าเป็นขนาดเล็ก กลาง หรือขนาดใหญ่ (ซึ่งอ้างอิงถึงบริบทระดับท้องถิ่น):
- ขนาดกลาง
แสดงความคิดเห็น:
…....เกษตรกรส่วนใหญ่มีเนื้อที่เฉลี่ย 20 ไร่ประกอบด้วย นาข้าว 3-5 ไร่ พืชไร่หมุนเวียน 10-15 ไร่ พื้นที่ของเกษตรกรไม่มีเอกสารสิทธิ์ในการครอบครองพื้นที่ เนื่องจากไม่มีโฉนดที่ดินและเป็นพื้นที่เขตป่าสงวน และอุทยานแห่งชาติ หลังจากเปลี่ยนวิถีชีวิตมาทำผักอินทรีย์ได้คืนพื้นที่ทำไร่หมุนเวียนให้คืนเป็นป่า เหลือเพียงนาข้าวและสร้างโรงเรือนทำผักอินทรีย์ใช้เนื้อที่เพียงคนละ 1-2 งานมีรายได้พออยู่พอกิน
5.8 กรรมสิทธิ์ในที่ดิน สิทธิในการใช้ที่ดินและสิทธิในการใช้น้ำ
กรรมสิทธิ์ในที่ดิน:
- รายบุคคล ไม่ได้รับสิทธิครอบครอง
สิทธิในการใช้ที่ดิน:
- เกี่ยวกับชุมชน (ถูกจัดระเบียบ)
สิทธิในการใช้น้ำ:
- เกี่ยวกับชุมชน (ถูกจัดระเบียบ)
ระบุ:
-
แสดงความคิดเห็น:
ชาวบ้านเมืองอางเป็นชาวละว้าที่อพยพมาจากต่างถิ่นมาตั้งถิ่นฐานรกรากที่นี่ มีอาชีพหลักคือทำการเกษตร ทำพืชไร่หมุนเวียน หาของป่า เลี้ยงสัตว์ เนื่องจากพื้นที่ที่ชาวบ้านใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตรอยู่ในพื้นที่เขตอุทยานและป่าสงวนทำให้ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ใครถางป่าได้มากก็เป็นผู้ใช้ที่ดิน และส่วนเรื่องน้ำอดีตอาศัยน้ำฝน ในปีพ.ศ.2548 มีหน่วยงานราชการเข้ามาจัดระบบทำฝายและสร้างบ่อกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในพื้นที่ จึงมีการตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ จัดระเบียบการใช้น้ำต่อท่อน้ำเข้าแปลงเป็นรายบุคคลและใช้น้ำแบบประหยัด เช่นให้ใช้สายยางและฝักบัว และใช้มาจนถึงปัจจุบัน
5.9 การเข้าถึงบริการและโครงสร้างพื้นฐาน
สุขภาพ:
- จน
- ปานกลาง
- ดี
การศึกษา:
- จน
- ปานกลาง
- ดี
ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค:
- จน
- ปานกลาง
- ดี
การจ้างงาน (เช่น ภายนอกฟาร์ม):
- จน
- ปานกลาง
- ดี
ตลาด:
- จน
- ปานกลาง
- ดี
พลังงาน:
- จน
- ปานกลาง
- ดี
ถนนและการขนส่ง:
- จน
- ปานกลาง
- ดี
น้ำดื่มและการสุขาภิบาล:
- จน
- ปานกลาง
- ดี
บริการด้านการเงิน:
- จน
- ปานกลาง
- ดี
หนี้ เฉลี่ย 20,000 บาทต่อคน:
- จน
- ปานกลาง
- ดี
แสดงความคิดเห็น:
-
6. ผลกระทบและสรุปคำบอกกล่าว
6.1 ผลกระทบในพื้นที่ดำเนินการ (On-site) จากการใช้เทคโนโลยี
ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
การผลิต
การผลิตพืชผล
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:
ปลูกผักได้ 11 รอบต่อปี
คุณภาพพืชผล
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:
GAP and organic products
คุณภาพป่า /พื้นที่ทำไม้
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:
คืนพื้นที่เกษตรเป็นป่า 1700 ไร่
การเสี่ยงต่อความล้มเหลวในการผลิต
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:
ปลูกได้ทุกฤดู มีเจ้าหน้าที่คอยตรวจเรื่องโรคแมลง
ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์
พื้นที่สำหรับการผลิต
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:
ใช้พื้นที่ทำเกษตรลดลง
ความเป็นประโยชน์และคุณภาพของน้ำ
ความต้องการน้ำจากการชลประทาน
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:
มีสมาชิกทำผักอินทรีย์เพิ่มปีละ3-4 ราย
รายได้และค่าใช้จ่าย
ค่าใช่จ่ายของปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
หลังจาก SLM:
30 %
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:
ซื้อปุ๋ยและสารชีวภัณฑ์
เก็บผลผลิตขายได้8 รอบต่อปี
รายได้จากฟาร์ม
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:
GAP and organic vegetable products
ภาระงาน
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:
ปลูกผักทำทุกวันแต่งานเบา
ผลกระทบด้านสังคมวัฒนธรรมอื่น ๆ
ความมั่นคงด้านอาหาร / พึ่งตนเองได้
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:
That is the main concept of the organic vegetable activities.
สถานการณ์ด้านสุขภาพ
โอกาสทางด้านสันทนาการ
สถาบันของชุมชน
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:
The Royal Project officers supported knowledge and suggestion to community network.
สถาบันแห่งชาติ
SLM หรือความรู้เรื่องความเสื่อมโทรมของที่ดิน
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:
Local officers and training in implementation
การบรรเทาความขัดแย้ง
สถานการณ์ของกลุ่มด้อยโอกาส ทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ
ผลกระทบด้านนิเวศวิทยา
วัฐจักรน้ำหรือน้ำบ่า
ปริมาณน้ำ
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:
Rainwater from the upstream of this watershed
ดิน
ความชื้นในดิน
สิ่งปกคลุมดิน
การสูญเสียดิน
การเกิดแผ่นแข็งที่ผิวดิน /การเกิดชั้นดาน
การอัดแน่นของดิน
อินทรียวัตถุในดิน/ต่ำกว่าดินชั้น C
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:
They usually use organic fertilizers.
ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์
การปกคลุมด้วยพืช
ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:
Several kinds of vegetables are used in this organic farming.
พืชพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกล้ำเข้ามา
ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์
ชนิดพันธุ์ที่ให้ประโยชน์
การจัดการศัตรูพืชและโรคพืช
แสดงความคิดเห็น/ระบุ:
They used bioproducts for disease and pest control.
ลดความเสี่ยงของภัยพิบัติ
ผลกระทบของพายุไซโคลน พายุฝน
Specify assessment of on-site impacts (measurements):
-
6.2 ผลกระทบนอกพื้นที่ดำเนินการ (Off-site) จากการใช้เทคโนโลยี
น้ำที่ใช้ประโยชน์ได้
การไหลของน้ำคงที่และสม่ำเสมอในช่วงฤดูแล้ง
การเกิดมลพิษในน้ำบาดาลหรือแม่น้ำ
ความเสียหายต่อพื้นที่เพาะปลูกของเพื่อนบ้าน
ผลกระทบของก๊าซเรือนกระจก
Specify assessment of off-site impacts (measurements):
การปลูกผักอินทรีย์ในโรงเรือนของเกษตรกรบ้านเมืองอาง มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้ ผลดีคือใช้พื้นที่ทำเกษตรน้อยแต่รายได้สูงทำได้ตลอดปีทุกฤดูกาล ซึ่งมีผลให้เกษตรกรคืนพื้นที่ทำกินให้พื้นที่กลายสภาพกลับเป็นป่าตามเดิม ระบบนิเวศน์ด้านต่าง ๆ ก็ดีขึ้น และผลดีอีกประการหนึ่งคือทำในรูปแบบอินทรีย์ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำ ไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทำให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น
6.3 การเผชิญและความตอบสนองของเทคโนโลยีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ค่อยเป็นค่อยไป และสภาพรุนแรงของภูมิอากาศ / ภัยพิบัติ (ที่รับรู้ได้โดยผู้ใช้ที่ดิน)
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ค่อยเป็นค่อยไป
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ค่อยเป็นค่อยไป
ฤดู | increase or decrease | เทคโนโลยีมีวิธีการรับมืออย่างไร | |
---|---|---|---|
อุณหภูมิประจำปี | ปานกลาง | ||
อุณหภูมิตามฤดูกาล | ฤดูร้อน | ไม่ค่อยดี | |
อุณหภูมิตามฤดูกาล | ฤดูฝน | ดี | |
อุณหภูมิตามฤดูกาล | ฤดูหนาว | ดี | |
ฝนประจำปี | ดี |
สภาพรุนแรงของภูมิอากาศ (ภัยพิบัติ)
ภัยพิบัติทางอุตุนิยมวิทยา
เทคโนโลยีมีวิธีการรับมืออย่างไร | |
---|---|
พายุฝนประจำท้องถิ่น | ปานกลาง |
พายุฝนฟ้าคะนองประจำท้องถิ่น | ปานกลาง |
ภัยพิบัติทางชีวภาพ
เทคโนโลยีมีวิธีการรับมืออย่างไร | |
---|---|
โรคระบาด | ไม่ดี |
การบุกรุกของแมลง / หนอน | ไม่ดี |
แสดงความคิดเห็น:
-
6.4 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ที่ได้รับ
ผลประโยชน์ที่ได้รับเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งเป็นอย่างไร (จากมุมมองของผู้ใช้ที่ดิน)
ผลตอบแทนระยะยาว:
ด้านบวกอย่างมาก
ผลประโยชน์ที่ได้รับเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาหรือต้นทุนที่เกิดขึ้นซ้ำอีก เป็นอย่างไร (จากมุมมองของผู้ใช้ที่ดิน)
ผลตอบแทนระยะยาว:
ด้านบวกอย่างมาก
6.5 การปรับตัวของเทคโนโลยี
- > 50%
ถ้ามีข้อมูลให้บอกปริมาณด้วย (จำนวนของครัวเรือนหรือครอบคลุมพื้นที่):
เกษตรกร 152 คน 220 โรงเรือน
Of all those who have adopted the Technology, how many did so spontaneously, i.e. without receiving any material incentives/ payments?
- 0-10%
แสดงความคิดเห็น:
เริ่มแรกปลูกผักอินทรีย์ไม่มีโรงเรือนทำแล้วขาดทุน หลังจากไปดูงานกลับมาทำโรงเรือน เริ่มแรกมีแค่เกษตรกรแกนนำ 8 ราย สร้างโรงเรือนเริ่มต้น 10 โรงเรือน ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ต่อมาเมื่อประสบผลสำเร็จ จึงมีสมาชิกเพิ่มจำนวนขึ้นตามลำดับ
6.6 การปรับตัว
เทคโนโลยีได้รับการปรับเปลี่ยนเมื่อเร็วๆนี้ เพื่อให้ปรับตัวเข้ากับสภาพที่กำลังเปลี่ยนแปลงหรือไม่:
ไม่ใช่
6.7 จุดแข็ง / ข้อได้เปรียบ / โอกาสของเทคโนโลยี
จุดแข็ง / ข้อได้เปรียบ / โอกาสในทัศนคติของผู้ใช้ที่ดิน |
---|
ส่งเสริมด้านอาชีพและรายได้ของเกษตรกร ในปี 2543 รายได้ของเกษตรกรได้เพียง 5,000 บาทต่อครัวเรือน หลังจากที่ทำเกษตรอินทรีย์แบบมีโรงเรือน สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น สามารถปลูกพืชได้หลายรอบ ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเป็น 60,000 บาทต่อครัวเรือน |
เกษตรกรได้รับความรู้สม่ำเสมอ เพราะมีหลายหน่วยงานเข้ามาให้ความรู้ มีการอบรมทุกปี มีเจ้าหน้าที่มาตรวจแปลง ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการโรคและแมลงศัตรูพืช รวมถึงการปรับปรุงบำรุงดินให้เหมาะสม |
พื้นที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ยังไม่มีมลพิษ เกษตรกรทำการเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมีมาโดยตลอด จึงเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยและแหล่งเรียนรู้การผลิตผักอินทรีย์ ทำให้การผลิตผักอินทรีย์ของบ้านเมืองอาง ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากกรมวิชาการ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ประเทศไทย (มกท) และหน่วยงานรับรองมาตรฐานเกษตรของประเทศสิงคโปร์ (AVA) พื้นที่ที่ผ่านการรับรองจำนวน 266.25 ไร่ |
เสริมสร้างความเข้มแข็งของคนในชุมชน มีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตพืชอินทรีย์ มีสมาชิกและมีเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มในการผลิตพืชอินทรีย์ของชุมชน |
จุดแข็ง / ข้อได้เปรียบ / โอกาสในทัศนคติของผู้รวบรวมหรือวิทยากรหลัก |
---|
การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สามารถแก้ไขปัญหาการบุกรุกถางป่า เพื่อใช้พื้นที่ปลูกพืชทำไร่เลื่อนลอย การส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกผักอินทรีย์ในโรงเรือน เป็นการทำการเกษตรในพื้นที่เฉพาะ ใช้พื้นที่น้อยแต่มีรายได้พออยู่พอกิน ทำให้เกษตรกรคืนพื้นที่เกษตรให้กลับเป็นป่าไปแล้วประมาณ 1,700 ไร่ ลดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และความเสื่อมโทรมของดิน ส่งเสริมให้มีแนวคิดรักษาป่า รักษาธรรมชาติ |
ชาวบ้านมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความไว้วางใจกัน ช่วยเหลือกันด้วยความเต็มใจแบ่งปันความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ มีความเป็นปึกแผ่นเหนียวแน่น |
เป็นต้นแบบการทำการเกษตรแบบพอเพียง ไม่มุ่งหวังเพื่อการค้า โดยมีกฎเกณฑ์ให้เกษตรกร 1 คน มีโรงเรือนไม่เกิน 3 โรงเรือน ใช้แรงงานภายในครอบครัวช่วยกันทำ เป็นการปลูกฝังและให้ประสบการณ์ทำให้ลูกหลานของเกษตรกรทำได้ ทำเป็น และมีแนวคิดกลับมาทำงานในท้องถิ่น |
การสร้างเครือข่ายการทำงาน (Networking) เครือข่ายจะทำให้ชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเองได้ |
6.8 จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบ / ความเสี่ยงของเทคโนโลยีและวิธีการแก้ไข
จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบ / ความเสี่ยงในทัศนคติของผู้ใช้ที่ดิน | มีวิธีการแก้ไขได้อย่างไร |
---|---|
ขาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน ชาวบ้านสามารถทำการเกษตรบนพื้นที่ของตนเองได้แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ทางกฏหมาย เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวน ทำให้ชาวบ้านเกรงว่าอาจจะต้องย้ายออกจากพื้นที่ในอนาคต | ชาวบ้านและหัวหน้าชุมชนต้องการแก้ไขปัญหาจึงได้ขอความช่วยเหลือกับทางรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายในการ ”ออกโฉนดชุมชน” ทั้งนี้เพื่อหามุมมอง “ด้านกฎหมาย” ที่จะเข้าไปช่วยเหลือจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป |
เด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา เนื่องจากด้านสภาพเศรษฐกิจของผู้ปกครองของเด็กยากจน | โรงเรียนในพื้นที่ได้เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กยากจน โดยการให้ทุนสนับสนุนในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา เพื่อให้สามารถเข้าสู่ระบบการศึกษา และลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวในด้านค่าเล่าเรียน |
ปัญหาทางด้านพลังงานที่ยังไม่ทั่วถึง เนื่องจากบางพื้นที่ยังขาดแคลนไฟฟ้า | การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้จัดสรรงบประมาณในการติดตั้งระบบไฟฟ้าให้กับหมู่บ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทั่วถึง |
การคมนาคม ขนส่ง โดยเฉพาะถนนทางเข้าสู่หมู่บ้าน ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้เดินทางสะดวก | หน่วยงานรัฐบาลและหน่วยงานปกครองส่วนทั้งถิ่นได้จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาปรับปรุงถนน เทคอนกรีต ลาดยาง เพื่อให้มีการขนส่งและการเดินทางที่สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น |
จุดอ่อน / ข้อเสียเปรียบ / ความเสี่ยงในทัศนคติของผู้รวบรวมหรือวิทยากรหลัก | มีวิธีการแก้ไขได้อย่างไร |
---|---|
ชาวบ้านขาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน เนื่องจากพื้นที่ของชาวบ้านส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวน ทำให้ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน | รัฐบาลได้มีนโยบายในการ ”ออกโฉนดชุมชน” ออกมาเพื่อหวังจะแก้ไขปัญหาที่ดินดังกล่าว แต่การแก้ไขปัญหานี้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวโยงถึงเรื่องระบบเศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง |
ปัจจัยการผลิตที่เกษตรกรยังผลิตเองไม่ได้ ต้องหาซื้อจากที่อื่น ทำให้มีต้นทุนการผลิต เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก สารไล่แมลง | หน่วยงานรัฐบาลได้เข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนให้ความรู้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สารไล่แมลง ไว้ใช้เอง |
) ในเรื่องของตลาดรับซื้อ และการกำหนดราคา เกษตรกรยังไม่สามารถหาตลาดรับซื้อได้เอง ผลผลิตที่ขายได้ในปัจจุบัน ผ่านการสั่งซื้อจากมูลนิธิโครงการหลวง | เกษตรกรต้องรวมกลุ่มและสร้างแบรนด์ของตนเอง จนเป็นที่ยอมรับ จึงจะสามารถกำหนดราคาและมีผู้รับซื้ออย่างต่อเนื่อง |
7. การอ้างอิงและการเชื่อมต่อ
7.1 วิธีการและแหล่งข้อมูล
- ไปเยี่ยมชมภาคสนาม การสำรวจพื้นที่ภาคสนาม
4
- การสัมภาษณ์กับผู้ใช้ที่ดิน
1
- การเก็บรวบรวมมาจากรายงานและเอกสารที่มีอยู่
2
แสดงความคิดเห็น:
-
7.2 การอ้างอิงถึงสิ่งตีพิมพ์
หัวข้อ, ผู้เขียน, ปี, หมายเลข ISBN:
-
ชื่อเรื่อง ผู้เขียน ปี ISBN:
-
7.3 Links to relevant online information
ชื่อเรื่องหรือคำอธิบาย:
The North องศาเหนือ : เมืองอางปลูกผักให้เป็นป่า
URL:
https://www.youtube.com/watch?v=dKLG2ImGwDE
ชื่อเรื่องหรือคำอธิบาย:
ผักอินทรีย์บ้านเมืองอาง อ.จอมทอง
URL:
https://www.youtube.com/watch?v=ALL9jJYzVyI
ชื่อเรื่องหรือคำอธิบาย:
ภูมิภาค 3.0 : เมืองอางปลูกผักให้เป็นป่า
URL:
https://www.youtube.com/watch?v=6u02SB_53IM
7.4 General comments
-
ลิงก์และโมดูล
ขยายทั้งหมด ย่อทั้งหมดลิงก์
ไม่มีลิงก์
โมดูล
ไม่มีโมดูล